ข้ามไปเนื้อหา

ถุงยางอนามัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ถุงยาง)
ถุงยางอนามัย
ถุงยางอนามัยชายขณะยังไม่ได้ใช้
ความรู้พื้นฐาน
ประเภทการคุมกำเนิดสิ่งกีดขวาง
เริ่มใช้ครั้งแรกสมัยโบราณ[1]
ยาง: ค.ศ. 1855[2]
ยางพารา: คริสต์ทศวรรษ 1920[3]
โพลียูรีเทน: ค.ศ. 1994
Polyisoprene: 2008
อัตราการตั้งครรภ์ (ปีแรก, ยางพารา)
เมื่อใช้อย่างถูกต้อง2%
เมื่อใช้แบบทั่วไป18%
การใช้
สิ่งที่ผู้ใช้ควรรู้สารหล่อลื่นประเภทน้ำมันทำลายถุงยางอนามัยที่ทำจากยางพารา[1]
ข้อดีข้อเสีย
ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ป้องกัน[1]
ข้อดีไม่ต้องพบแพทย์[1]

ถุงยางอนามัย (อังกฤษ: condom) เป็นอุปกรณ์ประเภทสิ่งกีดขวางที่ใช้ระหว่างร่วมเพศเพื่อลดโอกาสการตั้งครรภ์หรือการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์[1] มีทั้งสำหรับเพศหญิงและเพศชาย[4] เมื่อใช้อย่างถูกต้องทุกครั้งที่ร่วมเพศ ผู้หญิงที่คู่นอนใช้ถุงยางอนามัยชายมีอัตราการตั้งครรภ์อยู่ที่ 2% ต่อปี[1] โดยมีอัตราการตั้งครรภ์เมื่อใช้แบบทั่วไปอยู่ที่ 18% ต่อปี[5] การใช้ถุงยางอนามัยลดโอกาสการติดโรคหนองในแท้, โรคหนองในเทียม, เชื้อทริโคโมแนส, เชื้อไวรัสตับอักเสบ บี, โรคเอดส์ และซิฟิลิส

ถุงยางอนามัยชายควรใส่ขณะที่องคชาตแข็งตัวก่อนการร่วมเพศ โดยใช้เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำอสุจิเข้าไปในร่างกายของคู่นอน[6][1] ถุงยางอนามัยชายมักทำจากยางพารา หรืออาจทำจากโพลียูรีเทนหรือลำไส้แกะ[1] ถุงยางอนามัยชายมีข้อดีตรงที่ใช้ง่าย พกพาสะดวก และมีผลข้างเคียงน้อย[1] สำหรับผู้แพ้ยางพารา ควรใช้แบบที่ผลิตจากโพลียูเทนหรือวัสดุสังเคราะห์อื่นแทน[1] ถุงยางอนามัยสตรีมักทำจากโพลียูรีเทนและไม่สามารถใช้ซ้ำได้[6]

การใช้ถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ถูกใช้มาอย่างน้อยตั้งแต่ ค.ศ. 1564[1] ถุงยางอนามัยที่ทำจากยางมีตั้งแต่ ค.ศ. 1855 ตามมาด้วยที่ทำจากยางพาราในคริสต์ทศวรรษ 1920[2][3] ถุงยางอนามัยถูกจัดอยู่ในยาหลักขององค์การอนามัยโลกซึ่งรวมยาที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยและเป็นที่ต้องการในระบบสุขภาพ[7] ทั่วโลกน้อยกว่า 10% ใช้ถุงยางอนามัยเพื่อคุมกำเนิด[8] อัตราการใช้ถุงยางอนามัยในประเทศพัฒนาแล้วสูงกว่าที่อื่น[8] ในสหราชอาณาจักร ถุงยางอนามัยเป็นวิธีคุมกำเนิดที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับสอง (22%) และเป็นที่นิยมอันดับสามในสหรัฐอเมริกา (15%) [9][10] ถุงยางอนามัยจำนวนประมาณ 6 ถึง 9 พันล้านชิ้นถูกขายในแต่ละปี[11]

การใช้ทางการแพทย์

[แก้]

การคุมกำเนิด

[แก้]

เช่นเดียวกับวิธีคุมกำเนิดส่วนใหญ่ ประสิทธิผลของถุงยางอนามัยนั้นประเมินได้สองแบบ ประสิทธิผลจากการใช้อย่างถูกต้อง (perfect use) หรือ ประสิทธิผลของวิธี คำนวณจากคนที่ใช้ถุงยางอยามัยอย่างถูกวิธีและสม่ำเสมอ ส่วนประสิทธิผลการใช้ทั่วไป (typical use) หรือ การใช้งานจริง (Actual use) คำนวณจากผู้ใช้ถุงยางทุกคน รวมไปถึงผู้ที่ใช้อย่างผิดวิธี หรือผู้ที่ไม่ได้ใช้ถุงยางอยามัยในการร่วมเพศทุกครั้ง โดยทั่วไป อัตรามักมาจากการใช้ในปีแรก

อัตราการตั้งครรภ์ในกลุ่มผู้ใช้ถุงยางอนามัยอยู่ระหว่าง 10 ถึง 18% ต่อปี ขึ้นอยู่กับประชากรที่ศึกษา ส่วนอัตราการตั้งครรภ์เมื่อใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกต้องอยู่ที่ 2 % ต่อปี ถุงยางอนามัยอาจใช้ร่วมกับวิธีคุมกำเนิดอื่น ๆ (เช่น การใช้สารฆ่าเชื้ออสุจิ) เพื่อลดความเสี่ยงในการตั้งครรภ์

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

[แก้]

ถุงยางอนามัยมักถูกแนะนำให้ใช้เพื่อป้องกันการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually transmitted infection; STI) โดยมีประสิทธิผลในการลดโอกาสติดเชื้อทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย แม้การป้องกันจะไม่สมบูรณ์แบบ ถุงยางอนามัยมีประสิทธิผลในการลดการแพร่สิ่งมีชีวิตที่ก่อให้เกิด โรคเอดส์ เริมบริเวณอวัยวะเพศ มะเร็งปากมดลูก หูดหงอนไก่ ซิฟิลิส คลามายเดีย โรคหนองในแท้ และโรคอื่น ๆ[12]

แบบจำลองถุงยางอนามัยยักษ์บน Obelisk of Buenos Aires ประเทศอาร์เจนตินา ส่วนหนึ่งของการรณรงค์วันเอดส์โลก ค.ศ. 2005

ถุงยางอนามัยมักถูกแนะนำให้ใช้ร่วมกับวิธีคุมกำเนิดชนิดอื่นที่ได้ผลดีกว่า เช่น ห่วงอนามัย เมื่อต้องการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ [13]

อ้างอิงจากรายงานของสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (สหรัฐอเมริกา) หรือ NIH เมื่อปี พ.ศ. 2543 การใช้ถุงยางอนามัยประเภทยางพาราลดความเสี่ยงของการแพร่เชื้อประมาณ 85% เมื่อเทียบกับการไม่ป้องกัน โดยผู้ใช้ถุงยางอนามัยมีโอกาสติดเชื้ออยู่ที่ 0.9 ต่อ 100 ปีคน ลดลงจาก 6.7 ต่อ 100 ปีคน[14] การวิเคราะห์โดย University of Texas Medical Branch[15] และ องค์การอนามัยโลก[16] ซึ่งถูกตีพิมพ์ใน พ.ศ. 2550 แสดงผลใกล้เคียงกัน และพบว่าความเสี่ยงลดลง 80–95%

รายงานของ NIH ในปี พ.ศ. 2543 สรุปว่าการใช้ถุงยางอนามัยลดความเสี่ยงของการติดโรคหนองในแท้ในผู้ชาย[14] งานวิจัยปี พ.ศ.​ 2549 รายงานว่าการใช้ถุงยางอย่างถูกต้องลดการแพร่เชื้อของฮิวแมนแพปพิลโลมาไวรัส (HPV) สู่ผู้หญิงประมาณ 70%[17] อีกงานวิจัยในปีเดียวกันพบว่าการใช้ถุงยางอนามัยอย่างสม่ำเสมอสามารถลดโอกาสติดเชื้อไวรัสเริมทั้งในชายและหญิง[18]

แม้ถุงยางอนามัยจะมีประสิทธิภาพในการจำกัดพื้นที่สัมผัส แต่ก็ไม่สามารถป้องกันการแพร่เชื้อของโรคบางชนิดได้ บางครั้งถุงยางอาจไม่สามารถปกปิดพื้นที่ติดเชื้อทั้งหมดได้ ทำให้โรคเช่น HPV และ เริมบริเวณอวัยวะเพศ สามารถแพร่เชื้อได้ผ่านการสัมผัส[19] อย่างไรก็ตามปัญหาหลักที่ลดประสิทธิผลของการใช้ถุงยางอนามัยในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คือ การใช้ที่ไม่สม่ำเสมอ[20]

ถุงยางอนามัยอาจส่งผลดีในการรักษาการเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่มะเร็งปากมดลูก การสัมผัสกับฮิวแมนแพปพิลโลมาไวรัส (HPV) ดูเหมือนจะเพิ่มโอกาสการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดมะเร็ง แม้ในหมู่ผู้มีเชื้อ HPV ในร่างกาย การใช้ถุงยางอนามัยช่วยลดการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น[21] นอกจากนี้ นักวิจัยในสหราชอาณาจักรยังเสนอว่าฮอร์โมนในน้ำอสุจิสามารถทำให้มะเร็งปากมดลูกมีอาการแย่ลง ดังนั้นการใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์สามารถป้องกันการสัมผัสกับฮอร์โมน[22]

เหตุของการผิดพลาด

[แก้]

ถุงยางอนามัยอาจหลุดออกจากอวัยวะเพศชายหลังการหลั่งน้ำอสุจิ[23], ฉีกขาดระหว่างใส่อย่างผิดวิธีหรือระหว่างการฉีกออกจากซอง, หรือขาดหรือหลุดเหนื่องจากการสลายตัวของยางพารา (มักเป็นเพราะถุงยางอนามัยหมดอายุ, เก็บอย่างผิดวิธี, หรือโดนน้ำมัน) อัตราการฉีกขาดอยู่ระหว่าง 0.4% ถึง 2.3% ส่วนอัตราการหลุดอยู่ระหว่าง 0.6% ถึง 1.3%[14] น้ำอสุจิยังถูกตรวจเจอในผู้หญิง 1–3% หลังมีเพศสัมพันธ์โดยใช้ถุงยางอนามัยแม้จะไม่มีการฉีกขาดของถุงยางอนามัยก็ตาม[24][25]

"การซ้อนถุง" คือ การสวมถุงยางอนามัยสองถุงซ้อนกัน มีความเชื่อว่าพฤติกรรมนี้มักทำให้อัตราการตั้งครรภ์สูงขึ้นเนื่องจากการเสียดสีของยางกับยาง[26][27] งานวิจัยไม่ได้สนับสนุนความเชื่อนี้ โดยงานวิจัยจำนวนไม่มากที่ศึกษาเรื่องนี้พบว่าการใช้ถุงยางหลายอันซ้อนกันลดโอกาสการฉีกขาดของถุงยางอนามัย[28][29]

ความผิดพลาดแบบต่าง ๆ ส่งผลต่อการสัมผัสกับน้ำอสุจิในปริมาณต่างกัน หากการผิดพลาดเกิดขึ้นระหว่างการใส่ ถุงยางที่มีความเสียหายสามารถถูกเปลี่ยนออกก่อนจะเริ่มมีเพศสัมพันธุ์ ทำให้การผิดพลาดแบบนี้มักไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อผู้ใช้[30] งานวิจัยงานหนึ่งพบว่าการฉีกขาดของถุงยางอนามัยส่งผลให้มีการสัมผัสกับน้ำอสุจิปริมาณครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับการร่วมเพศโดยไม่ป้องกัน ส่วนการลื่นหลุดของถุงยางอนามัยทำให้สัมผัสกับน้ำอสุจิประมาณหนึ่งส่วนห้าของการร่วมเพศแบบไม่ป้องกัน[31]

ถุงยางอนามัยธรรมดามักจะใช้ได้กับองคชาตเกือบทุกแบบ โดยอาจให้ความสบายหรือมีความเสี่ยงที่จะหลุดไม่เท่ากัน ผู้ผลิตถุงยางอนามัยหลายรายวางขายขนาดใหญ่หรือเล็กพิเศษ ผู้ผลิตบางรายยังขายถุงยางอนามัยขนาดตามสั่ง โดยอ้างว่าเชื่อถือได้มากกว่า ทำให้รู้สึกดีกว่า และใส่สบายกว่า[32][33][34] บางงานวิจัยพบว่าองคชาตขนาดใหญ่กว่าและถุงยางอนามัยขนาดเล็กกว่ามีความสัมพันธ์กับโอกาสการรั่วของถุงยางที่เพิ่มขึ้นและอัตราการลื่นหลุดที่ลดลง ทว่าการทดลองอื่นยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน[35]

คนที่ตั้งใจใช้ถุงยางอนามัยเพื่อคุมกำเนิด อาจตั้งครรภ์หลังร่วมเพศโดยไม่ใช่ถุงยางอนามัย โดยอาจเกิดขึ้นเมื่อถุงยางหมด, ขณะกำลังเดินทางและไม่ได้พกถุงยาง, หรือแค่เพียงไม่ชอบความรู้สึกและตัดสินใจที่จะ "เสี่ยง" พฤติกรรมเหล่านี้เป็นเหตุผลหลักของการล้มเหลวเมื่อใช้อย่างทั่วไป (เมื่อเทียบกับอัตราการล้มเหลวเมื่อใช้อย่างถูกต้อง)[36]

อีกความเป็นไปได้หนึ่งที่ทำให้ถุงยางอนามัยล้มเหลวคือการกลั่นแกล้ง โดยอาจเกิดขึ้นเมื่อคนใดคนหนึ่งอยากมีลูกในขณะที่คู่ไม่อยากมี[37] ผู้ขายบริการทางเพศจากไนจีเรียบางคนรายงานว่าลูกค้ากลั่นแกล้งโดยการทำลายถุงยางอนามัยหลังถูกบังคับให้ใช้ถุงยางอนามัย[38] เชื่อว่าการใช้เข็มเจาะที่ปลายถุงยางอนามัยเป็นการลดประสิทธิผลของถุงยางอนามัยลงอย่างมาก[39]: 306–307 [25] เหตุการณ์แบบนี้เคยเกิดขึ้นแล้ว[40]

ประวัติศาสตร์

[แก้]

พุทธศักราช2494

[แก้]

เป็นที่ถกเถียงกันในหมู่นักโบราณคดีและนักประวัติศาสตร์ว่ามีการใช้ถุงยางอนามัยมาตั้งแต่สมัยอารยธรรมโบราณหรือไม่ ในอาณาจักรอียิปต์ กรีกและโรมันโบราณ การป้องกันการตั้งครรภ์เป็นภาระหน้าที่ของเพศหญิง และวิธีการคุมกำเนิดที่มีเอกสารยืนยันก็คืออุปกรณ์ที่ใช้กับสตรี ในเอเชียช่วงก่อนศตวรรษที่ 15 มีการบันทึกถึงการใช้ถุงยางอนามัยชนิดสวมครอบเฉพาะส่วนหัวขององคชาต ถุงยางอนามัยในฐานะที่ใช้เป็นอุปกรณ์เพื่อการคุมกำเนิดเป็นที่รู้จักกันเฉพาะในหมู่ชนชั้นสูง ในประเทศจีน ถุงยางอนามัยผลิตจากไหม กระดาษ หรือลำไส้ลูกแกะ ส่วนในญี่ปุ่นจะผลิตจากกระดองเต่า

การรณรงค์เรื่องถุงยางอนามัยในปัจจุบัน

[แก้]

เครื่องวัดขนาดอวัยวะเพศชายเพื่อนำผลวัดไปเลือกใช้ถุงยางอนามัยให้เหมาะสมกับขนาด

[แก้]

ปัจจุบันนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างกองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ได้ร่วมกันรณรงค์การใช้ถุงยางอนามัยอย่างมากและได้ทำการออกแบบเครื่องมือวัดขนาดอวัยวะเพศชาย เพื่อประโยชน์ในการที่ชายไทยจะได้วัดขนาดอวัยวะเพศของตนเองและเลือกซื้อถุงยางอนามัยได้ตรงขนาดกับอวัยวะเพศของตัวเอง อีกทั้งยังได้จัดทำโพลสำรวจเกี่ยวกับขนาดอวัยวะเพศของชายไทยด้วย เนื่องจากพบว่ามีชายไทยหลายกลุ่มอายุที่ไม่มีถุงยางอนามัยขนาดที่พอเหมาะกับอวัยวะเพศใช้งานกัน การทำโพลสำรวจในครั้งนี้จะนำพาไปถึงอนาคตที่จะผลิตถุงยางอนามัยขนาดต่างๆให้เหมาะสมกับขนาดของผู้ใช้อย่างทั่วถึง

ถุงยางอนามัยในรูปแบบอื่น

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 Hatcher, Robert Anthony; M.D, Anita L. Nelson (2007). Contraceptive Technology (ภาษาอังกฤษ). Ardent Media. pp. 297–311. ISBN 9781597080019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-18.
  2. 2.0 2.1 Allen, Michael J. (2011). The Anthem Anthology of Victorian Sonnets (ภาษาอังกฤษ). Anthem Press. p. 51. ISBN 9781843318484.
  3. 3.0 3.1 McKibbin, Ross (2000). Classes and Cultures: England 1918-1951 (ภาษาอังกฤษ). Oxford University Press. p. 305. ISBN 9780198208556.
  4. WHO Model Formulary 2008 (PDF). World Health Organization. 2009. p. 372. ISBN 9789241547659. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 13 December 2016. สืบค้นเมื่อ 8 January 2017.
  5. Trussell, J (2007). "Contraceptive efficacy" (PDF). Ardent Media. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-12. สืบค้นเมื่อ 2011-03-13.
  6. 6.0 6.1 Speroff, Leon; Darney, Philip D. (2011). A Clinical Guide for Contraception (ภาษาอังกฤษ). Lippincott Williams & Wilkins. pp. 305–307. ISBN 9781608316106. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-14.
  7. "WHO Model List of Essential Medicines (19th List)" (PDF). World Health Organization. April 2015. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 13 December 2016. สืบค้นเมื่อ 8 December 2016.
  8. 8.0 8.1 Chen, Lincoln C.; Amor, Jaime Sepulveda; Segal, Sheldon J. (2012). AIDS and Women’s Reproductive Health (ภาษาอังกฤษ). Springer Science & Business Media. p. 6. ISBN 9781461533542.
  9. Herring, Jonathan (2014). Medical Law and Ethics (ภาษาอังกฤษ). Oxford University Press. p. 271. ISBN 9780198702269.
  10. Daniels, K; Daugherty, J; Jones, J; Mosher, W (10 November 2015). "Current Contraceptive Use and Variation by Selected Characteristics Among Women Aged 15-44: United States, 2011-2013". National health statistics reports (86): 1–14. PMID 26556545.
  11. Hermann, Henry R. (2016). Dominance and Aggression in Humans and Other Animals: The Great Game of Life (ภาษาอังกฤษ). Academic Press. ISBN 9780128092958.
  12. "Condom". Planned Parenthood. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-20. สืบค้นเมื่อ 2007-11-19.
  13. Cates, W.; Steiner, M. J. (2002). "Dual Protection Against Unintended Pregnancy and Sexually Transmitted Infections: What Is the Best Contraceptive Approach?". Sexually Transmitted Diseases. 29 (3): 168–174. doi:10.1097/00007435-200203000-00007. PMID 11875378. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-25.
  14. 14.0 14.1 14.2 National Institute of Allergy and Infectious Diseases (2001-07-20). Workshop Summary: Scientific Evidence on Condom Effectiveness for Sexually Transmitted Disease (STD) Prevention (PDF). Hyatt Dulles Airport, Herndon, Virginia. pp. 13–15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-10-09. สืบค้นเมื่อ 2010-09-22.
  15. Cayley, W.E. & Davis-Beaty, K. (2007). Weller, Susan C (บ.ก.). "Effectiveness of Condoms in Reducing Heterosexual Transmission of HIV (Review)". Reviews. John Wiley & Sons, Ltd. doi:10.1002/14651858.CD003255.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  16. World Health Organization Department of Reproductive Health and Research (WHO/RHR) & Johns Hopkins Bloomberg School of Public Health/Center for Communication Programs (CCP), INFO Project (2007). Family Planning: A Global Handbook for Providers. INFO Project at the Johns Hopkins Bloomberg School of Public Health. p. 200. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-27.
  17. Winer, R; Hughes, J; Feng, Q; O'Reilly, S; Kiviat, N; Holmes, K; Koutsky, L (2006). "Condom use and the risk of genital human papillomavirus infection in young women". N Engl J Med. 354 (25): 2645–54. doi:10.1056/NEJMoa053284. PMID 16790697. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-04-21. สืบค้นเมื่อ 2007-04-07.
  18. Wald, Anna; Langenberg, AG; Krantz, E; Douglas Jr, JM; Handsfield, HH; Dicarlo, RP; Adimora, AA; Izu, AE; Morrow, RA; Lawrence, C (2005). "The Relationship between Condom Use and Herpes Simplex Virus Acquisition". Annals of Internal Medicine. 143 (10): 707–713. doi:10.7326/0003-4819-143-10-200511150-00007. PMID 16287791. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-28. สืบค้นเมื่อ 2007-04-07.
  19. Villhauer, Tanya (2005-05-20). "Condoms Preventing HPV?". University of Iowa Student Health Service/Health Iowa. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-14. สืบค้นเมื่อ 2009-07-26.
  20. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ badnews
  21. Hogewoning, Cornelis J; Bleeker, MC; van den Bruler, AJ; Voorhorst, Feja J; Snijders, Peter JF; Berkhof, Johannes; Westenend, Pieter J; Meijer, Chris JLM (2003). "Condom use Promotes the Regression of Cervical Intraepithelial Neoplasia and Clearance of HPV: Randomized Clinical Trial". International Journal of Cancer. 107 (5): 811–816. doi:10.1002/ijc.11474. PMID 14566832.
  22. "Semen can worsen cervical cancer". Medical Research Council (UK). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-04. สืบค้นเมื่อ 2007-12-02.
  23. Sparrow, M; Lavill, K (1994). "Breakage and slippage of condoms in family planning clients". Contraception. 50 (2): 117–29. doi:10.1016/0010-7824(94)90048-5. PMID 7956211.
  24. Walsh, T; Frezieres, R; Peacock, K; Nelson, A; Clark, V; Bernstein, L; Wraxall, B (2004). "Effectiveness of the male latex condom: combined results for three popular condom brands used as controls in randomized clinical trials". Contraception. 70 (5): 407–13. doi:10.1016/j.contraception.2004.05.008. PMID 15504381.
  25. 25.0 25.1 Walsh, T; Frezieres, R; Nelson, A; Wraxall, B; Clark, V (1999). "Evaluation of prostate-specific antigen as a quantifiable indicator of condom failure in clinical trials". Contraception. 60 (5): 289–98. doi:10.1016/S0010-7824(99)00098-0. PMID 10717781.
  26. "Does using two condoms provide more protection than using just one condom?". Condoms and Dental Dams. New York University Student Health Center. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-12. สืบค้นเมื่อ 2008-06-30.
  27. "Are two condoms better than one?". Go Ask Alice!. Columbia University. 2005-01-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-19. สืบค้นเมื่อ 2008-06-30.
  28. "The Truth About Condoms" (PDF). Planned Parenthood. Katharine Dexter McCormick Library. 2011-07-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-08-18. สืบค้นเมื่อ 2011-12-15.
  29. "Multiple Condom Use and Decreased Condom Breakage and Slippage in Thailand". Rugpao et al. Journal of Acquired Immune Deficiency Syndromes & Human Retrovirology. 1996-10-08. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-09. สืบค้นเมื่อ 2011-12-15.
  30. Richters, J; Donovan, B; Gerofi, J (1993). "How often do condoms break or slip off in use?". Int J STD AIDS. 4 (2): 90–4. PMID 8476971.
  31. Walsh, T; Frezieres, R; Peacock, K; Nelson, A; Clark, V; Bernstein, L; Wraxall, B (2003). "Use of prostate-specific antigen (PSA) to measure semen exposure resulting from male condom failures: implications for contraceptive efficacy and the prevention of sexually transmitted disease". Contraception. 67 (2): 139–50. doi:10.1016/S0010-7824(02)00478-X. PMID 12586324.
  32. "For Condoms, Maybe Size Matters After All". CBS News. 2007-10-11. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-18. สืบค้นเมื่อ 2008-11-11.
  33. "Next big thing, why condom size matters". Menstruation.com. 2007-10-11. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-18. สืบค้นเมื่อ 2008-11-11.
  34. "TheyFit: World's First Sized to Fit Condoms". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 October 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-11-11.
  35. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ fhi3
  36. Steiner, M; Cates, W; Warner, L (1999). "The real problem with male condoms is nonuse". Sex Transm Dis. 26 (8): 459–62. doi:10.1097/00007435-199909000-00007. PMID 10494937.
  37. "Childfree And The Media". Childfree Resource Network. 2000. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-12. สืบค้นเมื่อ 2007-04-08.
  38. Beckerleg, Susan; Gerofi, John (October 1999). "Investigation of Condom Quality: Contraceptive Social Marketing Programme, Nigeria" (PDF). Centre for Sexual & Reproductive Health: 6, 32. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-14. สืบค้นเมื่อ 2007-04-08. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  39. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ kippley
  40. "Canadian man who poked holes in condoms to impregnate girlfriend loses appeal," New York Daily News, March 7, 2014, "Archived copy". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-20. สืบค้นเมื่อ 2014-08-15.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  41. "Dental Dam Use". Center for Disease Control and Prevention. สืบค้นเมื่อ 30-01-2018. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)