ข้ามไปเนื้อหา

การแท้ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก การทำแท้ง)
การแท้ง
การแทรกแซง
ICD-10-PCSO04
ICD-9-CM779.6
MeSHD000028
MedlinePlus002912

การแท้ง (อังกฤษ: abortion) คือการยุติการตั้งครรภ์โดยการนำทารกในครรภ์หรือเอ็มบริโอออกจากมดลูกก่อนให้กำเนิด[note 1] เมื่อเกิดโดยไม่เจตนามักเรียกว่า การแท้งเอง และเรียกว่า การทำแท้ง เมื่อทำโดยเจตนา[1]

เมื่อไม่มีกฎหมายห้าม การทำแท้งในประเทศบางประเทศแล้วเป็นหนึ่งในกระบวนการทางการแพทย์ที่ปลอดภัยที่สุด[2][3] แพทย์แผนปัจจุบันทำแท้งด้วยยาหรือศัลยกรรม[4] การใช้ยาไมฟีพริสโตน (mifepristone) ร่วมกับโพรสตาแกลนดินเป็นวิธีทำแท้งแบบใช้ยาที่ปลอดภัยและให้ประสิทธิผลดีระหว่างไตรมาสแรกกับไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์[4][5] หลังการแท้งสามารถใช้การคุมกำเนิด เช่น ยาคุมกำเนิด หรือ ห่วงอนามัยคุมกำเนิด ได้ทันที[5] การทำแท้งไม่เพิ่มโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคทั้งทางจิตและทางกายภาพเมื่อทำอย่างปลอดภัยและถูกกฎหมาย[6] ในทางตรงข้าม การทำแท้งอย่างไม่ปลอดภัย เช่น การทำแท้งโดยผู้ไม่มีทักษะ การทำแท้งด้วยอุปกรณ์ไม่ปลอดภัย หรือการทำแท้งในสถานที่ไม่สะอาด นำไปสู่การเสียชีวิตของคนกว่า 47,000 คน และทำให้คนกว่า 5 ล้านคนต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลในแต่ละปี[6][7] องค์การอนามัยโลกสนับสนุนให้ผู้หญิงทุกคนมีทางเลือกที่จะทำแท้งอย่างปลอดภัยและถูกกฎหมาย[8]

ในแต่ละปีมีการทำแท้งเกิดขึ้นประมาณ 56 ล้านครั้งทั่วโลก[9] โดยมีประมาณ 45% ที่ทำอย่างไม่ปลอดภัย[10] อัตราการทำแท้งแทบไม่เปลี่ยนแปลงระหว่าง พ.ศ. 2546 ถึง พ.ศ. 2551[11] หลังลดลงจากช่วงก่อนหน้าเนื่องจากการเพิ่มของการเข้าถึงการคุมกำเนิดและการวางแผนครอบครัวในระยะเวลาสองทศวรรษที่ผ่านมา[12] แต่ละประเทศที่อนุญาตให้ทำแท้งได้ตามกฎหมายมีข้อจำกัดอายุครรภ์ต่างกันไป[13]

การทำแท้งมีมาในประวัติศาสตร์นานแล้ว โดยใช้วิธีการต่างๆ ทั้งการใช้สมุนไพร ของมีคม วิธีทางกายภาพและวิธีการดั้งเดิมต่าง ๆ[14] กฎหมายและมุมมองทางศาสนาหรือวัฒนธรรมเกี่ยวกับการทำแท้งแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ บางประเทศอนุญาตให้ทำแท้งได้ในบางกรณี เช่น ถูกข่มขืน ทารกในครรภ์มีปัญหา ยากจน มีความเสี่ยงต่อสุขภาพผู้หญิง หรือ การสมสู่ร่วมสายโลหิต[15] แต่ละพื้นที่ทั่วโลกมีมิติทางกฎหมาย ศาสนา วัฒนธรรม และความนิยมที่มีต่อการทำแท้งแตกต่างกันไปโดยในบางพื้นที่มีการโต้เถียงกันอย่างรุนแรงในประเด็นทางจริยธรรมและกฎหมายเกี่ยวกับการทำแท้ง[16][17] การทำแท้งและประเด็นเกี่ยวกับการทำแท้งถูกหยิบยกมาเป็นหัวข้ออภิปรายและใช้ในการวางนโยบายทางการเมืองหลายประเทศ ทั้งในสายสนับสนุนที่เห็นว่าการทำแท้งเป็นสิทธิของสตรีที่ตั้งครรภ์ที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับร่างกายตนเอง[18] และสายต่อต้านที่เห็นว่าทารกที่กำเนิดขึ้นมาในครรภ์มีสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ด้วยเช่นกันและอาจเปรียบเทียบการทำแท้งกับการฆาตกรรม[19][20] อุบัติการณ์ของการทำแท้งทั่วโลกมีแนวโน้มลดลงจากการเข้าถึงสุขศึกษาการวางแผนครอบครัวและการบริการเพื่อการคุมกำเนิดที่มีมากขึ้น

ประเภท

[แก้]

การทำแท้ง

[แก้]

ในแต่ละปีมนุษย์ทั่วโลกมีการตั้งครรภ์ 205 ล้านครั้ง มากกว่าหนึ่งในสามเกิดขึ้นโดยไม่ได้วางแผนและประมาณหนึ่งในห้าสิ้นสุดด้วยการทำแท้ง[11][21] การทำแท้งส่วนมากเกิดในการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้วางแผน[22][23] การทำแท้งสามารถทำได้หลายวิธีการตามความเหมาะสมของอายุครรภ์ที่แปรผันตามขนาดตัวเอ็มบริโอหรือทารกในครรภ์[24][25] วิธีการที่เหมาะสมอาจจะต่างไปตามแต่ความนิยมของแพทย์และผู้ป่วย ความจำกัดในแต่ละท้องที่และตามกฎหมายบัญญัติได้

การทำแท้งมีข้อบ่งชี้เพื่อการรักษาและตามความสมัครใจ การทำแท้งเพื่อการรักษาหมายถึงการทำแท้งที่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์เพื่อรักษาชีวิตและสุขภาพกายและจิตของมารดา ยุติการตั้งครรภ์ทารกที่มีความเสี่ยงที่จะทุพพลภาพ เจ็บป่วย หรือตายก่อนกำหนด หรือเพื่อลดจำนวนทารกในครรภ์ในกรณีการตั้งครรภ์แฝดเพื่อลดความเสี่ยงทางสุขภาพ[26][27] ส่วนการทำแท้งตามความสมัครใจหมายถึงการทำแท้งที่ไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์และเป็นไปตามความประสงค์ของสตรี[27]

การแท้งเอง

[แก้]

การแท้งเองคือการแท้งที่เกิดขึ้นโดยไม่เจตนา โดยมดลูกขับเอ็มบริโอหรือทารกในครรภ์ออกก่อนอายุครรภ์ครบ 24 สัปดาห์[28] การตั้งครรภ์ที่สิ้นสุดก่อนอายุครรภ์ครบ 37 สัปดาห์ และเกิดรอดเป็นทารกเรียกว่าการคลอดก่อนกำหนด[29] แต่หากทารกในครรภ์เสียชีวิตในขณะคลอดหรือก่อนคลอดจะเรียกว่าทารกตายคลอด[30] ทั้งการคลอดก่อนกำหนดและทารกตายคลอดไม่ถือว่าเป็นการแท้งเอง[31]

ร้อยละ 30 ถึงร้อยละ 50 ของการปฏิสนธิอยู่รอดถึงไตรมาสแรก[32] ในขณะที่ส่วนที่เหลือแท้งไปตั้งแต่ผู้หญิงยังไม่ทราบว่าตนตั้งครรภ์[27] และมีการตั้งครรภ์หลายครั้งที่แท้งไปก่อนที่แพทย์จะตรวจพบเอ็มบริโอ[33] การตั้งครรภ์ที่ตรวจพบแล้วจะสิ้นสุดด้วยการแท้งเองถึงร้อยละ 15-30 ตามสุขภาพและอายุของสตรีที่ตั้งครรภ์[34] ร้อยละ 80 ของการแท้งเองเกิดขึ้นในไตรมาสแรก[35]

เหตุการแท้งเองส่วนใหญ่ (ร้อยละ 50[36]) ในช่วงไตรมาสแรก คือ ความผิดปกติของโครโมโซมของเอ็มบริโอหรือทารกในครรภ์ สาเหตุอื่นๆในมารดาได้แก่ โรคทางระบบเส้นเลือด (เช่นโรคลูปัส) เบาหวาน ความผิดปกติของฮอร์โมน การติดเชื้อ และความผิดปกติของมดลูก[37][27][38] ประวัติการตั้งครรภ์เมื่ออายุมากและประวัติการแท้งเองในอดีตเป็นสองปัจจัยเสี่ยงสำคัญในการแท้งเอง[36] การแท้งเองอาจจะเกิดขึ้นจากอุบัติเหตุต่อร่างกายหรือความเครียด การจงใจก่อความเครียดหรือความรุนแรงเพื่อการแท้งเองถือเป็นการทำแท้งหรือการทำลายทารกในครรภ์[39]

วิธีการทำแท้ง

[แก้]

การทำแท้งด้วยยา

[แก้]

การทำแท้งด้วยยาคือการทำแท้งที่ไม่ใช้ศัลยกรรมแต่ใช้ยาที่เรียกว่า "ยาแท้ง" โดยได้กลายเป็นทางเลือกหนึ่งของการทำแท้งโดยใช้สารที่มีโครงสร้างคล้ายโพรสตาแกลนดิน (prostaglandin analogue) ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 และยาต้านโพรเจสโตเจน มิฟีพริสโตน (หรือ RU-486) ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980[4][5][40][41][42] การทำแท้งด้วยยาคิดเป็นร้อยละ 13 ของการทำแท้งทั้งหมดในสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2548 โดยเพิ่มเป็นร้อยละ 17 ในปี พ.ศ. 2553[ต้องการอ้างอิง]

สูตรยาผสมที่มักใช้ในการทำแท้งไตรมาสแรกประกอบด้วยมิฟีพริสโตนร่วมกับสารที่มีโครงสร้างคล้ายโพรสตาแกลนดินโดยใช้ได้ถึงอายุครรภ์ 9 สัปดาห์ ส่วนเมื่อประกอบด้วยยาเมโธเทร็กเสท (methotrexate) และสารที่มีโครงสร้างคล้ายโพรสตาแกลนดิน ได้ผลกับอายุครรภ์สูงสุด 7 สัปดาห์ หรืออาจใช้สารที่มีโครงสร้างคล้ายโพรสตาแกลนดินอย่างเดียว[40] การใช้มิฟีพริสโตนร่วมกับกลุ่มยามิโซโพรสตอลทำงานเร็วกว่าและให้ประสิทธิผลดีกว่าเมื่ออายุครรภ์เยอะขึ้น เทียบกับการใช้เมโธเทร็กเสทร่วมกับกลุ่มยามิโซโพรสตอล และสูตรยาผสมได้ผลดีกว่าการใช้กลุ่มยามิโซโพรสตอลอย่างเดียว[41] สูตรยาผสมยังสามารถใช้ได้ในการตั้งครรภ์ไตรมาสที่สอง[43] การทำแท้งโดยใช้มิฟีพริสโตนตามด้วยมิโซโพรสตอล 24 ชั่วโมง และ 48 ชั่วโมงต่อมาทางแก้มใช้ได้กับอายุครรภ์ต่ำกว่า 63 วัน[44]

สำหรับการตั้งครรภ์ระยะแรก (จนถึง 7 สัปดาห์) การทำแท้งด้วยสูตรยาผสมมิฟีพริสโตน–มิโซโพรสตอลให้ผลดีกว่าการทำแท้งด้วยศัลยกรรม[45] การใช้มิฟีพริสโตน ตามด้วยมิโซโพรสตอลทางกระพุ้งแก้มหรือช่องคลอด 24–48 ชั่วโมงต่อมา มีประสิทธิผลสูงถึง 98% จนอายุครรภ์ 9 สัปดาห์[46] โดยจำเป็นต้องใช้การศัลยกรรมเข้าช่วยหากทำแท้งด้วยยาไม่สำเร็จ[47]

การทำแท้งด้วยศัลยกรรม

[แก้]

ในระยะ 12 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ การใช้เครื่องสุญญากาศดูดเอ็มบริโอหรือทารกในครรภ์ออกเป็นวิธีการทำแท้งที่พบบ่อยที่สุด เครื่องดูดสุญญากาศด้วยมือ (Manual vacuum aspiration : MVA หรือ mini-suction หรือ menstrual extraction) จะดูดเอ็มบริโอหรือทารกในครรภ์ออกพร้อมรกและเยื่อหุ้มด้วยกระบอกฉีดยา ในขณะที่เครื่องดูดสุญญากาศไฟฟ้า (electric vacuum aspiration : EVA) จะดูดด้วยแรงจากเครื่องดูดไฟฟ้า วิธีการทั้งสองนี้คล้ายกันต่างแต่เพียงกลไกการดูด อายุครรภ์น้อยที่สุดที่สามารถใช้ได้และความจำเป็นในการขยายขนาดปากมดลูก เครื่องดูดสุญญากาศด้วยมือสามารถนำไปใช้ได้ในการตั้งครรภ์ระยะต้นๆและไม่ต้องขยายขนาดปากมดลูก

การทำแท้งในอายุครรภ์ 15-26 สัปดาห์ใช้วิธีถ่างขยายปากมดลูกแล้วถ่ายทารกในครรภ์ออก (dilation and evacuation : D&E) ซึ่งทำโดยการถ่ายขยายปากมดลูกแล้วใช้เครื่องมือทางศัลยกรรมหรือเครื่องดูด ดูดทารกในครรภ์ออก หรือใช้วิธีถ่างขยายปากมดลูกแล้วขูด (Dilation and curettage : D&C) หรือการขูดมดลูก ซึ่งคือการทำให้ผนังมดลูกเกลี้ยงด้วยเครื่องมือขูดและเป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมรองลงมาในการทำแท้งด้วยศัลยกรรม วิธีนี้เป็นหัตการพื้นฐานทางนรีเวชวิทยาเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ เช่น เก็บเยื่อบุโพรงมดลูกเพื่อส่งตรวจคัดกรองมะร็งเยื่อบุโพรงมดลูก เพื่อวินิจฉัยภาวะเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด และเพื่อทำแท้ง โดยองค์การอนามัยโลกแนะนำให้ใช้วิธีการขูดมดลูกเฉพาะเมื่อไม่มีเครื่องดูดสุญญากาศด้วยมือเท่านั้น

การทำแท้งในระยะไตรมาสที่สองต้องใช้วิธีอื่นๆ เช่น การชักนำให้คลอดก่อนกำหนดด้วยยาพรอสตาแกลนดินซึ่งอาจให้ร่วมกับการฉีดสารความดันออสโมซิสสูงที่ประกอบด้วยน้ำเกลือ หรือยูเรียเข้าในนำคร่ำ การทำแท้งที่อายุครรภ์มากกว่า 16 สัปดาห์อาจใช้วิธี partial-birth abortion/intrauterine cranial decompression/intact dilation and extraction : IDX ซึ่งมีการทำลายศีรษะทารกในครรภ์ด้วยวิธีทางศัลยกรรมก่อนถ่ายทารกในครรภ์ออก นอกจากนี้ในระยะท้ายของการตั้งครรภ์อาจจะใช้วิธีการผ่ามดลูก (hysterotomy abortion) ซึ่งมีวิธีการคล้ายกับการผ่าท้องคลอดขณะให้ยาสลบทั่วไป โดยจะมีการเปิดแผลผ่าตัดเล็กกว่าการผ่าท้องคลอด

ราชวิทยาลัยสูติแพทย์และนรีแพทย์ได้แนะนำวิธีการฉีดยาเพื่อหยุดการทำงานของหัวใจทารกในครรภ์ในระยะแรกของการทำแท้งด้วยวิธีทางศัลยกรรมเพื่อให้แน่นอนว่าทารกในครรภ์จะไม่เกิดรอด

การทำแท้งด้วยวิธีอื่นๆ

[แก้]
รูปนูนต่ำที่นครวัด กัมพูชา ค.ศ.1150 สลักรูปอสูรทำแท้งโดยใช้สากตำไปที่ท้องของสตรีมีครรภ์.[48][49]

ในอดีตมีการนำสมุนไพรหลายชนิดมาใช้เป็นยาแท้งพื้นบ้าน เช่น tansy, พืชจำพวกมิ้นท์ (pennyroyal), black cohosh, และ silphium ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ทั้งนี้แพทย์ไม่แนะนำให้ใช้ยาสมุนไพรเป็นยาแท้งพื้นบ้านเพราะอาจมีผลข้างเคียงถึงชีวิตได้ เช่น อวัยวะหลายอย่างล้มเหลว

การทำแท้งในบางกรณีใช้วิธีการทำให้บาดเจ็บที่ท้อง ถ้าใช้แรงมากอาจจะทำให้อวัยวะภายในบาดเจ็บมากเกินกว่าเพียงเพื่อจะทำแท้ง ทั้งอุบัติเหตุและการกระทำรุนแรงโดยตั้งใจเพื่อทำแท้งเป็นความรับผิดทางอาญาในหลายประเทศ ในเอเชียอาคเณย์มีวิธีการทำแท้งแบบจารีตด้วยการนวดหน้าท้อง รูปนูนต่ำชิ้นหนึ่งที่นครวัด กัมพูชา สลักรูปอสูรทำแท้งโดยใช้สากตำไปที่ท้องของสตรีมีครรภ์ที่ตกอยู่ในบาดาล วิธีการทำแท้งด้วยตนเองอย่างไม่ปลอดภัยที่มีรายงานได้แก่การใช้ยามิโซโพรสตอลอย่างผิดๆและการสอดอุปกรณ์ที่ไม่ใช้เพื่อศัลยกรรม เช่น เข็มถักนิตติ้งหรือไม้แขวนเสื้อ เข้าไปในโพรงมดลูก วิธีการเหล่านี้พบได้น้อยในประเทศพัฒนาแล้วที่มีบริการทำแท้งด้วยศัลยกรรมอย่างถูกกฎหมาย

ความปลอดภัย

[แก้]

ความเสี่ยงทางสุขภาพของการทำแท้งขึ้นอยู่กับว่าวิธีการทำแท้งนั้นปลอดภัยหรือไม่ องค์การอนามัยโลกได้นิยามการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัยว่าคือการทำแท้งโดยผู้ไม่มีทักษะ โดยเครื่องมือที่เป็นอันตราย หรือในสภาพแวดล้อมที่ผิดสุขอนามัย[50] การทำแท้งอย่างถูกกฎหมายใน ประเทศพัฒนาแล้วเป็นหนึ่งในหัตถการทางการแพทย์ที่มีความปลอดภัยสูงมาก[51][52] ในสหรัฐอเมริกา ความเสี่ยงของการเสียชีวิตของมารดาจากการทำแท้งระหว่างปี ค.ศ.1998 ถึง 2005 เท่ากับ 0.6 ครั้งในการทำแท้ง 100,000 ครั้ง หรือคือปลอดภัยกว่าการคลอดบุตรถึง 14 เท่า (การคลอดบุตรทำให้มารดาเสียชีวิตได้ 8.8 ครั้งต่อการคลอด 100,000 ครั้ง)[53][54] ความเสี่ยงของการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการทำแท้งเพิ่มมากขึ้นตามอายุครรภ์แต่ก็ยังน้อยกว่าการคลอดบุตรไปจนอายุครรภ์ 21 สัปดาห์[55][56] สวนทางกับกฎหมายในบางที่ที่บังคับให้แพทย์ให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยว่าการทำแท้งเป็นหัตถการที่มีความเสี่ยงสูง [57]

การใช้เครื่องดูดสุญญากาศในไตรมาสแรกเป็นวิธีการที่ปลอดภัยที่สุดของการทำแท้งด้วยวิธีทางศัลยกรรมและสามารถทำได้ในสถานพยาบาลขั้นปฐมภูมิ คลินิกทำแท้งหรือโรงพยาบาล วิธีการนี้มีภาวะแทรกซ้อนน้อยมาก ทั้งการเกิดมดลูกทะลุ การติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน เยื่อบุโพรงมดลูกอักเสบ รวมทั้งการหลงเหลืออยู่ของชิ้นเนื้อที่ทำให้ต้องมีการดูดซ้ำ[58] การให้ยาปฏิชีวนะป้องกันการติดเชื้อ เช่นยา ดอกซีไซคลีนหรือเมโทรนิดาโซลมักให้ก่อนการทำแท้งที่ไม่ฉุกเฉิน[59]เพราะเป็นที่เชื่อกันว่าจะลดอัตราการติดเชื้อในมดลูกหลังการทำแท้งด้วยการผ่าตัดได้[60][61] ภาวะแทรกซ้อนจากการทำแท้งในไตรมาสที่สองนั้นคล้ายกับในไตรมาสที่หนึ่งโดยขึ้นอยู่กับวิธีการทำแท้งที่เลือกใช้

อาจจะมีความแตกต่างบ้างเพียงเล็กน้อยในเรื่องความปลอดภัยและประสิทธิภาพระหว่างการทำแท้งด้วยการใช้ยาสูตรผสมของยาไมฟีพริสโตนและมิโซพรอสตอลและการทำแท้งด้วยการผ่าตัด (เครื่องดูดสุญญากาศ)ในระยะแรกของไตรมาสแรกไปจนอายุครรภ์ 9 สัปดาห์[45] การทำแท้งด้วยยามิโซพรอสตตอลซึ่งเป็นอนุพันธ์ของพรอสตาแกลนดินเพียงตัวยาเดียวมีประสิทธิภาพน้อยกว่าและเจ็บปวดมากกว่าการใช้ยาสูตรผสมของยาไมฟีพริสโตนและมิโซพรอสตอลหรือการทำแท้งด้วยการผ่าตัด[62][63]

การทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย

[แก้]
โปสเตอร์จากสหภาพโซเวียตช่วง ค.ศ. 1925 เตือนเกี่ยวกับการทำแท้งโดยนางผดุงครรภ์ หัวเรื่องแปลว่า: "การทำแท้งโดยนางผดุงครรภ์ทั้งที่ถูกสอนและที่เรียนด้วยตนเอง ไม่เพียงทำให้หญิงพิการ แต่ยังมักทำให้เสียชีวิต"

การทำแท้งที่ไม่ปลอดภัยเป็นเหตุการตายและพิการที่สำคัญของสตรีทั่วโลก แม้ข้อมูลจะไม่แน่ชัดแต่ประมาณได้ว่ามีการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัยเกิดขึ้นประมาณ 20 ล้านครั้งต่อปี โดยร้อยละ 97 เกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนา[2] เชื่อว่าการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัยทำให้มารดา 68,000 คนต้องเสียชีวิต[64] และหลายล้านคนต่อปีต้องบาดเจ็บโดยไม่จำเป็น[2] องค์กรต่าง ๆ เช่น องค์การอนามัยโลกได้กระตุ้นให้สาธารณะตระหนักถึงการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย กระตุ้นให้การทำแท้งและการฝึกการทำแท้งแก่บุคลากรทางการแพทย์เป็นสิ่งถูกกฎหมายและเพิ่มการเข้าถึงการบริการทางอนามัยเจริญพันธุ์[65]

สตรีที่หาหนทางยุติการตั้งครรภ์ของตนบางครั้งก็หันมาใช้วิธีการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัยโดยเฉพาะสตรีที่ไม่สามารถทำแท้งอย่างถูกกฎหมายได้ บ้างก็พยายามทำแท้งด้วยตนเอง บ้างก็ให้ผู้ที่ไม่มีทักษะ ผ่านการฝึกฝนอย่างถูกต้อง หรือไม่มีสภาวะที่ถูกสุขอนามัยเป็นผู้กระทำให้ สิ่งเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะนำสู่ภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น การแท้งไม่ครบ, ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ, การตกเลือด, และการบาดเจ็บของอวัยวะภายใน[66]

การทำให้การทำแท้งถูกกฎหมายเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่นำไปสู่ความปลอดภัย ด้วยความที่กฎหมายห้ามการทำแท้งเพิ่มอัตราการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย[7][65][67][68][69] ตัวอย่างเช่น การทำให้การทำแท้งถูกกฎหมายในปี ค.ศ.1996 ของประเทศแอฟริกาใต้มีผลทำให้ความถี่ของภาวะแทรกซ้อนจากการทำแท้งลดลงทันที[70] โดยทำให้อัตราการตายจากการทำแท้งลดลงมากกว่าร้อยละ 90 [71] นอกจากนี้ความลำบากในการเข้าถึงวิธีการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพก็นำไปสู่การทำแท้งที่ไม่ปลอดภัยเช่นกัน มีการประมาณว่าอัตราการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัยสามารถลดลงได้ถึงร้อยละ 73 โดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงกฎหมายเกี่ยวกับการทำแท้ง ถ้าวิธีการวางแผนครอบครัวที่ทันสมัยและบริการทางสุขภาพแก่มารดาครอบคลุมและเข้าถึงได้ทั่วโลก[72]

ร้อยละ 40 ของสตรีทั่วโลกสามารถเข้าถึงการทำแท้งเพื่อการรักษาและการทำแท้งโดยสมัครใจได้ในอายุครรภ์ที่เหมาะสม[13] ขณะที่อีกร้อยละ 35 สามารถเข้าถึงการทำแท้งโดยถูกกฎหมายได้ถ้าสุขภาพกาย ใจ และเศรษฐานะเป็นไปตามเกณฑ์[15] อัตราการตายของมารดาเกิดจากการทำแท้งที่ปลอดภัยน้อยมากในขณะที่การทำแท้งที่ไม่ปลอดภัยทำให้มีการตายถึง 70,000 ราย และบาดเจ็บถึง 5 ล้านรายในแต่ละปี [7] ภาวะแทรกซ้อนจากการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัยเป็นเหตุการตายของมารดาทั่วโลกในอันดับที่ 8[73] แม้จำนวนจะต่างกันไปในแต่ละพื้นที่[74] ภาวะการมีบุตรยากทุติยภูมิจากการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัยเกิดขึ้นกับผู้หญิงประมาณ 24 ล้านคน[68] แม้อัตราการทำแท้งทั่วโลกจะลดลงจาก 45.6 ล้านรายใน ค.ศ. 1995 เป็น 41.6 ล้านรายใน ค.ศ. 2003 การทำแท้งที่ไม่ปลอดภัยก็ยังเป็นร้อยละ 48 ของการทำแท้งทั้งหมดใน ค.ศ. 2003[67] การให้สุขศึกษา, การเข้าถึงการวางแผนครอบครัวและการพัฒนาการบริการทางการแพทย์ระหว่างและหลังการทำแท้งได้รับการกล่าวถึงว่ามีส่วนในปรากฏการณ์นี้[75]

สมมติฐานมะเร็งเต้านม

[แก้]

มีการศึกษาบางชิ้นที่เสนอถึงความสัมพันธ์ระหว่างการแท้งและมะเร็งเต้านม[76] ผู้ที่เสนอความสัมพันธ์นี้([สมมติฐานมะเร็งเต้านม])กล่าวว่าการตั้งครรภ์เป็นการขัดจังหวะการเจริญของเต้านมตามธรรมชาติทำให้เซลล์ตัวอ่อนที่สามารถเจริญเป็นมะเร็งได้มากกว่าปกติหลงเหลืออยู่ในเต้านม อย่างไรก็ตามองค์กรทางการแพทย์ใหญ่ๆ ทั้งองค์การอนามัยโลก, สถาบันมะเร็งแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา, สมาคมมะเร็งอเมริกัน, ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์, สภาสูติศาสตร์นรีเวชวิทยาอเมริกัน ต่างก็ลงความเห็นจากหลักฐานเชิงประจักษ์ว่าการแท้งมิได้เป็นสาเหตุของมะเร็งเต้านม [77]

สุขภาพจิต

[แก้]

ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานที่บ่งถึงความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างการแท้งและปัญหาสุขภาพจิต[78] ขณะที่สตรีมักจะรู้สึกโล่งใจหลังการทำแท้ง[60] ปัจจัยบางประการในชีวิตของสตรีนั้น เช่น ความผูกพันทางอารมณ์กับการตั้งครรภ์, ขาดการสนับสนุนจากสังคม หรือปัญหาทางจิตเวชที่มีอยู่เดิม ทำให้มีความน่าจะเป็นเพิ่มขึ้นที่เกิดความรู้สึกเชิงลบหลังการแท้ง [79] สมาคมจิตวิทยาอเมริกันได้สรุปว่าการแท้งครั้งเดียวไม่มีผลต่อสุขภาพจิตของสตรี และการแท้งที่ไตรมาสแรกก็ไม่ได้มีความน่าจะเป็นที่จะทำให้สตรีมีปัญหาสุขภาพจิตมากกว่าการตั้งครรภ์ต่อไปจนครบกำหนดคลอด.[80][81] และเช่นเดียวกัน การทำแท้งที่หลังไตรมาสแรกจากความผิดปกติของทารกในครรภ์ก็ไม่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิต [82]

มีการศึกษาบางชิ้นที่ไม่เห็นด้วยกับข้อสรุปข้างต้น นักวิจัยอื่น ๆ และองค์กรวิชาชีพได้กล่าวว่าการศึกษาเกล่านั้นมักจะใช้กลุ่มเปรียบเทียบที่ไม่เหมาะสม ไม่ได้คำนึงถึงปัจจัยรบกวนอื่น ๆ อย่างเพียงพอและไม่ได้อธิบายภาวะแทรกซ้อนทางสุขภาพจิตที่มีมาก่อนอย่างเหมาะสม[note 2]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Grimes, DA; Stuart, G (2010). "Abortion jabberwocky: the need for better terminology". Contraception. 81 (2): 93–6. doi:10.1016/j.contraception.2009.09.005. PMID 20103443.
  2. 2.0 2.1 2.2 Grimes, DA; Benson, J; Singh, S; Romero, M; Ganatra, B; Okonofua, FE; Shah, IH (2006). "Unsafe abortion: The preventable pandemic" (PDF). The Lancet. 368 (9550): 1908–1919. doi:10.1016/S0140-6736(06)69481-6. PMID 17126724. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 29 มิถุนายน 2011.
  3. Raymond, EG; Grossman, D; Weaver, MA; Toti, S; Winikoff, B (November 2014). "Mortality of induced abortion, other outpatient surgical procedures and common activities in the United States". Contraception. 90 (5): 476–479. doi:10.1016/j.contraception.2014.07.012. PMID 25152259.
  4. 4.0 4.1 4.2 Kulier, R; Kapp, N; Gülmezoglu, AM; Hofmeyr, GJ; Cheng, L; Campana, A (9 November 2011). "Medical methods for first trimester abortion". The Cochrane Database of Systematic Reviews (11): CD002855. doi:10.1002/14651858.CD002855.pub4. PMID 22071804.
  5. 5.0 5.1 5.2 Kapp, N; Whyte, P; Tang, J; Jackson, E; Brahmi, D (September 2013). "A review of evidence for safe abortion care". Contraception. 88 (3): 350–63. doi:10.1016/j.contraception.2012.10.027. PMID 23261233.
  6. 6.0 6.1 Lohr, PA; Fjerstad, M; Desilva, U; Lyus, R (2014). "Abortion". BMJ. 348: f7553. doi:10.1136/bmj.f7553.
  7. 7.0 7.1 7.2 Shah, I; Ahman, E (ธันวาคม 2009). "Unsafe abortion: global and regional incidence, trends, consequences, and challenges" (PDF). Journal of Obstetrics and Gynaecology Canada. 31 (12): 1149–58. PMID 20085681. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 16 July 2011.
  8. World Health Organization (2012). Safe abortion: technical and policy guidance for health systems (PDF) (2nd ed.). Geneva: World Health Organization. p. 8. ISBN 9789241548434. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 16 มกราคม 2015.
  9. Sedgh, Gilda; Bearak, Jonathan; Singh, Susheela; Bankole, Akinrinola; Popinchalk, Anna; Ganatra, Bela; Rossier, Clémentine; Gerdts, Caitlin; Tunçalp, Özge; Johnson, Brooke Ronald; Johnston, Heidi Bart; Alkema, Leontine (May 2016). "Abortion incidence between 1990 and 2014: global, regional, and subregional levels and trends". The Lancet. 388: 258–67. doi:10.1016/S0140-6736(16)30380-4. PMC 5498988. PMID 27179755.
  10. "Worldwide, an estimated 25 million unsafe abortions occur each year". World Health Organization. 28 September 2017. สืบค้นเมื่อ 29 September 2017.
  11. 11.0 11.1 Sedgh, G.; Singh, S.; Shah, I. H.; Åhman, E.; Henshaw, S. K.; Bankole, A. (2012). "Induced abortion: Incidence and trends worldwide from 1995 to 2008" (PDF). The Lancet. 379 (9816): 625–632. doi:10.1016/S0140-6736(11)61786-8. PMID 22264435. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2012. Because few of the abortion estimates were based on studies of random samples of women, and because we did not use a model-based approach to estimate abortion incidence, it was not possible to compute confidence intervals based on standard errors around the estimates. Drawing on the information available on the accuracy and precision of abortion estimates that were used to develop the subregional, regional, and worldwide rates, we computed intervals of certainty around these rates (webappendix). We computed wider intervals for unsafe abortion rates than for safe abortion rates. The basis for these intervals included published and unpublished assessments of abortion reporting in countries with liberal laws, recently published studies of national unsafe abortion, and high and low estimates of the numbers of unsafe abortion developed by WHO.
  12. Sedgh G, Henshaw SK, Singh S, Bankole A, Drescher J (กันยายน 2007). "Legal abortion worldwide: incidence and recent trends". International Family Planning Perspectives. 33 (3): 106–116. doi:10.1363/ifpp.33.106.07. PMID 17938093. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 สิงหาคม 2009.
  13. 13.0 13.1 Culwell KR, Vekemans M, de Silva U, Hurwitz M (July 2010). "Critical gaps in universal access to reproductive health: Contraception and prevention of unsafe abortion". International Journal of Gynecology & Obstetrics. 110: S13–16. doi:10.1016/j.ijgo.2010.04.003. PMID 20451196.
  14. Joffe, Carole (2009). "1. Abortion and medicine: A sociopolitical history". Management of Unintended and Abnormal Pregnancy (PDF) (1st ed.). Oxford, United Kingdom: John Wiley & Sons, Ltd. ISBN 978-1-4443-1293-5. OL 15895486W. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 21 October 2011. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=) (help)
  15. 15.0 15.1 Boland, R.; Katzive, L. (2008). "Developments in Laws on Induced Abortion: 1998–2007". International Family Planning Perspectives. 34 (3): 110–120. doi:10.1363/ifpp.34.110.08. PMID 18957353. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 ตุลาคม 2011.
  16. Nixon, edited by Frederick Adolf Paola, Robert Walker, Lois LaCivita (2010). Medical ethics and humanities. Sudbury, Mass.: Jones and Bartlett Publishers. p. 249. ISBN 9780763760632. OL 13764930W. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 กันยายน 2017. {{cite book}}: |first1= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  17. Johnstone, Megan-Jane (2009). Bioethics a nursing perspective (5th ed.). Sydney, N.S.W.: Churchill Livingstone/Elsevier. p. 228. ISBN 9780729578738. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 กันยายน 2017. Although abortion has been legal in many countries for several decades now, its moral permissibilities continues to be the subject of heated public debate.
  18. Sifris, Ronli Noa (2013). Reproductive freedom, torture and international human rights: challenging the masculinisation of torture. Hoboken: Taylor & Francis. p. 3. ISBN 9781135115227. OCLC 869373168. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 ตุลาคม 2015.
  19. Pastor Mark Driscoll (18 ตุลาคม 2013). "What do 55 million people have in common?". Fox News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 สิงหาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2014.
  20. Hansen, Dale (18 มีนาคม 2014). "Abortion: Murder, or Medical Procedure?". The Huffington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 กรกฎาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2014.
  21. Cheng L. (1 พฤศจิกายน 2008). "Surgical versus medical methods for second-trimester induced abortion". The WHO Reproductive Health Library. World Health Organization. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 June 2011. สืบค้นเมื่อ 17 June 2011.
  22. Bankole; และคณะ (1998). "Reasons Why Women Have Induced Abortions: Evidence from 27 Countries". International Family Planning Perspectives. 24 (3): 117–127 & 152. doi:10.2307/3038208. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 มกราคม 2006.
  23. Finer, Lawrence B.; Frohwirth, Lori F.; Dauphinee, Lindsay A.; Singh, Susheela; Moore, Ann M. (2005). "Reasons U.S. Women Have Abortions: Quantitative and Qualitative Perspectives" (PDF). Perspectives on Sexual and Reproductive Health. 37 (3): 110–118. doi:10.1111/j.1931-2393.2005.tb00045.x. PMID 16150658. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 17 มกราคม 2006.
  24. Stubblefield, Phillip G. (2002). "10. Family Planning". ใน Berek, Jonathan S. (บ.ก.). Novak's Gynecology (13 ed.). Lippincott Williams & Wilkins. ISBN 978-0-7817-3262-8.
  25. Bartlett, LA; Berg, CJ; Shulman, HB; Zane, SB; Green, CA; Whitehead, S; Atrash, HK (2004), "Risk factors for legal induced abortion-related mortality in the United States", Obstetrics & Gynecology, 103 (4): 729–37, doi:10.1097/01.AOG.0000116260.81570.60, PMID 15051566
  26. Roche, Natalie E. (28 September 2004). "Therapeutic Abortion". eMedicine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 December 2004. สืบค้นเมื่อ 19 June 2011.
  27. 27.0 27.1 27.2 27.3 Schorge, John O.; Schaffer, Joseph I.; Halvorson, Lisa M.; Hoffman, Barbara L.; Bradshaw, Karen D.; Cunningham, F. Gary, บ.ก. (2008). "6. First-Trimester Abortion". Williams Gynecology (1 ed.). McGraw-Hill Medical. ISBN 978-0-07-147257-9.
  28. Churchill Livingstone medical dictionary. Edinburgh New York: Churchill Livingstone Elsevier. 2008. ISBN 978-0-443-10412-1. The preferred term for unintentional loss of the product of conception prior to 24 weeks' gestation is miscarriage.
  29. Annas, George J.; Elias, Sherman (2007). "51. Legal and Ethical Issues in Obstetric Practice". ใน Gabbe, Steven G.; Niebyl, Jennifer R.; Simpson, Joe Leigh (บ.ก.). Obstetrics: Normal and Problem Pregnancies (5 ed.). Churchill Livingstone. p. 669. ISBN 978-0-443-06930-7. A preterm birth is defined as one that occurs before the completion of 37 menstrual weeks of gestation, regardless of birth weight.
  30. "Stillbirth". Concise Medical Dictionary. Oxford University Press. 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 ตุลาคม 2015. birth of a fetus that shows no evidence of life (heartbeat, respiration, or independent movement) at any time later than 24 weeks after conception
  31. "7 FAM 1470 Documenting Stillbirth (Fetal Death)". United States Department of State. 18 February 2011. สืบค้นเมื่อ 12 January 2016.
  32. Annas, George J.; Elias, Sherman (2007). "24. Pregnancy loss". ใน Gabbe, Steven G.; Niebyl, Jennifer R.; Simpson, Joe Leigh (บ.ก.). Obstetrics: Normal and Problem Pregnancies (5 ed.). Churchill Livingstone. ISBN 978-0-443-06930-7.
  33. Katz, Vern L. (2007). "16. Spontaneous and Recurrent Abortion – Etiology, Diagnosis, Treatment". ใน Katz, Vern L.; Lentz, Gretchen M.; Lobo, Rogerio A.; Gershenson, David M. (บ.ก.). Katz: Comprehensive Gynecology (5 ed.). Mosby. ISBN 978-0-323-02951-3.
  34. Stovall, Thomas G. (2002). "17. Early Pregnancy Loss and Ectopic Pregnancy". ใน Berek, Jonathan S. (บ.ก.). Novak's Gynecology (13 ed.). Lippincott Williams & Wilkins. ISBN 978-0-7817-3262-8.
  35. Cunningham, F. Gary; Leveno, Kenneth J.; Bloom, Steven L.; Spong, Catherine Y.; Dashe, Jodi S.; Hoffman, Barbara L.; Casey, Brian M.; Sheffield, Jeanne S., บ.ก. (2014). Williams Obstetrics (24th ed.). McGraw Hill Education. ISBN 978-0-07-179893-8.
  36. 36.0 36.1 Jauniaux E, Kaminopetros P, El-Rafaey H (1999). "Early pregnancy loss". ใน Whittle MJ, Rodeck CH (บ.ก.). Fetal medicine: basic science and clinical practice. Edinburgh: Churchill Livingstone. p. 837. ISBN 978-0-443-05357-3. OCLC 42792567.
  37. Stöppler, Melissa Conrad. Shiel, William C., Jr. (บ.ก.). "Miscarriage (Spontaneous Abortion)". MedicineNet.com. WebMD. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 August 2004. สืบค้นเมื่อ 7 April 2009.
  38. Stöppler, Melissa Conrad. Shiel, William C., Jr. (บ.ก.). "Miscarriage (Spontaneous Abortion)". MedicineNet.com. WebMD. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 August 2004. สืบค้นเมื่อ 7 April 2009.
  39. "Fetal Homicide Laws". National Conference of State Legislatures. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 11, 2012. สืบค้นเมื่อ 7 April 2009.
  40. 40.0 40.1 Kulier R, Kapp N, Gülmezoglu AM, Hofmeyr GJ, Cheng L, Campana A (2011). "Medical methods for first trimester abortion". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 11 (11): CD002855. doi:10.1002/14651858.CD002855.pub4. PMID 22071804.
  41. 41.0 41.1 Creinin MD, Gemzell-Danielsson K (2009). "Medical abortion in early pregnancy". ใน Paul M, Lichtenberg ES, Borgatta L, Grimes DA, Stubblefield PG, Creinin MD (บ.ก.). Management of unintended and abnormal pregnancy: comprehensive abortion care. Oxford: Wiley-Blackwell. pp. 111–134. ISBN 1-4051-7696-2.
  42. Kapp N, von Hertzen H (2009). "Medical methods to induce abortion in the second trimester". ใน Paul M, Lichtenberg ES, Borgatta L, Grimes DA, Stubblefield PG, Creinin MD (บ.ก.). Management of unintended and abnormal pregnancy: comprehensive abortion care. Oxford: Wiley-Blackwell. pp. 178–192. ISBN 1-4051-7696-2.
  43. Wildschut, H; Both, MI; Medema, S; Thomee, E; Wildhagen, MF; Kapp, N (19 January 2011). "Medical methods for mid-trimester termination of pregnancy". The Cochrane Database of Systematic Reviews (1): CD005216. doi:10.1002/14651858.CD005216.pub2. PMID 21249669.
  44. Chen, MJ; Creinin, MD (July 2015). "Mifepristone With Buccal Misoprostol for Medical Abortion: A Systematic Review". Obstetrics and Gynecology. 126 (1): 12–21. doi:10.1097/AOG.0000000000000897. PMID 26241251.
  45. 45.0 45.1 WHO Department of Reproductive Health and Research (23 พฤศจิกายน 2006). Frequently asked clinical questions about medical abortion (PDF). Geneva: World Health Organization. ISBN 92-4-159484-5. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 26 ธันวาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2011.(ต้องรับบริการ)
  46. Fjerstad M, Sivin I, Lichtenberg ES, Trussell J, Cleland K, Cullins V (September 2009). "Effectiveness of medical abortion with mifepristone and buccal misoprostol through 59 gestational days". Contraception. 80 (3): 282–286. doi:10.1016/j.contraception.2009.03.010. PMC 3766037. PMID 19698822. The regimen (200 mg of mifepristone, followed 24–48 hours later by 800 mcg of vaginal misoprostol) previously used by Planned Parenthood clinics in the United States from 2001 to March 2006 was 98.5% effective through 63 days gestation—with an ongoing pregnancy rate of about 0.5%, and an additional 1% of women having uterine evacuation for various reasons, including problematic bleeding, persistent gestational sac, clinician judgment or a woman's request. The regimen (200 mg of mifepristone, followed 24–48 hours later by 800 mcg of buccal misoprostol) currently used by Planned Parenthood clinics in the United States since April 2006 is 98.3% effective through 59 days gestation.
  47. Holmquist S, Gilliam M (2008). "Induced abortion". ใน Gibbs RS, Karlan BY, Haney AF, Nygaard I (บ.ก.). Danforth's obstetrics and gynecology (10th ed.). Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins. pp. 586–603. ISBN 978-0-7817-6937-2.
  48. Potts, M.; Graff, M.; Taing, J. (2007). "Thousand-year-old depictions of massage abortion". Journal of Family Planning and Reproductive Health Care. 33 (4): 233–234. doi:10.1783/147118907782101904. PMID 17925100.
  49. Mould R (1996). Mould's Medical Anecdotes. CRC Press. p. 406. ISBN 978-0-85274-119-1.
  50. "The Prevention and Management of Unsafe Abortion" (PDF). World Health Organization. April 1995. สืบค้นเมื่อ 1 June 2010.
  51. Grimes, D. A.; Benson, J.; Singh, S.; Romero, M.; Ganatra, B.; Okonofua, F. E.; Shah, I. H. (2006). "Unsafe abortion: The preventable pandemic" (PDF). The Lancet. 368 (9550): 1908–1919. doi:10.1016/S0140-6736(06)69481-6. PMID 17126724.
  52. Grimes, DA; Creinin, MD (2004). "Induced abortion: an overview for internists". Ann. Intern. Med. 140 (8): 620–6. doi:10.1001/archinte.140.5.620. PMID 15096333.
  53. Raymond, E. G.; Grimes, D. A. (2012). "The Comparative Safety of Legal Induced Abortion and Childbirth in the United States". Obstetrics & Gynecology. 119 (2, Part 1): 215–219. doi:10.1097/AOG.0b013e31823fe923. PMID 22270271.
  54. Grimes DA (January 2006). "Estimation of pregnancy-related mortality risk by pregnancy outcome, United States, 1991 to 1999". Am. J. Obstet. Gynecol. 194 (1): 92–4. doi:10.1016/j.ajog.2005.06.070. PMID 16389015.
  55. Bartlett LA; Berg CJ; Shulman HB; และคณะ (April 2004). "Risk factors for legal induced abortion-related mortality in the United States". Obstet Gynecol. 103 (4): 729–37. doi:10.1097/01.AOG.0000116260.81570.60. PMID 15051566. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |author-separator= ถูกละเว้น (help)
  56. Trupin, Suzanne (27 May 2010). "Elective Abortion". eMedicine. สืบค้นเมื่อ 1 June 2010. At every gestational age, elective abortion is safer for the mother than carrying a pregnancy to term.
  57. Pittman, Genevra (23 January 2012). "Abortion safer than giving birth: study". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-06. สืบค้นเมื่อ 4 February 2012.
  58. Westfall JM, Sophocles A, Burggraf H, Ellis S (1998). "Manual vacuum aspiration for first-trimester abortion". Arch Fam Med. 7 (6): 559–62. doi:10.1001/archfami.7.6.559. PMID 9821831. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-04-05. สืบค้นเมื่อ 2012-03-08.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  59. ACOG Committee on Practice Bulletins--Gynecology (May 2009). "ACOG practice bulletin No. 104: antibiotic prophylaxis for gynecologic procedures". Obstet Gynecol. 113 (5): 1180–9. doi:10.1097/AOG.0b013e3181a6d011. PMID 19384149.
  60. 60.0 60.1 Templeton, A.; Grimes, D. A. (2011). "A Request for Abortion". New England Journal of Medicine. 365 (23): 2198–2204. doi:10.1056/NEJMcp1103639. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 มกราคม 2012.
  61. Sawaya GF, Grady D, Kerlikowske K, Grimes DA (May 1996). "Antibiotics at the time of induced abortion: the case for universal prophylaxis based on a meta-analysis". Obstet Gynecol. 87 (5 Pt 2): 884–90. PMID 8677129.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  62. Grossman D (3 September 2004). "Medical methods for first trimester abortion: RHL commentary". Reproductive Health Library. Geneva: World Health Organization. สืบค้นเมื่อ 2011-11-22.
  63. Chien P, Thomson M (15 December 2006). "Medical versus surgical methods for first trimester termination of pregnancy: RHL commentary". Reproductive Health Library. Geneva: World Health Organization. สืบค้นเมื่อ 2010-06-01.
  64. Haddad, LB.; Nour, NM. (2009). "Unsafe abortion: unnecessary maternal mortality". Rev Obstet Gynecol. 2 (2): 122–6. PMC 2709326. PMID 19609407.
  65. 65.0 65.1 Berer M (2000). "Making abortions safe: a matter of good public health policy and practice". Bull. World Health Organ. 78 (5): 580–92. PMC 2560758. PMID 10859852.
  66. Okonofua, F. (2006). "Abortion and maternal mortality in the developing world" (PDF). Journal of Obstetrics and Gynaecology Canada. 28 (11): 974–979. PMID 17169222. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-11. สืบค้นเมื่อ 2012-03-08.
  67. 67.0 67.1 Sedgh G, Henshaw S, Singh S, Ahman E, Shah IH (2007). "Induced abortion: estimated rates and trends worldwide". Lancet. 370 (9595): 1338–45. doi:10.1016/S0140-6736(07)61575-X. PMID 17933648.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  68. 68.0 68.1 "Unsafe abortion: Global and regional estimates of the incidence of unsafe abortion and associated mortality in 2003" (PDF). World Health Organization. 2007. สืบค้นเมื่อ 7 March 2011.
  69. Berer M (November 2004). "National laws and unsafe abortion: the parameters of change". Reprod Health Matters. 12 (24 Suppl): 1–8. doi:10.1016/S0968-8080(04)24024-1. PMID 15938152.
  70. Jewkes R, Rees H, Dickson K, Brown H, Levin J (March 2005). "The impact of age on the epidemiology of incomplete abortions in South Africa after legislative change". BJOG. 112 (3): 355–9. doi:10.1111/j.1471-0528.2004.00422.x. PMID 15713153.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  71. Bateman C (December 2007). "Maternal mortalities 90% down as legal TOPs more than triple". S. Afr. Med. J. 97 (12): 1238–42. PMID 18264602.
  72. Singh, Susheela et al. Adding it Up: The Costs and Benefits of Investing in Family Planning and Newborn Health (New York: Guttmacher Institute and United Nations Population Fund 2009): "If women’s contraceptive needs were addressed (and assuming no changes in abortion laws)...the number of unsafe abortions would decline by 73% from 20 million to 5.5 million." A few of the findings in that report were subsequently changed, and are available at: "Facts on Investing in Family Planning and Maternal and Newborn Health เก็บถาวร 2012-03-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน" (Guttmacher Institute 2010).
  73. Maclean, Gaynor (2005). "XI. Dimension, Dynamics and Diversity: A 3D Approach to Appraising Global Maternal and Neonatal Health Initiatives". ใน Balin, Randell E. (บ.ก.). Trends in Midwifery Research. Nova Publishers. pp. 299–300. ISBN 9781594544774.
  74. Salter, C., Johnson, H.B., and Hengen, N. (1997). "Care for Postabortion Complications: Saving Women's Lives". Population Reports. Johns Hopkins School of Public Health. 25 (1). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-07. สืบค้นเมื่อ 2012-03-08.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  75. UNICEF, United Nations Population Fund, WHO, World Bank (2010). "Packages of interventions: Family planning, safe abortion care, maternal, newborn and child health". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-09. สืบค้นเมื่อ 31 December 2010.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  76. Jasen P (2005). "Breast cancer and the politics of abortion in the United States". Medical History. 49 (4): 423–44. PMC 1251638. PMID 16562329.
  77. * World Health Organization: "Induced abortion does not increase breast cancer risk (Fact sheet N°240)". World Health Organization. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-13. สืบค้นเมื่อ 6 January 2011.
  78. Cockburn, Jayne; Pawson, Michael E. (2007). Psychological Challenges to Obstetrics and Gynecology: The Clinical Management. Springer. p. 243. ISBN 978-1-84628-807-4.
  79. Adler, NE; David, HP; Major, BN; Roth, SH; Russo, NF; Wyatt, GE (1990). "Psychological responses after abortion". Science. 248 (4951): 41–4. doi:10.1126/science.2181664. PMID 2181664.
  80. "APA Task Force Finds Single Abortion Not a Threat to Women's Mental Health" (Press release). American Psychological Association. 12 August 2008. สืบค้นเมื่อ 7 September 2011.
  81. "Report of the APA Task Force on Mental Health and Abortion" (PDF). Washington, DC: American Psychological Association. 13 August 2008.
  82. Steinberg, J. R. (2011). "Later Abortions and Mental Health: Psychological Experiences of Women Having Later Abortions—A Critical Review of Research". Women's Health Issues. 21 (3): S44–S48. doi:10.1016/j.whi.2011.02.002. PMID 21530839.


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "note" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="note"/> ที่สอดคล้องกัน