การร่วมประเวณีกับญาติสนิท
การร่วมประเวณีกับญาติสนิท[note 1] หรือ การสมสู่ร่วมสายโลหิต[note 2] (อังกฤษ: Incest)[1] หมายถึง การมีความสัมพันธ์ทางเพศในทุกรูปแบบกับผู้ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดในครอบครัวเดียวกัน[2] ซึ่งอาจหมายถึงคนในครอบครัว หรือญาติพี่น้อง ซึ่งถือว่าเป็นการผิดกฎหมายและจารีตทางสังคม ในบางสังคม การล่วงละเมิดหมายอาจมีแค่ผู้ที่อยู่ร่วมเคหะสถานเดียวกัน หรือผู้ที่เป็นสมาชิกของเผ่าหรือมีผู้สืบสันดานเดียวกัน; ในบางสังคมมีความหมายรวมไปถึงคนที่สัมพันธ์กันทางสายเลือด; และในสังคมอื่น ๆ รวมไปถึงบุตรบุญธรรมหรือการแต่งงาน[3]
ในการศึกษาบางอย่างได้ระบุว่ารูปแบบของการล่วงละเมิดที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ ระหว่างพ่อกับลูกสาว[4] อย่างไรก็ตาม ในการศึกษาอื่น ๆ เสนอว่าการร่วมประเวณีระหว่างพี่น้องเกิดขึ้นบ่อยเทียบเท่าหรือบ่อยครั้งกว่าการร่วมประเวณีกับญาติสนิทรูปแบบอื่น ๆ[5][6][7] การล่วงละเมิดทางเพศเด็กโดยผู้ใหญ่ถูกพิจารณาว่าเป็นรูปแบบของการข่มขืนต่อเด็กรูปแบบหนึ่ง[8][9] นักวิจัยได้ประมาณการว่าประชากรทั่วไปราว 10-15% เคยมีประสบการณ์การล่วงละเมิดทางเพศแบบดังกล่าวมากกว่าหนึ่งครั้ง ในขณะที่อีกประมาณ 2% เกี่ยวข้องกับการร่วมประเวณีหรือพยายามกระทำร่วมประเวณี[10] ส่วนในผู้หญิง นักวิจัยได้ประมาณการตัวเลขไว้ที่ 20%[11]
ในสังคมส่วนใหญ่มักจะมีการหลีกเลี่ยงการล่วงละเมิดทางเพศของคนในครอบครัวเดียวกันในบางรูปแบบ[12][13] ข้อห้ามการล่วงละเมิดของคนในครอบครัวเดียวกันถือว่าเป็นหนึ่งในข้อห้ามทางวัฒนธรรมในบางสังคม [14]แต่ในทางกฎหมายการร่วมประเวณีกับญาติสนิทมีระดับการยอมรับที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ บางประเทศถือว่าเป็นการผิดกฎหมายและถือว่าเป็นอาชญากรรมที่มีบทลงโทษ[15] บางประเทศยอมรับการเกิดขึ้นได้โดยไม่ถือว่าเป็นอาชญากรรมแต่จะไม่อนุญาตให้มีการแต่งงาน บางประเทศยอมรับด้วยเงื่อนไขที่ผ่อนปรนเช่นยอมให้พี่น้องแต่งงานกันได้แต่ห้ามการแต่งงานระหว่างบุพการีกับบุตร บางประเทศห้ามเฉพาะผู้ใหญ่กับญาติที่ยังเป็นผู้เยาว์เท่านั้น จนถึงบางประเทศที่กฎหมายเปิดเสรี
ประวัติ
[แก้]การร่วมประเวณีของคนในครอบครัวเดียวกันเชื่อว่าเป็นที่ยอมรับและเกิดขึ้นอย่างเป็นเรื่องปกติตลอดช่วงการวิวัฒนาการของมนุษย์ ต่อเนื่องตลอดยุคหิน จนถึงยุคสำริด และยังคงดำรงอยู่จนถึงปัจจุบันในบางส่วนของโลกเช่นในกลุ่มประเทศหมู่เกาะโพลีนีเซีย หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่รู้จักแพร่หลายมาจากประเทศอียิปต์ ที่ฟาโรห์แต่งงานกับพี่สาวน้องสาวหรือแม้แต่ลูกสาวของพระองค์เอง หลังจากพ้นยุคสำริดแล้วการร่วมประเวณีของคนในครอบครัวเดียวกันเป็นที่ยอมรับน้อยลงเนื่องมาจากอิทธิพลความเชื่อทางศาสนา โดยเฉพาะกลุ่มศาสนายิว คริสต์ อิสลาม ที่มีบทบัญญัติห้ามการร่วมประเวณีของคนในครอบครัว
ข้อห้ามการล่วงละเมิดทางเพศของคนในครอบครัวเดียวกันเกิดมาเมื่อใดไม่มีใครทราบ รู้แต่ว่าหลักฐานที่มีที่เก่าแก่ที่สุดมาจากคัมภีร์ไบเบิล เมื่อโมเสสบอกว่าไม่ให้มีการสมสู่ระหว่างบิดาต่อลูก พี่ต่อน้อง ซึ่งถือเป็นการลบหลู่เกียรติของพระเจ้าสูงที่สุด และต้องถูกขว้างด้วยก้อนหินจนตาย[16]
อย่างในก็ตามในคัมภีร์ปฐมกาลก็ได้มีเรื่องราวของการร่วมประเวณีกับญาติสนิทอยู่เช่นกัน ในเรื่องราวกำเนิดคนโมอับและคนอัมโนนนั้น ลูกสาวสองคนของโลทซึ่งรอดจากพระพิโรธของพระเจ้าที่ทำลายเมืองโสโดมจนสิ้นนั้นได้หลับนอนกับโลทผู้เป็นบิดา และให้กำเนิดลูกชื่อโมอับและเบนอัมมี[17]
ในปัจจุบันการร่วมประเวณีของคนในครอบครัวเดียวกันกลับมาเป็นที่ยอมรับในหลายประเทศ จุดย้อนกลับเริ่มหลังการปฏิวัติฝรั่งเศสได้มีความพยายามขจัดอิทธิพลของศาสนจักรออกไปจากการปกครอง ในหลายประเทศที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของฝรั่งเศสได้ยกเลิกกฎหมายต่างๆที่ถูกตราขึ้นเพื่อรองรับอำนาจของศาสนจักร รวมทั้งกฎหมายห้ามการร่วมประเวณีของคนในครอบครัวซึ่งถูกมองว่าเป็นข้อห้ามทางศาสนาได้ถูกยกเลิกไปในตอนนั้น อย่างไรก็ตามหลังยุคปฏิวัติฝรั่งเศสหลายประเทศได้มีการรื้อฟื้นตรากฎหมายเหล่านั้นกลับขึ้นมาในลักษณะที่ผ่อนปรนมากกว่าเดิม โดยส่วนใหญ่เป็นการบัญญัติเงื่อนไขข้อห้ามของการแต่งงานเท่านั้น แต่มักจะไม่ถือว่าเป็นความผิดทางอาญาหากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น
เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ ศัพท์ทางนิติศาสตร์
- ↑ ศัพท์ทางแพทยศาสตร์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Ruth K. Westheimer. (1994). Dr. Ruth's Encyclopedia of Sex. The Jerusalem Publishing Herese. และ เอนก อารีพรรค, สุวัทนา อารีพรรค. (2525) เรียนรู้เรื่องเพศ. โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. Incest /เพศสัมพันธ์ในเครือญาติ
- ↑ Summers, Dellar. Longman Dictionary of Contemporary English. 4th ed. (Italy: Pearson Education Limited, 2005)
- ↑ Elementary Structures Of Kinship, by Claude Lévi-Strauss. (tr.1971).
- ↑ Herman, Judith (1981). Father-Daughter Incest. Cambridge, Massachusetts: Harvard University Press. pp. 282. ISBN 0-674-29506-4.
- ↑ Goldman, R., & Goldman, J. (1988). The prevalence and nature of child sexual abuse in Australia. Australian Journal of Sex, Marriage and Family, 9 (2), 94-106.
- ↑ Finkelhor, D. (1979). Sexually victimised children. New York: Free Press.
- ↑ Rayment-McHugh, Sue and Ian Nesbit. 2003. Sibling Incest Offenders As A Subset of Adolescent Sex Offenders. Paper presented at the Child Sexual Abuse: Justice Response or Alternative Resolution Conference convened by the Australian Institute of Criminology and held in Adelaide, 1-2 May 2003
- ↑ Kathleen C. Faller (1993), Child Sexual Abuse: Intervention and Treatment Issues, DIANE Publishing, p. 64, ISBN 9780788116698.
{{citation}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|separator=
ถูกละเว้น (help) - ↑ Diane H. Schetky; Arthur H. Green (1988), Child Sexual Abuse: A Handbook for Health Care and Legal Professionals, Psychology Press, p. 128, ISBN http://books.google.com/books?id=QYyzGgZbllYC.
{{citation}}
: ตรวจสอบค่า|isbn=
: ตัวอักษรไม่ถูกต้อง (help); แหล่งข้อมูลอื่นใน
(help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์|isbn=
|separator=
ถูกละเว้น (help) - ↑ Nemeroff, Charles B.; Craighead, W. Edward (2001). The Corsini encyclopedia of psychology and behavioral science. New York: Wiley. ISBN 0-471-24096-6.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Courtois, Christine A. (1988). Healing the Incest Wound: Adult Survivors in Therapy. W. W. Norton & Company. pp. p208. ISBN 0393313565.
{{cite book}}
:|pages=
has extra text (help) - ↑ Brown, Donald E., Human Universals. New York: McGraw-Hill, 1991, p. 118-29
- ↑ Turner, Jeffrey S. (1996). Encyclopedia of Relationships Across the Lifespan. Greenwood Publishing Group. pp. p92. ISBN 031329576X.
{{cite book}}
:|pages=
has extra text (help) - ↑ Incest: The Nature and Origin of the Taboo, by Emile Durkheim (tr.1963)
- ↑ Kinship, Incest, and the Dictates of Law, by Henry A. Kelly, 14 Am. J. Juris. 69
- ↑ สมาคมพระคริสตธรรมไทย. "พระคริสตธรรมคัมภีร์" เลวีนิติ 18:6-18. กรุงเทพมหานคร: สมาคมพระคริสตธรรมไทย, 1995.
- ↑ ปฐมกาล 19 | THSV11 พระคัมภีร์ | YouVersion.