ข้ามไปเนื้อหา

สื่อลามกเกย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รูปภาพนักแสดงและทีมงานขณะกำลังเตรียมตัวถ่ายทำภาพยนตร์ลามกเกย์เรื่องเม็นออฟอิสราเอล

สื่อลามกเกย์ (อังกฤษ: gay pornography) คือ สื่อลามกที่นำเสนอพฤติกรรมทางเพศระหว่างผู้ชายกับผู้ชาย ซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้ผู้รับชมเกิดอารมณ์ทางเพศในระหว่างการรับชม

สื่อลามกเกย์นี้ยังหมายถึงภาพยนตร์ลามกเกย์ในรูปแบบซอฟต์คอร์ ซึ่งเป็นสื่อลามกที่แสดงให้เห็นถึงฉากทางเพศแต่ไม่ได้มีการเปิดเผยเรือนร่างหรือพฤติกรรมทางเพศทั้งหมด[1] ทั้งนี้ ภาพยนตร์ประเภทนี้อาจจะมีการนำเสนอผู้ชายในลักษณะรูปแบบบีฟเค้ก ซึ่งสามารถตอบสนองอารมณ์ทางเพศของทั้งผู้หญิงรักต่างเพศและผู้ชายรักร่วมเพศ[2]

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่าสื่อลามกเกย์เกิดขึ้นตั้งแต่ยุคกรีซโบราณผ่านรูปภาพแนวโฮโมอีโรติกซึ่งเป็นงานศิลป์ที่สะท้อนให้เห็นถึงความหลงใหลในเพศเดียวกันผ่านรูปวาดของศิลปิน[3] อย่างไรก็ตามในปัจจุบันสื่อลามกเกย์ได้พัฒนาทั้งในรูปแบบแผ่นดีวีดี กล่องรับสัญญาณ และเครือข่ายสัญญาณไร้สาย ซึ่งถ่ายทอดผ่านทางอินเทอร์เน็ตในรูปแบบภาพและวิดีโอ

สื่อลามกเกย์ในสหรัฐ

[แก้]
The Swimming Hole (1884–85) รูปภาพโฮโมอีโรติกโดยศิลปินชาวอเมริกัน ทอมัส เอคินส์ (1844–1916)[4][5]

เริ่มแรกศิลปะในรูปแบบโฮโมอีโรติกถือเป็นสื่อลามกเกย์ชิ้นแรกที่ใช้กันมานานยาวนานจนกระทั่งได้เริ่มมีพัฒนาการของสื่อในด้านของรูปภาพและภาพยนตร์เกิดขึ้น ในช่วงแรกสื่อลามกทุกชนิดถือเป็นของใต้ดินเนื่องจากกฎหมายของสหรัฐที่ยังไม่รองรับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อที่นำเสนอภาพลักษณ์ของชายรักร่วมเพศอาจถูกดำเนินคดีอย่างรุนแรง ดังนั้นในช่วงทศวรรษที่ 1940 และ 1950 สื่อลามกเกย์โดยส่วนใหญ่จะเป็นรูปภาพของนักกีฬาเพาะกายผู้ชาย โดยรูปภาพอาจจะมีเปิดแบบเรือนร่างทั้งหมดหรือสวมใส่เพียงแค่ชุดชั้นในชาย The Athletic Model Guild (AMG) ถือเป็นสตูดิโอแห่งแรกในสหรัฐที่ผลิตสื่อลามกเกย์สำหรับเชิงพาณิชย์ที่ถูกก่อตั้งโดย Bob Mizer ในปีค.ศ. 1945 โดยสื่อลามกอนาจารเกย์ชิ้นแรกที่สตูดิโอแห่งนี้ผลิตคือนิตยสาร Physique Pictorial ในปี ค.ศ. 1951 นิตยสารหัวนี้ได้ใส่รูปภาพของทอมออฟฟินแลนด์เพิ่มเข้าไปหลายฉบับ[6]

ช่วงทศวรรษที่ 1960 และ 1970 การใช้กล้องฟิล์มขนาด 16 มม. ที่มีการใช้แพร่หลายมากขึ้นส่งผลทำให้สื่อลามกอนาจารเกย์เริ่มมีความหลากหลายมากขึ้นโดยเฉพาะในรูปแบบภาพยนตร์ การขายสื่อเหล่านี้นั้นส่วนใหญ่จะส่งขายผ่านทางไปรษณีย์หรือช่องทางที่ผู้คนไม่สามารถพบเห็นได้ ในช่วงแรกนักแสดงภาพยนตร์ลามกเกย์และค่ายภาพยนตร์จะนิยมออกเดินทางไปยังโรงแรมในเมืองต่าง ๆ ของสหรัฐอเมริกา เพื่อขายสื่อลามก โดยการรับรู้จะเป็นการบอกเล่าแบบปากต่อปาก หรือการโฆษณาผ่านทางนิตยสาร แต่ในระหว่างช่วงทวรรษที่ 1960 นั้นศาลสูงสุดของสหรัฐได้เริ่มมีการพิจารณาและให้การค้าขายสื่อลามกอนาจารถูกกฎหมายมากขึ้น ซึ่งภาพยนตร์เรื่อง Boys in the Sand ก็ถือเป็นภาพยนตร์ลามกเกย์เรื่องแรกในสหรัฐที่ได้เข้าฉายครั้งแรกในเดือนธันวาคม ค.ศ.1971 ที่โรงภาพยนตร์ในนิวยอร์ก ภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ถือเป็นภาพยนตร์ลามกที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก[7]

การผลิตภาพยนตร์ลามกเกย์ในสหรัฐเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากในช่วงทศวรรษที่ 1970 ตามจำนวนที่เพิ่มขึ้นของโรงภาพยนตร์ลามกในสหรัฐ โดยการถ่ายทำส่วนใหญ่จะเป็นในสถานที่ที่ผู้ชายสามารถที่จะมีกิจกรรมทางเพศกับผู้ชายได้ ทั้งนี้เนื้อหาของภาพยนตร์จะเป็นสถานการณ์จำลองในสถานที่ต่าง ๆ เช่น โรงอาบน้ำเกย์, เซ็กซ์คลับ หรือ ชายหาด เป็นต้น

นับตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1970 ถึง ทศวรรษที่ 1980 วงการภาพยนตร์ลามกเกย์ถือเป็นอุตสาหกรรมภาพยนตร์ขนาดใหญ่ในสหรัฐ[8] และเริ่มมีการคัดเลือกนักแสดงอย่างจริงจังมากขึ้นโดยส่วนใหญ่ค่ายภาพยนตร์จะคัดเลือกในกลุ่มชายรักร่วมเพศก่อนแต่ก็มีชายรักร่วมเพศน้อยคนมากที่จะหันมาเล่นภาพยนตร์ลามกเกย์ในยุคนั้นเนื่องจากความเกรงกลัวที่จะถูกสังคมประณามและเสี่ยงต่อการถูกเปิดเผย

ในช่วงทศวรรษที่ 1980 ภาพยนตร์ลามกเกย์ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบมาเป็นวิดีโอคาสเซ็ตมากขึ้นและจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสเอชไอวีและโรคเอดส์ทำให้กิจกรรมทางเพศในพื้นที่สาธารณะนั้นได้รับความนิยมลดลงเป็นอย่างมากจากทั้งหมดทำให้โรงภาพยนตร์ลามกเสื่อมความนิยมอย่างรวดเร็ว โดยจากสถานการณ์ดังกล่าวก็ทำให้ภาพยนตร์ลามกมีต้นทุนที่ต่ำลงรวมทั้งราคาขายซึ่งก็สามารถที่จะเข้าถึงกลุ่มคนดูได้อย่างแพร่หลายในสหรัฐ โดยภาพยนตร์ลามกเกย์ในสหรัฐนั้นไม่มีแค่เพียงกลุ่มชายรักร่วมเพศในอุตสาหกรรมเท่านั้นแต่มีกลุ่มชายรักต่างเพศร่วมด้วย โดย Chi Chi Larue ผู้กำกับภาพยนตร์ลามกเกย์ในยุคนั้นได้ออกมาเปิดเผยว่าผู้ชายที่แสดงในภาพยนตร์ลามกเกย์ร้อยละ 60 จะเป็นกลุ่มชายรักต่างเพศหรือเกย์-ฟอร์-เพย์ ซึ่งประเด็นนี้ก็ถือเป็นประเด็นที่ยังมีการถกเถียงกัน[9]

ต่อมาในช่วงทศวรรษที่ 1990 อุตสาหกรรมภาพยนตร์ลามกเกย์ได้เริ่มมีความหลากหลายในตัวสื่อมากขึ้น โดย Kristen Bjorn ก็ถือเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ลามกเกย์ที่ยกระดับทั้งคุณภาพของวิดีโอ, การดูแลนักแสดง และเทคนิคการถ่ายทำให้มีคุณภาพมากขึ้น โดยทั้งหมดก็ทำให้อุตสาหกรรมภาพยนตร์ลามกเกย์ในสหรัฐมีการแข่งขันที่ถูกมากขึ้น ทั้งนี้ในความหลากหลายก็เกิดกลุ่มตลาดเฉพาะขึ้นในวงการภาพยนตร์ลามกเกย์เป็นอย่างมาก เช่น ภาพยนตร์ลามกเกย์ในลักษณะของผู้ชายตามชาติพันธุ์, ผู้ชายข้ามเพศ, ผู้ชายในเครื่องแบบ หรือในลักษณะ BDSM

นักแสดงในวงการภาพยนตร์ลามกเกย์ของสหรัฐช่วงศตวรรษที่ 21

และช่วงศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมาวงการภาพยนตร์ลามกเกย์ถือเป็นหนึ่งอุตสาหกรรมบันเทิงที่มีผลตอบแทนสูงสุดอีกหนึ่งอุตสาหกรรมโดยจะเห็นได้จากการทำภาพยนตร์ลามกเกย์ได้นำผู้ชายรักต่างเพศมาแสดงโดยเฉพาะ อาทิ Sean Cody, Active Duty หรือ Bel Ami จากความหลากหลายของวงการทำให้ภาพยนตร์ลามเกย์ได้มีการแพร่หลายและทำการตลาดในอินเทอร์เน็ตมากขึ้น

สื่อลามกเกย์ในไทย

[แก้]

สำหรับประเทศไทยนั้นก็ผลิตและเผยแพร่สื่อลามกอนาจารยังถือเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตามสื่อลามกอนาจารเกย์ในประเทศไทยเริ่มมีอย่างแพร่หลายในช่วงทศวรรษที่ 1980 จากการที่นิตยสารมิถุนาได้เริ่มปรากฏขึ้นโดยเนื้อหานิตยสารในช่วงแรกจะมีทั้งรูปภาพผู้ชายและผู้หญิงในลักษณะเปลือยกายประกอบด้วย ก่อนที่ภายหลังจะมีแต่รูปภาพผู้ชายแต่เพียงอย่างเดียวจากการที่สำนักพิมพ์ได้ทำการสำรวจกลุ่มลูกค้าแล้วพบว่าโดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ชายที่มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งนี้ทางสำนักพิมพ์ก็ได้มีนิตยสารมิถุนา จูเนียร์ออกมาเพื่อในสะดวกต่อการจัดเก็บมากขึ้นต่อผู้คน ในราคา 30 บาท จากกระแสของนิตยสารมิถุนาทำให้ในช่วงนั้นได้มีนิตยสารภาพผู้ชายในประเทศไทยอย่างมากมายไม่ว่าจะเป็น นิตยสารนีออน, นิตยสารมรกต, นิตยสารมิดเวย์ เป็นต้น[10]

ทั้งนี้นอกจากรูปแบบนิตยสารแล้วสื่อลามกอนาจารเกย์ในประเทศไทยในยุคนั้นยังมีส่งรูปภาพโป๊ปลือยของผู้ชายผ่านจากไปรษณีย์ราวละ 5 ถึง 6 รูปภาพ ในราคาประมาณ 100 บาท ซึ่งโดยส่วนใหญ่รูปภาพดังกล่าวจะเป็นรูปภาพเบื้องหลังของนายแบบในนิตยสารในแต่ละฉบับ ซึ่งนิตยสารเหล่านี้โดยส่วนใหญ่จะถูกตั้งขายแบบซุกซ่อนเพื่อไม่ให้คนเห็น ต่อมานิตยสารภาพผู้ชายได้มีการปรับราคาที่สูงมากขึ้นจากปัจจัยต่างๆทำให้นิตยสารภาพผู้ชายในประเทศไทยทยอยหายไปในที่สุด[10]

ในปัจจุบันจากการที่อินเทอร์เน็ตสามารถเข้าถึงได้อย่างง่ายดายมากยิ่งขึ้นทำให้รูปแบบสื่อลามกอนาจารเกย์ในประเทศไทยทั้งในรูปแบบรูปภาพหรือวิดีโอได้ถูกเผยแพร่ไปยังอินเทอร์เน็ตซึ่งผู้ที่ทำการลงสื่อเหล่านี้ของตนเองมักจะถูกนิยามว่า “แอคเค่อ”[11]

เพศศึกษา

[แก้]

จากการศึกษาพบว่าสื่อลามกอนาจารอาจจะเป็นสื่อในการเรียนรู้เกี่ยวกับในเรื่องเพศศึกษาและความสัมพันธ์ ในกรณีที่บางคนไม่สามารถเรียนรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกันทั้งจากในโรงเรียน, ครอบครัว, เพื่อน หรือ สังคมรอบข้าง เป็นต้น สื่อลามกเกย์ซึ่งเป็นสื่อที่แสดงพฤติกรรมทางเพศระหว่างผู้ชายกับผู้ชายอาจจะสื่อหลักในการเรียนรู้เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกันซึ่งเป็นประเด็นที่นอกเหนือจากจุดประสงค์หลักคือการให้ผู้รับชมเกิดอารมณ์ทางเพศ[12] โดยมุมมองบางส่วนได้มีความคิดเห็นว่าสื่อลามกเกย์ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อย่างแท้จริง แต่ทั้งนี้ก็มีผลการศึกษาออกมาว่าสื่อลามกเกย์แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทั้งในด้านร่างกายและคำพูด [13]

เกย์-ฟอร์-เพย์

[แก้]

เกย์-ฟอร์-เพย์ (อังกฤษ: Gay-for-pay) ในปัจจุบันประเด็นเกย์ฟอร์เพย์ถือเป็นประเด็นที่มีการถกเถียงเป็นอย่างมากแม้กระทั่งกลุ่มของชายรักร่วมเพศ Escoffier ได้ออกมานิยามเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวนี้ว่าตราบใดที่นักแสดงผู้ชายรักต่างเพศสามารถมีอารมณ์ทางเพศและถึงจุดสุดยอดพฤติกรรมเหล่านี้ถือเป็นพฤติกรรมรักร่วมเพศและถือเป็นภาพยนตร์ลามกและภาพยนตร์ลามกเกย์อย่างแท้จริง[8] ขณะที่ Simon และ Gagnon จะมีความคิดเกี่ยวกับประเด็นต่างออกไปจากการศึกษาบทละครในเรื่องจะพบว่านักแสดงจะแค่แสดงไปตามบทละครที่ได้รับมอบหมายและแสดงพฤติกรรมทางเพศตามที่ตนเองได้เรียนรู้มา ดังนั้นจึงไม่มีภาพยนตร์ลามกใดเป็นภาพยนตร์ลามกอย่างแท้จริง [8]

จากคำว่า “เกย์ฟอร์เพย์” ถือเป็นคำนิยามของผู้ชายรักต่างเพศที่ต้องการเข้ามาในอุตสาหกรรมนี้เพื่อแรงจูงใจทางด้านการเงินเท่านั้น ซึ่ง Escoffier มองว่าการนิยามดังกล่าวเป็นการนิยามที่ไม่เหมาะสม โดยเหตุผลในการเข้าวงการภาพยนตร์ลามกเกย์ของพวกเขาอาจจะเป็นเหตุผลอื่นซึ่งนอกอื่นจากเหตุผลทางด้านการเงิน ทั้งเหตุผลทางด้านความอยากรู้อยากเห็นหรือเหตุผลการที่พวกเขากำลังค้นหาตัวเอง เป็นต้น[8]

ในบรรดานักแสดงชายรักต่างเพศในวงการนี้จะมีความพึงพอใจในบทบาทของการเป็นฝ่ายรุกและฝ่ายรับที่แตกต่างกันออกไป โดยเป็นเรื่องปกติที่พวกเขาจะเข้าสู่วงการนี้จากการเล่นเป็นฝ่ายรุกก่อนที่จะเริ่มเป็นฝ่ายรับจากกระแสตอบรับของแฟนคลับหรือค่ายภาพยนตร์ได้ยื่นคำเสนอมาให้ เกย์ฟอร์เพย์โดยส่วนใหญ่จะมีความพึงพอใจกับการเป็นฝ่ายรุกมากกว่าจากพฤติกรรมที่แสดงให้เห็นถึง “ความเป็นเกย์ที่น้อยกว่า” เนื่องจากพฤติกรรมในการร่วมเพศมีความคล้ายคลึงกับพฤติกรรมการร่วมเพศของรักต่างเพศ แต่ในขณะเดียวกันก็มีเกย์ฟอร์เพย์บางส่วนที่เลือกจะเป็นฝ่ายรับจากเหตุผลที่ว่าพวกเขาสามารถทำมันได้และอวัยวะเพศของพวกเขาไม่จำเป็นต้องแข็งตัวอยู่ตลอดเวลา จากเหตุผลทั้งหมดเป็นการแสดงให้เห็นถึงการที่พวกเขาพยายามจะทำให้ตนเองรู้สึกถึง “ความเป็นเกย์ที่น้อยกว่า” ในขณะที่ร่วมฉากกับผู้ชายอีกฝ่าย[8]

และถึงแม้ว่าพวกเขาจะทำงานในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ลามกเกย์แต่ก็ยังมีนักแสดงผู้ชายรักต่างเพศบางรายที่มีจุดยืนต่อต้านเพศทางเลือกในสังคมและทำให้ส่งผลกระทบต่อการทำงานเป็นอย่างมากในแต่ละครั้ง ซึ่งนักแสดงภาพยนตร์ลามกเกย์ที่เป็นผู้ชายเพศทางเลือกบางคนมักจะรู้สึกมีความหนักใจเมื่อจะแสดงร่วมกับนักแสดงชายรักต่างเพศเนื่องจากขาดอารมณ์ร่วมระหว่างกันและกัน Tommy Cruise นักแสดงภาพยนตร์ลามกเกย์ซึ่งมีรสนิยมทางเพศเป็นไบเซ็กชวลได้ออกมาเปิดเผยว่า “มีผู้ชายรักต่างเพศหลายคนในวงการนี้ที่ไม่อยากจะให้ผมแตะเนื้อต้องตัวพวกเขา ซึ่งผมก็มีความรู้สึกว่าถ้าแบบนี้พวกคุณจะเข้ามาในวงการนี้ทำไม?” แต่ในขณะเดียวกันนักแสดงภาพยนตร์ลามกเกย์ที่เป็นผู้ชายที่มีความหลากหลายทางเพศก็รู้สึกสนุกกับการร่วมงานกับผู้ชายรักต่างเพศ อาทิ Buddy Jones ซึ่งเขาก็ได้ออกมาเปิดเผยว่าตราบใดที่การมีเพศสัมพันธ์ออกมาดี มันก็ไม่จำเป็นต้องสนใจว่าพวกเขาเป็นอะไร[8]

แบร์แบ็ก

[แก้]

การแบร์แบ็ก (อังกฤษ: Bareback) คือการร่วมเพศทางทวารหนักโดยไม่สวมใส่ถุงยางอนามัยป้องกัน ในช่วงทศวรรษที่ 1970 และ 1980 จากการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ ทำให้ผู้กำกับภาพยนตร์ลามกเกย์หลายค่ายหันมาให้นักแสดงสวมใส่ถุงอนามัยในขณะที่ร่วมเพศมากขึ้นเพื่อสุขภาพของตัวนักแสดงและเป็นตัวอย่างให้กับผู้รับชมในการปฏิบัติ โดยในช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 นั้นภาพยนตร์ลามกเกย์เริ่มมีการให้นักแสดงสวมใส่ถุงยางอนามัยในขณะร่วมฉากเป็นส่วนใหญ่[14] แต่ทั้งนี้ค่ายภาพยนตร์บางส่วนก็ยังไม่มีการให้นักแสดงสวมถุงยางอนามัยขณะร่วมเพศ อาทิ ค่าย Treasure Island ที่ได้มีการให้นักแสดงมีเพศสัมพันธ์แบบแบร์แบ็กตั้งแต่ปีค.ศ.1999 หรือค่ายภาพยนตร์ลามกเกย์ขนาดใหญ่อย่าง Kristen Bjorn Productions ก็ได้มีการให้นักแสดงมีเพศสัมพันธ์แบบแบร์แบ็กเฉพาะกับคู่นักแสดงที่กำลังคบหาดูใจในชีวิตจริง ส่วนค่ายภาพยนตร์อื่นๆอย่าง Falcon Entertainment ก็ได้มีการนำภาพยนตร์ที่มีการมีเพศสัมพันธ์แบบแบร์แบ็กก่อนน่านั้นมาออกใหม่[15] ซึ่งค่ายภาพยนตร์ลามกเกย์บางค่ายจะนิยมใช้เทคนิกการตัดต่อไม่ให้เห็นถุงยางอนามัยและทำเหมือนเป็นการมีเพศสัมพันธ์แบบแบร์แบ็ก ซึ่งความเป็นจริงคือนักแสดงได้มีการป้องกันและสวมใส่ถุงอนามัยขณะร่วมเพศ แต่ทั้งนี้ก็ยังมีบางค่ายที่ใช้วิธีนี้แต่นำเสนอการมีเพศสัมพันธ์แบบป้องกันในรูปแบบอื่น เช่น การถ่ายไปที่กล่องถุงยางอนามัยด้วย เป็นต้น

นักวิชาการบางส่วนได้ลงความเห็นเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวนี้ว่าแม้ว่าคำว่า “แบร์แบ็ก” กับ “ยูเอไอ (UAI)” จะมีความหมายที่ตรงกันแต่แฝงไว้ด้วยความแตกต่าง โดยคำว่า “แบร์แบ็ก” ซึ่งแปลว่าเปลือยเปล่าได้ถูกนำมาใช้มากขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ทางการตลาด โดยเหตุผลก็เพราะว่า “ยูเอไอ (UAI)” หรือ “Unprotected Anal Intercourse” ซึ่งแปลว่าการมีเพศสัมพันธ์ทางรูทวารหนักโดยไม่มีการป้องกัน จากคำดังกล่าวอาจจะทำให้ผู้อ่านนึกถึงการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่มีการป้องกันซึ่งมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ได้ และทำให้วงการภาพยนตร์ลามกเกย์ไม่นิยมใช้คำดังกล่าวในการนิยาม อย่างไรก็ตามแม้ว่าคำว่า “แบร์แบ็ก” จะถูกใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ลามกเกย์แต่จากผลการศึกษาพบว่าทั้ง 2 คำให้ความรู้สึกในเชิงลบต่อผู้ที่ทำการทดลองเหมือนกัน [16]

ผู้รับชม

[แก้]

ในเดือนสิงหาคม ค.ศ.2005 เจนนา เจมสัน ได้ทำการเปิดตัวเว็บไซต์ "Club Thrust" ซึ่งเนื้อหาภายในเว็บไซต์ได้มีสื่อเกี่ยวกับภาพยนตร์ลามกเกย์ประกอบด้วย จากทั้งหมดทำให้เห็นว่ากลุ่มผู้หญิงก็มีความสนใจในภาพยนตร์ลามกเกย์ด้วยเช่นกัน[17][18] ทั้งนี้ผู้หญิงที่มีรสนิยมทางเพศทั้งในรูปแบบรักร่วมเพศ และรักร่วมสองเพศ บางส่วนก็มีความชื่นชอบสื่อลามกเกย์โดยเฉพาะแนวยะโอะอิ[19] และจากสถิติของนิตยสาร Mother Jones พบว่าประเทศปากีสถานเป็นประเทศที่มีการค้นหาเกี่ยวกับภาพยนตร์ลามกเกย์เยอะมากที่สุดในโลก[20]

ดูเพิ่มเติม

[แก้]

เอกสารประกอบ

[แก้]

เอกสารวิชาการ

[แก้]

ชีวประวัติ

[แก้]

สารคดี

[แก้]
  • Beyond Vanilla (Claes Lilja, 2001)
  • Gay Sex in the 70s. (Joseph F. Lovett, 2005)
  • That Man: Peter Berlin. (Jim Tushinski, 2005)
  • Island. (Ryan Sullivan, 2010)

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Meaning of soft-core in English". Cambridge Dictionary.
  2. e.g. DNA (magazine), Blueboy (magazine)
  3. สุนทรพิพิธ, พันธุ์ชนะ (17 April 2018). "'Homoeroticism' ความหลงใหลต่อเพศเดียวกันใน Call Me By Your Name". GQ Thailand.
  4. Bolger, Doreen; Barry, Claire M. (March 1994). "Thomas Eakins's 'Swimming Hole.' – 1885 painting in the Amon Carter Museum, Fort Worth, Texas". Magazine Antiques. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-08-27. สืบค้นเมื่อ January 6, 2009.
  5. Bolger, Doreen; Cash, Sarah; et al. Thomas Eakins and the Swimming Picture. Amon Carter Museum, 1996. ISBN 0-88360-085-4
  6. Ramakers, Mischa. Dirty Pictures: Tom of Finland, Masculinity and Homosexuality. New York: Saint Martin's Press, 2001. ISBN 0-312-20526-0
  7. Burger, John R. One-Handed Histories: The Eroto-Politics of Gay Male Video Pornography. New York: Harrington Park Press, 1995. ISBN 1-56023-852-6
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 8.5 Escoffier, Jeffrey (2003). "Gay-for-Pay: Straight Men and the Making of Gay Pornography". Qualitative Sociology. 26 (4): 531–555. doi:10.1023/B:QUAS.0000005056.46990.c0. S2CID 144886310.
  9. Escoffier, Jeffrey (2003). "Gay-for-Pay: Straight Men and the Making of Gay Pornography". Qualitative Sociology. 26 (4): 531–555. doi:10.1023/B:QUAS.0000005056.46990.c0. S2CID 144886310.
  10. 10.0 10.1 ""ดงกาม" ในตำนานนิตยสารเกย์(ไทย)". ผู้จัดการออนไลน์. 16 March 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 January 2022.
  11. ดงทอง, สุธาวัฒน์ (27 November 2020). "แอคเค่อและการนัดยิ้ม 101". Spectrum. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-07. สืบค้นเมื่อ 2022-01-20.
  12. Grubbs, J. B.; Wright, P. J.; Braden, A. L.; Wilt, J. A.; Kraus, S. W. (February 20, 2019). "Internet pornography use and sexual motivation: A systematic review and integration". Annal of the International Communication Association. 43 (2): 117–155. doi:10.1080/23808985.2019.1584045. S2CID 150764824.Closed access
  13. Newton, James D. A.; Halford, W. Kim; Barlow, Fiona K. (September 26, 2020). "Intimacy in Dyadic Sexually Explicit Media Featuring Men Who Have Sex with Men". The Journal of Sex Research. 58 (3): 279–291. doi:10.1080/00224499.2020.1817837. PMID 32975464. S2CID 221918661.Closed access
  14. Holt, Madeleine (March 4, 2008). "HIV scandal in gay porn industry". BBC. สืบค้นเมื่อ May 10, 2008.
  15. "Bareback Classics" (FVS 301) is an example of such a re-issue by Falcon.
  16. Mowlabocus, Sharif; Harbottle, Justin; Witzel, Charlie (2014). "What We Can't See? Understanding the Representations and Meanings of UAI, Barebacking, and Semen Exchange in Gay Male Pornography". Journal of Homosexuality. 61 (10): 1462–1480. doi:10.1080/00918369.2014.928581. PMID 25068695. S2CID 10053248.
  17. "Sex advice: Is it unusual for a straight woman in a happy marriage to enjoy watching gay porn?". The Times. February 4, 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-11. สืบค้นเมื่อ 2022-01-06.
  18. Gay Porn Blog: Free Gay Movies, Gay Sex Pics and XXX Nude Tube Videos เก็บถาวร สิงหาคม 7, 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  19. Sensor Glitch – Amusing Toronto Star Article
  20. Despite strong intolerance of gays, Pakistan leads in world for gay porn searches เก็บถาวร มิถุนายน 20, 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน retrieved 14 June 2013