สโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงไทย
ชื่อเต็ม | สโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงไทย | ||
---|---|---|---|
ฉายา | นกวายุภักษ์ | ||
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2520 | ||
ยุบ | พ.ศ. 2552 | ||
สนาม | สนามกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | ||
เจ้าของ | ธนาคารกรุงไทย | ||
ประธาน | วินิจ แสงอรุณ กิจจา อ่อนละมัย (ผู้จัดการทีมคนสุดท้าย) | ||
ผู้จัดการ | อรรถพล บุษปาคม | ||
ฤดูกาลสุดท้าย 2551 | อันดับ 6 (โอนสิทธิ์ให้ บางกอกกล๊าส) | ||
|
สโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงไทย เป็นอดีตสโมสรฟุตบอลในประเทศไทย โดยมีธนาคารกรุงไทย เป็นผู้สนับสนุนหลักและเป็นเจ้าของสโมสร ผลงานในอดีต เคยเป็นทีมชนะเลิศการแข่งขัน ไทยแลนด์ พรีเมียร์ลีก และถ้วยพระราชทาน ก. 2 สมัยซ้อน ภายใต้การจัดการทีมของ ณรงค์ สุวรรณโชติ และ วรวุฒิ แดงเสมอ และยังเคยเข้าร่วมแข่งขันเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกในปี 2008 ภายหลังจากทีมจากอินโดนีเซียถูกตัดสิทธิ์ แต่ตกรอบแรก
ประวัติสโมสร
[แก้]ยุคก่อตั้งและช่วงประสบความสำเร็จ
[แก้]สโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงไทย ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2520 โดยมีธนาคารกรุงไทย เป็นผู้สนับสนุนหลักและเป็นเจ้าของสโมสร โดยนับเป็นหนึ่งใน 3 ทีมธนาคาร ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง โดยมีอีกสองทีมคือ สโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงเทพ และ สโมสรฟุตบอลธนาคารกสิกรไทย โดยทีมประสบความสำเร็จสูงสุดในช่วงปี 2547-2550 โดยสามารถชนะเลิศการแข่งขัน ไทยแลนด์ พรีเมียร์ลีก และถ้วยพระราชทาน ก. 2 สมัยซ้อน โดยมีนักเตะอย่าง ยุทธนา ไชยแก้ว, รังสรรค์ วิวัฒน์ชัยโชค, อำนาจ แก้วเขียว, พิชิตพงษ์ เฉยฉิว, เป็นต้น
เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก 2008
[แก้]ธนาคารกรุงไทย ได้สิทธิร่วมแข่งขันใน เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก จากที่ทีมจาก อินโดนีเซียโดนตัดสิทธิเนื่องจากลีกไม่สามารถจบได้ทัน ทำให้ทีมธนาคารกรุงไทย ในฐานะรองชนะเลิศไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก 2550 จึงได้ร่วมแข่งขันแทน โดยภายหลังจากจับฉลากแบ่งสาย ธนาคารกรุงไทย ได้อยู่ในสาย F แข่งขันกับ ปักกิ่ง กั๋วอัน (จีน) นามดิ่ง (เวียดนาม) คะชิมะ แอนต์เลอร์ส (ญี่ปุ่น) โดยในรอบแรกทำการแข่งขันระหว่างวันที่ 12 มีนาคม-21 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งก่อนหน้านี้ ทีมธนาคารกรุงไทย ได้ร่วมแข่งขันในฤดูกาล 2004 และ 2005 แต่ก็ไม่สามารถผ่านรอบแรกเข้าไปแข่งขันในรอบต่อไปได้เช่นกัน
ยุบสโมสร
[แก้]ในช่วงเดือน มกราคม พ.ศ. 2552 สโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงไทย จากศึกไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก โดยผู้บริหารธนาคารกรุงไทยได้ประกาศโอนสิทธิในการแข่งขันและตัวผู้เล่น ให้ บริษัท BGFC SPORT จำกัด ซึ่งเป็นเจ้าของสโมสรฟุตบอลบางกอกกล๊าส ที่อยู่ในฟุตบอลถ้วย ข. เนื่องจากไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เอเอฟซีกำหนดในเรื่องการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลได้ บริษัท BGFC SPORT จำกัด จึงได้ทำการเทคโอเวอร์ สโมสรธนาคารกรุงไทย โดยจะได้ลงแข่งใน ไทยพรีเมียร์ลีก ปี พ.ศ. 2552 แทนที่ของสโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงไทย และได้ย้ายสนามไปเช่าสนามเฉลิมพระเกียรติ คลอง 6 เป็นการชั่วคราวเพื่อปรับปรุงสนามลีโอสเตเดียม ซึ่งในปีแรกของการแข่งขันของสโมสรฟุตบอลบางกอกกล๊าสนั้นทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมด้วยการจบอันดับที่ 3 ใน ไทยพรีเมียร์ลีก 2552 โดยสโมสรธนาคารกรุงไทยลงแข่งขันรายการสุดท้ายคือ ควีนส์คัพ ปี 2009
ผู้เล่นชุดสุดท้ายของสโมสร
[แก้]ชุด ฟุตบอลไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2551 ผู้ฝึกสอนคนสุดท้ายคือ อรรถพล บุษปาคม
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
อดีตผู้เล่นของทีม
[แก้]- สมปอง นันทประภาศิลป์
- พล ชมชื่น
- วรวุฒิ แดงเสมอ
- ณรงค์ สุวรรณโชติ
- สมชาย ทรัพย์เพิ่ม
- อรรถพล บุษปาคม
- อาริศ กุลสวัสดิ์ภักดี
- นันทวัฒน์ จิตตรง
- วิชาญ สากิยะ
- นพภรณ์ เผือกพงษ์
- สัมพันธ์ เอี่ยมวิไล
- เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง
- โกวิทย์ ฝอยทอง
- ภัทร ปิยภัทร์กิติ
- รังสรรค์ วิวัฒน์ชัยโชค
- ธีรศักดิ์ โพธิ์อ้น
- พิชิตพงษ์ เฉยฉิว
- ปิยะวัฒน์ ทองแม้น
- อรรถกร เสนเพ็ง
- กฤษณะ วงศ์บุตรดี
- Kone Mohamed
- ธวัชชัย ขำคล้อย
- สราวุธ คำบัว
ผลงาน
[แก้]ผลงานในไทยลีก
[แก้]- 2539/40 - ไทยลีก - อันดับ 17 (ตกลีกไปเล่นในดิวิชัน 1)
- 2540 - ดิวิชัน 1 - อันดับ 1 (ขึ้นลีกไปเล่นในไทยลีก)
- 2541 - ไทยลีก - อันดับ 9
- 2542 - ไทยลีก - อันดับ 10
- 2543 - ไทยลีก - อันดับ 10
- 2544/45 - ไทยลีก - อันดับ 7
- 2545/46 - ไทยลีก - ชนะเลิศ
- 2546/47 - ไทยลีก - ชนะเลิศ
- 2547/48 - ไทยลีก - อันดับ 5
- 2549 - ไทยลีก - อันดับ 9
- 2550 - ไทยลีก - อันดับ 2
- 2551 - ไทยลีก - อันดับ 6 (โอนสิทธิ์ให้ บางกอกกล๊าส)
ผลงานที่ดีสุดในระดับเอเชีย
[แก้]- เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก - รอบแรก (ฤดูกาล 2004, 2005, 2008)
เกียรติยศ
[แก้]- ไทยแลนด์ พรีเมียร์ลีก - ชนะเลิศ 2 ครั้ง - 2545/46, 2546/47
- ควีนส์คัพ - รองชนะเลิศ - 2531, 2549
- ถ้วย ก - ชนะเลิศ 4 ครั้ง - 2531, 2532, 2545, 2546
- ถ้วย ข - ชนะเลิศ 1 ครั้ง - 2536
- ไทยลีกคัพ - ชนะเลิศ 1 ครั้ง - 2535