สโมสรฟุตบอลโตโก คัสตอม ยูไนเต็ด
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ชื่อเต็ม | สโมสรฟุตบอลโตโก คัสตอม ยูไนเต็ด | ||
---|---|---|---|
ฉายา | สิงห์นายด่าน | ||
ก่อตั้ง | 1954 2015 ในนาม เอ็มโอเอฟ ศุลกากร ยูไนเต็ด 2021 ในนาม คัสตอม ลาดกระบัง ยูไนเต็ด 2022 ในนาม คัสตอม ยูไนเต็ด 2024 ในนาม โตโก คัสตอม ยูไนเต็ด | ในนาม สโมสรศุลกากร||
สนาม | โตโก คัสตอม สเตเดียม (ถนนวัดศรีวารีน้อย/ลาดกระบัง 54) | ||
ประธาน | ยุทธนา หยิมการุณ | ||
ผู้จัดการ | เปรมสุข ภู่พลับ | ||
ผู้ฝึกสอน | เกอิตะ โงโตะ | ||
ลีก | ไทยลีก 3 | ||
2566–67 | ไทยลีก 2, อันดับที่ 17 (ตกชั้น) | ||
|
สโมสรฟุตบอลโตโก คัสตอม ยูไนเต็ด เป็นสโมสรฟุตบอลในประเทศไทย ปัจจุบันแข่งขันในไทยลีก 3 โซนภาคตะวันออก เจ้าของสโมสรคือ กรมศุลกากร กระทรวงการคลัง
ประวัติสโมสร
[แก้]สโมสรศุลกากร ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2497 โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้พนักงานในองค์กรมีสุขภาพแข็งแรง และต้องการมีส่วนร่วมในการพัฒนาวงการกีฬาไทย สโมสรเคยส่งทีมเข้าร่วมแข่งขันชิงถ้วยพระราชทาน "ถ้วยน้อย" ซึ่งจัดโดย สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ เมื่อ พ.ศ. 2511 แต่ไม่ประสบความสำเร็จ จึงได้ยุติมิได้ส่งทีมฯ เข้าร่วมแข่งขันอีกเลย [1]
จวบจนเมื่อ พ.ศ. 2536 ได้มีการจัดการแข่งขันฟุตบอลศุลกากรระหว่างประเทศขึ้น โดยมี ฮ่องกง เป็นเจ้าภาพการแข่งขันครั้งแรก โดยทีมฟุตบอล สโมสรศุลกากร จึงได้ส่งทีมและเข้าร่วมแข่งขันตลอดมาตั้งแต่ครั้งแรกจนถึงปีปัจจุบัน[1]
ก้าวสู่วงการลูกหนังแบบเต็มตัว
[แก้]ต่อมา สโมสรฯ ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ในปี พ.ศ. 2541 [1] และได้ส่งทีมเข้าร่วมแข่งขัน ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ทุกชั้น ทั้ง ถ้วย ง., ถ้วย ค. และ ถ้วย ข. ตามระบบคัดกรอง นอกจากนั้นยังได้เข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลกระทรวงและการแข่งขันทุกรายการที่มีโอกาส โดยในปีแรกที่ส่งทีมเข้าแข่งขัน สโมสรทำผลงานได้ดีจนคว้าตำแหน่งชนะเลิศ "ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ง." ได้ทันที ทำให้ทีมได้รับการจับตามองมากขึ้น และในปีเดียวกัน สโมสรยังชนะเลิศ "ฟุตบอลศุลกากรระหว่างประเทศ ครั้งที่ 6" ซึ่งจัดขึ้นที่ ฮ่องกง ได้อีกด้วย ก่อนปีต่อมาจะชนะเลิศการแข่งขันนี้ใน ครั้งที่ 7 ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศไทย
ไต่เต้าสู่ลีกสูงสุด
[แก้]ในช่วงเวลาระหว่าง พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2545 สโมสรฯ มีผลงานในสนามที่ดีขึ้น โดยในระหว่างนั้น สโมสรได้ประสบความสำเร็จในการแข่งขันต่างๆมากมาย อาทิ [1]
- ชนะเลิศ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ค. ปี พ.ศ. 2543
- ชนะเลิศฟุตบอลศุลกากรระหว่างประเทศ ปี พ.ศ. 2544 ที่มาเก๊า
- ชนะเลิศกีฬาฟุตบอลข้าราชการพลเรือน ปี พ.ศ. 2545
- ชนะเลิศฟุตบอลข้าราชการพลเรือน ปี พ.ศ. 2545
- ชนะเลิศฟุตบอลศุลกากรลุ่มแม่น้ำโขง ปี พ.ศ. 2545 ที่จังหวัดเชียงใหม่
- รองชนะเลิศฟุตบอลศุลกากรระหว่างประเทศ ปี พ.ศ. 2545 ที่สาธารณรัฐประชาชนจีน
สู่ลีกสูงสุด
[แก้]สโมสรกรมศุลกากรได้รองชนะเลิศในการแข่งขัน ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ข. พร้อมกับสิทธิ์ได้เลื่อนชั้นสู่ลีกรองของประเทศอย่าง "ดิวิชั่น 1" ทันที ในปี พ.ศ. 2547 แถมยังหนีบถ้วยชนะเลิศฟุตบอลภายใน กระทรวงการคลัง (วายุภักษ์เกมส์) พ.ศ. 2547 อีกด้วย สโมสรกรมศุลกากร ใช้เวลาอยู่ในลีกดิวิชั่น 1 เพียง 3 ปี ก่อนจะชนะเลิศการแข่งขัน พร้อมกับเลื่อนชั้นไปเล่นใน "ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก" ได้สำเร็จ ในปี พ.ศ. 2552 แต่ทว่าผลงานของสโมสรฯ ไม่ดีนัก โดยจบด้วยอันดับที่ 16 มีเพียง 20 คะแนน จาก 30 นัด ตกชั้นพร้อมกันกับ ยอดทีมอย่าง ธนาคารกรุงเทพ และ ทหารบก ในที่สุด
หลังจากตกชั้น
[แก้]หลังจากการตกชั้นในปี 2552 สโมสรฯ ก็ได้ทำการเปลื่ยนชื่อเป็น สมาคมสโมสรสุวรรณภูมิ ศุลกากร ซึ่งทำผลงานได้ดี โดยได้อันดับที่ 7 เกือบที่จะได้ร่วมเพลย์ออฟเลื่อนชั้น เนื่องจากในฤดูกาลนั้น ทาง ไทยพรีเมียร์ลีก ต้องการเพิ่มทีม เป็น 18 ทีม ภายหลังในฤดูกาล 2554 สโมสรกรมศุลกากรได้จับมือเป็นพันธมิตรกับ จังหวัดสมุทรปราการ จึงได้เปลื่ยนชื่อมาเป็น สโมสรฟุตบอลสมุทรปราการ ศุลกากร ยูไนเต็ด โดยที่ทีมบริหารทั้งหมดยังเป็นของกรมศุลกากร และมีเป้าหมายคือ ปฏิเสธการซื้อผู้เล่นที่ราคาแพงเกินจริง เพื่อสวนทางกับระบบทำลายเพดานเงินเดือนของทีมใหญ่ๆในไทยพรีเมียร์ลีก และดิวิชั่น 1 และเน้นสร้างผู้เล่นดาวรุ่งสู่ทีมชุดใหญ่ วางรากฐานระบบจัดการแบบมืออาชีพ[2] ซึ่งเพราะเหตุผลนี้ ทำให้ผลงานของทีมไม่ดีนัก จนตกชั้นไปเล่น ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 ในปี 2554
สู่ไทยลีก 3 และเลื่อนชั้นสู่ไทยลีก 2
[แก้]หลังจากที่เล่นในดิวิชั่น 2 มาเป็นเวลาถึง 5 ปี โดยลงแข่งขันในโซนกรุงเทพฯ และปริมณฑล ใน ดิวิชั่น 2 ฤดูกาล 2559 ในโซน สโมสรฯ ทำผลงานจบด้วยอันดับที่ 2 ของสาย ทำให้ผ่านเข้ารอบแชมเปี้ยนลีก แต่แพ้ สโมสรราชประชา จากการดวลจุดโทษ ทำให้ไม่สามารถเข้าไปเล่นใน ไทยลีก 2 อย่างไรก็ดีด้วยนโยบายของ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ที่จะจัดตั้งลีกระดับ 3 แทนที่ ทำให้สโมสรได้ลงเล่นใน ไทยลีก 3 โซนตอนล่างของประเทศในปี 2560 ต่อมาในฤดูกาล 2561 สโมสรสามารถจบอันดับที่ 1 และเลื่อนชั้นสู่ ไทยลีก 2 ได้สำเร็จ
ชื่อและอัตลักษณ์ของสโมสร
[แก้]-
สมาคมสโมสรกรมศุลกากร
(2497, 2541-2551) -
สมาคมสโมสรสุวรรณภูมิ ศุลกากร
(2552) -
สมาคมสโมสรศุลกากร เพชรบุรี
(2553) -
สโมสรฟุตบอลสมุทรปราการ ศุลกากร ยูไนเต็ด (2554)
-
สโมสรฟุตบอลศุลกากร ยูไนเต็ด
(2555-2558) -
สโมสรฟุตบอลยาสูบ ศุลกากร (2557)
-
สโมสรฟุตบอลเอ็มโอเอฟ ศุลกากร ยูไนเต็ด
(2558-2564) -
สโมสรฟุตบอลโตโก คัสตอม ลาดกระบัง ยูไนเต็ด
(2564-2565)
ผู้เล่น
[แก้]ผู้เล่นชุดปัจจุบัน
[แก้]หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
ทีมงาน
[แก้]ตำแหน่ง | ชื่อ |
---|---|
ประธานสโมสร | ยุทธนา หยิมการุณ |
ผู้จัดการทีม | เปรมสุข ภู่พลับ |
ประธานเทคนิค | YUSUKE KAWASUMI |
หัวหน้าผู้ฝึกสอน | KEITA GOTO |
ผู้ช่วยหัวหน้าผู้ฝึกสอน | JUN HIRABAYASHI |
ทีมชุดใหญ่ผู้ฝึกสอน | |
ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู | |
ผู้ฝึกสอนฟิตเนส | - |
ทีมแพทย์ประจำสโมสร | |
นักกายภาพบำบัด | |
ล่ามประจำสโมสร |
ผลงาน
[แก้]การแข่งขันภายใต้สมาคมฯ
[แก้]- ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก - เข้าร่วมแข่งขัน 1 ครั้ง ฤดูกาล 2551 (ได้อันดับที่ 16)
- ไทยลีกดิวิชัน 1 - ชนะเลิศ 1 ครั้ง - 2550
- ไทยลีก 3 - รองชนะเลิศ 1 ครั้ง - 2561
- ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ถ้วย ข รองชนะเลิศ 1 ครั้ง - 2547
- ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ถ้วย ค ชนะเลิศ 1 ครั้ง - 2543
- ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ถ้วย ง ชนะเลิศ 1 ครั้ง - 2541
ผลงานอื่น ๆ
[แก้]- ฟุตบอลศุลกากรระหว่างประเทศ - ชนะเลิศ 3 ครั้ง 2541 (ฮ่องกง), 2542 (ไทย), 2544 (มาเก๊า)
- กีฬาฟุตบอลข้าราชการพลเรือน - ชนะเลิศ พ.ศ. 2545
- ฟุตบอลศุลกากรลุ่มแม่น้ำโขง - ชนะเลิศ พ.ศ. 2545 ที่เชียงใหม่
- ฟุตบอลภายในกระทรวงการคลัง (วายุภักษ์เกมส์) - ชนะเลิศ พ.ศ. 2547
ผลงานของสโมสรในแต่ละฤดูกาล
[แก้]ฤดูกาล | ลีก | เอฟเอคัพ | ลีกคัพ | ผู้ยิงประตูสูงสุด | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ระดับ | แข่ง | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีย | คะแนน | อันดับ | ชื่อ | จำนวนประตู | |||
2564–65 | ไทยลีก 2 | 34 | 9 | 8 | 17 | 44 | 63 | 35 | อันดับที่ 15 | รอบ 64 ทีมสุดท้าย | ไม่ได้เข้าร่วม | เอลีอัส | 11 |
2565–66 | ไทยลีก 2 | 34 | 17 | 7 | 10 | 45 | 31 | 58 | อันดับที่ 4 | รอบ 64 ทีมสุดท้าย | รอบ 32 ทีมสุดท้าย | ไดซูเกะ ซากาอิ | 10 |
2566–67 | ไทยลีก 2 | 34 | 4 | 9 | 21 | 26 | 63 | 21 | อันดับที่ 17 | ไม่ได้เข้าร่วม | รอบเพลย์ออฟ | นราธิป เครือรัญญา | 5 |
2567–68 | ไทยลีก 3 โซนภาคตะวันออก | รอบแรก | รอบคัดเลือกรอบสอง |
แชมป์ | รองแชมป์ | อันดับที่สาม | เลื่อนชั้น | ตกชั้น |
สโมสรพันธมิตร
[แก้]พันธมิตรในประเทศ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 http://www.mofcustomsunited.com/%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B2.html เก็บถาวร 2017-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เกี่ยวกับเรา - เว็บไซต์สโมสร
- ↑ http://www.scutdfc.com/ ประวัติสโมสร