ข้ามไปเนื้อหา

มัสยิดบาดชาฮี

พิกัด: 31°35′17″N 74°18′36″E / 31.588075°N 74.310125°E / 31.588075; 74.310125
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(ต่าง) ←รุ่นเก่ากว่านี้ | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นที่ใหม่กว่า → (ต่าง)
มัสยิดบาดชาฮี
بادشاہی مسجد
ศาสนา
ศาสนาอิสลาม
หน่วยงานกำกับดูแลรัฐบาลปากีสถาน
ที่ตั้ง
ประเทศปากีสถาน
มัสยิดบาดชาฮีตั้งอยู่ในลาฮอร์
มัสยิดบาดชาฮี
ที่ตั้งในลาฮอร์ ประเทศปากีสถาน
มัสยิดบาดชาฮีตั้งอยู่ในประเทศปากีสถาน
มัสยิดบาดชาฮี
มัสยิดบาดชาฮี (ประเทศปากีสถาน)
พิกัดภูมิศาสตร์31°35′17″N 74°18′36″E / 31.588075°N 74.310125°E / 31.588075; 74.310125
สถาปัตยกรรม
ประเภทมัสยิดใหญ่
รูปแบบอินโดอิสลาม, โมกุล
ผู้ก่อตั้งจักรพรรดิออรังเซพ
เสร็จสมบูรณ์1673 (จักรวรรดิโมกุล)
ลักษณะจำเพาะ
ความจุ100,000
โดม3
หอคอย8 (4 หลัก, 4 รอง)
ความสูงหอคอย226 ฟุต 4.5 นิ้ว (68.999 เมตร)
วัสดุหินทรายแดง, หินอ่อน

มัสยิดบาดชาฮี (ปัญจาบ: بادشاہی مسجد, แปลตรงตัว'มัสยิดหลวง') เป็นมัสยิดใหญ่นิกายซุนนี สร้างขึ้นในสมัยโมกุล ตั้งอยู่ที่ลาฮอร์ แคว้นปัญจาบ ประเทศปากีสถาน[1][2] ตั้งอยู่ทางตะวันตกของป้อมลาฮอร์ และได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในจุดสนใจที่โดดเด่นแลมีชื่อเสียงที่สุดของลาฮอร์[3] มีการบูรณะใหญ่นับตั้งแต่ปี 1939 เป็นต้นมาภายใต้การระดมทุนโดยสีกันทร ฮายัต ข่าน[4] และภายใต้การดูแลของสถาปนิก นาวับ อาลัม ยัร ยุง บะฮาดูร[1] เนื่องจากข่านมีส่วนอย่างมากในกาทำนุบำรุงมัสยิดครั้งใหญ่นี้ ร่างของเขาเมื่อเสียชีวิตได้นำไปฝังอยู่เยื้องกับมัสยิดบาดชาฮีที่ฮะญูรีบาฆ

มัสยิดบาดชาฮีสร้างขึ้นโดยดำริของจักรพรรดิเอารังเซบ เริ่มก่อสร้างในปี 1671 แล้วเสร็จในปี 1673 และเป็นมัสยิดที่ใหญ่ที่สุดในโลกจนถึงปี 1986 มัสยิดบาดชาฮีถือเป็นผลงานชิ้นเอกของสถาปัตยกรรมโมกุล ภายนอกประดับด้วยหินทรายแดงแกะสลักประกอบงานฝังหินอ่อน ถือเป็นมัสยิดที่ใหญ่ที่สุดของจักรวรรดิโมกุล และปัจจุบันยังเป็นมัสสยิดที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสามในปากีสถาน[5] หลังจักรวรรดิโมกุลล่มสลายจากการรุกรานของอังกฤษ จักรวรรดิอังกฤษใช้งานมัสยิดเป็นอาคารกองพล ปัจจุบันมัสยิดบาชาฮีเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดของประเทศปากีสถาน[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 "Badshahi Mosque (built 1672-74)". Asian Historical Architecture website. สืบค้นเมื่อ 1 January 2021.
  2. Haroon Khalid (26 August 2016). "Lahore's iconic mosque stood witness to two historic moments where tolerance gave way to brutality". Scroll.in website. สืบค้นเมื่อ 1 January 2021.
  3. "Holiday tourism: Hundreds throng Lahore Fort, Badshahi Masjid". The Express Tribune (newspaper) (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 9 October 2014. สืบค้นเมื่อ 1 January 2021.
  4. Omer Tarin, Sir Sikandar Hyat Khan and the Renovation of the Badshahi Mosque, Lahore: An Historical Survey, in Pakistan Historical Digest Vol 2, No 4, Lahore, 1995, pp. 21-29
  5. Meri, Joseph (31 October 2005). Medieval Islamic Civilization: An Encyclopedia. Routledge. p. 91. ISBN 9780415966917.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]