สถาปัตยกรรมโมกุล
สถาปัตยกรรมโมกุล (Mughal Architecture) เป็นรูปแบบหนึ่งของสถาปัตยกรรมอินโด-อิสลาม (Indo-Islamic architecture) ซึ่งพัฒนาขึ้นในสมัยโมกุล ราวคริสต์ศตวรรศที่ 16 ถึง 18 ซึ่งมีอาณาเขตในบริเวณอนุทวีปอินเดีย สถาปัตยกรรมแบบนี้เป็นการผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมดั้งเดิมของจักรวรรดิก่อน ๆ ในอินเดีย เช่น สถาปัตยกรรมอิสลาม สถาปัตยกรรมเปอร์เซีย สถาปัตยกรรมตุรกี และ สถาปัตยกรรมอินเดีย ลักษณะสำคัญคือโดมทรงบัลบัสขนาดใหญ่ หอมินาเรตที่ขอบบาง โถงขนาดมหึมา ทางเข้าที่เป็นหลังคาทรงโค้ง และการตกแต่งที่วิจิตร
จักรวรรดิโมกุลสถาปนาขึ้นหลังชัยชนะของจักรพรรดิบาบูร์ ในปี 1526 ขณะครองราชย์ พระองค์ทรงสนพระทัยในการก่อสร้างสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ ซึ่งส่วนมากถูกทำลายลงไปแล้ว ต่อมาในรัชสมัยของจักรพรรดิอัคบาร์ เป็นยุคที่มีการพัฒนาและสร้างสิ่งก่อสร้างด้วยสถาปัตยกรรมโมกุลอย่างรวดเร็วและมีจำนวนมาก ผลงานชิ้นสำคัญ เช่น ป้อมอัครา เมืองในป้อมปราการ "ฟเตหปุระสีกรี" และป้อมปราการของเมือง "Buland Darwaza" และในรัชสมัยของจักรพรรดิชะฮันคีร์มีดำริสร้าง สวนชาลิมาร์ (กัศมีร์)
จุดสูงสุดของสถาปัตยกรรมโมกุลคือรัชสมัยของจักรพรรดิชาห์ชะฮัน ผู้ดำริสร้างทัชมาฮาล[1] ป้อมแดง มัสยิดจามา สวน สวนชาลิมาร์ (ลาฮอร์) หลังพระองค์สิ้นพระชนม์ จักรวรรดิได้เสื่อมถอยลงพร้อมกับสถาปัตยกรรมโมกุล
ระเบียงภาพ
[แก้]ผลงานชิ้นสำคัญ[2] ได้แก่
-
ป้อมแดง อินเดีย
-
ทัชมาฮาล อินเดีย
-
ป้อมละฮอร์ ปากีสถาน
-
หุมายูง กา มักบะรา อินเดีย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Taj Mahal World Heritage". UNESCO World Heritage. Centre (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-01. สืบค้นเมื่อ 2018-12-31.
- ↑ https://historylists.org/architecture/7-finest-examples-of-mughal-architecture.html
แหล่งข้อมูล
[แก้]- Asher, Catherine Blanshard (1992). Architecture of Mughal India. The New Cambridge History of India, Part I. Vol. 4. Cambridge University Press. ISBN 9780521267281. สืบค้นเมื่อ 16 July 2017.
- George Michell, Amit Pasricha (2011). Mughal Architecture & Gardens. ISBN 9781851496709.
- Gupta, Subhadra Sen; Irani, Prakash (2013). Fathepur Sikri: Akbar's Magnificent City on a Hill. ISBN 9789381523728.