ข้ามไปเนื้อหา

โลบะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โลบะ
ชื่ออื่นโงเฮียง
มื้ออาหารว่าง
แหล่งกำเนิดประเทศจีน
ภูมิภาคฮกเกี้ยน
อุณหภูมิเสิร์ฟร้อน
ส่วนผสมหลักเนื้อหมูต้มกับเครื่องพะโล้ แล้วนำมาทอด

โลบะ (จีน: 滷肉) คืออาหารพื้นเมืองของจังหวัดภูเก็ต มีจุดกำเนิดจากมณฑลฮกเกี้ยน สามารถพบเห็นได้ในสิงคโปร์และมาเลเซีย มีอีกชื่อเรียกว่าหง่อเฮียง (จีน: 五香) บางทีเรียกรวมกันว่าหง่อเฮียงโลบะ (จีน: 五香滷肉) นิยมทานเป็นของว่าง ปรุงจากส่วนประกอบหลัก คือ เนื้อหมู โดยมีหัวหมู และเครื่องในหมู ต้มด้วยเครื่องพะโล้ ก่อนนำไปลวกด้วยน้ำผสมซีอิ๊วดำจนพอสุก แล้วจึงทอดด้วยน้ำมันจนผิวด้านนอกกรอบ แต่เนื้อในยังคงความนุ่มของเนื้อไว้

โลบะกินกับน้ำจิ้มรสหวานอมเปรี้ยวทำจากมะขามเปียกเคี่ยวกับน้ำตาลใส่พริกป่น นิยมรับประทานคู่กับเต้าหู้ทอด หรือ เต่ากั้ว (จีน: 豆乾) และ เต่ากั้วจี่ (จีน: 豆乾糋) ซึ่งเป็นเต้าหู้ก้อนผ่าสามเหลี่ยมยัดไส้กุ้งแห้ง ก่อนนำไปทอดและ เหจี๋ (จีน: 蝦糋) กุ้งทอดผสมถั่วหงอกและเกี้ยน (จีน: )

หง่อเฮียง

เกี้ยน

[แก้]

เกี้ยน (จีน: ) เรียกย่อยมาจาก บะเกียน (จีน: 肉繭) ซึ่งเป็นชื่อเรียกเฉพาะของอาหารชนิดหนึ่งของฮกเกี้ยน ปรุงจากหมูสับกับไส้อื่น ๆ กุ้ง ปู มันแกว และผงพะโล้ (จีน: 五香粉) ห่อด้วยฟองเต้าหู้หรือร่างแหหมูให้เป็นเส้นคล้ายจ๊อ นำไปนึ่งให้สุกแล้วจึงทอดหรือชุบแป้งทอด

ที่มา

[แก้]

เกี้ยน มีจุดกำเนิดมาจากเมืองเจียงจิวหรือจางโจว (จีน: 漳州)ในมณฑลฮกเกี้ยนช่วงสมัยราชวงศ์ซ่ง นิยมทำเป็นเครื่องเส้นไหว้ในเทศกาลต่าง ๆ และนิยมทำรับประทานในงานมงคลและอวมงคล ต่อมาเกี้ยนได้ติดตามผู้อพยพชาวฮกเกี้ยนจากเมืองเจียงจิว เผยสู่ไต้หวัน สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย

ชื่อเรียกอื่น ๆ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  • สุทัศน์ ศุกลรัตนเมธีและอติพจน์ ศรีสุคนธ์. หรอยอย่างแรง. กทม: ตู้กับข้าว 2557.
  • 呂增娣,《臺北老味道》,台北畫刊,2006年(民95年)10月號