ข้ามไปเนื้อหา

แวร์ซาย

พิกัด: 48°48′19″N 2°08′06″E / 48.8053°N 2.135°E / 48.8053; 2.135
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แวร์ซาย
จากบนซ้ายถึงล่างขวา: Le Soir ("ยามเย็น" ในสวนแวร์ซาย); rue des Deux-Portes; พระราชวังแวร์ซายที่ถ่ายในสวน; อาสนวิหารแวร์ซาย; อนุเสาวรีย์ม้าของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14, place d'Armes อยู่ด้านหน้าพระราชวัง; Church of Notre-Dame, Versailles, parish church of the Château; bassin d'Apollon ในสวนแวร์ซาย; la salle du Jeu de paume (บริเวณที่มีการลงนาม Tennis Court Oath); the Musée Lambinet (พิพิธภัณฑ์เทศบาลแวร์ซาย); Temple de l'Amour ("วิหารแห่งความรัก", สวนแห่งPetit Trianon)
จากบนซ้ายถึงล่างขวา: Le Soir ("ยามเย็น" ในสวนแวร์ซาย); rue des Deux-Portes; พระราชวังแวร์ซายที่ถ่ายในสวน; อาสนวิหารแวร์ซาย; อนุเสาวรีย์ม้าของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14, place d'Armes อยู่ด้านหน้าพระราชวัง; Church of Notre-Dame, Versailles, parish church of the Château; bassin d'Apollon ในสวนแวร์ซาย; la salle du Jeu de paume (บริเวณที่มีการลงนาม Tennis Court Oath); the Musée Lambinet (พิพิธภัณฑ์เทศบาลแวร์ซาย); Temple de l'Amour ("วิหารแห่งความรัก", สวนแห่งPetit Trianon)
ตราราชการของแวร์ซาย
ตราอาร์ม
ที่ตั้งของแวร์ซาย (สีแดง) ในบริเวณรอบนอกปารีส
ที่ตั้งของแวร์ซาย (สีแดง) ในบริเวณรอบนอกปารีส
ประเทศฝรั่งเศส
แคว้นอีล-เดอ-ฟร็องส์
จังหวัดอีฟว์ลีน
เขตVersailles
อำเภอVersailles-1 and 2
สหเทศบาลCA Versailles Grand Parc
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรี (2014-2020) François de Mazières (DVD)
พื้นที่126.18 ตร.กม. (10.11 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2016)2
85,346 คน
 • ความหนาแน่น3,300 คน/ตร.กม. (8,400 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+1 (CET)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+2 (CEST)
รหัสอีนเซ/ไปรษณีย์78646 /78000
สูงจากระดับน้ำทะเล103–180 m (338–591 ft)
(avg. 132 m หรือ 433 ft)
1 ข้อมูลอาณาเขตที่ตามขึ้นทะเบียนไว้โดยไม่รวมทะเลสาบ, หนองน้ำ, ธารน้ำแข็งที่ขนาดใหญ่กว่า 1 ตารางกิโลเมตรตลอดจนปากแม่น้ำ 2 Population without double counting: residents of multiple communes (e.g., students and military personnel) only counted once.

แวร์ซาย (ฝรั่งเศส: Versailles) เป็นเมืองที่โด่งดังในฐานะที่เป็นที่ตั้งของพระราชวังแวร์ซาย แวร์ซายเคยเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรฝรั่งเศสโดยพฤตินัยเป็นเวลากว่าหนึ่งศตวรรษ นับจาก ค.ศ. 1682 ถึง 1789[ต้องการอ้างอิง] โดยปัจจุบันนี้เมืองแวร์ซายได้เป็นชานเมืองที่ร่ำรวยของกรุงปารีส และยังคงเป็นศูนย์กลางทางการปกครองและตุลาการที่สำคัญ เมืองแวร์ซายตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกของกรุงปารีส ห่างจากใจกลางเมืองมา 17.1 กิโลเมตร โดยสภาเมืองแวร์ซายมีหน้าที่ปกครองส่วนอีฟลินส์ จากการสำรวจเมื่อปี ค.ศ. 2008 ที่ผ่านมา เมืองแวร์ซายมีประชากรทั้งสิ้น 88,641 คน[1] ลดลงจากที่เคยมีมากที่สุกถึง 94,145 คนในปี ค.ศ.1975

นอกจากนี้แวร์ซายยังเป็นที่รู้จักจากสนธิสัญญาที่สำคัญหลายฉบับที่ถูกลงนามในเมืองแวร์ซาย เช่น สนธิสัญญาปารีส (1783) ซึ่งยุติสงครามปฏิวัติอเมริกัน หรือสนธิสัญญาแวร์ซาย ซึ่งเป็นสนธิสัญญายุติสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

ที่มาของชื่อ

[แก้]

คำว่า แวร์ซาย สันนิษฐานว่ามาจากภาษาละติน versare หมายถึง การพลิกไปเรื่อยๆ ซึ่งนิยมใช้ในยุคกลางแทนความหมายของที่ที่ผ่านการไถหรือถางแล้ว (ที่ที่ถูก"พลิก"ซ้ำแล้วซ้ำอีกนั่นเอง)[2] นอกจากนี้ลักษณะของคำนี้ยังคล้ายคลึงกับภาษาละตินคำว่า seminare หมายถึงการหว่าน ซึ่งเป็นที่มาของภาษาฝรั่งเศสคำว่า semailles

ระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศสในปีค.ศ. 1788 ได้มีการเสนอให้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็น Versailles Berceau-de-la-Liberté หรือจุดเริ่มต้นแห่งเสรีภาพ แต่ข้อเสนอนี้ถูกต่อต้านจากชาวเมืองแวร์ซายและถูกยกเลิกไปในที่สุด[3]

ภูมิประเทศ

[แก้]

แวร์ซายตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงปารีส ห่างจากจุดศูนย์กลางของกรุงปารีสมา 17.1 กิโลเมตร ตัวเมืองตั้งอยู่บนที่ราบสูง สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 130 ถึง 140 เมตร (กรุงปารีสสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางเพียง 33 เมตร) ล้อมรอบด้วบเนินเขาที่เต็มไปด้วยป่าไม้ โดยป่าทางตอนเหนือของเมืองเรียกว่า ป่ามาร์ลี่และ ป่า Fausses-Reposes ส่วนทางตอนใต้ของเมืองมีป่าซาโทรี่ และ Meudon เขตเมืองแวร์ซายมีพืนที่ 26.18 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นหนึ่งในสี่ของพื้นที่ของเขตกรุงปารีส ในปีค.ศ. 1999 เมืองแวร์ซายมีอัตราความหนาแน่นของประชากรที่ 3,344 คนต่อตารางกิโลเมตร เทียบกับกรุงปารีสที่มีความหนาแน่น 20,696 คนต่อตารางกิโลเมตร เนื่องจากเมืองแวร์ซายในปัจจุบันเป็นเมืองที่ถูกสร้างขึ้นตามคำสั่งของพระเจ้าหลุยส์ที่สิบสี่ เมืองจึงมีผังเมืองที่เป็นระบบและสมมาตร โดยเมื่อเทียบกับมาตรฐานในการออกแบบเมืองในศตวรรษที่สิบแปด เมืองแวร์ซายจัดได้ว่าเป็นเมืองที่ทันสมัยอย่างมาก นอกจากนี้เมืองแวร์ซายเองยังถูกนำไปเป็นแม่แบบในการออกแบบกรุงวอร์ชิงตัน ดีซี โดยสถาปนิกชาวฝรั่งเศส Pierre Charles L'Enfant [4]

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ชื่อเมืองแวร์ซายปรากฏครั้งแรกในเอกสารยุคกลางในปี ค.ศ. 1038 โดยในระบบขุนนางของฝรั่งเศสในยุคกลางนั้น เจ้าผู้ครองเมืองแวร์ซายจะขึ้นตรงต่อกษัตริย์โดยตรง ไม่มีข้าหลวงคอยดูแลเหมือนเมืองอื่น อย่างไรก็ตามตำแหน่งเจ้าผู้ครองเมืองแวร์ซายก็ไม่ได้ถูกจัดว่ามีความสำคัญมากนัก ตอนปลายของศตวรรษที่สิบเอ็ด เริ่มมีหมู่บ้านปรากฏรอบ ๆ ปราสาทและโบสถ์เซนต์จูเลียน (Saint Julien) และเนื่องจากการกสิกรรมและตำแหน่งของเมืองที่เป็นจุดเชื่อมระหว่างปารีส นอร์ม็องดี และ Dreux หมู่บ้านได้เจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว เหมือนเมืองอื่น ๆ ทางตอนเหนือของฝรั่งเศสในตอนปลายของศตวรรษที่สิบสาม หรือ ศตวรรษแห่งเซนต์หลุยส์ ที่ทางตอนเหนือของฝรั่งเศสมีความมั่งคั่งอย่างมากจนมีโบสถ์สไตล์กอธิคเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามในศตวรรษที่สิบสี่ เมืองได้ประสบกับหายนะหลายครั้ง ทั้งภัยสงครามจากสงครามร้อยปี และการระบาดของกาฬโรค เมื่อสิ้นสุดสงครามร้อยปีในศตวรรษที่สิบห้า เมืองเริ่มฟื้นตัวอีกครั้ง แต่ด้วยประชากรเพียงร้อยคน[ต้องการอ้างอิง]

ในปีค.ศ. 1561 Martial de Loménie ราชเลขาผู้ดูแลการคลังในสมัยพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองแวร์ซาย และได้รับอนุญาตให้จัดงานประจำปีได้สี่ครั้ง และสร้างตลาดนัดทุกวันพฤหัสบดี ประชากรของเมืองได้เติบโตขึ้นเป็น 500 คน อย่างไรก็ตาม Martial de Loménie ถูกสังหารระหว่างการสังหารหมู่ในวันเซนต์บาร์โธโลมิว ในปี ค.ศ. 1575 Albert de Gondi ที่ติดตาม Catherine de' Medici มาฝรั่งเศสจากเมืองฟลอเรนซ์ ได้ซื้อตำแหน่งเจ้าเมืองแวร์ซาย ดังนั้นแวร์ซายจึงกลายเป็นสมบัติของตระกูลกอนดี ซึ่งเป็นตระกูลของสมาชิกสภาเมืองปารีสที่ร่ำรวยและทรงอิทธิพลในยุคนั้น ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1610 ตระกูลกอนดีได้เชิญพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 แห่งฝรั่งเศส มาล่าสัตว์ในป่าใหญ่รอบเมืองแวร์ซายหลายครั้ง จนในที่สุดในปีค.ศ. 1622 พระเจ้าหลุยส์ที่ 13 ตัดสินพระทัยซื้อป่าแปลงหนึ่งมาทำเป็นที่ล่าสัตว์ส่วนพระองค์ ในปี ค.ศ. 1624 พระเจ้าหลุยส์ที่ 13 ทรงได้ซื้อที่เพิ่มเติมและมอบหมายให้ Philibert Le Roy ทำการก่อสร้างที่พักเล็ก ๆ สำหรับล่าสัตว์ ด้วยอิฐสีแดงผสมกับก้อนหินโดยมีหลังคาเป็นหินชนวน จนในที่สุดในปี 1632 พระเจ้าหลุยส์ที่ 13 ตัดสินใจซื้อที่ดินและตำแหน่งคืนจากตระกูลกอนดี หลังจากนั้นได้ทำการต่อเติมที่พักให้กลายเป็นชาร์โตว์ขนาดเล็กระหว่างปี ค.ศ. 1632 และ 1634 เมื่อสิ้นสุดรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่สิบสาม เมืองแวรืซายมีประชากรประมาณหนึ่งพันคน

รัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14

[แก้]

พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส เสด็จขึ้นครองราชย์ด้วยพระชนมายุเพียงแค่ห้าพรรษาเท่านั้น เมื่อพระบิดาพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 สวรรคต พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ยังไม่ได้มีอำนาจการปกครองอย่างแท้จริงจนกระทั่งอีกยี่สิบต่อมา และเริ่มมีความสนพระทัยในเมืองแวร์ซาย เนื่องจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงไม่ต้องการที่จะอยู่ในกรุงปารีส จากเหตุการณ์ฝังใจจากการกบฏ Fronde ดังนั้นพระเจ้าหลุยส์ที่สิบสี่จึงมีคำสั่งให้สถาปนิก Le Vau และนักสถาปนิกภูมิทัศน์ Le Nôtre ให้ดัดแปลงปราสาทในเมือง ในปี ค.ศ. 1678 หลังสนธิสัญญา Nijmegen พระเจ้าหลุยส์ที่สิบสี่ตัดสินใจย้ายราชสำนักและรัฐบาลมาอยู่ที่เมืองแวร์ซายอย่างถาวร ซึ่งเสร็จสิ้นในวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1682

ในขณะเดียวกัน เมืองก็ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว จากกฎหมายที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ออกมาให้ใครก็ตามสามารถครอบครองที่ดินโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยมีเงื่อนไขสองประการ คือ หนึ่ง ผู้ถือครองที่ดินจะต้องจ่ายภาษีในอัตรา 5 ชิลลิ่ง ต่อ arpent ต่อปี (หรือคิดเป็นสามเซนต์ต่อพันตารางฟุต (ประมาณ 93 ตารางเมตร) ตามค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ในปี ค.ศ. 2005) สอง บ้านจะต้องถูกสร้างตามแบบและขนาดที่กำหนดโดย Surintendant des Bâtiments du Roi ที่กำหนดให้เมืองถูกสร้างอย่างสมมาตรกับ Avenue de Paris ที่เริ่มจากทางเข้าปราสาท และความสูงของหลังคาจะต้องไม่เกินความสูงของ Marble Courtyard ที่ตั้งอยู่บยเนินเขาที่ทางเข้าของปราสาท เพื่อที่จะได้ไม่บดบังทัศนียภาพจากปราสาทนั่นเอง

เมืองเก่าของแวร์ซายและโบสถ์เซนต์จูเลียนถูกทำลายเพื่อเปิดทางให้สร้างบ้านพักอาศัยสำหรับข้าราชบริพารที่คอยดูแลปราสาท ย่านนอเตรอะดาม และย่านเซนต์หลุยส์ ถูกสร้างขึ้นทั้งสองฝั่งของ Avenue de Paris โดยมีโบสถ์ขนาดใหญ่ ตลาด และแมนชั่นของขุนนางอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งหมดถูกสร้างขึ้นตามสไตล์ที่กลมกลืนกับแบบออกโดย Surintendant des Bâtiments du Roi การสร้างแวร์ซายใช้เวลาหลายปี และผู้คนก็ได้หลั่งไหลมายังศูนย์กลางของอำนาจการปกครองแห่งใหม่แห่งนี้ เมื่อสิ้นรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เมืองแวร์ซายมีประชากร 30,000 คน

รัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 และ 16

[แก้]

เมื่อราชสำนักของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 กลับสู่กรุงแวร์ซายในปีค.ศ. 1722 เมืองมีประชากร 24,000 คน โดยในรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 เมืองได้เติบโตอย่างรวดเร็ว และกลายเป็นเมืองหลวงอย่างไม่เป็นทางการของราชอาณาจักรที่ทรงอำนาจที่สุดในยุโรป และทั้งยุโรปต่างพากันชื่นชมสถาปัตยกรรมและการออกแบบของเมือง อย่างไรก็ตาม กฎระเบียบอาคารที่เคยเข้มงวดในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ได้ถูกละเลย ส่งผลให้เกิดการเก็งกำไรอสังหาริมทรัพย์ในเมือง และที่ดินที่เคยให้เปล่าในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ได้ถูกขายทอดตลาดในราคาสูงลิบลิ่ว จนในปี ค.ศ. 1744 เมืองได้มีประชากร 37,000 คน โดยภูมิทัศน์ของเมืองได้ถูกเปลี่ยนไปมากในรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 และ 16 โดยอาคารมีความสูงขึ้นเรื่อย ๆ และพระเจ้าหลุยส์ที่สิบห้าเองได้สร้างอาคารกระทรวงสงคราม และอาคารกระทรวงต่างประเทศอันเป็นที่ลงนามสนธิสัญญาปารีสที่ยุติสงครามปฏิวัติอเมริกัน และอาคารกระทรวงราชนาวี ในปีค.ศ. 1789 ประชากรได้พุ่งสูงถึง 60,000 คน ส่งผลให้แวร์ซายกลายเป็นเมืองใหญ่อันดับเจ็ดหรือแปดของฝรั่งเศสและเป็นหนึ่งในเมืองที่ใหญ่ที่สุดของยุโรปในยุคนั้น

การปฏิวัติฝรั่งเศส

[แก้]

ในฐานะที่เป็นศูนย์กลางการปกครอง กรุงแวร์ซายจึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติฝรั่งเศส โดยได้มีการประชุมสมัชชาแห่งชาติ (Estates-General) ในวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1789 และสมาชิกของสมัชชาแห่งชาติได้ทำปฏิญาณที่สนามเทนนิส (Tennis Court Oath) ว่าจะต่อต้านพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ในวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 1789 และได้กลายเป็นสมัชชาประชาธิปไตยแห่งชาติ (National Constituent Assembly) เพื่อล้มล้างระบบขุนนางในวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 1789 จนในที่สุดในวันที่ 5 และ 6 ตุลาคม ค.ศ. 1789 กลุ่มสตรีจำนวนหนึ่งและทหารฝรั่งเศสบางส่วนเข้าบุกยึดปราสาทเพื่อประท้วงราคาของขนมปังที่สูงขึ้น ส่งผลให้ราชสำนักต้องย้ายกลับสู่กรุงปารีส และเมื่อสมัชชาประชาธิปไตยแห่งชาติตัดสินใจย้ายสู่ปารีสเพื่อติดตามพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 กรุงแวร์ซายก็สิ้นสุดฐานะเมืองหลวงอย่างไม่เป็นทางการของฝรั่งเศสที่ถือครองมานานกว่าศตวรรษ

หลังจากนั้น ประชากรในกรุงแวร์ซายก็ลดลงอย่างมาก จากประชากรกว่า 60,000 คน เหลือเพียง 26,974 คนในปี ค.ศ. 1806 ตัวปราสาทเองหลังจากถูกยึดเครื่องเรือน และราชพัสดุต่าง ๆ แล้วก็ถูกทิ้งร้าง โดยนโปเลียนเคยมาพักอาศัยอยู่หนึ่งคืน ก่อนจากไปโดยไม่กลับมาอีกเลย พระเจ้าหลุยส์ฟิลิปซึ่งขึ้นครองบังลังก์ หลังการปฏิวัติมิถุนายนช่วยให้ปราสาทรอดพ้นจากการเป็นซากปรักหักพัง โดยเปลี่ยนปราสาทให้เป็นพิพิธภัณฑ์แห่งชาติอุทิศให้แก่ "ความรุ่งโรจน์ของฝรั่งเศส" ในปี ค.ศ. 1837 ส่วนเมืองแวร์ซายเองก็เงียบเหงาลง กลายเป็นที่ที่ผู้นิยมกษัตริย์มารำลึกถึงยุครุ่งโรจน์ของพระเจ้าหลุยส์เท่านั้น

ศตวรรษที่สิบเก้าถึงปัจจุบัน

[แก้]

สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย ส่งผลให้เมืองแวร์ซายกลับสู่เวทีโลกอีกครั้ง โดยในวันที่ 18 มกราคม ค.ศ. 1871 ฝ่ายปรัสเซียซึ่งกำชัยในสงครามได้ประกาศให้กษัตริย์แห่งปรัสเซีย วิลเฮล์มที่ 1 (Wilhelm I) เป็นจักรพรรดิแห่งเยอรมนีในหอกระจก (Hall of Mirrors) เพื่อเป็นการแก้แค้นพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่ทรงได้พิชิตเยอรมนีนับครั้งไม่ถ้วนเมื่อกว่าสองร้อยปีก่อน จากนั้นในเดือนมีนาคมปีนั้นเอง รัฐบาลฝรั่งเศสก็ได้ย้ายที่ทำการรัฐบาลมาอยู่ที่เมืองแวร์ซายอีกครั้งเพื่อหลีกเลี่ยงความวุ่นวายในปารีสการการลุกฮือของประชาชนชาวเมือง ซึ่งต่อมาได้ถูกบดขยี้โดยกองกำลังของรัฐบาลในเวลาต่อมา หลังการลุกฮือ รัฐบาลฝรั่งเศสในขณะนั้นตัดสินใจที่ประจำอยู่ในเมืองแวร์ซายต่อไป และมีความคิดว่าอาจจะย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่เมืองแวรืซายเป็นการถาวรเพื่อเลี่ยงกระแสปฏิวัติที่ยังครุกรุ่นในกรุงปารีส

การฟื้นฟูราชวงศ์เกือบจะสำเร็จในปีค.ศ. 1873 เมื่อรัฐสภาฝรั่งเศสเสนอบังลังก์ให้ Henri, comte de Chambord แต่การปฏิเสธของเฮนรี่ที่จะยอมรับธงชาติฝรั่งเศสที่ถูกใช้ในสมัยการปฏิวัติฝรั่งเศส ส่งผลให้การฟื้นฟูราชวงศ์ล้มเหลว เมืองแวร์ซายเองก็ได้เป็นศูนย์กลางของการปกครองอีกครั้ง และประชากรในเมืองก็ได้เพิ่มเป็น 61,686 ในปี ค.ศ. 1872 ใกล้เคียงกับขนาดของประชากรก่อนการฏิวัติฝรั่งเศส อย่างไรก็ตามเมื่อฝ่ายนิยมสาธารณรัฐกลับมาครองเสียงข้างมากอีกครั้ง และรัฐบาลใหม่ตัดสินใจที่ย้ายที่ทำการรัฐบาลกลับสู่กรุงปารีสในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.1879 ประชากรในเมืองแวร์ซายก็ลดลงเหลือ 48,324 ในปี ค.ศ. 1881 เมืองแวร์ซายไม่เคยได้เป็นที่ทำการของรัฐบาลอีกเลยจวบจนปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม เมืองแวร์ซายก็ยังถูกใช้เป็นที่ประชุมของรัฐสภาเมื่อจะทำการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือเมื่อยามประธานาธิบดีจะแถลงต่อรัฐสภา เป็นต้น

ในที่สุด ในปี ค.ศ. 1911 ประชากรในเมืองแวร์ซายระดับก็กลับสุ่ระดับที่เคยเป็นที่ปี ค.ศ. 1789 ด้วยประชากร 60,458 คน เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เมืองแวร์ซายได้กลับสุ่เวทีโลกอีกครั้งในฐานะที่เป็นที่ลงนามสัญญาหลายฉบับเพื่อยุติสงคราม หลังปี ค.ศ. 1919 ชานเมืองกรุงปารีสได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว และเมืองแวร์ซายเองก็ถูกรวมเป็นเขตเมืองของกรุงปารีส ส่งผลให้เกิดการเติบโตอย่างมากทั้งในด้านประชากรและเศรษฐกิจ บทบาทของเมืองแวร์ซายในด้านการปกครองและตุลาการได้ถูกเสริมในทศวรรษ 1960 และ 1970 ส่งผลให้แวร์ซายกลายเป็นศูนย์กลางของชานเมืองด้านตะวันตกของกรุงปารีสในที่สุด

เมืองแวร์ซายในปัจจุบันถูกเชื่อมต่อกับกรุงปารีสด้วยทางรถไฟหลายสาย อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมในเมืองแวร์ซายไม่เคยเจริญเติบโตจนโด่ดเด่นมากนัก แม้ว่าจะมีโรงงานเคมีและแปรรูปอาหารอยู่บ้างก็ตาม เศรษฐกิจของแวร์ซายในปัจจุบันขึ้นอยู่กับภาคบริการเป็นหลัก เช่น การท่องเที่ยว การประชุม เป็นต้น จากปีค.ศ. 1951 จนถึงปีค.ศ. 1966 เมืองแวร์ซายเคยเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของกองกำลังพันธมิตรในยุโรป ก่อนจะย้ายไปอยู่ในเบลเยียมจนถึงปัจจุบันเมื่อฝรั่งเศสตัดสินใจถอนตัวจากองค์การนาโต้ ปัจจุบันนี้เมืองแวร์ซายยังคงเป็นศูนย์กลางทางทหารที่สำคัญ โดยเป็นที่ตั้งของฐานทัพซาโทรี่ ซึ่งเคยเป็นกองบัญชาการใหญ่ของกองพลยานเกราะฝรั่งเศสที่ 2 จนถึงปี ค.ศ. 1999 และยังได้มีการแสดงทางทหารประจำปีเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]