ข้ามไปเนื้อหา

เต้าเต๋อจิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เต้าเต๋อจิง
เอกสารตัวเขียนคัมภีร์ "เต้าเต๋อจิง" สมัยศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสต์ศักราช ขุดพบที่หม่าหวังตุย
ผู้ประพันธ์เล่าจื๊อ (ตามธรรมเนียม)
ชื่อเรื่องต้นฉบับ道德經
ประเทศจีน (ราชวงศ์โจว)
ภาษาภาษาจีนคลาสสิก
ประเภทปรัชญา
วันที่พิมพ์ศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราช
พิมพ์ในภาษาอังกฤษ
ค.ศ. 1868
ข้อความต้นฉบับ
道德經 ที่ Chinese วิกิซอร์ซ
ฉบับแปลเต้าเต๋อจิง ที่ วิกิซอร์ซ
เต้าเต๋อจิง
อักษรจีนตัวเต็ม道德經
อักษรจีนตัวย่อ道德经
เวด-ไจลส์Tao42 Ching1
ฮั่นยฺหวี่พินอินDào Dé Jīng
ความหมายตามตัวอักษร"Classic of the Way and Virtue"
เต้าเต๋อจิงของเล่าจื๊อ
อักษรจีนตัวเต็ม老子《道德經》
อักษรจีนตัวย่อ老子《道德经》
เวด-ไจลส์Lao³ Tzŭ³ Tao⁴ Tê² Ching1
ฮั่นยฺหวี่พินอินLǎozǐ Dàodé Jīng
เต้าเต๋อเจินจิง
อักษรจีนตัวเต็ม道德真經
อักษรจีนตัวย่อ道德真经
เวด-ไจลส์Tao⁴ Tê² Chên1 Ching1
ฮั่นยฺหวี่พินอินDàodé Zhēnjīng
ความหมายตามตัวอักษร"Sutra of the Way and Its Power"
อักษรเต๋า

เต้าเต๋อจิง (จีนตัวย่อ: 道德经; จีนตัวเต็ม: 道德經; พินอิน: Dàodé Jīng; ฮกเกี้ยน: Tō-tek-keng, เต๋าเต็กเก็ง; อักษรโรมัน: Dao De Jing หรือ Tao Te Ching)[หมายเหตุ 1] เป็นคัมภีร์ภาษาจีนที่ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง แม้จะเชื่อกันว่าเล่าจื๊อเป็นผู้แต่ง[5][6] แต่เนื้อหาบางส่วนมีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราช[7][8] และเนื้อหาส่วนอื่นเขียนหรือเรียบเรียงขึ้นหลังคัมภีร์จวงจื่อ[9]

เต้าเต๋อจิงมีเนื้อหากล่าวถึงธรรมชาติและปรัชญา คำว่า "เต้า-เต๋อ-จิง" (Dao-De-Jing) เป็นปรัชญาในเรื่องโลกและชีวิต สามารถแยกเป็นเต้า 道 (ทาง) เต๋อ 德 (คุณธรรม; ความดี) และ จิง 经 (คัมภีร์; สูตร; วรรณคดีชั้นสูง) เมื่อนำทั้ง 3 คำมารวมกัน แปลว่า "คัมภีร์ที่ว่าด้วยคุณสมบัติของเต้า" "สูตรว่าด้วยเต้าและคุณธรรม" ระหว่าง "เต้า 道" กับ "เต๋อ 德" นั้น เต๋าปรากฏขึ้นมาก่อน และเต๋อก็ตามมา

คัมภีร์เต้าเต๋อจิงได้รับการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ มากมาย มีแพร่หลายอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของโลก[10]

ความหมายของ "เต้า"

[แก้]

คำว่า "เต้า" (จีน: ) หมายถึง วิถีทางแห่งธรรมชาติ นอกจากนี้เต๋ามีนักปรัชญาให้ความหมายไว้มากมาย เช่น เต๋า หมายถึง หนทาง (มรรคา), กฎ, จารีต, พิธีการ, คุณสมบัติ, กฎแห่งการย้อนกลับ, ธรรมชาติ, กฎแห่งธรรมชาติ เป็นต้น[11]

รายละเอียด

[แก้]

ประกอบด้วยอักษรจีนประมาณ 5,000-5,500 ตัวอักษร แบ่งออกเป็นสองภาค นักปราชญ์รุ่นหลังได้แบ่งทั้งหมดออกเป็นรวม 81 บท [12] ได้แก่ ภาคต้น (บทที่ 1-37) และภาคปลาย (บทที่ 38-81 )[13] เดิมทีเรียกชื่อคัมภีร์นี้ว่าคัมภีร์เหลาจื่อตามชื่อผู้แต่ง ภายหลังจึงเรียกเต้าเต๋อจิง โดยเต้าเต๋อจิงเป็นการเรียกขานตำราตามแบบโบราณ โดยเรียกคำแรกในหน้าแรกที่พบในตำรา

  • 道 (พินอิน:Dào เต้า) หมายถึง วิถี, มรรค, หนทาง
  • 德 (พินอิน:Dé เต๋อ) หมายถึง ธรรม, คุณธรรม
  • 经 (พินอิน:Jīng จิง) หมายถึง ตำรา, คัมภีร์

การเริ่มต้นเต้าเต๋อจิง เริ่มด้วยภาคเต้า (道) ตามด้วยภาคเต๋อ (德) การแบ่งออกเป็น 81 บทนี้ได้รับอิทธิพลมาจากนักปราชญ์(neotaoist) รุ่นหลังที่มีชื่อว่า “หวางปี้ (王弼)” (ค.ศ. 226-249) จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1972 มีการขุดพบสุสานโบราณสมัยไซฮั่น หม่าหวังตุย (马王堆)ได้พบ "คัมภีร์เต้าเต๋อจิง (道德经)" ภายหลังมีผู้เสนอให้เปลี่ยนเป็น "เต๋อเต้าจิง" (道德经) เนื่องจากมีการค้นพบหลักฐานใหม่ที่สุสานหม่าหวังตุย (马王堆) ที่เริ่มด้วยภาค “เต๋อ” ก่อนภาค “เต้า” [14]

ประวัติผู้แต่ง

[แก้]

ประวัติของเหลาจื่อตามจดหมายเหตุ “สื่อจี้” (史记)ระบุว่า เหลาจื่อแซ่ “หลี่” (李)ชื่อ “เอ๋อร์” (耳) มีชีวิตอยู่ช่วงตอนปลายของราชวงศ์โจว (周朝)เป็นชาวแคว้นฉู่ (楚国) (ปัจจุบันอยู่ในมณฑลเหอหนาน(河南)) ทำหน้าที่ดูแลหอพระสมุดหลวงแห่งราชสำนักโจว ต่อมาราชสำนักเสื่อมโทรม จึงออกแสวงหาความวิเวก จดหมายเหตุ “จฺว่อจ้วน”(左传)ระบุว่า เหลาจื่อมีชีวิตอยู่ในช่วงพุทธทศวรรษที่ ๓ เป็นผู้สืบทอดเผ่า “เหล่าตัน” (老聃族) (ต้นเผ่า “เหล่าตัน” เป็น ๑ ใน ๘ พี่น้องร่วมมารดาของ “โจวอู่หวาง” (周武王) ก่อนพ.ศ. ๕๒๐ - ๔๘๓ ปี) โดยคำว่า “เหล่า” (老)นั้นมาจากคำเรียกคนในเผ่า “เหล่าตัน”, ส่วนคำว่า “จื่อ” (子)นั้นหมายถึง “นักคิดหรือนักปรัชญา” ฉะนั้นคำว่า “เหลาจื่อ” 老子 จึงแปลความได้ว่า “นักปรัชญาแห่งเผ่าเหล่าตัน”[15]

จุดกำเนิด

[แก้]

เมื่อเหลาจื่ออยู่ในนครหลวงเป็นราชวงศ์โจว (周朝) เมื่อสภาพสังคมที่เสื่อมโทรม จึงได้ตัดสินใจผละจากไป ขี่ควายมุ่งสู่ทะเลทรายชมพูทวีป ระหว่างทางผ่านด่านหานกู่ "อิ๋นสี่" ขุนนางดูแลด่าน เนื่องจากได้ยินชื่อเสียงของท่านมานานจึงต้อนรับท่านด้วยมิตรจิตมิตรใจอันอบอุ่น ก่อนจากไป อิ๋นสี่พูดกับท่านว่า "ท่านจะไปแล้ว โปรดเขียนหนังสือสักเล่มให้เราเถิด" ครั้นแล้ว ท่านเหลาจื่อจึงเขียนหนังสือไว้ 1 เล่ม[16]

การแปลเต้าเต๋อจิงในโลกตะวันตก

[แก้]

เต้าเต๋อจิงนอกจากจะมีการแปลเป็นภาษาไทยแล้วยังมีการแปลเป็นภาษาตะวันตกต่างๆ มากกว่า 250 ครั้ง ส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ เยอรมัน และฝรั่งเศส[17] อ้างอิงจากคำกล่าวของ Holmes Welch ว่า “มันเป็นเกมปริศนาที่ทุกคนต่างก็ต้องการจะเป็นคนที่ไขมันสำเร็จ”[18] การแปลส่วนใหญ่มักแปลโดยคนที่มีพื้นฐานทางภาษาและปรัชญาและเป็นผู้ที่พยายามจะแปลความหมายให้ถูกต้องครบถ้วนและตรงตามต้นฉบับให้ได้มากที่สุด [19]

ฉบับแปลเต้าเต๋อจิงที่เป็นที่นิยมหลายฉบับถูกแปลออกมาโดยมีแง่มุมทางวิชาการอยู่น้อย และมักใส่การตีความส่วนบุคคลเข้าไปด้วย นักวิจารณ์ฉบับแปลที่มีการใส่การตีความส่วนบุคคลเข้าไป อาทิ นักวิชาการด้านเต๋า Eugene Eoyang อ้างว่านักแปล อย่างเช่น Stephen Mitchell แปลเต้าเต๋อจิงที่มีความหมายที่แผกแยกจากตัวต้นฉบับและยังไม่สอดคล้องกับประวัติศาสตร์ของปรัชญาจีน[20] Russell Kirkland ยังถกต่อไปอีกว่าฉบับแปลเหล่านี้อิงตามจินตนาการของผู้เชี่ยวชาญด้านตะวันออกศึกษาที่เป็นชาวตะวันตก และยังนำเสนอการหยิบยืมวัฒนธรรมจีนที่มาจากการยึดครองอาณานิคม[21][22] ในทางตรงกันข้าม Huston Smith นักวิชาการด้านศาสนาของโลกกล่าวว่าฉบับแปลของ Mitchell นั้น “ใกล้เคียงความสมบูรณ์แบบที่สุดในยุคของเราเท่าที่ข้าพเจ้าจะจินตนาการได้ มันรวมเอาคุณธรรมอันสูงส่งที่ผู้แปลยกย่องให้แก่ต้นฉบับภาษาจีน ความโปร่งใสแจ่มชัดราวกับอัญมณีที่เปล่งประกายไปด้วยอารมณ์ขันที่งามสง่า จิตใจที่กว้างขวาง และเชาวน์ปัญญาอันลึกซึ้งเอาไว้”

นักวิชาการด้านเต๋ารายอื่น อาทิ Michael LaFargue [23] และ Jonathan Herman [24] เห็นว่าถึงแม้ฉบับแปลดังกล่าวจะมีข้อด้อยทางด้านวิชาการแต่ก็บรรลุจุดประสงค์ของความต้องการทางจิตวิญญานของโลกตะวันตก ฉบับแปลเวอร์ชันที่ปรับให้เข้ากับโลกตะวันตกนี้พุ่งเป้าไปที่การทำให้ผู้อ่านยุคใหม่ที่ใช้ภาษาอังกฤษเข้าถึงเชาวน์ปัญญาของเต้าเต๋อจิงได้มากขึ้นโดยการใช้วัฒนธรรมที่คุ้นเคยและการอ้างอิงที่ใกล้ตัวผู้อ่าน

ฉบับแปลไทย

[แก้]

เต้าเต๋อจิงเริ่มมีการแปลตั้งแต่ พ.ศ. 2506-ปัจจุบัน มีการแปลไม่ต่ำกว่า 20 สำนวน ได้แก่

ลำดับ ปีที่พิมพ์ ผู้แปล ชื่อหนังสือ แปลจากภาษา
1 2506 เสถียร โพธินันทะ เมธีตะวันออก จีน
2 2510 จำนงค์ ทองประเสริฐ บ่อเกิดลัทธิประเพณีจีน อังกฤษ
3 2516 จ่าง แซ่ตั้ง เต้า จีน
4 2517 เลียง เสถียรสุต คัมภีร์เหลาจื้อ จีน
5 2521 พจนา จันทรสันติ วิถีเต๋า อังกฤษ
6 2527 สมเกียรติ สุขโข, เนาวรัตน์ พงไพบูลณ์ คัมภีร์คุณธรรม อังกฤษ
7 ไม่ทราบ สมภพ โรจนพันธุ์ เต๋าที่เล่าแจ้ง อังกฤษ
8 ไม่ทราบ ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ คัมภีร์เต๋า ฉบับสมบูรณ์ พร้อมอรรถกถา อังกฤษ
9 2529 ทองสด เมฆเมืองทอง เต๋าคือเต๋า จีน
10 2530 ทองแถม นาถจำนง เหลาจื่อสอนว่า... จีน
11 2530 จ่าง แซ่ตั้ง ปรมัตถ์เต๋า จีน
12 2534 บุญมาก พรหมพ้วย เต๋าย่อมไร้นาม อังกฤษ
13 2536 มงคล สีห์โสภณ เต๋า อังกฤษ
14 2537 โชติช่วง นาดอน (ทองแถม นาถจำนง) เต๋าเต็กเก็ง จีน
15 ไม่ทราบ สุขสันต์ วิเวกเมธากร ปรัชญาเหลาจื๊อ จีน
16 2538 บัญชา ศิริไกร คัมภีร์ ปรัชญาเหลาจื่อ จีน
17 2538 บุญสิริ สุวรรณเพ็ชร์ แสงสว่างแห่งสัจธรรมและคุณธรรมเต๋า จีน
18 2538 ทองหล่อ วงษ์ธรรมา ปรัชญาจีน อังกฤษ
19 2539 ประยงศ สวรรณบุปผา คัมภีร์ เต๋า เต้ จิง อังกฤษ
20 2541 อาจารย์สัมปันโน สามลัทธิศาสนาที่น่าสนใจ อังกฤษ
21 2543 ชาตรี แซ่บ้าง ศีกษาคัมภีร์เต้าเต๋อ จีน
22 2546 กลิ่นสุคนธ์ อริยฉัตรกุล เต้าเต๋อจิง จีน
23 2547 ภาวิช ทองโรจน์ วิถีเต๋าของท่านเล่าจื๊อ อังกฤษ
24 2547 ปกรณ์ ลิมปนุสรณ์ คัมภีร์เต๋าของเหลาจื๊อ จีน
25 2548 ประชา หุตานุวัตร ผู้นำที่แท้ : มรรควิธีของเล่าจื๊อ อังกฤษ
26 2548 ชาตรี แซ่บ้าง ปรัชญาเต๋า : วิถีแห่งธรรมชาติ วิถีคน วิถีใจ จีน
27 2549 ทองหล้อ วงษ์ธรรมา เต๋าทางแห่งธรรมชาติ อังกฤษ
28 2558 สรวงอัปสร กสิกรานันท์ เต้าเต๋อจิง : คัมภีร์เต๋า ไม่ทราบ
29 2565 สุวรรณา โชคประจักษ์ชัด เต๋า เต้อ จิง สำนักพิมพ์บ้านภายใน อังกฤษ จีน
30 2565 สุวรรณา อุชุคตานนท์ เต้า เต๋อ จิง ฉบับแปล จากจีนเป็นไทย จีน

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ในอดีตทับศัพท์เป็น Tao-te-king,[1] Tau Tĕh King[2] และ Tao Teh King.[3][4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Julien (1842), p. ii.
  2. Chalmers (1868), p. v.
  3. Legge & al. (1891).
  4. Suzuki & al. (1913).
  5. Ellwood, Robert S. (2008). The Encyclopedia of World Religions. Infobase Publishing. p. 262. ISBN 978-1-4381-1038-7.
  6. "The Tao Te Ching by Laozi: ancient wisdom for modern times". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2013-12-27. สืบค้นเมื่อ 2022-01-28.
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ stanford
  8. "The Tao Teh King, or the Tao and its Characteristics by Laozi – Project Gutenberg". Gutenberg.org. 2007-12-01. สืบค้นเมื่อ 2010-08-13.
  9. Creel 1970, What is Taoism? 75
  10. ทองหล่อ วงษ์ธรรมา. เต๋า : ทางแห่งธรรมชาติ (Way of Nature). กรุงเทพฯ : โอเด็นสโตร์, 2549. หน้า 49-50
  11. อ้างแล้วใน ทองหล่อ วงษ์ธรรมา. เต๋า : ทางแห่งธรรมชาติ (Way of Nature). หน้า 21
  12. คณาจารย์ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น(Innsbruck).วิธีสืบค้นวัสดุสารสนเทศ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://202.28.117.35/UserFiles/chapter6.pdf เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (วันที่ค้นข้อมูล : 12 มีนาคม 2558).
  13. เสถียร โพธินันทะ.เมธีตะวันออก. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สร้างสรรค์บุ๊ค, 2544.
  14. ปกรณ์ ลิมปนุสรณ์.คัมภีร์เต๋าของเหลาจื๊อ.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สร้างสรรค์บุ๊ค, 2553.
  15. ________________.วิธีสืบค้นวัสดุสารสนเทศ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.yokipedia.com/chinesegods/151-2010-09-09-17-56-06 เก็บถาวร 2013-09-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (วันที่ค้นข้อมูล : 15 กันยายน 2556).
  16. ________________.วิธีสืบค้นวัสดุสารสนเทศ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.daodexinxi.org/cont.php?conW_id=80 เก็บถาวร 2011-09-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (วันที่ค้นข้อมูล : 15 ตุลาคม 2556).
  17. LaFargue, Michael and Pas, Julian. On Translating the Tao-te-ching in Kohn and LaFargue (1998), p. 277
  18. Welch (1965), p. 7
  19. The Journal of Religion
  20. The Journal of Religion
  21. "THE TAOISM OF THE WESTERN IMAGINATION AND THE TAOISM OF CHINA: DE-COLONIALIZING THE EXOTIC TEACHINGS OF THE EAST" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-01-02.
  22. Taoism: the enduring tradition – Google Books. Books.google.com. สืบค้นเมื่อ 2010-08-13.
  23. Lao-tzu and the Tao-te-ching: Studies in Ethics, Law, and the Human Ideal
  24. Journal of the American Academy of Religion

ข้อมูล

[แก้]
  • Ariel, Yoav, and Gil Raz. "Anaphors or Cataphors? A Discussion of the Two qi 其 Graphs in the First Chapter of the Daodejing." PEW 60.3 (2010): 391–421
  • Boltz, William (1993), "Lao tzu Tao-te-ching", Early Chinese Texts: A Bibliographical Guide, Berkeley, CA: University of California Press, pp. 269–92, ISBN 1-55729-043-1.
  • Chan, Alan (2013), "Laozi", Stanford Encyclopedia of Philosophy, Stanford, CA: Stanford University.
  • Cole, Alan, "Simplicity for the Sophisticated: ReReading the Daode Jing for the Polemics of Ease and Innocence," in History of Religions, August 2006, pp. 1–49
  • Damascene, Hieromonk, Lou Shibai, and You-Shan Tang. Christ the Eternal Tao. Platina, CA: Saint Herman Press, 1999.
  • Eliade, Mircea (1984), A History of Religious Ideas, vol. 2, แปลโดย Trask, Willard R., Chicago, IL: University of Chicago Press
  • Kaltenmark, Max. Lao Tzu and Taoism. Translated by Roger Greaves. Stanford: Stanford University Press. 1969.
  • Klaus, Hilmar Das Tao der Weisheit. Laozi-Daodejing. English + German introduction, 140 p. bibliogr., 3 German transl. Aachen: Mainz 2008, 548 p.
  • Klaus, Hilmar The Tao of Wisdom. Laozi-Daodejing. Chinese-English-German. 2 verbatim + 2 analogous transl., 140 p. bibl., Aachen: Mainz 2009 600p.
  • Kohn, Livia; และคณะ (1998), "Editors' Introduction", Lao-tzu and the Tao-te-ching, Albany, NY: State University of New York Press, pp. 1–22, ISBN 9780791436004.
  • Komjathy, Louis. Handbooks for Daoist Practice. 10 vols. Hong Kong: Yuen Yuen Institute, 2008.
  • LaFargue, Michael; และคณะ (1998), "On Translating the Tao-te-ching", Lao-tzu and the Tao-te-ching, Albany, NY: State University of New York Press, pp. 277–302, ISBN 9780791436004.
  • Welch, Holmes (1965) [1957], Taoism: The Parting of the Way, Boston, MA: Beacon Press

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]