เดินกะลา
หน้าตา
เดินกะลา เป็นการละเล่นเด็กไทย โดยใช้วัสดุอุปกรณ์ที่หาได้ทั่วไปตามท้องถิ่น ซึ่งผู้ใหญ่มักทำให้เด็กๆ เล่นเพื่อความสนุกเพลิดเพลิน, เสริมสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ และเป็นการฝึกการทรงตัวอีกด้วย
การเรียกชื่อ
[แก้]การเรียกชื่อของเดินกะลา จะแตกต่างกันไปในแต่ละภาค[1] ดังนี้
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : เดินหมากกุบกับ, เดินกะโป๋[2]
- ภาคกลาง : เดินกะลา
- ภาคใต้ : กุบกับ
ในภาษาอังกฤษ ราชบัณฑิตยสถาน ได้กำหนดชื่อภาษาอังกฤษของการละเล่นนี้ไว้ว่า "Walking with coconut shells" จะไม่ใช้การทับศัพท์เนื่องจากไม่สามารถสื่อความหมายได้[3]
ประโยชน์
[แก้]- เพื่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขน ขา
- ฝึกการทรงตัวในเด็ก
- ส่งเสริมด้านสังคม และ อารมณ์ ในกรณีแข่งขัน จะทำให้มีปฏิสัมพันธ์แก่บุคคลรอบกาย รู้รักสามัคคี มีน้ำใจนักกีฬา
- รักษาประเพณีพื้นบ้านของไทย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ การละเล่นของไทย เก็บถาวร 2007-07-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - เว็บไซต์สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
- ↑ "เดินกะโป๋ หรือ เดินกะลา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-05. สืบค้นเมื่อ 2007-04-12.
- ↑ การละเล่นของเด็กไทย เก็บถาวร 2007-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - บทความจากเว็บไซต์ราชบัณฑิตยสถาน
ดูเพิ่ม
[แก้]- สิกไม้ย่างกางเกง - การละเล่นที่คล้ายเดินกะลา แต่เปลี่ยนเชือกเป็นไม้ไผ่แทน
- การละเล่นเด็กไทย
วิกิตำรามีตำราในหัวข้อ วิธีการทำอุปกรณ์เดินกะลา