ข้ามไปเนื้อหา

สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเมนท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บริษัท สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)
ประเภทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง
รูปแบบบริษัทมหาชน
ก่อตั้ง29 สิงหาคม พ.ศ. 2537 (30 ปี)
สำนักงานใหญ่999/9 อาคารสำนักงานเซ็นทรัลเวิลด์ ออฟฟิสเศส ชั้น 33 ถนนพระรามที่ 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
บริษัทแม่เซ็นทรัลพัฒนา
บริษัทในเครือบจ. เอสเอฟ ดีเวลอปเมนท์

บริษัท สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: SIAM FUTURE DEVELOPMENT PUBLIC COMPANY LIMITED ชื่อย่อ:SF) [3] บริษัทประกอบธุรกิจด้านการพัฒนาและบริหารศูนย์การค้าประเภทศูนย์การค้าแบบเปิด (Open-air Shopping Center) ในเครือของบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) โดยบริษัทจะจัดหาที่ดินตามความต้องการของลูกค้า และนำมาพัฒนาเป็นศูนย์การค้าหรือโครงการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจค้าปลีก เพื่อให้บริการเช่าพื้นที่ทั้งระยะสั้นและระยะยาว ให้บริการบริหารโครงการและพื้นที่ส่วนกลาง จัดหาสถานที่ประกอบการ และให้บริการสาธารณูปโภค ตลอดอายุสัญญาเช่าพื้นที่[1]

ประวัติ

[แก้]

บริษัทก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2537 เพื่อประกอบธุรกิจด้านการพัฒนาและบริหารศูนย์การค้า ประเภทศูนย์การค้าแบบเปิด ในปี พ.ศ. 2538 บริษัทได้เปิดดำเนินโครงการบางบอน ซึ่งเป็นศูนย์การค้าชุมชน (Neighborhood Shopping Center) แห่งแรกของบริษัท โดยมี จัสโก้ ซูเปอร์มาร์เก็ต เป็นผู้เช่าหลัก (Anchor) เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2545 บริษัทได้แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน และบริษัทได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2545 และในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2547 บริษัทได้รับอนุมัติย้ายหลักทรัพย์จากตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ เป็นหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย[1]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2559 เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ได้ทำคำเสนอซื้อหุ้นบางส่วนของบริษัทในจำนวนไม่เกิน 428,346,412 หุ้น หรือร้อยละ 24.11 ส่งผลให้เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ขึ้นเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 1 ในขณะนั้น และในปี พ.ศ. 2564 เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ร่วมกับกลุ่มผู้ก่อตั้งบริษัททั้งหมด ได้ขายหุ้นทั้งหมดในบริษัทให้ บริษัท เซ็นทรัลเวิลด์ จำกัด ในราคารวม 13,341.38 ล้านบาท และยังทำคำเสนอซื้อหุ้นทั้งหมดภายใต้วงเงินไม่เกิน 11,911 ล้านบาท ทำให้ปัจจุบัน บริษัทฯ ได้กลายเป็นบริษัทย่อยของเซ็นทรัลพัฒนาโดยเซ็นทรัลเวิลด์ และหุ้น SF ถูกเพิกถอนออกจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไปเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2565[4]

การประกอบธุรกิจ

[แก้]
มาร์เก็ตเพลส ลา วิลลา ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
มาร์เก็ตเพลส ดุสิต ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2565

บริษัทประกอบธุรกิจด้านการพัฒนาและบริหารศูนย์การค้า โดยมุ่งเน้นที่ศูนย์การค้าแบบเปิด (Open-air Shopping Center) ปัจจุบันบริษัทมีโครงการที่ดำเนินการอยู่ทั้งหมดจำนวน 29 โครงการ มีพื้นที่ให้เช่ารวม 409,600 ตร.ม.[1] คิดเป็น 20% ของพื้นที่ให้เช่ารวมทั้งหมดของเซ็นทรัลพัฒนา

ศูนย์การค้าในความดูแลของบริษัท

[แก้]
  • มาร์เกตเพลส
    • บางบอน
    • สุขาภิบาล 3
    • ประชาอุทิศ
    • เจ อเวนิว (ทองหล่อ)
    • นวมินทร์ เฟสติวัล
    • ลา วิลลา (อารีย์)
    • พหลโยธิน
    • พัทยา
    • เกษตร-นวมินทร์ (ประเสริฐมนูญกิจ)
    • เหม่งจ๋าย
    • สุขาภิบาล 1
    • นางลิ้นจี่
    • ดุสิต
    • กรุงเทพกรีฑา (ร่วมทุนกับ แสนสิริ)
    • เทพรักษ์
  • พาวเวอร์เซ็นเตอร์
    • เอกมัย
    • เพชรเกษม
  • เมกาซิตี้ บางนา (ร่วมทุนกับ อิคาโน่ เอเชีย)

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 ลักษณะการประกอบธุรกิจ แบบรายงาน56-1 สยามฟิวเจอร์ดีเวลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ประจำปี :2555
  2. Details of the operating projects INVESTOR RELATIONS
  3. สรุปข้อสนเทศบริษัทจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  4. ตลาดหลักทรัพย์ฯ ถอนหุ้น SF วันที่ 1 มิ.ย. นี้ เปิดให้ซื้อขายวันสุดท้าย 31 พ.ค.