วิธภาษา
ภาษาศาสตร์สังคม |
---|
แนวคิดหลัก |
สาขาวิชา |
สาขาที่เกี่ยวข้อง |
ในทางภาษาศาสตร์สังคม วิธภาษา (อังกฤษ: variety) หรือบางครั้งเรียกว่า ภาษณ์ (lect) คือรูปแบบเจาะจงรูปแบบหนึ่ง ๆ ของภาษาหรือกลุ่มภาษาซึ่งแตกต่างจากรูปแบบอื่นด้วยปัจจัยต่าง ๆ เกี่ยวกับผู้ใช้ เช่น ที่อยู่อาศัย ลักษณะทางสังคม หรือวัตถุประสงค์ในการใช้ วิธภาษาอาจหมายรวมถึงภาษา (language), ภาษาย่อย (dialect), ทำเนียบภาษา (register), วัจนลีลา (style) หรือรูปแบบอื่น ๆ ของภาษารวมทั้งวิธภาษามาตรฐาน[1] การใช้ศัพท์ วิธภาษา เพื่ออ้างถึงรูปแบบที่แตกต่างกันนั้นเป็นการเลี่ยงการใช้ศัพท์ ภาษา (ซึ่งหลายคนเชื่อมโยงกับภาษามาตรฐานเพียงอย่างเดียว) และศัพท์ ภาษาย่อย (ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับวิธภาษาไม่มาตรฐานซึ่งถูกมองว่ามีเกียรติภูมิหรือ "ถูกต้อง" น้อยกว่าวิธภาษามาตรฐาน)[2] นักภาษาศาสตร์กล่าวถึงทั้งวิธภาษามาตรฐานและวิธภาษาไม่มาตรฐาน (หรือท้องถิ่น)[3] ส่วนศัพท์ ภาษณ์ ใช้เลี่ยงปัญหาความคลุมเครือในการตัดสินว่าวิธภาษาสองวิธภาษาเป็นคนละภาษากันหรือเป็นภาษาย่อยของภาษาเดียว
การแปรในระดับคลังศัพท์ เช่น สแลง (slang) หรือสแลงเฉพาะกลุ่ม (argot) มักได้รับการวิเคราะห์โดยเชื่อมโยงกับวัจนลีลาหรือระดับความเป็นทางการ (ซึ่งเรียกอีกอย่างว่าทำเนียบภาษา) โดยเฉพาะ แต่บางครั้งก็มีผู้นำมาอภิปรายในฐานะวิธภาษาเช่นกัน[1]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Meecham, Marjorie and Janie Rees-Miller. (2001) "Language in social contexts." In W. O'Grady, J. Archibald, M. Aronoff and J. Rees-Miller (eds) Contemporary Linguistics. pp. 537-590. Boston: Bedford/St. Martin's.
- ↑ Schilling-Estes, Natalies. (2006) "Dialect variation." In R.W. Fasold and J. Connor-Linton (eds) An Introduction to Language and Linguistics. pp. 311-341. Cambridge: Cambridge University Press.
- ↑ Wolfram, Walt; Schilling-Estes, Natalie (1998). American English: dialects and variation. Malden, Mass.: Blackwell. pp. 13–16.