ข้ามไปเนื้อหา

มะม่วง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มะม่วง
สถานะการอนุรักษ์

ไม่มีข้อมูล  (IUCN 3.1)[1]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
อาณาจักร: พืช
Plantae
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
Tracheophytes
เคลด: พืชดอก
Angiosperms
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
Eudicots
เคลด: โรสิด
Rosids
อันดับ: เงาะ
Sapindales
วงศ์: วงศ์มะม่วง
Anacardiaceae
สกุล: สกุลมะม่วง
Mangifera
L.[2]
สปีชีส์: Mangifera indica
ชื่อทวินาม
Mangifera indica
L.[2]
ชื่อพ้อง[2]
  • Mangifera amba Forssk.
  • Mangifera anisodora Blanco
  • Mangifera austroyunnanensis Hu
  • Mangifera balba Crevost & Lemarié
  • Mangifera cambodiana (Pierre) Anon.
  • Mangifera domestica Gaertn.
  • Mangifera equina Crevost & Lemarié
  • Mangifera gladiata Bojer
  • Mangifera kukulu Blume
  • Mangifera laxiflora Desr.
  • Mangifera linnaei Korth. ex Hassk.
  • Mangifera maritima Lechaume
  • Mangifera mekongensis (Pierre) Anon.
  • Mangifera montana B.Heyne ex Wight & Arn.
  • Mangifera oryza Crevost & Lemarié
  • Mangifera rostrata Blanco
  • Mangifera rubra Bojer
  • Mangifera sativa Roem. & Schult.
  • Mangifera siamensis Warb. ex Craib
  • Mangifera viridis Bojer

มะม่วง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Mangifera Indica) เป็นไม้ยืนต้นในสกุล Mangifera ซึ่งเป็นไม้ผลเมืองร้อนในวงศ์ Anacardiaceae[3] (กลุ่มเดียวกับถั่วพิสตาชีโอและมะม่วงหิมพานต์) เชื่อว่าเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคอินเดีย บังกลาเทศ และพม่าตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งเห็นได้จากความหลากหลายทางพันธุกรรมและร่องรอยฟอสซิลจำนวนมาก นับย้อนไปได้ถึง 25 – 30 ล้านปีก่อน[4] มะม่วงมีความแตกต่างประมาณ 49 สายพันธุ์กระจายอยู่ตามประเทศในเขตร้อนตั้งแต่อินเดียไปจนถึงฟิลิปปินส์ จากนั้นจึงแพร่หลายไปทั่วโลก เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ใบโต ยาว ปลายแหลม ขอบใบเรียบ ใบอ่อนสีแดง ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็ก สีขาว ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเหลือง เมล็ดแบน เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง

มะม่วงเป็นผลไม้เศรษฐกิจ ปลูกเป็นพืชสวน ประเทศไทยส่งออกมะม่วงเป็นอันดับ 3 รองจากฟิลิปปินส์ และเม็กซิโก[5] เป็นผลไม้ประจำชาติของอินเดีย[6] ปากีสถาน และฟิลิปปินส์ รวมทั้งบังกลาเทศ[7]

สายพันธุ์พื้นเมือง

[แก้]

มะม่วงมีสายพันธุ์มากมายดังที่ปรากฏในหนังสือพรรณพฤกษาของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ที่กล่าวถึงมะม่วงในสมัยรัชกาลที่ 5 ไว้กว่า 50 พันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เช่น เขียวเสวย แรด น้ำดอกไม้ โชคอนันต์ อกร่อง ตัวอย่าง เช่น

  • เขียวเสวย เป็นพันธุ์พื้นเมืองของนครปฐม ผลยาว ด้านหลังผลโค้งนูนออก ปลายแหลม ผิวเรียบ สีเขียวเข้ม เปลือกหนา เหนียว ผลแก่รสมัน[8]
  • น้ำดอกไม้ เป็นพันธุ์ที่กินผลสุก รูปร่างยาวเรียว ผลดิบเนื้อขาว รสเปรี้ยวจัด ผลสุกสีเหลืองนวล รสหวาน
  • อกร่องทอง เป็นพันธุ์เก่าแก่ นิยมกินกับข้าวเหนียวมูน ผลค่อนข้างเล็ก มีร่องเป็นแนวยาวที่ด้านท้อง ผลสุก เนื้อละเอียด มีเสี้ยนน้อย
  • ฟ้าลั่น ผลกลม ท้ายแหลม ลูกขนาดกลาง นิยมกินผลแก่ มีรสมัน เมื่อปอกเปลือก เนื้อมะม่วงจะปริแตก
  • หนังกลางวัน ผลยาวคล้ายงาช้าง แก่จัดรสมันอมเปรี้ยว สุกรสหวาน
  • แก้ว นิยมกินดิบ ผลอ้วนป้อม เปลือกเหนียว เมื่อเกือบสุกเปลือกจะมีสีอมส้มหรืออมแดง
  • โชคอนันต์ รูปร่างยาว ปลายมน กลายพันธุ์มาจากมะม่วงป่า นิยมนำไปทำมะม่วงดอง
  • มหาชนก เป็นลูกผสมระหว่างมะม่วงพันธุ์หนังกลางวันกับพันธุ์ซันเซ็ตจากอินเดีย ผลยาวรี สุกสีเหลืองเข้ม มีริ้วสีแดง เนื้อไม่เละ กลิ่นหอม จะสุกในช่วงที่มะม่วงพันธุ์อื่นวายแล้ว

การใช้ประโยชน์

[แก้]
มะม่วงดิบ
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)
พลังงาน250 กิโลจูล (60 กิโลแคลอรี)
15 g
น้ำตาล13.7 g
ใยอาหาร1.6 g
0.38 g
0.82 g
วิตามิน
วิตามินเอ
(7%)
54 μg
(6%)
640 μg
ไทอามีน (บี1)
(3%)
0.03 มก.
ไรโบเฟลวิน (บี2)
(3%)
0.04 มก.
ไนอาซิน (บี3)
(4%)
0.67 มก.
(4%)
0.2 มก.
วิตามินบี6
(9%)
0.12 มก.
โฟเลต (บี9)
(11%)
43 μg
วิตามินซี
(43%)
36 มก.
แร่ธาตุ
แคลเซียม
(1%)
11 มก.
เหล็ก
(1%)
0.16 มก.
แมกนีเซียม
(3%)
10 มก.
ฟอสฟอรัส
(2%)
14 มก.
โพแทสเซียม
(4%)
168 มก.
สังกะสี
(1%)
0.09 มก.
ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่
แหล่งที่มา: USDA FoodData Central

ผลมะม่วงนำมากินได้ทั้งดิบและสุก มะม่วงดิบเปลือกสีเขียวเนื้อสีขาวส่วนใหญ่มีรสเปรี้ยว ยกเว้นบางพันธุ์ที่เรียกว่ามะม่วงมัน ส่วนผลสุกจะมีสีเหลืองทั้งเปลือกและเนื้อ กินสด หรือ นำไปทำเป็นอาหารเช่น ข้าวเหนียวมะม่วง อีกทั้งมีการนำไปแปรรูป เช่น มะม่วงกวน มะม่วงแก้ว มะม่วงดอง มะม่วงแช่อิ่ม มะม่วงเค็ม น้ำแยมมะม่วง พายมะม่วง เป็นต้น แบ่งมะม่วงตามความนิยมในการกินเป็น 3 ประเภทคือ

  • นิยมกินดิบได้แก่พันธุ์ที่มีรสหวานมันตอนแก่จัด เช่น เขียวเสวย แรด พิมเสนมัน ทองดำ เขียวไข่กา หรือมีรสมันตอนอ่อนไม่เปรี้ยว เช่น ฟ้าลั่น หนองแซง มะม่วงเหล่านี้เมื่อสุกแล้วจะหวานชืด ไม่อร่อย
  • นิยมกินสุก เมื่อดิบมีรสเปรี้ยว ต้องบ่มให้สุกก่อนกินเช่น อกร่อง นวลจันทร์ น้ำดอกไม้ นำไปประกอบอาหาร เช่น ใส่ในน้ำพริก ยำ
  • นิยมนำมาแปรรูป แก่จัดมีรสมันอมเปรี้ยว เมื่อสุกหวานอมเปรี้ยว
  • ใช้ยอดอ่อน ผลอ่อน มาประกอบอาหารแทนผัก
  • ใช้เป็นยาสมุนไพร เช่น ผลมะม่วงดิบมีวิตามินซีสูง แก้เลือดออกตามไรฟัน เป็นต้น
  • ใช้เนื้อไม้ นำมาผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์[9]
  • ชาวกะเหรี่ยงในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่นำเปลือกต้นมะม่วงไปย้อมผ้า ให้สีเขียว[10]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Ganesan, S.K (2021). "Mangifera indica". IUCN Red List of Threatened Species. 2021: e.T31389A67735735. doi:10.2305/IUCN.UK.2021-2.RLTS.T31389A67735735.en. สืบค้นเมื่อ 19 November 2021.
  2. 2.0 2.1 "Mangifera". Plants of the World Online. Royal Botanic Gardens, Kew. สืบค้นเมื่อ 8 May 2020.
  3. Julia F Morton (1987). "Mango (Mangifera indica L.)". In: Fruits of Warm Climates; New Crop Resource Online Program, Center for New Crops and Plant Products, Purdue University. pp. 221–239. สืบค้นเมื่อ 24 December 2021.
  4. "INPhO: Compendium Chapter 20 on Mango Section 1". fao.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-04-24.
  5. "ซีพี สำเร็จผลิตมะม่วงนอกฤดู ตั้งเป้าขยายตลาดส่งออกทั้งปี". คมชัดลึกออนไลน์. 2009-11-26.
  6. "National Fruit". Know India. Government of India. สืบค้นเมื่อ 2010-08-17.
  7. "Mango tree, national tree". BDnews24.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-19. สืบค้นเมื่อ 2010-11-16.
  8. "มะม่วงเขียวเสวย ประโยชน์ สรรพคุณ และการปลูกมะม่วงเขียวเสวย".
  9. "เฟอร์นิเจอร์ไม้มะม่วง...ของดี 'คลอง 30'". คมชัดลึกออนไลน์. 2016-04-03.
  10. ขวัญฤทัย คำฝาเชื้อ (2551). พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวกะเหรี่ยง ที่ตำบลบ้านจันทร์และแจ่มหลวง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ วิทยานิพนธ์ (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) 271 หน้า ดูฉบับเต็ม เก็บถาวร 2021-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Litz, Richard E. (ed. 2009). The Mango: Botany, Production and Uses (2nd edition). CABI. ISBN 978-1-84593-489-7
  • นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์. มะม่วง ใน ผลไม้ 111 ชนิด: คุณค่าอาหารและการกิน. กทม. แสงแดด. 2550 หน้า 173 - 177

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]