ข้ามไปเนื้อหา

ภาวะเศรษฐกิจชะงักงันและเงินเฟ้อ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภาวะเศรษฐกิจชะงักงันและเงินเฟ้อ (อังกฤษ: Stagflation) คือภาวะที่เศรษฐกิจชะงักหรือชะลอตัว อัตราการว่างงานอยู่ในระดับสูง แต่เงินเฟ้อกลับอยู่ในระดับสูงด้วย สภาวะเช่นนี้ถือว่าผิดปกติอันเนื่องมาจากทฤษฎีที่ว่า "ช่วงเวลาที่เศรษฐกิจชะลอตัวจะมีอัตราการว่างงานสูงผู้บริโภคจะมีรายได้ลดลงซึ่งจะไปทำให้ภาคบริการทำให้ราคาสินค้าลดลงหรือเรียกว่าเงินฝืด " แต่ในช่วงการเกิด Stagflation แม้จะเกิดความชะลอตัวทางเศรษฐกิจแต่ราคาสินค้าและบริการกลับปรับตัวสูงขึ้นทำให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มขึ้น [1] ปกติแล้วเมื่อเกิดเงินเฟ้อสูงขึ้นจะมาจากการที่ผู้บริโภคมีกำลังซื้อมาก แต่สภาพเงินเฟ้อของสภาวะ Stagflation เกิดจากเงินเฟ้อด้านอุปาน (Cost-Push Inflation) เช่น ราคาน้ำมันแพงขึ้น ซึ่งส่งผลให้ระบบโลจิสติกส์มีค่าใช้จ่ายมากขึ้นและส่งผลต่อราคาสินค้าอื่นสืบไปเรื่อย ๆ [2]

คำว่า Stagflation เป็นคำผสมระหว่าง Stagnation แปลว่าภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว และคำว่า Inflation แปลว่าเงินเฟ้อ โดยเอียน แม็คคลาวด์ ซึ่งเป็นนักการเมืองจากพรรคอนุรักษนิยมสหราชอาณาจักร มักได้เครดิตว่าใช้คำนี้เป็นคนแรก ในปี 1965 เขาได้ใช้คำดังกล่าวในการกล่าวสุนทรพจน์ต่อรัฐสภาในช่วงเวลาที่สหราชอาณาจักรกำลังเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อและอัตราการว่างงานสูงพร้อม ๆ กัน [3][4][5][6]

ในวันที่ 7 กรกฎาคม 1970 เอียน แม็คคลาวด์ นำคำนี้กลับมาใช้อีกครั้งและสื่อหลาย ๆ สำนักก็มีการนำคำนี้มาใช้เช่นกัน เช่น หนังสือพิมพ์ดิอีโคโนมิสต์ เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 1970 และหนังสือพิมพ์นิวส์วีก เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 1973 จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ซึ่งเป็นนักเศรษฐศาสตร์และเป็นบิดาแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์มหภาคไม่ได้ใช้คำนี้ในการสื่อสารแต่งานผลงานบางส่วนของเขาได้อ้างถึงสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำพร้อมภาวะเงินเฟ้อซึ่งเป็นคำที่มีความหมายคล้ายกัน จากทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์ซึ่งเป็นทฤษฏีที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดหลังสงครามโลกครั้งที่สองและปลายทศวรรษ 1970 อธิบายเอาไว้ว่า อัตราเงินเฟ้อและภาวะเศรษฐกิจถดถอยถูกพิจารณาว่าไม่เกิดขึ้นพร้อมกัน ภาวะ Stagflation นั้นมีผลกระทบทางเศรษฐกิจค่อนข้างมากและยากที่จะแก้ไขปัญหา

เงินเฟ้อครั้งใหญ่

[แก้]

ในช่วงทศวรรษ 1960 และ 1970 คำว่า stagflation เกิดขึ้นครั้งแรกในสหราชอาณาจักร ในช่วงที่สหราชอาณาจักรประสบกับภาวะเงินเฟ้อรุนแรงและการว่างงานสูง ผู้กำหนดนโยบายการเงินของอังกฤษล้มเหลวในการควบคุมเงินเฟ้อ พวกเขาจึงพยายามใช้นโยบายและกลไกนอกเหนือจากด้านการเงินมาใช้เพื่อตอบสนองต่อวิกฤตเศรษฐกิจแทน ผู้กำหนดนโยบายของอังกฤษยังไม่สามารถประมาณการระดับอุปสงค์ส่วนเกินในเศรษฐกิจอย่างแม่นยำซึ่งส่งผลให้เงินเฟ้อในสหราชอาณาจักรพุ่งสูงขึ้นอย่างมากในช่วงทศวรรษ 1960 และ 1970 [5]

คำว่า Stagflation หรือ ภาวะเศรษฐกิจชะงักงันและเงินเฟ้อ ไม่ได้ถูกจำกัดความเพียงในสหราชอาณาจักรเท่านั้น นักเศรษฐศาสตร์ได้แสดงให้เห็นว่าสภาวะ Stagflation มีอยู่ทั่วไปในระบบเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 1973 ถึงปี 1982 เมื่ออัตราเงินเฟ้อเริ่มลดลงในช่วงปี 1982 นักเศรษฐศาสตร์ก็เปลี่ยนความสนใจในการศึกษาจากสาเหตุของ Stagflation หันไปศึกษาปัจจัยการเติบโตของ ผลิตภาพและผลกระทบของค่าจ้างที่แท้จริงต่อความต้องการแรงงาน [7]

สาเหตุ

[แก้]

นักเศรษฐศาสตร์ได้เสนอคำอธิบายสองประการว่าทำไมภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัวจึงเกิดขึ้นเฟ้อขึ้น ประการที่หนึ่งภาวะ Stagflation อาจเกิดขึ้นเมื่อเศรษฐกิจเผชิญกับภาวะซับพลายช็อก เช่น เมื่อราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในขณะเดียวกันก็ทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจชะลอตัวลงอันเนื่องมาจากเกิดผลกระทบทำให้ารผลิตมีต้นทุนสูงขึ้นและมีกำไรน้อยลงจากสภาวะดังกล่าว[8][9][10][11]

ประการที่สองรัฐบาลสามารถทำให้เกิดภาวะ Stagflation ได้หากออกนโยบายส่งผลเสียต่ออุตสาหกรรมในขณะที่ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมากเกินไป แต่จากทฤษฎีนโยบายที่ชะลอการเติบโตทางเศรษฐกิจมักจะไม่ก่อให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ

สภาวะซัพพลายช็อก

[แก้]

ทันทีที่สงครามหกวันอุบัติขึ้นในปี 1967 อิสราเอลทำการรุกรานคาบสมุทรไซนายจนถึงคลองสุเอซ ต่อมาเกิดการปิดคลองสุเอซนำโดยประธานาธิบดีอียิปต์ญะมาล อับดุนนาศิร ซึ่งร่วมมมือกับสหภาพโซเวียตปิดคลองสุเอซเป็นเวลาแปดปี น้ำมันที่ต้องผ่านคลองสุเอซจากตะวันออกกลางไปยังยุโรปต้องเปลี่ยนเส้นทางผ่านทางใต้ของทวีปแอฟริกา เมื่อปลายปี 1973 เกิดสงครามยมคิปปูร์อียิปต์บุกข้ามคลองสุเอซและยึดคาบสมุทรไซนายคืนจากอิสราเอล เมื่อเป็นเช่นนั้นประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสันจึงสนับสนุนเงินทุนให้อิสราเอลเป็นเงิน 2.2 พันล้านดอลลาร์ในช่วงความขัดแย้ง จุดชนวนให้เกิดการคว่ำบาตรน้ำมันในเดือนตุลาคม 1973 เมื่อชาติอาหรับลดการผลิตน้ำมันและประกาศคว่ำบาตรการส่งออกน้ำมันไปยังสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ที่สนับสนุนอิสราเอล[12][13]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Stagflation คืออะไร และจะเกิดขึ้นหรือไม่". www.caf.co.th (ภาษาThai). สืบค้นเมื่อ 2 October 2024.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  2. "Stagflation คืออะไร ?". www.longtunman.com. 6 May 2022.
  3. Online Etymology Dictionary Douglas Harper, Historian. http://dictionary.reference.com/browse/stagflation (accessed 5 May 2007).
  4. House of Commons Official Report (also known as Hansard), 17 November 1965, page 1,165.
  5. 5.0 5.1 Nelson, Edward; Nikolov, Kalin (2002). Bank of England Working Paper (Report). SSRN 315180.Introduction, page 9.
  6. Mankiw, N. Gregory (25 September 2008). Principles of Macroeconomics. Boston, Massachusetts: Cengage Learning. p. 464. ISBN 978-0-324-58999-3.
  7. Helliwell, John (March 1988). "Comparative Macroeconomics of Stagflation". Journal of Economic Literature. 26 (1): 1–28. JSTOR 2726607.
  8. J. Bradford DeLong (3 October 1998). "Supply Shocks: The Dilemma of Stagflation". University of California at Berkeley. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 May 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-01-24.
  9. Burda, Michael; Wyplosz, Charles (1997). "Macroeconomics: A European Text, 2nd ed". Oxford, England: Oxford University Press: 338–339. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  10. Hall, Robert; Taylor, John (1986). Macroeconomics: Theory, Performance, and Policy. New York City: W.W. Norton. ISBN 0-393-95398-X.
  11. Baumol, William J.; Blinder, Alan S. (2015). "Ch. 10 Bringing in the Supply Side: Unemployment and Inflation?". Macroeconomics: Principles and Policy. Boston, Massachusetts: Cengage Learning. p. 206. ISBN 978-1-305-53405-6.
  12. Corbett, Michael. "Oil Shock of 1973–74". Federal Reserve History. สืบค้นเมื่อ 2022-08-27.
  13. "Suez Canal". History.com. 2021-03-30. สืบค้นเมื่อ 2022-08-27.