ข้ามไปเนื้อหา

ไตรกลีเซอไรด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตัวอย่างไตรกลีเซอไรด์ ซ้าย: กลีเซอรอล, ขวาจากบนลงล่าง: กรดปาลมิติก, กรดโอเลอิก, กรดลิโนเลนิก, สูตรเคมี: C55H98O6

ไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) หรือไตรเอซิลกลีเซอรอล (Triacylglycerol) เป็นไขมันที่ประกอบด้วยกรดไขมันสามโมเลกุลรวมตัวกับกลีเซอรอลหนึ่งโมเลกุล กรดไขมันที่มาประกอบเป็นไตรกลีเซอไรด์นั้นอาจจะเป็นกรดไขมันชนิดเดียวกัน เช่น ไตรสเตียริน มีกรดสเตียริกเป็นองค์ประกอบเท่านั้น หรือเป็นกรดไขมันคนละชนิด เช่น 1-พาล์มิโทสเตียริน (1-Palmitostearin) หมายถึงไตรกลีเซอไรด์ที่กรดไขมันตัวแรกเป็นกรดปาลมิติก ส่วนกรดไขมันตัวที่ 2 และ 3 เป็นกรดสเตียริก เป็นพลังงานสะสมในสัตว์ และใช้สะสมใต้ผิวหนังเพื่อรักษาอุณหภูมิของร่างกาย โดยสะสมในเซลล์ไขมัน (Adipocyte หรือ Fat cell) ในรูปเม็ดไขมัน หรืออยู่ในรูปไมเซลล์ (Micelle)

ปัญหาและอันตรายจากโรคไตรกลีเซอไรด์สูงในเลือดทำให้ หลอดเลือดแดงแข็งตัว ถ้าเกิดที่หัวใจทำให้เป็นโรคหัวใจขาดเลือด ถ้าเกิดที่สมองทำให้เป็นอัมพาต หรือ ทำให้เกิดอาการร่วมคือ ปวดท้อง ตับโต ม้ามโต และทำให้ระบบประสาททำงานผิดปกติ ปวดข้อ แหล่งอาหารที่ทำให้ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง ได้แก่ อาหารทุกชนิดที่มีปริมาณไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันสัตว์ น้ำตาล อาหารรสหวานจัด ขนมหวานทุกชนิด เนื่องจากร่างกายสามารถนำไปสร้างเป็นไตรกลีเซอไรด์ คนอายุ 30 ปีขึ้นไปไม่ควรมีค่า triglyceride เกิน 200 mg/dl

อ้างอิง

[แก้]

เอกสารเผยแพร่ของหน่วยงานสุขศึกษาและประชาสัมพันธ์ กองการพยาบาล รพ.ภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ