แอลแฟลฟา
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
แอลแฟลฟา | |
---|---|
Medicago sativa | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
หมวด: | Magnoliophyta |
ชั้น: | Magnoliopsida |
อันดับ: | Fabales |
วงศ์: | Fabaceae |
วงศ์ย่อย: | Faboideae |
เผ่า: | Trifolieae |
สกุล: | Medicago |
สปีชีส์: | M. sativa |
ชื่อทวินาม | |
Medicago sativa L. | |
Subspecies | |
M. sativa subsp. ambigua |
แอลแฟลฟา (อังกฤษ: alfalfa) หรือ ลูเซิร์น (lucerne) จัดเป็นพืชตระกูลถั่วที่มีฝัก เป็นพืชพื้นเมืองของเอเชียตะวันตกและแถบเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก เป็นพืชชนิดแรก ๆ ที่ใช้เพื่อการเพาะปลูก เติบโตได้ในแถบทุกอากาศทั่วโลก แอลแฟลฟามีระบบรากที่มหัศจรรย์มาก ในบางพื้นที่รากของ แอลแฟลฟาสามารถชอนไชลงไปได้ลึกกว่า 130 ฟุต จึงมีประสิทธิภาพในการดูดซึมธาตุอาหารได้มากกว่าและบริสุทธิ์กว่า อีกทั้งตัวของ แอลแฟลฟาเองก็จะไม่สะสมสารพิษ ชาวอาหรับโบราณรู้จักใช้ประโยชน์จาก "แอลแฟลฟา" มากว่า 2,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยใช้เป็นพืชเลี้ยงสัตว์ เพื่อเพิ่มความเร็วและแข็งแรงให้กับม้า อีกทั้งยังใช้ใบมาตากแห้งชงเป็นชาดื่ม ด้วยคุณค่าทางอาหารที่มากมายชาวอาหรับจึงขนานนาม แอลแฟลฟาให้เป็น AL-FAS-FAH-SHA หรือ "ราชาแห่งอาหารทั้งมวล"
ได้มีการใช้แอลแฟลฟาเพื่อการรักษาทางการแพทย์มาตั้งแต่ในสมัยโบราณ โดยแพทย์ชาวจีนได้ใช้ใบแอลแฟลฟาอ่อนในการรักษาอาการย่อยไม่ปกติ เช่นเดียวกันกับแพทย์ชาวอินเดียที่ใช้ใบและดอกสำหรับการรักษากระบวนการย่อยทำงานที่ทำงานได้น้อย นอกจากนี้ แอลแฟลฟายังใช้เพื่อการบำบัดโรคข้ออักเสบ ชาวอินเดียนในอเมริกาเหนือได้แนะนำให้ใช้ แอลแฟลฟาในการรักษาโรคดีซ่าน และช่วยสนับสนุนการจับตัวของเลือด แพทย์ที่ใช้สมุนไพรเพื่อการบำบัดในสหรัฐอเมริการได้แนะนำให้ใช้ แอลแฟลฟาเป็นยาสำหรับอาการย่อยไม่เป็นปกติ ภาวะโลหิตจาง เบื่ออาหารและอาการการดูดซึมอาหารไม่ดี นอกจากนี้ยังแนะนำว่า แอลแฟลฟามีส่วนกระตุ้นให้การหลั่งน้ำนมในแม่ดีขึ้นอีกด้วย
สารที่ประกอบอยู่ในแอลแฟลฟา
[แก้]ด้วยระบบรากที่มีประสิทธิภาพในการดูดซึมธาตุอาหารมากกว่าพืชชนิดใด ๆ เป็นผลให้แอลแฟลฟาเป็นพืชที่มีส่วนประกอบของสารต่าง ๆ มากมาย มีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายถึง 8 ชนิด เช่น ไอโซลิวซีน, ลิวซีน, ไลซีน, มีไธโอนีน เป็นต้น ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ แต่จำเป็นต้องมีไว้เพื่อประโยชน์ในการสร้างเซลล์ใหม่ อีกทั้งแอลแฟลฟายังมีวิตามินอีกมากมาย รวมถึง วิตามิน A, B1, B6, B8, B12, C, D, E, K, P และ U รวมทั้งยังประกอบไปด้วยเกลือแร่อีกหลากชนิด เช่น ฟอสฟอรัส โปรแตสเซียม แคลเซียม สังกะสี เซเลเนียม และแมกนีเซียม เป็นต้น และยังมีเอนไซม์หลักอีกถึง 8 ชนิด คือ ไลเปส อาเมเลล โคกุเลส อีมูลซิน อินเวอร์เคส เปอร์อ๊อกซีเตส เพดติเนส โปรตีส นอกจากนี้ แอลแฟลฟายังมีส่วนประกอบของสารอื่น ๆ อีก เช่น Betacarotene, Bioflavinoids, Carotene, Chlorine Chlorophyll, flavone, isoflavone, sterol และ Saponin เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่เป็นสารที่ให้คุณต่อร่างกายด้วยกันทั้งนั้น
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
แอลแฟลฟากับการใช้เพื่อสุขภาพสตรีวัยใกล้หมดประจำเดือน
[แก้]สาร isoflavone ในแอลแฟลฟาถูกจัดเป็นเอสโตรเจนธรรมชาติ (phytooestrogen) ในสตรีในวันใกล้หมดประจำเดือน เอสโตรเจนจะลดต่ำลงส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพร่างกายและภาวะกระดูกเสื่อม ไฟโต-เอสโตรเจนใน แอลแฟลฟาจะเข้าไปชดเชยเอสโตรเจนที่ต่ำลงนี้ รวมทั้ง วิตามินดี แร่ธาตุ แคลเซียมและฟอสฟอรัส ใน แอลแฟลฟาซึ่งเป็นแร่ธาตุที่ทำให้กระดูกฟันแข็งแรง จึงลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะกระดูกเสื่อม นอกจากนี้วิตามินและแร่ธาตุใน แอลแฟลฟาจะช่วยให้ร่างกายปรับสภาพได้อย่างเหมาะสม ลดอาการผิดปรกติในช่วงนี้ของอายุ เช่น อาการร้อนวูบวาบตามตัว หงุดหงิดง่ายลงด้วย
ภาวะคลอเลสเตอรอลสูง
[แก้]จากการศึกษาในห้องทดลองพบว่า สารซาโปนิน และส่วนประกอบอื่นใน แอลแฟลฟามีความสามารถในการยึดติดใน คอเลสเตอรอล กับเกลือน้ำดีซึ่งจะเป็นผลช่วยป้องกันหรือชะลอการดูดซึม คลอเลสเตอรอล จากอาหาร ดังนั้นจึงช่วยให้ระดับคลอเลสเตอรอลในเลือดต่ำ ป้องกันการเกิดภาวะการสะสมไขมันในหลอดเลือด ในการศึกษาผู้ป่วย 15 คน โดยให้แอลแฟลฟาขนาด 40 กรัม 3 ครั้งต่อวันเป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่าคนไข้มีระดับคลอเลสเตอรอลรวม และคลอเลสเตอรอลแบบ LDL (คลอเลสเตอรอล ชนิดเป็นโทษ) ลดลง 17-18% ในขณะที่มีบางส่วนลดลงถึง 26-30% จึงอาจกล่าวได้ว่า แอลแฟลฟามีส่วนช่วยในการควบคุมระดับความเข้มข้นของ คลอเลสเตอรอล ให้เป็นปกติ
แอลแฟลฟาช่วยทำความสะอาดผิวจากภายใน
[แก้]ครอโรฟิลล์ปริมาณสูง วิตามิน และแร่ธาตุที่มีอยู่ในแอลแฟลฟาด้วยปริมาณที่เหมาะสม จะทำหน้าที่ขจัดของเสีย สารพิษออกจากเลือดและอวัยวะภายใน (blood and bowel cleanser) ลดการตกค้างของเสียตามผิวหนัง ทำให้เลือดสะอาดและไหลเวียนได้ดีขึ้นเหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่รับประทาน มากและชอบรับประทานเนื้อสัตว์ เมื่อเลือดดีขึ้นทำให้ผิวพรรณผ่องใสมีสุขภาพที่ดีตามมา นอกจากนี้ในแอลแฟลฟายังมีสารไฟโต-เอสโตรเจน ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนในร่างกาย ซึ่งพบว่าในคนที่มีสิวง่าย เมื่อรับประทานแอลแฟลฟาปริมาณการเกิดสิวจะลดลงและผิวจะดูสะอาดขึ้น
โรคกระเพาะอาหาร
[แก้]มีแพทย์จำนวนมากที่ใช้ แอลแฟลฟารักษาโรคที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหารต่าง เช่น มีแก๊สมากในกระเพาะอาหารเกิดอาการจุกเสียดเป็นประจำ โรคแผลในกระเพาะอาหาร และโรคเบื่ออาหาร โดยพบว่าแอลแฟลฟามีวิตามินยู ซึ่ง ดร. กาเนนท์ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด กล่าวว่า วิตามินยูมีศักยภาพสูงในการรักษาโรคกระเพาะ ทำให้การสมานแผลในกระเพาะดีขึ้น และการหลั่งของน้ำย่อยเป็นปกติ
แอลแฟลฟายังมีเอ็นไซม์ Bataine ซึ่งเป็นเอ็นไซม์สำหรับย่อยและเอ็นไซม์อื่น ๆ อีก 7 ชนิดที่ส่งเสริมปฏิกิริยาเคมีที่สามารถทำให้การดูดซึมสารอาหารภายในร่างกาย เป็นไปอย่างถูกต้องและเหมาะสม รวมทั้งการมีบีตา-แคโรทีนในปริมาณสูงของแอลแฟลฟาจะทำให้ผิวที่เคลือบกระเพาะอาหารมีความแข็งแรง ซึ่งพบว่าแอลแฟลฟาสามารถช่วยโรคกระเพาะอาหาร ปวดท้องเพราะมีแก๊สมาก รักษาแผลในกระเพาะลำไส้ ได้เป็นอย่างดี การรักษาโรคของหญ้า แอลแฟลฟานี้อาจจะเป็นในลักษณะเดียวกันกับวิธีทางธรรมชาติของแมวหรือสุนัข ที่มักจะกินหญ้าเพื่อบรรเทาโรคกระเพาะของมันได้
ปวดข้อ ข้อแข็ง รูมาตอยด์
[แก้]สารอาหารในแอลแฟลฟาจะช่วยปรับสมดุลกรดด่างในร่างกาย ป้องกันการสะสมของกรดยูริคและกรดอื่น ๆ ตามข้อต่อต่าง ๆ ในหนังสือของ แคทเทอรีน เอลวูล ชื่อ Feel Like a Million ได้กล่าวว่า "ความมหัศจรรย์ของ แอลแฟลฟาเห็นได้อย่างชัดเจนมากขึ้น เมื่อให้คนไข้รูมาตอยด์ ใช้แอลแฟลฟาเพื่อรักษาความปวดตามข้อ ก็ได้รับรายงานจากคนไข้ว่าสามารถงอมือได้สะดวกยิ่งขึ้นและความเจ็บปวดก็หายไป
นอกจากนี้แอลแฟลฟายังดีสำหรับมารดาที่กำลังให้นมบุตร ช่วยเพิ่มการหลั่งของน้ำนม แอลแฟลฟายังมีคุณสมบัติในการช่วยขับถ่าย ปัสสาวะให้เป็นปกติได้อีกด้วย
แอลแฟลฟากับโรคมะเร็ง
[แก้]มีการศึกษาทั้งในมนุษย์ สัตว์ และระบบเชื้อเพาะเลี้ยงพบว่า สาร phytoestrogens มีบทบาทที่สำคัญในการป้องกันโรค มะเร็ง ได้ โดยสารที่จัดว่าเป็นสารประเภท phytoestrogens จะรวมถึง isoflavones, coumestans, และ lignans ซึ่งในหน่อของแอลแฟลฟา ถั่วเหลือง และต้น clover ถือว่าเป็นแหล่งอาหารทางธรรมชาติที่สำคัญของสารดังกล่าว ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะยังไม่มีข้อแนะนำปริมาณที่ควรรับประทานสาร phytoestrogens อย่างชัดเจน แต่อย่างไรก็ตามการเพิ่มการบริโภคอาหารประเภทดังกล่าวจะก่อประโยชน์ และป้องกันการเกิดโรคมะเร็งในร่างกายเราได้เป็นอย่างดี