แซนดีบริดจ์
แซนดีบริดจ์ (Sandy Bridge) เป็นชื่อรหัสของซีพียูหรือหน่วยประมวลผลหลักของคอมพิวเตอร์ ของบริษัทอินเทล เป็นซีพียูที่พัฒนาต่อจากซีพียูรหัสเนเฮเลม เริ่มพัฒนาเมื่อ พ.ศ. 2548 ณ ศูนย์วิจัยอินเทลในประเทศอิสราเอล โดยใช้สถาปัตยกรรม 32 นาโนเมตร[1] ก่อนหน้านี้ชื่อรัหสของซีพียูตัวนี้คือ "เกเชอร์" (Gesher) ที่มีความหมายว่าสะพานในภาษาฮิบรูแต่ได้ถูกยกเลิกไปเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2550[2]
แซนดีบริดจ์วางแผนเปิดตัวต้นปี 2554 ในงาน Consumer Electronics Show[3]
ประเภทของแซนดีบริดจ์
[แก้]สถาปัตยกรรมต่าง ๆ ของแซนดีบริดจ์ แบ่งตามประเภทการใช้ ได้ดังนี้
รุ่นคอมพิวเตอร์ | รุ่นหน่วยประมวลผล | |||
---|---|---|---|---|
เดสก์ท็อป | i3 | i5 | i7 | เพนเทียม |
โน้ตบุ๊ก | * | i5 | i7 | เซเลรอน |
เซิร์ฟเวอร์ซีออน | E3 | E5 | E7 |
การพัฒนาต่อ
[แก้]การพัฒนาต่อจากแซนดีบริดจ์ เป็นการลดขนาดการสร้างลงเป็นระดับ 22 นาโนเมตร โดยจะมีการใช้ชื่อรุ่นต่อไปว่า ไอวีบริดจ์ (Ivy Bridge) ถือเป็นสถาปัตยกรรมแบบเดียวกันแต่ลดขนาดลงไปอีกระดับหนึ่ง สำหรับซีพียูที่ใช้สถาปัตยกรรมที่พัฒนาต่อจากนี้ จะใช้ชื่อว่า แฮสเวลล์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Kubicki, Kristopher. "Intel Life After "Conroe"". DailyTech. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-25. สืบค้นเมื่อ 2007-03-03.
- ↑ Demerjian, Charlie. "Justin Ratner brings out the babes". The Inquirer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-21. สืบค้นเมื่อ 2007-05-20.
- ↑ Crothers, Brooke (2010-12-15). "CES: First Intel next-gen laptops will be quad core". The Circuits Blog. CNET.com. สืบค้นเมื่อ 2010-12-17.[ลิงก์เสีย]