ข้ามไปเนื้อหา

เฮนรี ฮัดสัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เฮนรี ฮัดสัน
ภาพเฮนรี ฮัดสันในหนังสือ Cyclopedia of Universal History [a][1][2]
เกิดป. ค.ศ. 1565[3]
ราชอาณาจักรอังกฤษ
เสียชีวิตค.ศ. 1611 (สันนิษฐาน)
อาชีพนักสำรวจ, นักเดินเรือ, ผู้เขียน

เฮนรี ฮัดสัน (อังกฤษ: Henry Hudson; คริสต์ทศวรรษ 1560/70 – ค.ศ. 1611) นักสำรวจชาวอังกฤษ เป็นผู้ค้นพบอ่าวฮัดสัน

ประวัติ

[แก้]

ฮัดสันเกิดราวปี ค.ศ. 1565 ในประเทศอังกฤษ การสำรวจของเฮนรีเริ่มเมื่อปี ค.ศ. 1607 โดยบริษัทมัสโควีแห่งลอนดอนมอบหมายให้เขาไปสำรวจเส้นทางเพื่อเดินเรือไปอินเดีย ครั้งนั้นเฮนรีแล่นเรือขึ้นเหนือไปจนกระทั่งแผ่นน้ำแข็งอาร์กติก เขาเดินทางต่อไปไม่ได้จึงกลับอังกฤษ

พบอ่าวฮัดสัน

[แก้]

เฮนรี ฮัดสันเป็นนักเดินเรือชาวอังกฤษคนหนึ่ง เขาได้นำเรือไปสำรวจเส้นทางเรือไปอินเดียหรือจีนทางทิศตะวันตกดูว่า จะมีทางไปได้หรือไม่ ในปี ค.ศ. 1609 เขาได้แล่นเรือมาถึงฝั่งของอเมริกาเหนือที่เรียกว่า นิวยอร์กฮาร์เบอร์ (New York Harbor) เป็นการสำรวจในนามของฮอลันดา เมื่อเขาไปถึงก็ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจากอินเดียนแดงเผ่าหนึ่งซึ่งขึ้นมาถึงบนเรือและนำเอาใบยาสีเขียนมาเป็นของกำนัล อินเดียนแดงพวกนี้ ผู้หญิงนุ่งผ้าขนสัตว์ และสูบกล้องที่ทำด้วยทองแดง แต่ฮัดสันไม่ได้สนใจกับสิ่งเหล่านี้นัก เขากลับสนใจทางที่ทอดคดเคี้ยวเข้าไปในผืนแผ่นดินใหญ่ว่ามันจะเป็นเส้นทางที่ทะลุออกไปอีกด้านหนึ่งของทวีปได้หรือไม่ ดังนั้น เขาจึงแล่นเรือทวนน้ำขึ้นไปเป็นเวลา 17 วัน จึงเชื่อแน่ว่าเป็นแม่น้ำสายหนึ่งเท่านั้น ปีต่อมาอังกฤษได้ว่าจ้างให้ฮัดสันแสวงหาหนทางใหม่ ไปสู่โลกตะวันออกให้ได้ คราวนี้เขาจึงแล่นเรือขึ้นไปทางทิศเหนือ ทำให้เขาพบอ่าวใหญ่อ่าวหนึ่งทางตอนเหนือของแคนาดา และให้ชื่อว่าอ่าวฮัดสันตามชื่อของเขา และก่อนที่เขาจะล่องเรือออกจากอ่าวได้ก็เป็นฤดูหนาว น้ำในอ่าวจับแข็งทำให้นำเรือแล่นออกมาไม่ได้ ทั้งเขาและลูกเรือจึงติดทะเลน้ำแข็งอยู่ตลอดฤดูหนาว ได้รับความอดอยากเป็นอย่างมาก เมื่อถึงฤดูใบไม้ผลิ น้ำทะเลไม่เกาะตัวแข็งอีกต่อไปแล้ว ฮัดสันจะเริ่มเดินทางสำรวจต่อไปอีก แต่การเลี้ยงดูลูกเรือขาดแคลนมาก พวกลูกเรือจึงไม่ยอมเดินทางต่อไป พวกเขาเหล่านั้นได้ก่อการขบถยึดเรือได้ และจับฮัดสันกับคนป่วยทำงานไม่ได้ลงเรือลำเล็ก ปล่อยให้ลอยไปตามยถากรรมในทะเลลึก หลายเดือนต่อมาพวกขบถก็นำเรือกลับอังกฤษ แต่เมื่อความรั่วขึ้นมาว่า พวกนั้นจับฮัดสันกับคนป่วยลอยทะเล ก็ถูกเจ้าหน้าที่จับกุมฟ้องร้องติดตารางตาม ๆ กัน แม่น้ำและอ่าวที่ฮัดสันได้ไปสำรวจก็ได้รับชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่เขา เขาเป็นผู้นำให้ฮอลันดามีกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนบางส่วนของอเมริกาตอนเหนือ แต่สำหรับตัวเขาเองไม่ได้รับผลดีตอบแทนเลยเพราะหลังจากถูกจับลงเรือลอยทะเลแล้ว ข่าวคราวของเขาก็เงียบหายไปท่ามกลางหิมะ น้ำ และหมอกของมหาสมุทรอาร์กติก

การเดินทางครั้งสุดท้ายของเฮนรี ฮัดสัน

อ้างอิง

[แก้]
  1. Butts, Edward (2009). Henry Hudson:New World Voyager. Toronto: Dundurn Press. p. 17.
  2. Hunter, Douglas (2007). God's Mercies:Rivalry, Betrayal and the Dream of Discovery. Doubleday Canada. p. 12.
  3. "Fun Henry Hudson Facts for Kids". easyscienceforkids.com. 26 April 2017. สืบค้นเมื่อ 14 April 2018.


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/> ที่สอดคล้องกัน