เนียง
เนียง | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Rosids |
อันดับ: | Fabales |
วงศ์: | Fabaceae |
สกุล: | Archidendron |
สปีชีส์: | A. pauciflorum |
ชื่อทวินาม | |
Archidendron pauciflorum (Benth.) I.C.Nielsen | |
ชื่อพ้อง | |
Archidendron jiringa |
เนียง หรือ ลูกเนียง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Archidendron pauciflorum) เป็นไม้ยืนต้น เป็นพืชพื้นเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีกลิ่นแรง ในประเทศอินโดนีเซียเรียกว่า เจิงกล (อินโดนีเซีย: jengkol) ในประเทศมาเลเซียเรียกว่า เจอริง (มลายู: jering) ในประเทศพม่าเรียกว่า ตะญี่นปีน (พม่า: တညင်းပင်) ทางภาคใต้ของไทยเรียกลูกเนียง เปลือกต้นสีเทาหรือน้ำตาลอ่อนปนเทา ยอดอ่อนสีแดง ดอกสีขาว ขนาดเล็ก ออกเป็นช่อ ผลมีเปลือกแข็ง ผลเป็นฝักแบนเป็นเกลียวไปทางเดียวกัน คล้ายรูปเกือกม้า ผิวสีน้ำตาลคล้ำ[1] ในลูกเนียงดิบมีกรดเจิงโกลิก (djenkolic acid) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่มีกรดกำมะถันสูงมาก สารนี้ทำลายระบบประสาทของไต ทำให้ปัสสาวะไม่ออก หรือปัสสาวะไม่สะดวก[2]
เนื้อข้างในรับประทานได้ ผลอ่อนเปลือกในที่ติดกับเม็ดเป็นสีนวล ต้มสุกแล้วด้าน ผิวสีดำ เนื้อไม่เหนียว ผลแก่จัดเมื่อต้มจะเป็นสีปูนแดง เนื้อเหนียวมัน ไม่มีกลิ่นเหม็น ทางใต้กินเป็นผักจิ้มน้ำพริก กินกับขนมจีน ถ้ามีมากจะนำไปเพาะ หรือนำไปดองก่อนรับประทาน ทำเป็นขนมได้โดยนำไปต้มเคล้ากับน้ำตาลทรายและมะพร้าวขูด[3] ในอินโดนีเซียนำไปเป็นส่วนผสมของซัมบัล เรินดัง หรือแกง และเซอมูร์ ในพม่านำไปดองหรือต้มกินกับน้ำพริก
อ้างอิง
[แก้]- ↑ http://medplant.mahidol.ac.th/tpex/poison/lukniang.htm
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-06. สืบค้นเมื่อ 2015-11-20.
- ↑ 180 ตำรับ ผักพื้นบ้านอาหารไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: แสงแดด. 2551.