ข้ามไปเนื้อหา

ฮาจิเมะ โฮโซไง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฮาจิเมะ โฮโซไง
ข้อมูลส่วนตัว
วันเกิด 10 มิถุนายน พ.ศ. 2529 (38 ปี)
สถานที่เกิด มาเอบาชิ จังหวัดกุมมะ ญี่ปุ่น
ส่วนสูง 1.77 m (5 ft 9 12 in)
ตำแหน่ง กองหลัง, กองกลางตัวรับ
ข้อมูลสโมสร
สโมสรปัจจุบัน
เดอะสปาคูซัตสึ กุมมะ
หมายเลข 33
สโมสรเยาวชน
2542–2544 FC Maebashi
2545–2547 Maebashi Ikuei High School
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
2548–2553 อูราวะ เรดไดมอนส์ 98 (5)
2554–2556 ไบเออร์ 04 เลเวอร์คูเซิน 17 (0)
2554–2555เอาคส์บวร์ค (ยืมตัว) 39 (3)
2556–2559 แฮร์ทา เบเอ็สเซ 53 (0)
2558–2559บูร์ซาสปอร์ (ยืมตัว) 20 (0)
2559–2560 ชตุทการ์ท 10 (0)
2560–2561 คาชิวะ เรย์โซล 22 (0)
2562–2564 บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 27 (0)
2563–2564 ทรูแบงค็อก ยูไนเต็ด (ยืมตัว) 28 (1)
2564– เดอะสปาคูซัตสึ กุมมะ 26 (1)
ทีมชาติ
2549–2551 ญี่ปุ่น ยู-23 10 (1)
2553–2557 ญี่ปุ่น 30 (1)
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น
ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 15 มีนาคม 2564

ฮาจิเมะ โฮโซไง (ญี่ปุ่น: 細貝 萌โรมาจิHosogai Hajime; เกิด 10 มิถุนายน 2529) เป็นนักฟุตบอลอาชีพชาวญี่ปุ่นซึ่งเล่นได้ทั้งตำแหน่งกองหลังและกองกลางตัวรับ เคยเล่นให้กับสโมสรหลายสโมสรทั้งในญี่ปุ่น, เยอรมนี และตุรกี[1]

สโมสรอาชีพ

[แก้]

อูราวะ เรดไดมอนส์

[แก้]

โฮโซไงเป็นหนึ่งในผู้เล่นที่ทำผลงานได้ดีของอูราวะ เรดไดมอนส์ เขาได้ลงเล่นให้กับเรดไดมอนส์ในเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2550 และมีส่วนช่วยให้สโมสรชนะเลิศระดับทวีป ซึ่งทำให้เขาได้ลงเล่นในฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก ฤดูกาล 2550

ไบเออร์ 04 เลเวอร์คูเซิน

[แก้]

ในวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553 โฮโซไงเดินทางออกนอกประเทศญี่ปุ่นเพื่อไปเล่นให้กับไบเออร์ 04 เลเวอร์คูเซิน ในเยอรมนี

เอาคส์บวร์ค (ยืมตัว)

[แก้]

ในช่วงที่โฮโซไงอยู่ที่เลเวอร์คูเซิน เขาถูกปล่อยยืมตัวให้กับเอาคส์บวร์คหนึ่งฤดูกาล[2] ต่อมาใน 9 กันยายน พ.ศ. 2554 เขาได้ทำประตูแรกในบุนเดิสลีกา หลังจากนั้น เขามีส่วนช่วยให้สโมสรน้องใหม่จากบาวาเรียรอดพ้นจากการตกชั้นได้สำเร็จ

ชตุทการ์ท

[แก้]

ในวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 โฮโซไงได้ย้ายไปชตุทการ์ท[3]

คาชิวะ เรย์โซล

[แก้]

โฮโซไงย้ายไปคาชิวะ เรย์โซล เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2560[4]

บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด

[แก้]

วันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2561 มีการออกมายืนยันว่า ฮาจิเมะ โฮโซไง ได้ย้ายมาร่วมกับบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ทีมยักษ์ใหญ่ของศึกไทยลีก ต่อมาในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ทางสโมสรได้ทำการเปิดตัวโฮโซไงอย่างเป็นทางการ โดยเจ้าตัวจะสวมเสื้อหมายเลข 7[5] ต่อมาในวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2562 โฮโซไงประเดิมสนามนัดแรกให้กับสโมสรอย่างเป็นทางการในไทยลีกในนัดที่บุรีรัมย์เปิดบ้านเอาชนะพีที ประจวบ ไปได้ 2–0 โดยเขาลงเล่นเป็นตัวสำรองแทนที่ศุภชัย ใจเด็ด[6] ต่อมาในวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2562 โฮโซไงได้ลงเล่นในลีกนัดที่บุรีรัมย์บุกไปเอาชนะพีทีที ระยอง 1–0 ทำให้เขาได้ลงเล่นฟุตบอลอาชีพครบ 400 นัดทั้งในระดับสโมสรและทีมชาติ[7][8] ต่อมาในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2562 โตโยต้า ลีกคัพ รอบชิงชนะเลิศ บุรีรัมย์พบกับ พีที ประจวบ ที่เอสซีจีสเตเดียมในจังหวัดนนทบุรี ผลจบลงด้วยการเสมอ 1–1 ในเวลา 120 นาที ต้องตัดสินด้วยการยิงลูกโทษ โฮโซไง เป็นคนยิงคนที่ 8 และเขาก็ยิงเข้าไปได้ แต่สุดท้าย บุรีรัมย์พ่ายแพ้ประจวบในช่วงลูกโทษ 7–8 ผลประตูรวม 8–9 พลาดโอกาสคว้าแชมป์ โตโยต้า ลีกคัพ อย่างน่าเสียดาย[9]

ทรูแบงค็อก ยูไนเต็ด (ยืมตัว)

[แก้]

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 โฮโซไง ถูกปล่อยยืมตัวให้กับทรูแบงค็อก ยูไนเต็ด สโมสรร่วมลีกเดียวกัน โดยเขาจะสวมเสื้อหมายเลข 7[10]

สถิติอาชีพ

[แก้]

สโมสร

[แก้]
ณ วันที่ 15 ธันวาคม 2562
สโมสร ฤดูกาล ลีก ถ้วย ถ้วยลีก ทวีป อื่น ๆ ทั้งหมด
ระดับ ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู
อูราวะ เรดไดมอนส์ 2005 เจลีก ดิวิชัน 1 3 0 3 0 2 0 - - 8 0
2006 2 0 4 0 6 0 - 1 0 13 0
2007 8 0 1 0 2 1 3 0 5 0 19 1
2008 26 2 1 0 4 0 3 1 - 34 3
2009 31 2 1 0 6 0 - - 38 2
2010 28 1 1 0 5 0 - - 34 1
รวม 98 5 11 0 25 1 6 1 6 0 146 7
เอาคส์บวร์ค 2010–11 ซไวเทอบุนเดิสลีกา 7 0 - - - - 7 0
2011–12 บุนเดิสลีกา 32 3 1 0 - - - 33 3
รวม 39 3 1 0 - - - 40 3
ไบเออร์ เลเวอร์คูเซิน
2012–13 บุนเดิสลีกา 17 0 2 0 - 4 0 - 23 0
รวม 17 0 2 0 - 4 0 - 23 0
แฮร์ทา เบเอ็สเซ
2013–14 บุนเดิสลีกา 33 0 1 0 - - - 34 0
2014–15 บุนเดิสลีกา 20 0 2 0 - - - 22 0
รวม 53 0 3 0 - - - 56 0
Bursaspor 2015–16 ซือเปร์ลีก 20 0 - - - - 20 0
รวม 20 0 0 0 - - - 20 0
เฟาเอ็ฟเบ ชตุทการ์ท 2016–17 ซไวเทอบุนเดิสลีกา 10 0 - - - 10 0
รวม 10 0 - - - 10 0
บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 2562 ไทยลีก 27 0 5 0 5 0 37 0
ทรูแบงค็อก ยูไนเต็ด (ยืมตัว) 2563 0 0 0 0 0 0 0 0

ทีมชาติ

[แก้]
ทีมชาติ ปี ลงเล่น ประตู
ญี่ปุ่น อายุไม่เกิน 23 ปี
2549 1 0
2550 6 1
2551 3 0
รวมทั้งหมด 10 1
ญี่ปุ่น[11]
2553 3 0
2554 7 1
2555 8 0
2556 7 0
2557 5 0
รวมทั้งหมด 30 1

ประตูในนามทีมชาติ

[แก้]

รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี

[แก้]
# วันที่ สนาม คู่แข่ง ประตู ผล รายการแข่งขัน
1. 17 พฤศจิกายน 2550 My Dinh National Stadium, Hanoi, Vietnam ธงชาติเวียดนาม เวียดนาม
4–0
4–0
โอลิมปิกฤดูร้อน 2008 รอบคัดเลือก

ชุดใหญ่

[แก้]
# วันที่ สนาม คู่แข่ง ประตู ผล รายการแข่งขัน
1. 25 มกราคม 2554 Al-Gharafa Stadium, Doha, Qatar ธงชาติเกาหลีใต้ เกาหลีใต้
2–1
2–2
เอเชียนคัพ 2011

เกียรติประวัติ

[แก้]

สโมสร

[แก้]

อูราวะ เรดไดมอนส์

บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด

ทีมชาติ

[แก้]

ญี่ปุ่น

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Hajime Hosogai - Transfer history | Transfermarkt". Transfermarkt.com. สืบค้นเมื่อ February 1, 2019.
  2. "FCA leiht Japaner Hosogai aus" [FCA loans Japanese player Hosogai] (ภาษาเยอรมัน). DFL. 23 ธันวาคม 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 กันยายน 2012. สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2010.
  3. "Hajime Hosogai signs for VfB". vfb.de. VfB Stuttgart. 25 July 2016. สืบค้นเมื่อ 25 July 2016.
  4. "Hajime Hosogai makes Japan move". vfb.de. VfB Stuttgart. 24 March 2017. สืบค้นเมื่อ 24 March 2017.
  5. "OFFICIAL : บุรีรัมย์เปิดตัว 'โฮโซไก' เสริมแดนกลาง". Goal.com. February 1, 2019. สืบค้นเมื่อ February 1, 2019.
  6. "ไมกา-เชค ซัดบุรีรัมย์ทุบประจวบ 2-0". สืบค้นเมื่อ March 10, 2019.
  7. "โฮโซไงลงเล่นฟุตบอลอาชีพครบ 400 นัด". สืบค้นเมื่อ August 7, 2019.
  8. "昨日の試合で公式戦400試合でした(400th official games)". สืบค้นเมื่อ August 7, 2019.
  9. "บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด พ่ายจุดโทษ ประจวบ เอฟซี 8-9 ชิงดำ ลีกคัพ". สืบค้นเมื่อ September 29, 2019.
  10. "แบงค็อกฯ ยืมตัว โฮโซไก อดีตเซาะกราว เสริมโควตาเอเชีย". สืบค้นเมื่อ December 15, 2019.
  11. Japan National Football Team Database

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]