ข้ามไปเนื้อหา

อาเอโรเมฆิโก เที่ยวบินที่ 498

พิกัด: 33°52′05″N 118°02′44″W / 33.86806°N 118.04556°W / 33.86806; -118.04556
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาเอโรเมฆิโก เที่ยวบินที่ 498
เที่ยวบินที่ 498 หลังการปะทะกับเครื่องไพเพอร์
สรุปอุบัติเหตุ
วันที่31 สิงหาคม ค.ศ. 1986
สรุปชนกันกลางอากาศ
จุดเกิดเหตุรัฐแคลิฟอร์เนีย, สหรัฐอเมริกา
33°52′05″N 118°02′44″W / 33.86806°N 118.04556°W / 33.86806; -118.04556
เสียชีวิต82 (รวมถึงผู้เสียชีวิตบนพื้นอีก 15 ราย)
บาดเจ็บ8 (บนพื้น)
รอดชีวิต0 (บนเครื่องบิน)
อากาศยานลำแรก

XA-JED ดีซี-9-32 ของอาเอโรเมฆิโกลำที่เกิดเหตุ ถ่าย 4 ปีก่อนเกิดเหตุ
ประเภทแมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-9-32
ชื่ออากาศยานเอร์โมซิโย
ดําเนินการโดยอาเอโรเมฆิโก
ทะเบียนXA-JED[1]
ต้นทางท่าอากาศยานนานาชาติเม็กซิโกซิตี เม็กซิโกซิตี ประเทศเม็กซิโก
จุดพักที่ 1ท่าอากาศยานนานาชาติมิเกล อิดัลโก อี โกสติยา กัวดาลาฮารา รัฐฮาลิสโก ประเทศเม็กซิโก
จุดพักที่ 2ท่าอากาศยานนานาชาติลอเรโต ลอเรโต รัฐบาฮากาลิฟอร์เนียซูร์ ประเทศเม็กซิโก
จุดพักสุดท้ายท่าอากาศยานนานาชาติติฆัวนา ติฆัวนา รัฐบาฮากาลิฟอร์เนีย ประเทศเม็กซิโก
ปลายทางท่าอากาศยานนานาชาติลอสแอนเจลิส ลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ
ผู้โดยสาร58
ลูกเรือ6
เสียชีวิต64
รอดชีวิต0
อากาศยานลำที่สอง

ไพเพอร์ พีเอ-28-181 เชโรกีคล้ายกับลำที่เกิดเหตุ
ประเภทไพเพอร์ พีเอ-28-181 เชโรกี
ดำเนินการโดยเครื่องบินส่วนบุคคล
ทะเบียนN4891F[2]
ต้นทางสนามบินซัมเปอรินี ทอร์รันซ์ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ
ปลายทางท่าอากาศยานบิกแบร์ซิตี บิกแบร์เลก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ
ผู้โดยสาร2
ลูกเรือ1
เสียชีวิต3
รอดชีวิต0

อาเอโรเมฆิโก เที่ยวบินที่ 498 เป็นเที่ยวบินตามกำหนดจากเม็กซิโกซิตี ประเทศเม็กซิโก สู่ลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา โดยมีจุดแวะพักระหว่างทางหลายแห่ง เมื่อวันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2529 โดยใช้เครื่องบิน แมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-9 ให้บริการในเที่ยวบินดังกล่าว ถูกเครื่องบินหมายเลข N4891F ซึ่งเป็นเครื่องบิน Piper PA-28-181 Cherokee ของครอบครัว Kramer ชนเข้า บริเวณชานเมือง Cerritos ในลอสแอนเจลิส ส่งผลทำให้ทั้ง 64 คนบนเครื่องบิน DC-9 และทั้งสามคนบนเครื่อง Piper รวมถึงอีก 15 คนบนพื้นเสียชีวิต โดยมีอีก 8 คนบนพื้นได้รับบาดเจ็บ[3] ผลการสอบสวนกล่าวว่าเป็นความผิดพลาดขององค์การบริหารการบินแห่งชาติ (Federal Aviation Administration (FAA)) และนักบินของ เครื่อง Piper Cherokee โดยไม่พบข้อผิดพลาดในเครื่องบิน DC-9 หรือการกระทำของลูกเรือแอโร่เม็กซิโก เที่ยวบินที่ 498

อากาศยาน

[แก้]

เครื่องบินขนาดใหญ่ที่เกิดอุบัติเหตุ ได้แก่เครื่องแมคดอนเนลล์ดักลาส ดีซี 9-32 (McDonnell Douglas DC-9-32) หมายเลขท้าย XA-JED [4] ชื่อ Hermosillo ได้ถูกส่งมอบในเดือนเมษายน พ.ศ. 2512 ให้กับ เดลตาแอร์ไลน์ (Delta Air Lines) ในชื่อ N1277L ก่อนที่จะเข้าประจำการกับแอโร่เม็กซิโก ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2522 [5] กำลังบินจาก เม็กซิโกซิตี้ ไปยัง สนามบินนานาชาติลอสแอนเจลีส (LAX) โดยมีจุดแวะพักระหว่างทางใน กวาดาลาฮารา ลอเรโต และ ติฮัวนา [6]

N4891F เป็นเครื่องบินส่วนตัว Piper PA-28-181 Archer ซึ่งเป็นเจ้าของโดยครอบครัวเครเมอร์ (Kramer) ซึ่งบินจาก ทอร์รันซ์ (Torrance) ไปยัง บิ๊กแบร์ซิตี้ (Big Bear City) แคลิฟอร์เนีย เครื่องบินไพเพอร์ขับโดยวิลเลียม เครเมอร์ (William Kramer) วัย 53 ปี แคธลีน (Kathleen) ภรรยาของเขา วัย 51 ปี และแคโรไลน์ (Caroline) ลูกสาววัย 26 ปี โดยสารไปบนเครื่องบินด้วย เครื่องบินของพวกเขาออกจากทอร์รันซ์เมื่อเวลาประมาณ 11:40 น. (11:40 a.m. PDT.) เครเมอร์มีประสบการณ์บิน 231 ชั่วโมง และได้ย้ายจาก เมืองสโปแคน รัฐวอชิงตัน ไปแคลิฟอร์เนียตอนใต้ เมื่อ 1 ปีก่อน [7]

ในเที่ยวบิน 498 ประกอบด้วยกัปตันอาร์ตูโร บัลเดส พรอม (Arturo Valdes Prom) อายุ 46 ปี กัปตันมีชั่วโมงการบินในเครื่องแบบ DC-9 ทั้งสิ้น 4,632 ชั่วโมงและชั่วโมงบินรวม 10,641 ชั่วโมง และส่วนนักบินผู้ช่วยชื่อ โฮเซ่ เฮกเตอร์ บาเลนเซีย (Jose Hector Valencia) อายุ 26 ปี มีชั่วโมงบิน 1,463 ชั่วโมง โดยมีชั่วโมงบินในเครื่องแบบ DC-9 เป็นเวลา 1,245 ชั่วโมง

สรุปอุบัติเหตุ

[แก้]

ในวันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2529 เวลาประมาณ 11:46 น ตามเวลาท้องถิ่น (PDT) เที่ยวบิน 498 เริ่มลดระดับลงสู่ลอสแองเจลิสโดยมีผู้โดยสาร 58 คน และลูกเรือ 6 คนบนเครื่อง ในเวลา 11:52 น. เครื่องยนต์ของเครื่อไพเพอร์ชนกับโคลงแนวนอน ด้านซ้ายของเครื่อง DC-9 ทำให้ส่วนบนของห้องนักบินของเครื่องไพเพอร์ขาด[8] เครื่องไพเพอร์ที่ได้รับความเสียหายอย่างหนักและตกลงไปบนสนามเด็กเล่นที่ว่างเปล่าของของโรงเรียนประถม Cerritos Elementary School.[9][10]

เครื่อง DC-9 ซึ่งตัวกันโคลงแนวนอน (horizontal stabilizer) ทั้งหมดและตัวกันโคลงแนวตั้ง (vertical stabilizer) ส่วนใหญ่ ฉีกออกตัวเครื่อง ทำให้เครื่องหมุนคว้างและดิ่งลงทันที เครื่องตกลงในย่านที่อยู่อาศัยบริเวณถนน Holmes และวงเวียน Reva ในเซริโตส (Cerritos) โดยชนเข้ากับสวนหลังบ้านของบ้านหลังหนึ่งที่ 13426 Ashworth Place และเกิดระเบิดเมื่อตกกระแทกพื้น การระเบิดทำให้ซาก DC-9 กระจัดกระจายไปทั่วถนน Holmes และบนถนน Carmenita ทำลายบ้านอีก 4 หลังและสร้างความเสียหายกับบ้านอีก 7 หลัง [11] ผู้โดยสารและลูกเรือทั้งหมด 64 รายเสียชีวิต (รวมทั้งคนอยู่บนพื้น 15 คน) [8]

ผู้โดยสารและลูกเรือ

[แก้]
สัญชาติ ผู้โดยสาร   ลูกเรือ     ทั้งหมด  
โคลอมเบีย 1 0 1
เอลซัลวาดอร์ 1 0 1
เม็กซิโก 20 5 25
สหรัฐ 36 1 37
ทั้งหมด 58 6 64

ผู้โดยสาร 36 คนเป็นพลเมืองของสหรัฐอเมริกา ส่วนพลเมืองเม็กซิกัน 20 คนนั้น มี 11 คนอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา และอีก 9 คนอาศัยอยู่ในเม็กซิโก ชาวเอลซัลวาดอร์คนหนึ่งอาศัยอยู่ใน เมืองอิสลิป รัฐ นิวยอร์ก ทั้งนี้ ผู้โดยสาร 10 คนบนเครื่องเป็นเด็ก [12]

การสอบสวนและผลที่ตามมา

[แก้]
มุมมองทางอากาศพร้อมคำอธิบายประกอบของสถานที่ที่เครื่องบิน แอโร่เม็กซิโก เที่ยวบินที่ 498 ตก ส่วนเครื่องบิน Piper ตกลงในสนามเด็กเล่นของ โรงเรียนประถมศึกษา Cerritos ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 1 กม. [13]

การสืบสวนของ คณะกรรมการความปลอดภัยการขนส่งแห่งชาติ ของสหรัฐอเมริกา (NTSB) พบว่าเครื่องบินไพเพอร์ได้เข้าสู่พื้นที่ห้วยอากาศควบคุมบริเวณพื้นที่ควบคุมเทอร์มินัล (Terminal Control Area) ของสนามบินลอสแอนเจลีส (ปัจจุบัน คือน่านฟ้าคลาส B ) พื้นที่ดังกล่าวเป็นแผ่นน่านฟ้าสามเหลี่ยมตั้งแต่ระดับความสูง 6,000 ถึง 7,000 ฟุต (1,800 ถึง 2,100 เมตร) หันไปทางทิศใต้บริเวณพิกัด 33°42′50″N 118°00′25″W / 33.714°N 118.007°W / 33.714; -118.007 ซึ่งตัดกับเส้นทางการบินของเครื่องไพเพอร์ ทั้งนี้ เครื่องบินไพเพอร์สามารถบินใต้น่านฟ้านี้ได้อย่างถูกกฎหมายโดยไม่ต้องติดต่อกับศูนย์ควบคุมการจราจรทางอากาศ (ATC) อย่างไรก็ตาม ขณะที่เครื่องไพเพอร์ไต่ระดับเข้าไปใน TCA ขณะนั้นศูนย์ควบคุมการจราจรทางอากาศถูกรบกวนจากเที่ยวบินส่วนตัวอีกเที่ยวหนึ่งที่ไม่ได้รับอนุญาต นั่นคือเครื่อง Grumman AA-5B Tiger ซึ่งเข้าสู่ TCA ทางเหนือของสนามบิน โดยมิได้มีการอนุญาต (not have clearance)

เครื่องไพเพอร์ไม่ได้ติดตั้ง ทรานสปอนเดอร์ (transponder) แบบ C ซึ่งจะระบุระดับความสูงของเครื่องบิน และท่าอากาศยานนานาชาติลอสแอนเจลิส (LAX) ไม่ได้ติดตั้งระบบเตือนอัตโนมัติ จากการสอบสวนดูเหมือนว่านักบินในเครื่องบินทั้งสองลำไม่ได้พยายามหลบเลี่ยงใด ๆ เนื่องจากนักบินทั้งสองไม่เห็นเครื่องบินลำอื่น แม้ว่าจะอยู่ในระยะการมองเห็นก็ตาม เมื่อ การชันสูตรพลิกศพ เผยให้เห็นการอุดตันของหลอดเลือดแดงที่สำคัญในหัวใจของวิลเลียม เครเมอร์ (William Kramer) การคาดเดาในที่สาธารณะก็เกิดขึ้นโดยบอกเป็นนัยว่าเขาประสบ ภาวะหัวใจวายซึ่งทำให้เขาไร้ความสามารถและนำไปสู่การชนกัน [14] แต่หลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์เพิ่มเติมทำให้ทฤษฎีนี้ลดน้อยลง และข้อผิดพลาดของวิลเลียม เครเมอร์ ถูกกำหนดว่าเป็นสาเหตุหลัก ปัจจัยที่ทำให้เกิดการชนกัน [8]

ผลจากอุบัติเหตุครั้งนี้และการชนกันกลางอากาศอื่น ๆ ในพื้นที่ห้วงอากาศควบคุม (terminal control areas) องค์การบริหารการบินแห่งชาติ (FAA) กำหนดให้เครื่องบินพาณิชย์[15] [16] ในน่านฟ้าของสหรัฐอเมริกาติดตั้ง ระบบหลีกเลี่ยงการชนกันของการจราจร (TCAS) และกำหนดให้เครื่องบินขนาดเล็กในน่านฟ้าที่หนาแน่น ต้องติดตั้งทรานสปอนเดอร์โหมด C ซึ่งสามารถรายงานระดับความสูงได้ [17]

คณะลูกขุนตัดสินว่านักบินของเครื่อง DC-9 ไม่มีความผิด แต่กลับตัดสินว่าเครเมอร์ และ FAA ต่างละเลย และต้องรับผิดชอบเท่าเทียมกัน [18] กฎระเบียบทางอากาศของรัฐบาลกลาง 14 CFR 91.113 (b) กำหนดให้นักบินของเครื่องบินทุกลำต้องระมัดระวังในการ "มองเห็นและหลีกเลี่ยง (see and avoid)" [19] เครื่องบินลำอื่นที่อาจอยู่บนเส้นทางบินที่ตัดกัน

นอกจากนี้ ศาลอุทธรณ์สหรัฐอเมริกาที่ 9 ได้ใช้คำตัดสินของ ศาลฎีกาแห่งแคลิฟอร์เนีย ในคดี Thing v. La Chusa เพื่อขยายเวลาการเยียวยาสำหรับเทเรซา เอสตราดา (Theresa Estrada) เพื่อการฟื้นฟูจาก การกระทำโดยประมาทต่อความทุกข์ทางอารมณ์ ซึ่งสามีและลูกสองในสี่คนของเธอเป็นผู้เสียชีวิตที่ภาคพื้นอันเป็นผลมาจากการตกของเครื่อง DC-9 ในสารคดีโทรทัศน์ เรื่อง Mayday เอสตราดากล่าวว่าเธอเห็นการระเบิดจากระยะไกล [20] สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้เธอตระหนักว่าครอบครัวของเธออยู่ในที่เกิดเหตุและอาจได้รับบาดเจ็บ [21] เธอมาถึงไม่กี่นาทีต่อมา โดยบ้านของเธอถูกไฟไหม้ และรายล้อมไปด้วยบ้านเรือนที่ถูกไฟไหม้ รถยนต์และเศษซากเครื่องบิน

ในการพิจารณาคดีแยกต่างหากเกี่ยวกับความเสียหาย ครอบครัวเอสตราดาได้รับความเสียหายทางเศรษฐกิจเป็นจำนวนเงิน 868,263 ดอลลาร์ (ประมาณ 1,908,674.77 ดอลลาร์ในปี พ.ศ. 2567) และความเสียหายที่ไม่ใช่ทางเศรษฐกิจ 4.7 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 10.3 ล้านดอลลาร์ในปี พ.ศ. 2567) ซึ่งรวมถึง 1 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 2,198,268.00 ดอลลาร์ในปีพ.ศ. 2567) สำหรับ การกระทำโดยประมาทต่อจิตใจ

เที่ยวบินหมายเลข 498 ถูกนำกลับมาใช้เป็นเที่ยวบินจากท่าอากาศยานนานาชาติเม็กซิโกซิตีสู่ท่าอากาศยานนานาชาติแมคคาร์แรน ผ่าน สนามบินนานาชาติมอนเตร์เรย์ โดยใช้เครื่องบินแบบ เอ็มบราเออร์ อี190 ซึ่งดำเนินการโดยอาเอโรเมฆิโกโกเนกต์ บริษัทในเครือของอาเอโรเมฆิโก[22] ใน เดือนกุมภาพันธ์ 2018 หมายเลขเที่ยวบินดังกล่าวถูกยกเลิก ส่วนอาเอโรเมฆิโกยังคงบินไปยังลอสแอนเจลิส ภายใต้หมายเลข "เที่ยวบิน 646" โดยใช้ โบอิง 737 เน็กซต์เจเนอเรชัน หรือ โบอิง 787 ดรีมไลเนอร์

ในวัฒนธรรมสมัยนิยม

[แก้]

ซีรีส์โทรทัศน์ของ Discovery Channel Canada / National Geographic เมย์เดย์ นำเสนออุบัติเหตุนี้ในฤดูกาลที่ 4 ตอนที่ชื่อว่า " เอาท์ออฟไซต์ " [23] และอีกครั้งในฤดูกาลที่ 8 ในตอนรวมชื่อ " ซิสเต็มเบรกดาว์น "[24]

อุบัติเหตุที่คล้ายกันนี้แสดงให้เห็นในซีรีส์ ดับเครื่องชน คนดีแตก " ABQ " ซึ่งตัวละครหลัก มีชื่อเดียวกับผู้ควบคุมการจราจรทางอากาศในอุบัติเหตุในชีวิตจริง คือ "วอลเตอร์ ไวท์" [25] [26]

มีการนำเสนอในรายการทีวี Why Planes Crash ซีซัน 1 ตอนที่ 5 ในตอนที่เรียกว่า "Collision Course"

ในเดือนสิงหาคม ปี 2022 เคเอ็นบีซี ได้ผลิต The Nightmare of Flight 498' นำโดยนักข่าว Hetty Chang ซึ่งเป็นเด็กอายุ 7 ขวบที่อาศัยอยู่ในละแวกที่ DC-9 ตกและเป็นนักเรียนในโรงเรียนที่ Piper Cherokee ตก สลับกับรายงานข่าวการเกิดอุบัติเหตุ นักข่าวได้สัมภาษณ์พ่อแม่ของเธอ เพื่อนบ้าน (รวมถึงผู้ที่อาศัยอยู่ที่ 13426 Ashworth Place บริเวณที่ DC-9 ระเบิด) และผู้พบเห็นเหตุการณ์คนแรกเกี่ยวกับความทรงจำของพวกเขาเกี่ยวกับอุบัติเหตุครั้งนี้

สมุดภาพ

[แก้]

ดูสิ่งนี้ด้วย

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "XA-JED Aeroméxico McDonnell Douglas DC-9-30". planespotters.net. January 22, 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 12, 2018. สืบค้นเมื่อ June 10, 2018.
  2. "FAA Registry (N4891F)". Federal Aviation Administration.
  3. "Jet, plane collide near L.A." Spokesman-Review. (Spokane, Washington). wire reports. September 1, 1986. p. A1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 29, 2021. สืบค้นเมื่อ December 10, 2020.
  4. Ranter, Harro. "ASN Aircraft accident McDonnell Douglas DC-9-32 XA-JED Cerritos, CA". aviation-safety.net. Aviation Safety Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 2, 2010. สืบค้นเมื่อ August 31, 2016.
  5. "Airliners.net – Aviation Photography, Discussion Forums & News". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 4, 2016. สืบค้นเมื่อ August 31, 2016.
  6. Magnuson, Ed (June 24, 2001).
  7. Carollo, Russell; Caldwell, Bert (September 2, 1986). "Ex-Spokanite piloted plane that hit DC-9". Spokesman-Review. (Spokane, Washington). p. A1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 31, 2021. สืบค้นเมื่อ December 10, 2020.
  8. 8.0 8.1 8.2 "Aircraft accident report: Collision of Aeronaves de Mexico, S.A. McDonnell Douglas DC-9-32, XA-JED and Piper PA-28-181, N4891F. Cerritos, California. August 31, 1986" (PDF). National Transportation Safety Board. July 7, 1987. NTSB/AAR-87/07. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ June 3, 2023. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "NTSB" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  9. located at these coordinates: 33°51′55.76″N 118°2′23.97″W / 33.8654889°N 118.0399917°W / 33.8654889; -118.0399917
  10. "The Story of Cerritos: Chapter 8 1976–1986 – Growth, Development and an Unnatural Disaster". City of Cerritos. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 15, 2020. สืบค้นเมื่อ March 26, 2009.
  11. "Aircraft Collision Over Los Angeles Suburb", (diagram) Daily Herald (Chicago), September 2, 1986, p. 6
  12. "Collision Victims on DC-9" .
  13. Woolsey, Brittany (January 13, 2014). "Cerritos remembers 1986 plane crash". Orange County Register. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 3, 2023. สืบค้นเมื่อ September 3, 2023.
  14. "Pilot of plane suffered heart attack". Spokesman-Review. (Spokane, Washington). wire services. September 2, 1986. p. A1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 30, 2021. สืบค้นเมื่อ December 10, 2020.
  15. "14 CFR § 135.180 - Traffic Alert and Collision Avoidance System".
  16. "Federal Register :: Request Access".
  17. Gerber, Larry, AP, "1986 Cerritos crash changed the way we fly," The Intelligencer Record (Doylestown, Pa.), September 1, 1996, p A-13
  18. "Jury Fixes Blame for Crash That Killed 82". The New York Times. Reuters. 1989-04-15. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 7, 2016. สืบค้นเมื่อ 2013-11-13.
  19. "Electronic Code of Federal Regulations". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 3, 2020. สืบค้นเมื่อ 2019-09-11.
  20. "Devastating Collision On Flight 498 | Out Of Sight | Mayday: Air Disaster". YouTube (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 24, 2023. สืบค้นเมื่อ 2021-10-01.
  21. "Thing v. La Chusa | Case Brief for Law Students". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 1, 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-10-01.
  22. "AeroMéxico (AM) #498 ✈ FlightAware". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 10, 2016. สืบค้นเมื่อ August 31, 2016.
  23. "Falling From the Sky". Mayday. ฤดูกาล 4. Discovery Channel Canada / National Geographic Channel.
  24. "System Breakdown". Mayday. ฤดูกาล 8. Discovery Channel Canada / National Geographic Channel.
  25. "Air Controller's Nightmare: 'I Lost an Airplane'". Los Angeles Times. 1986-12-03. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 6, 2020. สืบค้นเมื่อ 2019-09-11.
  26. "13 Mind-Blowing Things You Never Noticed In 'Breaking Bad'". Tell Tales. telltalesonline. 2015-06-21. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 10, 2016. สืบค้นเมื่อ 2019-09-11.