สหพรรคแรงงานโปแลนด์
สหพรรคแรงงานโปแลนด์ Polska Zjednoczona Partia Robotnicza | |
---|---|
ชื่อย่อ | PZPR |
ผู้นำคนแรก | บอแลสวัฟ บีแยรุต |
ผู้นำคนสุดท้าย | มีแยตชึสวัฟ รากอฟสกี |
คำขวัญ | Proletariusze wszystkich krajów, łączcie się! |
ก่อตั้ง | 16–21 ธันวาคม ค.ศ. 1948 |
ถูกยุบ | 27–30 มกราคม ค.ศ. 1990 |
รวมตัวกับ | พรรคสังคมนิยมโปแลนด์และพรรคกรรมกรโปแลนด์ |
ถัดไป | สังคมประชาธิปไตยแห่งสาธารณรัฐโปแลนด์ (de facto)
สหภาพสังคมประชาธิปไตยโปแลนด์ (de facto) Union of Polish Communists "Proletariat" (de facto) |
ที่ทำการ | Nowy Świat 6/12, 00-497 Warsaw |
หนังสือพิมพ์ | Trybuna Ludu |
ฝ่ายเยาวชน | สหภาพเยาวชนสังคมนิยมโปแลนด์ |
ฝ่ายทหาร | กองทัพประชาชนโปแลนด์ |
สมาชิกภาพ (ปี คริสต์ทษวรรษที่ 1980) | 3,000,000 คน[1] |
อุดมการณ์ |
ชาตินิยมฝ่ายซ้าย |
จุดยืน | ซ้ายจัด |
กลุ่มระดับชาติ | Patriotic Movement for National Rebirth |
กลุ่มระดับสากล | โคมินฟอร์ม |
สี | แดง |
เพลง | "มียช์ซีนาโรโดคา" |
การเมืองโปแลนด์ รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง |
สหพรรคแรงงานโปแลนด์ (โปแลนด์: Polska Zjednoczona Partia Robotnicza; PZPR) เป็นพรรคคอมมิวนิสต์ซึ่งปกครองสาธารณรัฐประชาชนโปแลนด์เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียว ตั้งแต่ ค.ศ. 1948 ถึง ค.ศ. 1990 ในอุดมการณ์ มีพื้นฐานมาจากทฤษฏีลัทธิมากซ์–เลนิน โดยให้ความสำคัญอย่างมากแก่ลัทธิฝ่ายชาตินิยมฝ่ายซ้าย พรรคสหพรรคแรงงานโปแลนด์มีอำนาจควบคุมสถาบันสาธารณะเอาไว้ในประเทศ เช่นเดียวกับกองทัพประชาชนโปแลนด์ หน่วยงานมั่นคงยูบีหรือเอ็สบี กองกำลังตำรวจอาสาสมัคร(MO) และสื่อต่าง ๆ
การฉ้อโกงของการเลือกตั้งสภานิติบัญญัติของโปแลนด์ ค.ศ. 1947 ทำให้ฝ่ายซ้ายได้รับอำนาจทางการเมืองอย่างสมบูรณ์ในโปแลนด์ช่วงหลังสงคราม สหพรรคแรงงานโปแลนด์ถูกก่อตั้งขึ้นทันทีในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1948 เกิดจากการรวมตัวกันของสองพรรคการเมืองก่อนหน้านี้ ได้แก่ พรรคกรรมกรโปแลนด์(PPR) และพรรคสังคมนิยมโปแลนด์(PPS) ตั้งแต่ ค.ศ. 1952 ตำแหน่ง "เลขาธิการเอก" ของสหพรรคแรงงานโปแลนด์นั้นเทียบเท่ากับตำแหน่งเผด็จการ ประธานาธิบดี หรือประมุขแห่งรัฐของประเทศอื่น ๆ ในโลก ตลอดระยะเวลาที่ดำรงอยู่ สหพรรคแรงงานโปแลนด์ยังคงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับฝ่ายที่มีอุดมการณ์เหมือนกันของกลุ่มตะวันออก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนี พรรคคอมมิวนิสต์เชโกสโลวาเกีย และพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต ระหว่างปี ค.ศ. 1948 และ ค.ศ. 1954 มีจำนวนเประชาชนเกือบ 1.5 ล้านคน ได้สมัครเป็นสมาชิกของสหพรรคแรงงานโปแลนด์ และจำนวนสมาชิกได้เพิ่มขึ้นเป็น 3 ล้านคนในปี ค.ศ. 1980
วัตถุประสงค์หลักของพรรคคือการกำหนดวาระสังคมนิยมในโปแลนด์ รัฐบาลคอมมิวนิสต์พยายามปรับปรุงมาตรฐานการครองชีพของชนชั้นกรรมาชีพ ทำให้การศึกษาและการรักษาพยาบาลสามารถมอบให้แก่ประชาชนทุกคนได้ การจัดตั้งเศรษฐกิจแบบรวมศูนย์ สถาบันทั้งหมดเป็นรัฐ และจัดตั้งความมั่นคงภายในหรือภายนอกด้วยกองกำลังติดอาวุธที่เข้มแข็ง แนวความคิดบางอย่างที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ เช่น การทำฟาร์มรวมขนาดใหญ่และโลกิยานุวัติ ซึ่งล้มเหลวในช่วงแรก สหพรรคแรงงานโปแลนด์ได้ถูกมองว่าเป็นพวกเสรีนิยมและนิยมกลุ่มตะวันตกมากกว่าประเทศเพื่อนบ้านของตนอย่างเยอรมนีตะวันออกหรือสหภาพโซเวียต และเกลียดชังพวกนักการเมืองหัวรุนแรงมากกว่า แม้ว่าการโฆษณาชวนเชื่อจะถูกนำมาใช้ในสื่อสำคัญต่าง ๆ เช่น Trybuna Ludu ("เวทีอภิปรายของประชาชน") และการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ Dziennik ("วารสาร") การเซ็นเซอร์ไม่ได้ผลในช่วงกลางปี ค.ศ. 1980 และค่อย ๆ ถูกยกเลิกไป ในทางกลับกัน สหพรรคแรงงานโปแลนด์ได้มีหน้าที่รับผิดชอบในการปราบปรามอย่างโหดเหี้ยมต่อการต่อต้านของพลเรือนและผู้ประท้วงในการประท้วงที่พอซนาน ค.ศ. 1956 การประท้วงของชาวโปแลนด์ในปี ค.ศ. 1970 และตลอดช่วงกฏอัยการศึก ระหว่างปี ค.ศ. 1981 และ ค.ศ. 1983 สหพรรคแรงงานโปแลนด์ยังได้ริเริ่มรณรงค์การต่อต้านชาวยิวอย่างรุนแรงในช่วงวิกฤตการเมืองโปแลนด์ ค.ศ. 1968 ซึ่งบีบบังคับให้ชาวยิวที่เหลือในโปแลนด์ต้องอพยพ
ท่ามกลางวิกฤตทางการเมืองและเศรษฐกิจที่กำลังดำเนินอยู่ ขบวนการโซลิดาริตีได้กลายเป็นขบวนการทางสังคมที่ต่อต้านระบบราชการที่สำคัญ ซึ่งติดตามการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ด้วยการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ที่ดูผ่อนคลายในประเทศเพื่อนบ้าน สหพรรคแรงงานโปแลนด์ได้สูญเสียการสนับสนุนอย่างมากและถูกบังคับให้เจรจากับฝ่ายค้านและปฏิบัติตามข้อตกลงโต๊ะกลมโปแลนด์ซึ่งได้อนุญาตให้มีการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยแบบเสรี การเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 1989 ซึ่งปรากฏว่าโซลิดาริตี้ได้รับชนะการเลือกตั้ง ส่งผลให้การปกครองของคอมมิวนิสต์ในโปแลนด์ที่มีระยะเวลายาวนาน 40 ปีต้องสิ้นสุดลง สหพรรคแรงงานโปแลนด์ถูกยุบลงในเดือนมกราคม ค.ศ. 1990
หัวหน้าพรรค
[แก้]- บอแลสวัฟ บีแยรุต (22 ธันวาคม ค.ศ. 1948–12 มีนาคม ค.ศ. 1956)
- แอดวาร์ต ออคับ (20 มีนาคม ค.ศ. 1956–21 ตุลาคม ค.ศ. 1956)
- ววาดึสวัฟ กอมูว์กา (21 ตุลาคม ค.ศ. 1956–20 ธันวาคม ค.ศ. 1970)
- แอดวาร์ต กีแยแร็ก (20 ธันวาคม ค.ศ. 1970–6 กันยายน ค.ศ. 1980)
- สตาญิสวัฟ กาญา (6 กันยายน ค.ศ. 1980–18 ตุลาคม ค.ศ. 1981)
- วอยแชค ยารูแซลสกี (18 ตุลาคม ค.ศ. 1981–29 กรกฎาคม ค.ศ. 1989)
- มีแยตชึสวัฟ รากอฟสกี (29 กรกฎาคม ค.ศ. 1989–29 มกราคม ค.ศ. 1990)
การประชุม
[แก้]การประชุม | วันที่ |
---|---|
การประชุมครั่งที่ 1 | 15-22 ธันวาคม 1948 |
การประชุมครั่งที่ 2 | 10-17 มีนาคม 1954 |
การประชุมครั่งที่ 3 | 10-19 มีนาคม 1959 |
การประชุมครั่งที่ 4 | 15-20 มิถุนายน 1964 |
การประชุมครั่งที่ 5 | 11-16 พฤษจิกายน 1968 |
การประชุมครั่งที่ 6 | 6-11 ธันวาคม 1971 |
การประชุมครั่งที่ 7 | 8-12 ธันวาคม 1975 |
การประชุมครั่งที่ 8 | 11-15 กุมภาพันธ์ 1980 |
การประชุมครั่งที่ 9 | 14-20 กรกฎาคม 1981 |
การประชุมครั่งที่ 10 | 29 มิถุนายน -3 กรกฎาคม 1986 |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Zwykli Polacy przyznają się, że byli w PZPR!". 5 April 2016.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- MSWiA - Sprawozdanie z likwidacji majątku byłej PZPR เก็บถาวร 2006-11-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (MSWiA - The report on the liquidation of property of the former PZPR) (โปแลนด์)