ข้ามไปเนื้อหา

สงครามบอลข่าน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สงครามบอลข่าน

แผ่นป้ายของบัลแกเรียที่แสดงภาพยุทธการที่ลูลเบอร์กาส
วันที่8 ตุลาคม 1912 – 10 สิงหาคม 1913
(9 เดือน 1 สัปดาห์ 3 วัน)
สงครามบอลข่านครั้งที่หนึ่ง:
  • 8 ตุลาคม 1912 – 30 พฤษภาคม 1913
    (7 เดือน 3 สัปดาห์ 1 วัน)
สงครามบอลข่านครั้งที่สอง:
  • 16 มิถุนายน – 10 สิงหาคม 1913
    (1 เดือน 1 สัปดาห์ 5 วัน)
สถานที่
ผล

สงครามบอลข่านครั้งที่หนึ่ง:

สงครามบอลข่านครั้งที่สอง:

คู่สงคราม

สงครามบอลข่านครั้งที่หนึ่ง:
 จักรวรรดิออตโตมัน

หน่วยทหารอาสา:
ทหารอาสา ชาวครีเคซัส[1][2][3][4]
แอลเบเนีย ทหารอาสา ชาวแอลเบเนีย[5][6][7]
สนับสนุน:
 ออสเตรีย-ฮังการี

สงครามบอลข่านครั้งที่หนึ่ง: สันนิบาตบอลข่าน:

สงครามบอลข่านครั้งที่สอง:
 บัลแกเรีย

สงครามบอลข่านครั้งที่สอง:

ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

กำลัง

จักรวรรดิออตโตมัน 350,000


ราชอาณาจักรบัลแกเรีย 500,221–576,878

ราชอาณาจักรบัลแกเรีย 600,000
ราชอาณาจักรเซอร์เบีย 220,000
ราชอาณาจักรกรีซ 115,000
ราชอาณาจักรมอนเตเนโกร 35,000
รวม:
970,000 คน


ราชอาณาจักรเซอร์เบีย 348,000
ราชอาณาจักรโรมาเนีย 330,000
จักรวรรดิออตโตมัน 255,000
ราชอาณาจักรกรีซ 148,000
ราชอาณาจักรมอนเตเนโกร 12,800

รวม:
1,093,800 คน

สงครามบอลข่าน เป็นหนึ่งในความขัดแย้งทั้งสองครั้งที่เกิดขึ้นในรัฐบอลข่านในปี 1912 จนถึง 1913 ในช่วงสงครามบอลข่านครั้งที่หนึ่ง รัฐบอลข่านทั้งสี่คือ กรีซ เซอร์เบีย มอนเตเนโกร และบัลแกเรีย ได้ประกาศสงครามต่อจักรวรรดิออตโตมันและสามารถเอาชนะจักรวรรดิออตโตมันได้ ส่งผลให้ดินแดนฝั่งยุโรปของจักรวรรดิออตโตมัน เหลือเพียงภูมิภาคเธรซตะวันออกเท่านั้นที่ยังคงอยู่ภายใต้การควบคุมของจักรวรรดิ อย่างไรก็ตาม ในช่วงสงครามบอลข่านครั้งที่สอง บัลแกเรียได้หันมาต่อสู้กับรัฐบอลข่านเดิมที่ร่วมมือกันในครั้งแรก นอกจากนี้ยังเผชิญกับการโจมตีโดยโรมาเนียจากทางเหนือ จักรวรรดิออตโตมันยังคงสูญเสียอาณาเขตส่วนใหญ่ในยุโรป แม้ว่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องในฐานะผู้ต่อต้านบัลแกเรีย จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีเริ่มอ่อนแอลงเป็นอย่างมาก เมื่อเซอร์เบียได้ผนวกดินแดนจนมีความพยายามที่จะสถาปนาดินแดนสลาฟใต้ขึ้นมา[9] สงครามครั้งนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤตการณ์บอลข่านในปี 1914 และด้วยเหตุนี้จึงทำให้สงครามครั้งนี้เป็นดั่ง "ลางบอกเหตุแห่งสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง"[10]

ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ทั้งบัลแกเรีย กรีซ มอนเตเนโกร และเซอร์เบีย ต่างก็ได้รับเอกราชจากจักรวรรดิออตโตมัน แต่กลุ่มชาติพันธุ์จำนวนมากยังคงอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิ ในปี 1912 บรรดาประเทศเหล่านี้ได้ร่วมกันก่อตั้งสันนิบาตบอลข่าน สงครามบอลข่านครั้งที่หนึ่งเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 1912 เมื่อรัฐสมาชิกของสันนิบาตประกาศสงครามกับจักรวรรดิออตโตมัน และสิ้นสุดลงในอีกแปดเดือนต่อมา เนื่องจากการลงนามในสนธิสัญญาลอนดอน เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 1913 สงครามบอลข่านครั้งที่สองเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 1913 เมื่อบัลแกเรียไม่พอใจกับการสูญเสียมาซิโดเนีย โดยได้เริ่มโจมตีอดีตพันธมิตรสันนิบาตบอลข่าน แต่กองกำลังผสมระหว่างเซอร์เบียและกรีซมีกำลังพลที่เหนือกว่ามาก และสามารถขับไล่กองทัพบัลแกเรียพร้อมโจมตีสวนกลับบัลแกเรียจากการรุกรานทางตะวันตกและทางใต้ โรมาเนียซึ่งไม่ได้มีส่วนร่วมกับความขัดแย้งนี้ ได้เริ่มรุกรานบัลแกเรียทางตอนเหนือ ซึ่งเป็นการละเมิดสนธิสัญญาสันติภาพระหว่างสองรัฐ อีกทั้งจักรวรรดิออตโตมันได้โจมตีบัลแกเรียและสามารถยึดเมืองเธรซได้ แล้วเคลื่อนพลสู่เอเดรียโนเปิล สงครามครั้งที่สองยุติลงเนื่องด้วยสนธิสัญญาบูคาเรสต์ บัลแกเรียยังคงรักษาดินแดนส่วนใหญ่ที่ยึดครองในสงครามครั้งแรกได้ แต่ก็ถูกบังคับให้มอบดินแดนทางตอนเหนือให้แก่โรมาเนีย[11]

สงครามบอลข่านถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของปัญหาชนกลุ่มน้อย โดยทุกฝ่ายมีส่วนที่ต้องรับผิดชอบต่อความทารุณโหดร้ายต่อพลเรือน และได้ช่วยจุดประกายความโหดร้ายในภายหลัง รวมถึงอาชญากรรมสงครามในสงครามยูโกสลาเวียเมื่อช่วงทศวรรษที่ 1990 ดัวย[12][13][14][15]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Там /в Плевенско и Търновско/ действително се говори, че тези черкези отвличат деца от българи, загинали през последните събития." (Из доклада на английския консул в Русе Р. Рийд от 16.06.1876 г. до английския посланик в Цариград Х. Елиот. в Н. Тодоров, Положението, с. 316)
  2. Hacısalihoğlu, Mehmet. Kafkasya'da Rus Kolonizasyonu, Savaş ve Sürgün (PDF). Yıldız Teknik Üniversitesi.
  3. BOA, HR. SYS. 1219/5, lef 28, p. 4
  4. Karataş, Ömer. The Settlement of the Caucasian Emigrants in the Balkans during lkans duringthe 19th Century Century
  5. Gawrych, George (2006). The Crescent and the Eagle: Ottoman rule, Islam and the Albanians, 1874–1913. IB Tauris. p. 202. ISBN 9781845112875. "When the First Balkan War broke out, a majority of Albanians, even habitual rebels such as Isa Boletin, rallied in defense of the din ve devlet ve vatan in order to preserve intact their Albanian lands. Lacking a national organization of their own, Albanians had no choice but to rely on Ottoman institutions, its army, and its government for protection from partition. Both failed them miserably in the face of four invading Balkan armies, and as a result foreign invasion and occupation severed that link between the Albanian Eagle and the Ottoman Crescent."
  6. Kondis, Basil (1976). Greece and Albania, 1908–1914. Thessaloniki: Institute for Balkan Studies. p. 84. The Albanian forces fought on the side of Turkey not because they desired a continuance of Turkish rule but because they believed that together with the Turks, they would be able to defend their territory and prevent the partition of "Greater Albania
  7. Hall, Richard C. (4 January 2002). The Balkan Wars 1912-1913: Prelude to the First World War (ภาษาอังกฤษ). Routledge. p. 85. ISBN 978-1-134-58363-8. สืบค้นเมื่อ 19 April 2022. Ottoman regulars supported by Albanian irregulars continued in central and southern Albania even after the signing of the armistice in December 1912
  8. Egidio Ivetic, Le guerre balcaniche, il Mulino – Universale Paperbacks, 2006, p. 63
  9. Clark 2013, pp. 45, 559.
  10. Hall 2000.
  11. Winston Churchill (1931). The World Crisis, 1911–1918. Thornton Butterworth. p. 278.
  12. Biondich, Mark (20 October 2016). "The Balkan Wars: violence and nation-building in the Balkans, 1912–13". Journal of Genocide Research. 18 (4): 389–404. doi:10.1080/14623528.2016.1226019. S2CID 79322539. สืบค้นเมื่อ 10 April 2022.
  13. Levene, Mark (2018). ""The Bulgarians Were the Worst!" Reconsidering the Holocaust in Salonika within a Regional History of Mass Violence". The Holocaust in Greece (ภาษาอังกฤษ). Cambridge University Press. p. 54. ISBN 978-1-108-47467-2.
  14. Farrar, L L, Jr. (2003). "Aggression versus apathy: The limits of nationalism during the Balkan Wars, 1912-1913". East European Quarterly. 37 (3): 257–280. ProQuest 195176627.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  15. Michail, Eugene (2017). "The Balkan Wars in Western Historiography, 1912–2012". The Balkan Wars from Contemporary Perception to Historic Memory (ภาษาอังกฤษ). Springer International Publishing. pp. 319–340. ISBN 978-3-319-44642-4.

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]