ข้ามไปเนื้อหา

วิกฤตการณ์ประธานาธิบดีเวเนซุเอลา พ.ศ. 2562

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิกฤตการณ์ประธานาธิบดีเวเนซุเอลา พ.ศ. 2562
ส่วนหนึ่งของ วิกฤตการณ์ในประเทศเวเนซุเอลา
พิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งของทั้งสองฝ่าย
(บน) นิโกลัส มาดูโร (ล่าง) ฮวน กวยโด
วันที่10 มกราคม 2562 – ปัจจุบัน (ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days)
สถานที่ประเทศเวเนซุเอลา
สาเหตุ
คู่ขัดแย้ง

รัฐบาลเฉพาะกาล:


องค์กรระหว่างประเทศ:


สนับสนุนโดย:

รัฐบาลมาดูโร:


องค์กรระหว่างประเทศ:


สนับสนุนโดย:


รัฐที่มิได้รับการรับรอง:


องค์กรอื่น ๆ:

ผู้นำ

วิกฤตการณ์ประธานาธิบดีเวเนซุเอลา พ.ศ. 2562 เป็นข้อพิพาทประธานาธิบดีซึ่งก่อให้เกิดวิกฤตทั่วประเทศ เริ่มตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2562 และดำเนินมาจนปัจจุบัน

ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน นิโกลัส มาดูโร ได้รับประกาศให้เป็นผู้ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อเดือนพฤษภาคม 2561 ซึ่งกระบวนการและผลของการเลือกตั้งนั้นเป็นที่พิพาทอย่างกว้างขวาง[1] วันที่ 10 มกราคม 2562 สมัชชาแห่งชาติเวเนซุเอลา ซึ่งฝ่ายค้านเป็นฝ่ายข้างมาก ระบุว่าผลการเลือกตั้งไม่ชอบ และประกาศให้ฮวน กวยโดรักษาราชการประธานาธิบดี โดยอ้างข้อความหลายตอนของรัฐธรรมนูญแห่งเวเนซุเอลา ค.ศ. 1999 ซึ่งตราขึ้นในสมัยของอูโก ชาเบซ ประธานาธิบดีคนก่อน ฝ่ายศาลยุติธรรมสูงสุดซึ่งนิยมมาดูโรวินิจฉัยว่าแถลงการณ์ของสมัชชาฯ ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ[2]

มีการประท้วงใหญ่ทั่วประเทศและโลกเมื่อวันที่ 23 มกราคมซึ่ง กวยโด เรียกร้องให้ชาวเวเนซุเอลาเดินขบวนต่อต้านมาดูโร[3][4] เกิดการเดินขบวนสนับสนุนการปฏิวัติโบลิบาร์และรัฐบาลเช่นกัน[5] การเดินขบวนใหญ่ยังคงดำเนินต่อไปจนวันที่ 30 มกราคม[6][7] ในวันที่ 24 มกราคม เกิดการปะทะระหว่างตำรวจปราบจลาจลกับผู้ประท้วงมีจำนวนผู้เสียชีวิต 13 ราย[8]ต่อมาวันที่ 23 กุมภาพันธ์ มีประชาชนเสียชีวิตจากอาวุธปืนอีก 2 ราย[9]

มีการประชุมพิเศษในองค์การนานารัฐอเมริกันในวันที่ 24 มกราคมและสหประชาชาติในวันที่ 26 มกราคมแต่ไม่มีความเห็นพ้อง เลขาธิการสหประชาชาติ อังตอนียู กูแตรึช เรียกร้องให้มีการเจรจา[10] ประเทศเม็กซิโกและอุรุกวัยประกาศการประชุมระหว่างประเทศสำหรับประเทศที่มีจุดยืนเป็นกลางโดยกำหนดมีขึ้นในกรุงมอนเตวิเดโอในวันที่ 7 กุมภาพันธ์[11]

รัฐบาลมาดูโรอ้างว่าวิกฤตปัจจุบันเป็นรัฐประหารของสหรัฐเพื่อโค่นเขาและควบคุมน้ำมันสำรองมหาศาลของประเทศ[12][13][14]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Bullock, Penn (10 January 2019). "Climate Change, U.S. Shutdown, Michael Cohen: Your Friday Briefing". New York Times (Online) – โดยทาง ProQuest. President Nicolás Maduro was inaugurated for a second term after an election last year that was widely considered illegitimate — and despite a plummeting economy and skyrocketing violence, hunger and migration.
  2. "El Tribunal Supremo de Justicia de Venezuela declara "inconstitucional" a la Asamblea Nacional y anula el nombramiento de Juan Guaidó como su presidente". สืบค้นเมื่อ 29 January 2019.
  3. "Protestas en Venezuela: miles de personas participan en manifestaciones masivas contra el gobierno de Maduro". BBC News Mundo (ภาษาสเปน). 23 January 2019. สืบค้นเมื่อ 30 January 2019.
  4. "Las 50 fotos de las masivas marchas contra la dictadura de Nicolás Maduro en Venezuela y Latinoamérica". Infobae (ภาษาสเปน). 24 January 2019. สืบค้นเมื่อ 30 January 2019.
  5. Sanchez, Ray and Nicole Chavez (23 January 2019). "Maduro defiant as Venezuelan opposition leader declares himself acting president". CNN. สืบค้นเมื่อ 30 January 2019.
  6. "Trump backs Venezuela's Guaido as demonstrations rage across the country". BBC. 30 January 2019. สืบค้นเมื่อ 31 January 2019.
  7. Smith, Scott and Christine Armario (30 January 2019). "Despite repression, Venezuelans return to the streets". Local10 News Miami. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-03. สืบค้นเมื่อ 31 January 2019.
  8. "ประท้วงต้านผู้นำเวเนซุเอลา แนวโน้มบานปลาย ล่าสุดตายแล้ว 13ราย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-28. สืบค้นเมื่อ 2019-10-24.
  9. https://news.thaipbs.or.th/content/277942
  10. "UN political chief calls for dialogue to ease tensions in Venezuela; Security Council divided over path to end crisis". สืบค้นเมื่อ 29 January 2019.
  11. "Uruguay y México convocan a conferencia internacional en Montevideo sobre situación en Venezuela" (ภาษาสเปน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-01. สืบค้นเมื่อ 31 January 2019.
  12. "Canciller Arreaza advierte que objetivo de plan golpista es el petróleo venezolano" (ภาษาสเปน). presidencia.gob.ve. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-31. สืบค้นเมื่อ 30 January 2019.
  13. "'Oil' the 'sole and real' purpose behind US 'coup' attempt, says Venezuela's foreign minister". RT. สืบค้นเมื่อ 30 January 2019.
  14. "Maduro afirma que el petróleo es el principal motivo de la presión de EEUU contra Venezuela" (ภาษาสเปน). Europa Press. สืบค้นเมื่อ 30 January 2019.