วิกตอร์ บาเบช
วิกตอร์ บาเบช | |
---|---|
เกิด | 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1854 เวียนนา จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี |
เสียชีวิต | 19 ตุลาคม ค.ศ. 1926 บูคาเรสต์ ราชอาณาจักรโรมาเนีย | (72 ปี)
สุสาน | สถาบันกันตากูซีนอ บูคาเรสต์ |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยเซ็มเมิลไวส์ มหาวิทยาลัยเวียนนา |
มีชื่อเสียงจาก | หนึ่งในผู้วางรากฐานจุลชีววิทยาสมัยใหม่ ผู้มีส่วนร่วมสำคัญในการศึกษาพิษสุนัขบ้า, เรื้อน, คอตีบ, วัณโรค |
คู่สมรส | โยเซฟีนา ตอร์มา |
บุตร | มีร์ชา |
อาชีพทางวิทยาศาสตร์ | |
สถาบันที่ทำงาน | มหาวิทยาลัยเซ็มเมิลไวส์ มหาวิทยาลัยเวียนนา มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์และเภสัชศาสตร์การอล ดาวีลา |
หมายเหตุ | |
วินเชนซียู บาเบช (บิดา) โซฟีอา ก็อลท์ชไนเดอร์ (มารดา) |
วิกตอร์ บาเบช (โรมาเนีย: Victor Babeș, ออกเสียง: [ˈviktor ˈbabeʃ]; 28 กรกฎาคม 1854 – 19 ตุลาคม 1926) เป็นแพทย์ นักวิทยาแบคทีเรีย นักวิชาการ และศาสตราจารย์ชาวโรมาเนีย หนึ่งในผู้วางรากฐานจุลชีววิทยาสมัยใหม่ และหนึ่งในผู้แต่งตำราด้านวิทยาแบคทีเรียเล่มแรก ๆ ของโลก ชื่อว่า แบคทีเรียและบทบาทของแบคทีเรียในกายวิภาคศาสตร์และฮิสโตโลยีเชิงพยาธิวิทยาของโรคติดต่อ (Les bactéries et leur rôle dans l'anatomie et l'histologie pathologiques des maladies infectieuses) ซึ่งเขียนร่วมกับวิกตอร์ อ็องเดร กอร์นีล นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ในปี 1885[1] ในปี 1888 บาเบชได้เขียนถึงพื้นฐานของภูมิคุ้มกันแบบรับมา[2] และในอีกไม่กี่ปีต่อมา ก็ได้บรรยายถึงหลักการของการต้านเชื้อไว้[3] เขายังมีส่วนร่วมสำคัญในการศึกษาพิษสุนัขบ้า เรื้อน คอตีบ วัณโรค และโรคติดต่ออื่น ๆ ในยุคแรก รวมถึงยังเป็นผู้ค้นพบเชื้อก่อโรคใหม่อีก 50 ชนิด และเป็นผู้พยากรณ์วิธีใหม่ในการย้อมสีแบคทีเรียและฟังไจ[4] บาเบชเป็นผู้นำเสนอการฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าและก่อตั้งการรักษาด้วยเซรุ่มขึ้นในโรมาเนีย[1]
ชื่อของเขาได้รับเกียรตินำไปตั้งเป็นชื่อของมหาวิทยาลัยบาเบช-โบยอยีในกลุฌ-นาปอกา และมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์และเภสัชศาสตร์วิกตอร์ บาเบช ในตีมีชออารา ประเทศโรมาเนีย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Biografie Dr. Victor Babeș". Dr. Victor Babeș Medical Diagnostic and Treatment Center.
- ↑ Dan Falcan. "Victor Babeș și "Nobelul" ratat al României". Historia.ro. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-19. สืบค้นเมื่อ 2023-01-15.
- ↑ Cătalina Coclitu (4 September 2007). "Victor Babeș". MedicalStudent.ro.
- ↑ "Babes, parintele a 50 de microorganisme". jurnalul.ro. 18 October 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 December 2015. สืบค้นเมื่อ 29 November 2015.