ลำตัว
ลำตัว (Torso หรือ trunk) เป็นศัพท์ที่เรียกส่วนตรงกลางของร่างกายสัตว์หลายชนิด (รวมถึงมนุษย์) ซึ่งมีรยางค์และลำคอที่ยื่นออกไป ลำตัวประกอบด้วยอก (thorax) และท้อง (abdomen)
กายวิภาคศาสตร์
[แก้]อวัยวะที่สำคัญ
[แก้]อวัยวะที่สำคัญหลายชิ้นอยู่ภายในลำตัว ในช่องอกจะมีหัวใจและปอดซึ่งมีกระดูกซี่โครงคอยปกป้องอยู่ และส่วนช่องท้องจะมีอวัยวะที่สำคัญต่อการย่อยอาหาร เช่น ตับทำหน้าที่ผลิตน้ำดีซึ่งมีประโยชน์ในการช่วยย่อยอาหาร ลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ซึ่งทำหน้าที่ดูดซึมสารอาหาร ทวารหนักซึ่งทำหน้าที่ขับถ่ายอุจจาระ ไส้ตรง (rectum) ทำหน้าที่กักอุจจาระก่อนขับถ่าย ถุงน้ำดีซึ่งเก็บน้ำดีและช่วยให้น้ำดีเข้มข้นขึ้น ท่อไต (ureter) เป็นทางผ่านของปัสสาวะไปยังกระเพาะปัสสาวะที่ทำหน้าที่เก็บปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ (urethra) ซึ่งเป็นทางผ่านของปัสสาวะและน้ำอสุจิผ่านถุงน้ำอสุจิ (seminal vesicle) และเชิงกรานซึ่งเป็นที่อยู่ของอวัยวะเพศชายและหญิง
กลุ่มกล้ามเนื้อหลัก
[แก้]ลำตัวเป็นที่อยู่ของกล้ามเนื้อกลุ่มสำคัญๆ ของร่างกาย เช่น
- กลุ่มกล้ามเนื้อหน้าอก (pectoral muscles)
- กลุ่มกล้ามเนื้อท้อง (abdominal muscles)
- กล้ามเนื้อแลททิสซิมุส ดอร์ไซ (lateral muscle)
เส้นประสาทที่เลี้ยง
[แก้]อวัยวะและกล้ามเนื้อต่างๆ ถูกเลี้ยงด้วยเส้นประสาทหลายเส้น ซึ่งส่วนใหญ่มาจากเส้นประสาทกระดูกสันหลังส่วนอก ตัวอย่างเช่นเส้นประสาทชั้นผิวหนังมาจาก
- แขนงประสาทผิวหนังด้านท้อง (Ventral cutaneous branches)
- แขนงประสาทผิวหนังด้านข้าง (Lateral cutaneous branches)
- แขนงประสาทผิวหนังด้านหลัง (Dorsal cutaneous branches)