ข้ามไปเนื้อหา

ลัทธิสัญลักษณ์นิยม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
“ความตายของคนขุดหลุมศพ” (La mort du fossoyeur) โดย คาร์ลอส ชวอบ เป็นภาพที่แสดงความตาย และ เทวดา, หิมะที่ยังใหม่, และการวางท่าของตัวแบบที่แสดงความต้องการในการแปรจากความเป็นปัจจุบันไปสู่ดินแดนอื่น (transfiguration)
การประชุมสุดยอด ผลงานชิ้นเอกของ Cesare Saccaggi จาก Tortona ซึ่งเป็นงานจิตรกรรมสัญลักษณ์ของอิตาลี
การประชุมสุดยอด ผลงานชิ้นเอกของ Cesare Saccaggi จาก Tortona ซึ่งเป็นงานจิตรกรรมสัญลักษณ์ของอิตาลี

ลัทธิสัญลักษณ์นิยม (ภาษาอังกฤษ: Symbolism in arts) คือขบวนการทางศิลปะที่เกิดขึ้นในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่มาจากฝรั่งเศสและเบลเยียมในการเขียนกวีนิพนธ์และการสร้างศิลปะอื่นๆ

ที่มา

[แก้]

ลัทธิสัญลักษณ์นิยมเป็นปฏิกิริยาต่อลัทธิธรรมชาตินิยม (Naturalism) และ ลัทธิสัจจะนิยม (Realism) เป็นขบวนการที่ต่อต้านขบวนการอุดมคตินิยมที่พยายามจับความเป็นจริงอย่างละเอียดละออและพยายามยกระดับความธรรมดาขึ้นมาเหนืออุดมการณ์ ขบวนการเหล่านี้สนับสนุนความคิดทางเจตภาพ (spirituality), ทางจินตนาการ และทางความฝัน ทางที่นำไปสู่สัญลักษณ์นิยมเริ่มด้วยปฏิกิริยา[1] นักเขียนบางคนเช่นยอรีส-คาร์ล อุยสมองส (Joris-Karl Huysmans) เริ่มด้วยการเป็นนักธรรมชาตินิยมก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นนักสัญลักษณ์นิยม การเปลี่ยนแปลงของอุยสมองสมาจากความตื่นตัวในความสนใจทางศาสนาและทางเจตนิยม

ในวรรณคดีขบวนการมีรากฐานมาจาก “ดอกไม้แห่งความชั่วร้าย” (Les Fleurs du mal) ที่เขียนในปี ค.ศ. 1857 โดยชาร์ลส์ โบเดอแลร์ (Charles Baudelaire). การวิวัฒนาการดำเนินต่อมาโดยสเตฟแฟน มาล์ลาร์เม (Stéphane Mallarmé) และพอล แวร์แลน (Paul Verlaine) ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1860 และ 1870 ต่อมาในคริสต์ทศวรรษ 1880 ขบวนการก็แสดงออกด้วยการออกคำแถลงอุดมการณ์และการสร้างความนิยมในหมู่นักเขียนในยุคนั้น งานของเอ็ดการ์ แอลเล็น โป (Edgar Allan Poe) ผู้โบเดอแลร์ชื่นชมและแปลงานเป็นภาษาฝรั่งเศส มีอิทธิพลต่อและเป็นแหล่งของภาพพจน์ต่างๆ สาหรับผู้ติดตามขบวนการนี้

สัญลักษณ์นิยมของศิลปะแตกต่างจากขบวนการทางวรรณกรรมตรงที่ สัญลักษณ์นิยมของศิลปะแตกมาจากทางด้านกอธิคของศิลปะจินตนิยม แต่จินตนิยมเป็นศิลปะที่เต็มไปด้วยอารมณ์และการมีปฏิกิริยาต่อสิ่งต่างๆ และสัญลักษณ์นิยมเป็นศิลปะที่คงที่และขลัง

อ้างอิง

[แก้]
  1. Balakian, Anna, The Symbolist Movement: a critical appraisal. Random House, 1967, ch. 2

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ภาพเขียนแบบสัญลักษณ์นิยม