ราชอาณาจักรฮาวาย
ราชอาณาจักรฮาวาย Aupuni Mōʻī o Hawaiʻi | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 1795–ค.ศ. 1893 | |||||||||||||
เพลงชาติ: ก็อดเซฟเดอะควีน (till 1860) E Ola Ke Aliʻi Ke Akua (1860–1866) He Mele Lāhui Hawaiʻi (1866–1876) Hawaiʻi Ponoʻi (1876–1898) | |||||||||||||
ราชอาณาจักรฮาวาย | |||||||||||||
เมืองหลวง | วาอิกิกิ (1795–1796) ฮิโล (1796–1803) โฮโนลูลู (1803–1812) คาอิลูอา (1812–1820) ลาฮาอินา (1820–1845) โฮโนลูลู (1845–1893) | ||||||||||||
ภาษาทั่วไป | ภาษาฮาวาย ภาษาอังกฤษ | ||||||||||||
ศาสนา | ความเชื่อพื้นเมือง คริสต์ | ||||||||||||
การปกครอง | สมบูรณาญาสิทธิราชย์ (จนกระทั่ง ค.ศ. 1840) ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (ตั้งแต่ ค.ศ. 1840) | ||||||||||||
พระมหากษัตริย์ | |||||||||||||
• 1795–1819 | พระเจ้าคาเมฮาเมฮาที่ 1 (พระองค์แรก) | ||||||||||||
• 1891–1893 | สมเด็จพระราชินีนาถลีลีโอกาลานี (พระองค์สุดท้าย) | ||||||||||||
คูฮินา นูอิ | |||||||||||||
• ค.ศ. 1819–1832 | คาอาฮูมานู (คนแรก) | ||||||||||||
• ค.ศ. 1863–1864 | เคคูอานาโออา (คนสุดท้าย) | ||||||||||||
สภานิติบัญญัติ | สภานิติบัญญัติ | ||||||||||||
• สภาสูง | สภาขุนนาง | ||||||||||||
• สภาล่าง | สภาผู้แทนราษฎร | ||||||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||||||
• เริ่มต้น | พฤษภาคม ค.ศ. 1795 | ||||||||||||
• การรวมกัน | พฤษภาคม ค.ศ. 1810 | ||||||||||||
8 ตุลาคม ค.ศ. 1840 | |||||||||||||
25 กุมภาพันธ์ – 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1843 | |||||||||||||
17 มกราคม ค.ศ. 1893 | |||||||||||||
• ล่มสลาย | 24 มกราคม ค.ศ. 1895 | ||||||||||||
ประชากร | |||||||||||||
• ค.ศ. 1800 | 250,000 | ||||||||||||
• ค.ศ. 1832 | 130,313 | ||||||||||||
• ค.ศ. 1890 | 89,990 | ||||||||||||
สกุลเงิน | ดอลลาร์ฮาวาย ดอลลาร์สหรัฐ | ||||||||||||
|
ราชอาณาจักรฮาวาย (อังกฤษ: Kingdom of Hawaii) เป็นราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่บนหมู่เกาะฮาวาย ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณปี ค.ศ. 1795 และล่มสลายไปประมาณปี ค.ศ. 1893 - 1894
ประวัติ
[แก้]ราชอาณาจักรฮาวายก่อตั้งขึ้นโดย พระเจ้าคาเมฮาเมฮามหาราช หลังจากที่พระองค์ทรงชนะสงครามที่ยาวนานถึง 15 ปี พระองค์ได้ปราบดาภิเษกตนขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรก พระองค์ก่อตั้งอาณาจักรภายใต้การช่วยเหลือของและการสนับสนุนโดยจอห์น ยังและไอแซก เดวิส[1] แม้ว่าพระองค์จะทรงประสบความสำเร็จในการทำสงคราม แต่พระองค์ก็ไม่สามารถเอาชนะเกาะคาอูไอได้ เนื่องจากกองทัพของพระองค์ประสบกับปัญหาต่าง ๆ มากมาย ทั้งพายุ และภัยพิบัติต่าง ๆ แต่ในที่สุดชาวเกาะคาอูไอได้ปฏิญาณว่าจะจงรักภักดีต่อพระองค์ ทำให้ฮาวายถูกรวบรวมได้สำเร็จ หมู่เกาะฮาวายจึงเปลี่ยนผ่านจากยุคโบราณมาเป็นยุคที่เริ่มมีการจัดระบบระเบียบในสังคม
ราชวงศ์คาเมฮาเมฮา
[แก้]ช่วงเวลาตั้งแต่ ค.ศ. 1810 ถึง ค.ศ. 1893 ราชอาณาจักรฮาวายปกครองโดยราชวงศ์ 2 ราชวงศ์ ราชวงศ์คาเมฮาเมฮา และ ราชวงศ์คาลาคาอัว หลังจากพระเจ้าคาเมฮาเมฮาที่ 1 สวรรคต พระเจ้าคาเมฮาเมฮาที่ 2 พระเจ้าคาเมฮาเมฮาที่ 3 ซึ่งเป็นพระราชโอรสก็ทรงปกครองฮาวายต่อมาตามลำดับ ช่วงเวลานี้สมเด็จพระราชินีลิโฮลิโฮ พระอัครมเหสีในพระเจ้าคาเมฮาเมฮาที่ 1 ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการ และมีคูฮินา นูอิทำหน้าที่เป็นหัวหน้ารัฐบาลคล้ายกับนายกรัฐมนตรี
ราชวงศ์คาลาคาอัว
[แก้]พระเจ้าลูนาลิโลแห่งฮาวาย ทรงไม่มีรัชทายาท รัฐสภาจึงต้องเลือกระหว่างสมเด็จพระราชินีเอ็มมา นาเอ รูก พระราชินีในพระเจ้าคาเมฮาเมฮาที่ 4 กับเดวิด คาลาคาอัว ในระหว่างการตัดสินนั้นเกิดเหตุการณ์วุ่นวายขึ้นมากมาย จนในที่สุดเดวิด คาลาคาอัวก็ได้ครองราชย์บัลลังก์ฮาวาย ทรงพระนามว่า "พระเจ้าคาลาคาอัวที่ 1 แห่งฮาวาย"
เพื่อให้สถาบันพระมหากษัตริย์มั่นคงพระองค์จึงต้องประกาศรัชทายาท พระองค์จึงแต่งตั้งให้เจ้าหญิงลีลีโอกาลานีพระขนิษฐาของพระองค์ให้เป็นรัชทายาทสืบบัลลังก์
การล้มล้างราชอาณาจักรฮาวาย
[แก้]หลังจากที่สมเด็จพระราชินีนาถลีลีโอกาลานีแห่งฮาวาย นักธุรกิจชาวยุโรปและชาวอเมริกันส่วนใหญ่ไม่พอใจการปกครองของพระองค์ เนื่องจากพวกเขาต้องการผนวกฮาวายเป็นส่วนหนึ่งกับสหรัฐอเมริกาเพื่อที่จะได้กอบโกยผลประโยชน์จากการค้าน้ำตาลในฮาวาย[2][3][4][5]
พวกเขาเริ่มกระบวนการการผนวกฮาวาย โดยเริ่มจากการจัดตั้ง "คณะกรรมาธิการความปลอดภัย" ขึ้น เพื่อสู้กับพระราชินี จนในที่สุดสหรัฐก็ส่งนาวิกโยธินและกองทัพเรือมาเพื่อยึดฮาวาย ทำให้พระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ฮาวายไม่มีทางต่อต้าน[6]
การปฏิวัติฮาวาย
[แก้]17 กรกฎาคม ค.ศ. 1893 แซนฟอร์ด บี ดอลและคนของเขาได้ประกาศจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลฮาวายขึ้น เพื่อปกครองฮาวายจนกว่าจะถูกผนวกเข้ากับสหรัฐอเมริกา พวกเขาจับกุมพระราชินีและพระราชวงศ์ และสั่งจำคุก จากนั้นก็ประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐฮาวาย
การผนวกฮาวายรวมเข้ากับสหรัฐอเมริกา
[แก้]ในปี ค.ศ. 1898 ฮาวายก็ได้รับการอนุมัติว่าเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นทางการในสมัยประธานาธิบดีวิลเลียม แมกคินลีย์ นับเป็นการสิ้นสุดอย่างเป็นทางการของราชอาณาจักรฮาวาย[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Lawrence, Mary S. (1912). Old Time Hawiians and Their Works. Gin and Company. p. 127. ISBN 978-1-146-32462-5.
- ↑ Kinzer, Stephen. (2006). Overthrow: America's Century of Regime Change from Hawaii to Iraq.
- ↑ Stevens, Sylvester K. (1968) American Expansion in Hawaii, 1842–1898. New York: Russell & Russell. (p. 228)
- ↑ Dougherty, Michael. (1992). To Steal a Kingdom: Probing Hawaiian History. (p. 167-168)
- ↑ La Croix, Sumner and Christopher Grandy. (March 1997). "The Political Instability of Reciprocal Trade and the Overthrow of the Hawaiian Kingdom" in The Journal of Economic History 57:161–189.
- ↑ Russ, William Adam (1992) [1959]. The Hawaiian Revolution (1893–94). Susquehanna University Press. ISBN 978-0-945636-43-4.
- ↑ Overthrow: America's Century of Regime Change From Hawaii to Iraq by Stephen Kinzer, 2006