ข้ามไปเนื้อหา

รางวัลออสการ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อะแคเดมีอะวอดส์
ปัจจุบัน: งานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 96
รูปปั้นรางวัลอะแคเดมี ("ออสการ์")
รางวัลสำหรับรางวัลแห่งความเป็นเลิศในอเมริกันและนานาชาติต่ออุตสาหกรรมภาพยนตร์
ประเทศสหรัฐอเมริกา
จัดโดยสถาบันศิลปะภาพยนตร์และวิทยาการ
รางวัลแรก16 พฤษภาคม 1929; 95 ปีก่อน (1929-05-16)
เว็บไซต์oscar.go.com
ผู้ชนะรางวัลออสการ์ล่าสุด
← 2021 ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมในปี 2022 2023 →
 
สาขา นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม
ผู้ชนะ เบรนแดน เฟรเซอร์
(เหงา เท่า วาฬ)
มิเชล โหย่ว
(ซือเจ๊ทะลุมัลติเวิร์ส)
 
สาขา นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม
ผู้ชนะ คี ฮุย ควน
(ซือเจ๊ทะลุมัลติเวิร์ส)
เจมี ลี เคอร์ติส
(ซือเจ๊ทะลุมัลติเวิร์ส)
 
สาขา ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
ผู้ชนะ แดเนียล กวัน, แดเนียล ไชเนิร์ท
(ซือเจ๊ทะลุมัลติเวิร์ส)

ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมก่อนหน้านี้

โคด้า หัวใจไม่ไร้เสียง

ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม

ซือเจ๊ทะลุมัลติเวิร์ส

อะแคเดมีอะวอดส์ (อังกฤษ: Academy Award; "รางวัลสถาบัน") หรือรู้จักกันในชื่อ รางวัลออสการ์ (อังกฤษ: Oscar)[1] เป็นรางวัลสำหรับความสำเร็จในด้านศิลปะและด้านเทคนิคในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ จัดเป็นประจำทุกปีโดยสถาบันแห่งศิลปะและวิทยาการภาพยนตร์ (AMPAS) เพื่อยกย่องความเป็นเลิศในด้านความสำเร็จของภาพยนตร์ ซึ่งประเมินโดยการลงคะแนนเสียงจากสมาชิกของสถาบัน[2] รางวัลออสการ์ได้รับการยกย่องว่าเป็นรางวัลอันทรงเกียรติและมีความสำคัญมากที่สุดในอุตสาหกรรมบันเทิงของสหรัฐและทั่วโลก[3][4][5] รูปปั้นออสการ์มีลักษณะเป็นอัศวินในรูปแบบอาร์ตเดโค[6]

สำหรับรางวัลหลักจะถูกนำเสนอในระหว่างการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ของฮอลลีวูด ซึ่งโดยทั่วไปมักจัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม รางวัลออสการ์นับเป็นงานประกาศผลรางวัลความบันเทิงระดับโลกที่เก่าแก่ที่สุด[7] งานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 1 จัดขึ้นในปี 1929[8] ส่วนครั้งที่ 2 ในปี 1930 เป็นการออกอากาศครั้งแรกทางวิทยุ และครั้งที่ 25 ในปี 1953 เป็นการออกอากาศครั้งแรกทางโทรทัศน์[7] รางวัลออสการ์อยู่ในสี่รางวัลหลักด้านความบันเทิงอเมริกันที่เก่าแก่ที่สุด เทียบเท่ากับรางวัลเอมมีทางโทรทัศน์, รางวัลโทนีทางละครเวที และรางวัลแกรมมีทางดนตรี ซึ่งล้วนได้ต้นแบบมาจากรางวัลออสการ์[9]

ประวัติ

[แก้]

พีธีมอบรางวัลออสการ์ครั้งแรกจัดขึ้นเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 1929 ในงานเลี้ยงอาหารค่ำส่วนตัวที่โรงแรมเดอะฮอลลีวูดโรสเวลต์ ซึ่งมีผู้ชมโดยประมาณ 270 คน ค่าบัตรเข้าชมอยู่ที่ 5 ดอลลาร์ (85 ดอลลาร์ในราคาปี 2020) [10]

งานเลี้ยงหลังมอบรางวัลจัดขึ้นที่โรงแรมเมย์แฟร์[11][7] มีการมอบรูปปั้นจำนวนสิบห้ารางวัลเพื่อยกย่องศิลปิน ผู้กำกับ และผู้เข้าร่วมคนอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมการสร้างภาพยนตร์ในยุคนั้น สำหรับผลงานในช่วงปี 1927–28 โดยพิธีมอบรางวัลดำเนินเป็นเวลา 15 นาที

สำหรับพีธีมอบรางวัลครั้งแรกนี้ ผู้ชนะได้รับการประกาศผ่านสื่อมวลชนก่อนหน้านั้นสามเดือน สำหรับพีธีมอบรางวัลครั้งที่สองในปี 1930 และตลอดทศวรรษแรกได้รับการประกาศผ่านหนังสือพิมพ์ในเวลา 23.00 น. ของคืนวันมอบรางวัล[7] ต่อมาในปี 1940 หนังสือพิมพ์ ลอสแอนเจลิสไทมส์ ได้ประกาศผู้ชนะก่อนเริ่มต้นพิธี เป็นผลให้ในปีต่อมารางวัลจึงเริ่มใช้ซองปิดผนึกเพื่อเปิดเผยรายชื่อผู้ชนะแทน[7]

คำว่า "ออสการ์" เป็นเครื่องหมายการค้าของ AMPAS อย่างไรก็ตามในภาษาอิตาลี โดยทั่วไปใช้กล่าวถึงรางวัลหรือพิธีมอบรางวัล โดยไม่คำนึงถึงสาขาใดสาขาหนึ่ง[12][13]

รูปปั้น

[แก้]

ลักษณะ

[แก้]

รูปปั้นมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า Academy Award of Merit เป็นรูปอัศวินถือดาบครูเสดเอาปลายแหลมลงดิน ยืนบนม้วนแผ่นฟิล์ม สูง 13 นิ้วครึ่ง (34 เซนติเมตร) หนัก 8 ปอนด์ครึ่ง (3.85 กิโลกรัม) ทำจากบริทานเนียมชุบด้วยทองคำบนฐานโลหะสีดำ ออกแบบโดย Cedric Gibbons ตรงส่วนฐานที่เป็นม้วนแผ่นฟิล์มนั่นจะเป็นที่จารึก 5 สาขาดั้งเดิมของรางวัลออสการ์ อันประกอบไปด้วย นักแสดง เขียนบท กำกับการแสดง อำนวยการสร้าง และด้านเทคนิค

การออกแบบ

[แก้]

Cedric Gibbons ซึ่งเป็นผู้กำกับศิลป์ของเอ็มจีเอ็มและเป็นหนึ่งในสมาชิกเก่าแก่ของออสการ์ เป็นผู้ออกแบบรูปปั้นรางวัลออสการ์ Cedric ได้ใช้เรือนร่างเปลือยของนักแสดงเม็กซิโกคนหนึ่งที่ Dolores del Río ผู้เป็นภรรยาของเขาได้แนะนำให้รู้จัก ชื่อว่า Emilio Fernández เป็นแบบในการทำรูปปั้น โดยมี George Stanley เป็นผู้ร่างแบบบนดินเหนียว และมี Sachin Smith เป็นผู้หล่อรูปปั้นโดยใช้ส่วนประกอบ ดีบุก 92.5% ทองแดง 7.5% และชุบด้วยทองคำ โดยในส่วนฐานของรูปปั้นได้เพิ่มเข้ามาในภายหลัง แต่เดิมฐานจะทำจากหินอ่อน ในปีค.ศ. 1945 จึงเปลี่ยนเป็นโลหะ

แม่พิมพ์ต้นฉบับของรูปปั้นออสการ์ทำขึ้นในปีค.ศ. 1928 ที่ C.W. Shumway & Sons Foundry ในบาทาเวีย รัฐอิลลินอย ซึ่งแม่พิมพ์ของถ้วยรางวัลเอมมีและรางวัล Vince Lombardi Trophy ก็ทำขึ้นจากที่นี่เช่นเดียวกัน ในแต่ละปีรูปปั้นรางวัลออสการ์จำนวนประมาณ 40 อัน จะทำขึ้นที่ชิคาโก โดยบริษัท R.S. Owens หากมีรูปปั้นใดทำออกมาแล้วไม่มีคุณภาพ รูปปั้นนั้นจะถูกตัดเป็นสองท่อนแล้วนำไปหลอมละลาย ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 รูปปั้นรางวัลออสการ์ที่มอบให้กับผู้รับรางวัลจะทำจากปูนปลาสเตอร์ โดยจะให้รูปปั้นที่ทำจากทองคำหลังสงครามสิ้นสุด

ที่มาของชื่อ

[แก้]

ที่มาของคำว่า ออสการ์ นั้นยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ กรณีแรก ในชีวประวัติของนักแสดงหญิงรางวัลออสการ์ชื่อ Bette Davis ได้อ้างว่าเธอเป็นผู้ตั้งชื่อให้กับรูปปั้นนี้ เนื่องจากด้านหลังของรูปปั้นนั้นดูคล้ายของสามีคนแรกของเธอที่ชื่อ Harmon Oscar Nelson เธอจึงใช้ชื่อกลางของเขาตั้งชื่อรูปปั้นว่า ออสการ์[14] ทางด้านนิตยสารไทม์ได้มีการกล่าวถึงคำว่า ออสการ์ ในบทความที่เกี่ยวกับงานประกาศผลอคาเดมีอวอร์ดสครั้งที่ 6 ในปี ค.ศ. 1934[15] และกล่าวถึงการรับรางวัลของ Bette Davis ในปี ค.ศ. 1936[16] นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงวอลต์ ดิสนีย์ ว่าเขาได้ขอบคุณอคาเดมีสำหรับรางวัลออสการ์ของเขาในต้นปี ค.ศ. 1932

กรณีที่สอง ได้มีการอ้างว่า Margaret Herrick เลขานุการผู้บริหารของอคาเดมี เป็นผู้ตั้งชื่อให้กับรูปปั้นนี้[17] ในปี ค.ศ. 1931 เธอเป็นคนแรกที่ได้เห็นถ้วยรางวัล เนื่องจากรูปปั้นนี้มีลักษณะคล้ายลุงของเธอ เธอจึงตั้งชื่อรูปปั้นนี้ตามชื่อลุงของเธอว่า ออสการ์ อย่างไรก็ตามทั้งคำว่า ออสการ์ และ อคาเดมีอวอร์ดส ต่างก็เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของสถาบันนี้

คืนวันมอบรางวัล

[แก้]

เป็นการถ่ายทอดสด โดยมากจะจัดหลังจากประกาศผู้เข้าชิงรางวัล 6 สัปดาห์ ดารานักร้องที่เข้าร่วมงานมักจะเดินบนพรมแดง แต่งชุดอย่างสวยงาม ถือเป็นอีกหนึ่งไฮไลท์ของงาน นอกจากมีการมอบรางวัลต่าง ๆ ยังมีการแสดงเพลงจากผู้เข้าชิงรางวัลในสาขาเพลง มีการประมาณการว่า มีผู้ชมกว่า 1,000 ล้านคนทั่วโลก(ในปี 2546) ตัวงานได้แพร่ภาพออกทางโทรทัศน์ ในปี พ.ศ. 2496 ทางสถานี NBC จากนั้นจึงเปลี่ยนมือเป็นสถานี ABC ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519

รางวัลทั่วไป

[แก้]

ในปีค.ศ. 1949 ทางสถาบันได้เริ่มนับจำนวนรางวัลที่ได้มอบไป โดยเริ่มนับอย่างเป็นทางการที่รางวัลที่ 501[17] ตั้งแต่งานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 1 จนถึงครั้งที่ 80 ได้มีการมอบรางวัลออสการ์ไปแล้ว 2,701 รางวัล[18] และมีนักแสดงที่ได้รับรางวัล รวมทั้งผู้ที่ได้รับรางวัลเกียรติยศและรางวัลนักแสดงเยาวชน เป็นจำนวนทั้งสิ้น 293 คน

สาขารางวัลในปัจจุบัน

[แก้]

รางวัลต่าง ๆ ในปัจจุบันมีทั้งสิ้น 23 สาขา รางวัลใหญ่มี 5 รางวัล (Big Five) ได้แก่ รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (Best Picture), รางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยม (Best Director), รางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (Best Actor), รางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (Best Actress) และ รางวัลบทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม (Best Adapted Screenplay)

ประเภทการสร้าง


ประเภทนักแสดง


ประเภทเทคนิคการถ่ายทำ
  • กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม (Best Art Direction) – มีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2471 ถึงปัจจุบัน
  • กำกับภาพยอดเยี่ยม (Best Cinematography) – มีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2471 ถึงปัจจุบัน
  • ตัดต่อภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (Best Film Editing) – มีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2478 ถึงปัจจุบัน


ประเภทเสียงและเทคนิคสมจริง
  • เทคนิคสมจริงยอดเยี่ยม (Best Visual Effects) – มีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2482 ถึงปัจจุบัน
  • กำกับเสียงยอดเยี่ยม (Best Sound) – มีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2473 ถึงปัจจุบัน *เมื่อปี 2021 ทางสถาบันและวิทยาการทางภาพยนตร์ หรือ ออสการ์ ได้รวมสาขาบันทึกเสียง และ ลำดับเสียง เข้าด้วยกันเป็นสาขาเดียว*


ประเภทดนตรี
  • เพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (Best Original Song) – มีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2477 ถึงปัจจุบัน
  • ดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (Best Original Score) – มีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2477 ถึงปัจจุบัน


ประเภทเครื่องแต่งกายและแต่งหน้า
  • ออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม (Best Costume Design) – มีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2491 ถึงปัจจุบัน
  • แต่งหน้ายอดเยี่ยม (Best Makeup) – มีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 ถึงปัจจุบัน


ประเภทแอนิเมชั่น
  • ภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม (Best Animated Feature) – มีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 ถึงปัจจุบัน
  • ภาพยนตร์แอนิเมชันสั้นยอดเยี่ยม (Best Animated Short Film) – มีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2474 ถึงปัจจุบัน


ประเภทสารคดี
  • ภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยม (Best Documentary Feature)
  • ภาพยนตร์สารคดีสั้นยอดเยี่ยม (Best Documentary Short Subject)


ประเภทอื่น ๆ

รางวัลที่ถูกยกเลิกไปแล้ว

[แก้]
  • ผู้ช่วยผู้กำกับยอดเยี่ยม (Best Assistant Director)

มีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 ถึงพ.ศ. 2480 ในปีแรกของการให้รางวัล (พ.ศ. 2476) มีผู้ได้รับรางวัล 7 คน จากผู้เข้าชิง 18 คน โดยไม่มีการอ้างถึงภาพยนตร์ที่กำกับโดยผู้เข้าชิงนั้น ๆ แต่ในปีต่อ ๆ มาก็ได้อ้างถึงภาพยนตร์ของผู้เข้าชิงด้วย จนกระทั่งปีพ.ศ. 2480 รางวัลนี้ก็ถูกยกเลิกไป

  • ท่าเต้นยอดเยี่ยม (Best Dance Direction)

มีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2478 ถึงพ.ศ. 2480

  • เทคนิคทางวิศวกรรมยอดเยี่ยม (Best Engineering Effects)

มีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2470 ถึงพ.ศ. 2471 รางวัลนี้มอบเพียงสองปีเท่านั้น หลังจากนั้นก็มีการมอบรางวัลบันทึกเสียงยอดเยี่ยม (Best Sound Recording) แทน

  • ดนตรีดัดแปลงหรือดั้งเดิมยอดเยี่ยม (Best Score—Adaptation or Treatment)
  • ดนตรีประกอบประเภทภาพยนตร์เพลงหรือตลกยอดเยี่ยม (Best Original Musical or Comedy Score)

มีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ถึงพ.ศ. 2546

  • ภาพยนตร์สั้นประเภทสียอดเยี่ยม (Best Short Film—Color)

มีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2479 ถึงพ.ศ. 2480

  • ภาพยนตร์สั้นประเภทเหตุการณ์ขนาด 2 ฟิล์มยอดเยี่ยม (Best Short Film—Live Action—2 Reels)

มีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2479 ถึงพ.ศ. 2499

  • ภาพยนตร์สั้นประเภทใหม่ (Best Short Film—Novelty)

มีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 ถึงพ.ศ. 2478

  • เรื่องราวดั้งเดิมยอดเยี่ยม (Best Original Story)

มีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2470 ถึงพ.ศ. 2499 รางวัลนี้ถูกยกเลิกไปเนื่องจากเห็นว่าซ้ำซ้อนกับรางวัลบทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยมที่มีการมอบตั้งแต่พ.ศ. 2483

  • การสร้างที่พิเศษและมีศิลปะยอดเยี่ยม (Best Unique and Artistic Quality of Production)

มีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2470 ถึงพ.ศ. 2471 รางวัลนี้มีการมอบเฉพาะในครั้งแรกเท่านั้น แล้วถูกยกเลิกในครั้งต่อมา เนื่องจากเห็นว่าซ้ำซ้อนกับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม

  • การเขียนบทยอดเยี่ยม (Best Title Writing)

มีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2470 ถึงพ.ศ. 2471 รางวัลนี้มอบสำหรับภาพยนตร์ใบ้ที่มีการเขียนบทได้ยอดเยี่ยม เนื่องจากในสมัยดังกล่าวภาพยนตร์ยังไม่มีเสียง การอธิบายบทสนทนาของตัวละครจึงใช้วิธีแทรกไว้ระหว่างฉากการแสดง

  • อื่น ๆ

ในช่วงแรกของการให้รางวัล รางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยมจะถูกแบ่งออกเป็นประเภทภาพยนตร์ดรามาและภาพยนตร์ตลก ส่วนรางวัลบทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยมจะถูกแบ่งออกเป็นประเภทภาพยนตร์ดรามาและภาพยนตร์เพลงหรือตลก ซึ่งปัจจุบันได้รวมเหลือรางวัลเดียว คือ รางวัลบทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยม

นอกจากนี้ ช่วงปีพ.ศ. 2473 - 2503 รางวัลกำกับภาพยอดเยี่ยม รางวัลกำกับศิลป์ยอดเยี่ยม และรางวัลออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม ยังถูกแบ่งออกเป็นประเภทภาพยนตร์สีและภาพยนตร์ขาวดำ

รางวัลที่ไม่ผ่านการพิจารณา

[แก้]

ในแต่ละปีคณะกรรมการออสการ์จะพิจารณารางวัลสาขาใหม่ที่เสนอเข้ามา จวบจนปัจจุบัน มีรางวัลดังต่อไปนี้ที่ไม่ผ่านการพิจารณา

  • คัดเลือกนักแสดงยอดเยี่ยม (Best Casting) – ไม่ผ่านการพิจารณาในปีพ.ศ. 2542
  • ประสานงานการแสดงแทนยอดเยี่ยม (Best Stunt Coordination) – ไม่ผ่านการพิจารณาในปีพ.ศ. 2542 และพ.ศ. 2548
  • ออกแบบไตเติ้ลยอดเยี่ยม (Best Title Design) – ไม่ผ่านการพิจารณาในปีพ.ศ. 2542

รางวัลพิเศษ

[แก้]

รางวัลพิเศษในปัจจุบัน

[แก้]
  • รางวัลเกียรติยศ (Academy Honorary Award) มอบแด่ผู้มีผลงานดีเด่นในวงการ – มีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2471 ถึงปัจจุบัน
  • รางวัลความสำเร็จเกียรติยศ (Academy Special Achievement Award) มอบแด่ผู้มีผลงานดีเด่นในวงการ
  • รางวัลความสำเร็จทางเทคนิค และ วิทยาศาสตร์ (Academy Award, Scientific or Technical) – มีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2474 ถึงปัจจุบัน
  • รางวัลเอิร์ฟวิง จี. ธัลเบิร์ก (The Irving G. Thalberg Memorial Award) สำหรับผู้อำนวยการสร้างดีเด่น – มีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2481 ถึงปัจจุบัน
  • รางวัลมนุษยธรรม ฌีน เฮอร์โชลต์ (The Jean Hersholt Humanitarian Award) สำหรับผู้ทำงานด้านมนุษยธรรม
  • รางวัลกอร์ดอน อี. ซอว์เยอร์ (Gordon E. Sawyer Award) สำหรับผู้ประสบความสำเร็จในด้านเทคนิคการถ่ายทำ

รางวัลพิเศษที่ถูกยกเลิกไปแล้ว

[แก้]
  • รางวัลนักแสดงเยาวชน (Academy Juvenile Award) มอบแด่นักแสดงวัยเยาว์ผู้มีบทบาทการแสดงดีเด่น – มีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2477 ถึง 2503
  • รางวัลแดม เทคโนโลยี (DAM Technology Award) – มีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2479 ถึง 2480

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "AMPAS Drops '85th Academy Awards' – Now It's Just 'The Oscars'". TheWrap. February 19, 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 3, 2016. สืบค้นเมื่อ April 9, 2017.
  2. Feinberg, Scott (January 20, 2020). "Oscars: What the '1917' PGA Win and 'Parasite' SAG Win Mean for Best Picture". The Hollywood Reporter. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 11, 2023. สืบค้นเมื่อ February 5, 2023.
  3. Rao, Sonia (April 16, 2021). "Why do the Oscars matter?". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 19, 2021. สืบค้นเมื่อ May 12, 2021.
  4. Vega, Nicolas (March 26, 2022). "The Oscar statuette is the most prestigious prize in Hollywood—here's why it's only worth $1". CNBC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 5, 2022. สืบค้นเมื่อ April 5, 2022.
  5. "What are the Oscars and Baftas and what's the difference?". BBC. February 26, 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 5, 2022. สืบค้นเมื่อ April 5, 2022.
  6. Nichols, Chris (February 25, 2016). "Meet George Stanley, Sculptor of the Academy Award". Los Angeles Magazine. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 7, 2017. สืบค้นเมื่อ November 6, 2017.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 "History of the Academy Awards". Academy of Motion Picture Arts and Sciences. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 6, 2010.
  8. Essex, Andrew (May 14, 1999). "The Birth of Oscar". Entertainment Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 11, 2013. สืบค้นเมื่อ March 2, 2011.
  9. Monush, Barry (February 9, 2012). "The Lure of Oscar: A Look at the Mightiest of All Award Shows, the Academy Awards". Paley Center for Media. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 16, 2020. สืบค้นเมื่อ October 29, 2019.
  10. "The 1st Academy Awards | 1929". Oscars.org | Academy of Motion Picture Arts and Sciences. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 1, 2019. สืบค้นเมื่อ October 29, 2019.
  11. "The Dunhill Hotel". Virtlo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 19, 2022. สืบค้นเมื่อ March 16, 2022.
  12. "Court: 'Oscar' may be generic term in Italian". The Hollywood Reporter. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 17, 2016.
  13. "Court: Oscar may be generic term in Italian". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 29, 2016.
  14. "Bette Davis biography". The Internet Movie Database. สืบค้นเมื่อ 2007-04-13.
  15. "Oscars" เก็บถาวร 2013-08-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, นิตยสารไทม์, March 26, 1934
  16. "The Oscars, 1936". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-11. สืบค้นเมื่อ 2008-02-17.
  17. 17.0 17.1 OSCAR.com - 80th Annual Academy Awards - Oscar Statuette
  18. "A Brief History of the Oscar". Academy of Motion Picture Arts and Sciences. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-30. สืบค้นเมื่อ 2008-08-04.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]