รัฐนิวเม็กซิโก
รัฐนิวเม็กซิโก State of New Mexico (อังกฤษ) Estado de Nuevo México (สเปน) Yootó Hahoodzo (นาวาโฮ) | |
---|---|
สมญา: ดินแดนมนต์เสน่ห์ | |
คำขวัญ: | |
เพลง: "โอแฟร์นิวเม็กซิโก" (อังกฤษ: O Fair New Mexico) และ "อาซีเอสนูเอโบเมฆิโก" (สเปน: Así Es Nuevo México) | |
แผนที่สหรัฐเน้นรัฐนิวเม็กซิโก | |
ประเทศ | สหรัฐ |
สถานะก่อนเป็นรัฐ | นูเอโบเมฆิโก (1598–1848) ดินแดนนิวเม็กซิโก (1850–1912) |
เข้าร่วมสหรัฐ | 1 มิถุนายน 1912 | (ลำดับที่ 47)
เมืองหลวง | แซนตาเฟ |
เมืองใหญ่สุด | แอลบูเคอร์คี |
มหานครใหญ่สุด | แอลบูเคอร์คี |
การปกครอง | |
• ผู้ว่าการ | มิเชลล์ ลูฮาน กริชัม (ด) |
• รองผู้ว่าการ | ฮาววี มอราลิส (ด) |
สภานิติบัญญัติ | สภานิติบัญญัตินิวเม็กซิโก |
• สภาสูง | วุฒิสภา |
• สภาล่าง | สภาผู้แทนราษฎร |
ฝ่ายตุลาการ | ศาลสูงสุดนิวเม็กซิโก |
สมาชิกวุฒิสภา |
|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร |
|
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 121,591[1] ตร.ไมล์ (314,915 ตร.กม.) |
• พื้นดิน | 121,298[1] ตร.ไมล์ (314,161 ตร.กม.) |
• พื้นน้ำ | 292[1] ตร.ไมล์ (757 ตร.กม.) 0.24% |
อันดับพื้นที่ | อันดับที่ 5 |
ขนาด | |
• ความยาว | 371 ไมล์ (596 กิโลเมตร) |
• ความกว้าง | 344 ไมล์ (552 กิโลเมตร) |
ความสูง | 5,701 ฟุต (1,741 เมตร) |
ความสูงจุดสูงสุด (ยอดเขาวีลเลอร์[2][3]) | 13,161 ฟุต (4,011.4 เมตร) |
ความสูงจุดต่ำสุด (อ่างเก็บน้ำเรดบลัฟฟ์ในเขตรัฐเท็กซัส[3]) | 2,845 ฟุต (868 เมตร) |
ประชากร (2020) | |
• ทั้งหมด | 2,117,522 คน |
• อันดับ | อันดับที่ 36 |
• ความหนาแน่น | 17.2 คน/ตร.ไมล์ (6.62 คน/ตร.กม.) |
• อันดับความหนาแน่น | อันดับที่ 45 |
• ค่ามัธยฐานรายได้ครัวเรือน | 51,945 ดอลลาร์ |
• อันดับรายได้ | อันดับที่ 45 |
ภาษา | |
• ภาษาทางการ | ไม่มี |
• ภาษาพูด | อังกฤษ, สเปน (นิวเม็กซิโก), นาวาโฮ, เคอรีส, ซูนี[4] |
เขตเวลา | |
ทั้งรัฐ | UTC−07:00 (เวลาภูเขา) |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC−06:00 (เวลาออมแสงภูเขา) |
อักษรย่อไปรษณีย์ | NM |
รหัส ISO 3166 | US-NM |
อักษรย่อเดิม | N.M., N.Mex. |
ละติจูด | 31°20′ เหนือ ถึง 37° เหนือ |
ลองจิจูด | 103° ตะวันตก ถึง 109°3′ ตะวันตก |
เว็บไซต์ | www |
นิวเม็กซิโก (อังกฤษ: New Mexico, ออกเสียง: /ˌn(j)uː ˈmeksɪkoʊ/; สเปน: Nuevo México, ออกเสียง: [ˈnweβo ˈmexiko] ( ฟังเสียง); นาวาโฮ: Yootó Hahoodzo, ออกเสียง: [jòːtʰó hɑ̀hòːtsò]) เป็นรัฐหนึ่งทางตอนตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐ ติดกับประเทศเม็กซิโก เมืองหลวงของรัฐคือแซนตาเฟ โดยมีเมืองที่ใหญ่ที่สุดคือแอลบูเคอร์คี ถึงแม้ว่าในสหรัฐ ภาษาอังกฤษนิยมใช้กันมากที่สุด แต่รัฐนิวเม็กซิโกเป็นรัฐที่มีการใช้ภาษาสเปนมากที่สุดรัฐหนึ่งในสหรัฐ โดยประชากรในรัฐประกอบด้วยชาวอเมริกัน ชาวสเปน และชาวเม็กซิโก ใน ค.ศ. 2007 นิวเม็กซิโกมีประชากร 1,969,915 คน[5]
นิวเม็กซิโกเป็นรัฐที่มีเนื้อที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ในบรรดา 50 รัฐของประเทศ แต่มีประชากรเพียง 2.1 ล้านคน[6] และอยู่ในอันดับที่ 36 ของจำนวนประชากรและอันดับที่ 46 ในด้านความหนาแน่นของประชากร[7] และเป็นบริเวณที่มีสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศหลากหลายมากที่สุดแห่งหนึ่งในสหรัฐ[8][9] บริเวณตอนเหนือและตะวันออกมีภูมิอากาศแบบแอลป์ที่เย็นกว่าในขณะที่ทางตะวันตกและทางใต้นั้นอบอุ่นและแห้งแล้งกว่า โดยมีแม่น้ำรีโอแกรนด์และหุบเขาที่อุดมสมบูรณ์ทอดตัวจากเหนือจรดใต้ ทำให้เกิดสภาพอากาศอบอุ่นบริเวณตอนกลางของรัฐ กว่าหนึ่งในสามของที่ดินในนิวเม็กซิโกมีรัฐบาลกลางเป็นเจ้าของ และรัฐยังมีพื้นที่รกร้างว่างเปล่าที่ได้รับการคุ้มครองและประกอบไปด้วยอนุสรณ์สถานแห่งชาติหลายแห่ง รวมถึงแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก 3 แห่ง[10]
รัฐนิวเม็กซิโกถูกจัดอยู่ในกลุ่มรัฐที่มีความยากจน[11][12][13][14][15] แม้ว่าปัจจุบันเศรษฐกิจของรัฐมีการเติบโตขึ้นตามลำดับ โดยประชากรในนิวเม็กซิโกมีรายได้หลักมาจากหลายภาคส่วน เช่น การขุดเจาะน้ำมัน การขุดแร่ การทำฟาร์มบนที่แห้ง การเลี้ยงโค เกษตรกรรม การค้าไม้อย่างถูกกฎหมาย การค้าปลีก การทำห้องปฏิบัติการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ การพัฒนาเทคโนโลยี และศิลปะ รวมถึงสิ่งทอและทัศนศิลป์ โดยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศทั้งหมด (จีดีพี) ใน ค.ศ. 2020 อยู่ที่ 95.73 พันล้านดอลลาร์ และมีจีดีพีต่อหัวอยู่ที่ 46,300 ดอลลาร์[16][17] นโยบายภาษีของรัฐมีลักษณะการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในระดับต่ำถึงปานกลางตามมาตรฐานรัฐบาลกลาง โดยมีเครดิตภาษี การยกเว้น และการพิจารณาเป็นพิเศษสำหรับบุคลากรทางทหาร ต่อมา อุตสาหกรรมภาพยนตร์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดและเติบโตเร็วที่สุดในรัฐ[18] นิวเม็กซิโกเป็นยังที่ตั้งของฐานทัพสำคัญของกองทัพสหรัฐบริเวณไวต์แซนดส์มิสไซล์เรนจ์ และหน่วยงานความมั่นคงแห่งชาติหลายแห่งได้เข้ามาตั้งฐานการวิจัยและทดสอบอาวุธในรัฐเช่นที่ซานดีอาและลอสแอละโมส ในคริสต์ทศวรรษ 1940 โครงการวายของโครงการแมนฮัตตันซึ่งผลิตระเบิดปรมาณูลูกแรกของโลกได้ทดสอบนิวเคลียร์ครั้งแรกภายใต้รหัสนาม "ทรินิตี"
สำหรับที่มาของชื่อรัฐนิวเม็กซิโกนั้น ในอดีตดินแดนแห่งนี้เคยถูกสเปนปกครอง โดยคณะสำรวจและผู้ตั้งถิ่นฐานชาวสเปนได้เดินทางมาถึงบริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และตั้งชื่ออาณาเขตว่า นูเอโบเมฆิโก ตามชื่อหุบเขาเม็กซิโก ก่อนที่เม็กซิโกจะได้รับเอกราชจากสเปนและใช้ชื่อประเทศดังปัจจุบัน ดังนั้นรัฐนี้จึงไม่ได้ตั้งชื่อตามประเทศเม็กซิโกอย่างที่หลายคนเข้าใจ[19][20] นิวเม็กซิโกถูกแยกออกจากกันด้วยภูมิประเทศที่ขรุขระและปกครองโดยชนพื้นเมือง ภายหลังการได้รับเอกราชของเม็กซิโกใน ค.ศ. 1821 บริเวณนี้ได้กลายเป็นเขตปกครองตนเองของเม็กซิโก แม้ว่าจะยังคงถูกคุกคามอยู่เรื่อย ๆ จากนโยบายการรวมชาติของรัฐบาลเม็กซิโก ในเวลาเดียวกัน ภูมิภาคนี้ได้พึ่งพากิจกรรมทางเศรษฐกิจจากสหรัฐ และในช่วงท้ายของสงครามเม็กซิโก–สหรัฐใน ค.ศ. 1848 สหรัฐได้ผนวกนิวเม็กซิโกเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนนิวเม็กซิโกที่มีขนาดใหญ่กว่า และถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการขยายตัวทางตะวันตกของสหรัฐและได้รับการยอมรับโดยสหภาพมาตราแห่งรัฐธรรมนูญของสหรัฐโดยถือเป็นรัฐที่ 47 อย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1912
ธงประจำรัฐนิวเม็กซิโกเป็นที่รู้จักมากที่สุดในสหรัฐ[21] สะท้อนถึงต้นกำเนิดของรัฐจากการผสมผสานของวัฒนธรรมโดยมีสีแดงเข้มและสีทองของไม้กางเขนเบอร์กันดีของสเปน พร้อมด้วยสัญลักษณ์ดวงอาทิตย์โบราณของกลุ่มชนปูเอโบล การบรรจบกันของอิทธิพลของชนพื้นเมือง สเปน เม็กซิโก ฮิสแปนิก และอเมริกันยังปรากฏชัดในวัฒนธรรมด้านอื่น ๆ เช่น อาหาร ดนตรี และสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของนิวเม็กซิโก[22] นิวเม็กซิโกยังเป็นรัฐที่มีชาวลาตินอเมริกาอาศัยอยู่มากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก รวมทั้งมีการพูดภาษาสเปนอย่างแพร่หลาย
ที่มาของชื่อ
[แก้]ใน ค.ศ. 1598 นิวเม็กซิโกในขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรสเปน ในช่วงที่สเปนต้องการแผ่ขยายอำนาจของจักรพรรดิ กลุ่มผู้ก่อตั้งรกรากจากสเปนได้ตั้งชื่อแผ่นดินนี้ว่า นูเอโบเมฆิโก (Nuevo México) โดยตั้งตามพื้นที่หุบเขาในเม็กซิโก ที่ชาวแอซเทกโบราณเรียกว่า หุบเขาเม็กซิโก ดังนั้น นิวเม็กซิโกจึงไม่ได้ตั้งชื่อตามประเทศเม็กซิโก[23]
ประวัติ
[แก้]ในอดีต พลเมืองในนิวเม็กซิโกยุคแรกนั้นจึงมีเชื้อสายมาจากชาวสเปน[24] พวกเขาได้ร่วมกัน "บูรณาการทางวัฒนธรรม" (Cultural integration) แต่ก็ต้องเจอปัญหาการรุกรานจากทหารเม็กซิโกที่พยายามยึดครองนิวเม็กซิโกให้เป็นอาณานิคมของเม็กซิโก[25] จึงเกิดกลุ่มกองกำลัง "กบฏชิมาโย" ที่รุกขึ้นต่อต้าน สุดท้าย นิวเม็กซิโก ก็ได้รับการรวมเข้าเป็นรัฐที่ 47 ของสหรัฐใน ค.ศ. 1912 หลังจากแยกตัวออกจากประเทศเม็กซิโกได้สำเร็จ ใน ค.ศ. 1924 รัฐสภาสหรัฐก็รับร่างกฎหมายที่อนุญาตให้ชนพื้นเมืองอเมริกันสามารถขอสัญชาติเป็นชาวอเมริกัน และมีสิทธิ์มีเสียงในการลงคะแนนเลือกตั้งจนถึงปัจจุบัน
ภูมิประเทศและสภาพอากาศ
[แก้]ภูมิประเทศของนิวเม็กซิโกส่วนใหญ่ประกอบด้วยที่ราบสูงและหุบเขาทอดยาวเหนือจรดใต้ โดยมีแม่น้ำรีโอแกรนด์ไหลผ่านจุดศูนย์กลางของรัฐ ระดับความสูงเฉลี่ยอยู่ที่ 4,700 ฟุตเหนือระดับน้ำทะเล
รัฐนิวเม็กซิโกมีชื่อเสียงมาช้านานในด้านสภาพอากาศที่อบอุ่นและเย็นสบาย[26] โดยรวมแล้วอากาศจะมีลักษณะกึ่งแห้งแล้งถึงแห้งแล้ง โดยมีพื้นที่ภูมิอากาศแบบภาคพื้นทวีป ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั่วทั้งรัฐอยู่ที่ 12.9 นิ้ว (330 มม.) ต่อปี โดยปริมาณเฉลี่ยต่อเดือนจะพุ่งสูงสุดในฤดูร้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ตอนกลางและตอนเหนือที่ขรุขระกว่าทางใต้ โดยทั่วไป ทางตะวันออกของรัฐจะมีปริมาณน้ำฝนมากที่สุดในหนึ่งปี ในขณะที่รัฐทางตะวันตกจะมีความแห้งแล้งมากที่สุด
อุณหภูมิต่อปีอาจอยู่ในช่วง 65 °F (18 °C) ทางตะวันออกเฉียงใต้ และอาจต่ำกว่า 40 °F (4 °C) ทางตอนเหนือ ในช่วงฤดูร้อน อุณหภูมิในตอนกลางวันมักจะเกิน 100 °F (38 °C) ที่ระดับความสูงต่ำกว่า 5,000 ฟุต (1,500 ม.) อุณหภูมิสูงเฉลี่ยในเดือนกรกฎาคมอยู่ในช่วง 99 °F (37 °C) ในเดือนที่อากาศหนาวเย็นระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงมีนาคม หลายเมืองในนิวเม็กซิโกอาจมีอุณหภูมิต่ำสุดในตอนกลางคืน อุณหภูมิสูงสุดที่บันทึกไว้ในนิวเม็กซิโกคือ 122 °F (50 °C) ที่โรงงาน Waste Isolation Pilot Plant (WIPP) ใกล้หมู่บ้าน Loving เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 1994; อุณหภูมิต่ำสุดที่บันทึกไว้คือ -50 °F (-46 °C) ที่ Gavilan ย่าน เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 1951[27]
ประชากร
[แก้]จากการสำรวจสำมะโนประชากรใน ค.ศ. 2020 นิวเม็กซิโกมีประชากร 2,117,522 คน โดยเพิ่มขึ้น 2.8% จากจำนวน 2,059,179 คนใน ค.ศ. 2010[28] โดยถือเป็นอัตราการเติบโตที่ต่ำที่สุดในฝั่งตะวันตกของประเทศรองจากรัฐไวโอมิง และเป็นอัตราการเติบโตที่ช้าที่สุดในประเทศ เมื่อเปรียบเทียบระหว่าง ค.ศ. 2000 ถึง 2010 ประชากรของนิวเม็กซิโกเพิ่มขึ้น 11.7% จากจำนวน 1,819,046 คน รายงานจากสภานิติบัญญัติแห่งนิวเม็กซิโกระบุว่าการเติบโตที่ช้านั้นเป็นผลมาจากอัตราการย้ายถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้ที่มีอายุ 18 ปีหรืออายุน้อยกว่า[29] และอัตราการเกิดลดลงถึง 19% อย่างไรก็ตาม การเติบโตของชุมชนฮิสแปนิกและชนพื้นเมืองอเมริกันยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี
มากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนประชากรที่อาศัยในปัจจุบันเกิดในรัฐนี้ (51.4%) ในขณะที่ประชากรบางส่วนอพยพมาจากรัฐอื่น (37.9%) และประชากรจำนวน 1.1% เกิดในปวยร์โตรีโกหรือในต่างประเทศกับพ่อแม่ชาวอเมริกันอย่างน้อยหนึ่งคน และอีก 9.4% เป็นชาวต่างชาติจากทวีปอื่น และเกือบหนึ่งในสี่ของประชากร (22.7%) มีอายุต่ำกว่า 18 ปี และค่าเฉลี่ยอายุของประชากรในรัฐที่ 38.4 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศที่ 38.2 เล็กน้อย ชาวฮิสแปนิกและลาตินคิดเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของผู้อยู่อาศัยทั้งหมด (49.3%) ทำให้นิวเม็กซิโกมีสัดส่วนเชื้อสายฮิสแปนิกสูงที่สุดในบรรดาห้าสิบรัฐ รวมถึงลูกหลานของชาวอาณานิคมสเปนที่ตั้งรกรากระหว่างศตวรรษที่ 16 และ 18 รวมทั้งผู้อพยพจากลาตินอเมริกา[30]
จาก ค.ศ. 2000 ถึง 2010 จำนวนคนยากจนได้เพิ่มขึ้นเป็น 400,779 คนหรือประมาณหนึ่งในห้าของประชากรทั้งหมด และการสำรวจสำมะโนประชากร ค.ศ. 2020 ครั้งล่าสุดได้มีการบันทึกอัตราความยากจนที่ลดลงเล็กน้อยที่ 18.2%[31]
วัฒนธรรม
[แก้]ภาษา
[แก้]นิวเม็กซิโกอยู่ในอันดับที่สามรองจากรัฐแคลิฟอร์เนียและรัฐเท็กซัสในแง่ของรัฐที่มีความหลากหลายทางภาษามากที่สุด[32] จากการสำรวจสำมะโนประชากรของสหรัฐใน ค.ศ. 2010 พบว่า 28.45% ของประชากรอายุ 5 ปีขึ้นไปพูดภาษาสเปนเป็นหลัก[33] ในขณะที่ 3.50% พูดภาษานาวาโฮ ผู้พูดภาษาสเปนบางส่วนสืบเชื้อสายมาจากผู้ตั้งถิ่นฐานชาวสเปนก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 18[34] นอกจากภาษานาวาโฮซึ่งพูดในรัฐแอริโซนาแล้ว ในนิวเม็กซิโกยังมีคนกลุ่มเล็ก ๆ ใช้ภาษาอเมริกันพื้นเมืองอีกหลายภาษา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาษาเฉพาะถิ่นของรัฐและภาษาเม็กซิโกดั้งเดิม
ศาสนา
[แก้]เช่นเดียวกับรัฐอื่น ๆ ในสหรัฐ ประชากรในนิวเม็กซิโกส่วนมากเป็นคริสต์ศาสนิกชน[35] และกว่าหนึ่งในสามนับถือนิกายโรมันคาทอลิกและโปรเตสแตนต์ ตามข้อมูลของสมาคมคลังข้อมูลศาสนา (ARDA) นิกายที่ใหญ่ที่สุดคือโรมันคาทอลิก (สมาชิก 684,941 คน)[36] และประชากรประมาณ 1 ใน 5 ในรัฐนิวเม็กซิโกไม่นับถือศาสนาใด ๆ ซึ่งรวมถึงผู้ไม่เชื่อเรื่องพระเจ้า[37]
อาหาร
[แก้]อาหารในรัฐนิวเม็กซิโกได้รับอิทธิพลมาจากความหลากหลายทางวัฒนธรรมของประเทศเม็กซิโกและสเปน[38] และมีความแตกต่างจากอาหารประจำชาติทั่วไปในสหรัฐ[39] เป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องการผสมผสานของวัตถุดิบต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พริก[40] และเครื่องเทศ ที่มีชื่อเสียงที่สุดได้แก่ พริกแห้ง ซึ่งมีรสชาติเผ็ดร้อนและมักปรากฏอยู่ในรายการอาหารชั้นนำต่าง ๆ ในร้านอาหารของรัฐนิวเม็กซิโก ตั้งแต่ร้านอาหารริมทางทั่วไปจนถึงภัตตาคารขนาดใหญ่[41]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "United States Summary: 2010 – Population and Housing Unit Counts" (PDF). U.S. Census Bureau. September 2012. p. 41. สืบค้นเมื่อ March 14, 2020.
- ↑ "Wheeler". NGS data sheet. U.S. National Geodetic Survey.
- ↑ 3.0 3.1 "Elevations and Distances in the United States". United States Geological Survey. 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 15, 2011. สืบค้นเมื่อ October 24, 2011.
- ↑ "Most spoken languages in New Mexico in 2010". MLA Data Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 23, 2013. สืบค้นเมื่อ November 4, 2012.
- ↑ จำนวนประชากรในสหรัฐ แบ่งตามรัฐ
- ↑ "New Mexico Population 2021 (Demographics, Maps, Graphs)". worldpopulationreview.com.
- ↑ "New Mexico | Data USA". datausa.io (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "New Mexico Regions & Cities". www.newmexico.org (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "New Mexico Climate & Geography | NMEDD". gonm.biz.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "New Mexico Maps & Facts". WorldAtlas (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "Poverty rate in New Mexico 2019". Statista (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "U.S. Census Bureau QuickFacts: New Mexico". www.census.gov (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Mexican, Bruce KrasnowThe New. "N.M. poverty rate down, but is still among worst in U.S." Santa Fe New Mexican (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Admin, Web. "New Mexico Ranked Worst in the Nation for Child Poverty". New Mexico Voices for Children (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "New Mexico Report - 2020". Talk Poverty (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "New Mexico: per capita real GDP 2000-2019". Statista (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "U.S. federal state of New Mexico - real GDP 2000-2020". Statista (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Editor, Adrian Gomez | Journal Arts and Entertainment. "New Mexico's film industry has bounded back to near pre-pandemic levels". www.abqjournal.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
{{cite web}}
:|last=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - ↑ Tlapoyawa, Kurly (2017-10-14). "How Did New Mexico Get Its Name?". [ mexika.org ] (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Is New Mexico a State? Some Americans Don't Know". NPR.org (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Edward B. Kaye (2001). ""Good Flag, Bad Flag, and the Great NAVA Flag Survey of 2001". Raven: A Journal of Vexillology. 8: 11–38.
- ↑ "New Mexico State Flag - About the New Mexico Flag, its adoption and history from NETSTATE.COM". www.netstate.com.
- ↑ Weber, David J. (1992). The Spanish Frontier in North America. New Haven and London: Yale University Press. p. 79.
- ↑ "รู้หรือไม่ รัฐนิวเม็กซิโก ประเทศสหรัฐฯ ถือกำเนิดก่อนประเทศเม็กซิโกเสียอีก #beartai". #beartai (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-07-26.
- ↑ Sanchez, Joseph P. (1987). The Rio Abajo Frontier, 1540–1692: A History of Early Colonial New Mexico. Albuquerque: Museum of Albuquerque History Monograph Series. p. 51.
- ↑ "New Mexico | Flag, Facts, Maps, & Points of Interest". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "NOAA | NCDC | SCEC | Climatological Extremes for NM". web.archive.org. 2010-05-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-28. สืบค้นเมื่อ 2021-08-17.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ https://www.census.gov/quickfacts/NM#:~:text=People%20%20%20%20Population%20%20%20,%20%202%2C059%2C179%20%2042%20more%20rows%20
- ↑ https://www.usnews.com/news/best-states/new-mexico/articles/2021-04-26/census-new-mexico-among-slowest-growing-western-states#:~:text=ALBUQUERQUE%2C%20N.M.%20%28AP%29%20%E2%80%94%20New%20Mexico%20%E2%80%99s%20population,2020%20was%20the%20second%20slowest%20in%20U.S.%20history.
- ↑ "New Mexico | Bureau of Business and Economic Research UNM". bber.unm.edu.
- ↑ Writer, Dan McKay | Journal Staff. "NM 2020 census count higher than expected". www.abqjournal.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ Sonnad, Nikhil. "Against the odds, English is on the rise in four US states". Quartz (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Language Map Data Center". apps.mla.org.
- ↑ Espinosa, Aurelio Macedonio; Morley, S. Griswold (Sylvanus Griswold) (1911). The Spanish language in New Mexico and southern Colorado. University of California Libraries. Santa Fe, N.M., New Mexican printing company.
- ↑ NW, 1615 L. St; Suite 800Washington; Inquiries, DC 20036USA202-419-4300 | Main202-857-8562 | Fax202-419-4372 | Media. "Most and least religious U.S. states". Pew Research Center (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "The Association of Religion Data Archives | Maps & Reports". web.archive.org. 2013-12-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-03. สืบค้นเมื่อ 2021-08-17.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Religion in New Mexico | Frommer's". www.frommers.com.
- ↑ Casey, Clyde (2013). New Mexico Cuisine: Recipes from the Land of Enchantment (ภาษาอังกฤษ). University of New Mexico Press. ISBN 978-0-8263-5417-4.
- ↑ Swentzell, Roxanne; Perea, Patricia M. (2016). The Pueblo Food Experience Cookbook: Whole Food of Our Ancestors (ภาษาอังกฤษ). Museum of New Mexico Press. ISBN 978-0-89013-619-5.
- ↑ Arellano, Gustavo (2013-04-16). Taco USA: How Mexican Food Conquered America (ภาษาอังกฤษ). Simon and Schuster. ISBN 978-1-4391-4862-4.
- ↑ "A Classic Biscochitos Recipe". www.newmexico.org (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2013-10-04.