ระดับชั้นอิเล็กตรอน
ระดับชั้นอิเล็กตรอน (อังกฤษ: electron shell) ในวิชาเคมีและฟิสิกส์ของอะตอมอาจถีอว่าอิเล็กตรอนรักษาระดับการโคจรรอบนิวเคลียสของอะตอมและมีการเรียงชั้นเกิดขึ้น โดยชั้นที่ใกล้นิวเคลียสที่สุดเรียกว่าชั้นที่ 1 (ชั้น K) ต่อมาจึงเป็นชั้นที่ 2 (ชั้น L) ชั้นที่ 3 (ชั้น M) และถัดออกไปเรื่อย ๆ จากนิวเคลียสตามลำดับ ระดับที่ของชั้นจะเกี่ยวข้องกับเลขควอนตัมหลัก (n = 1, 2, 3, 4 ...) หรือถูกตั้งชื่อเรียงตามลำดับตัวอักษร (K,L,M,...)
แต่ละชั้นจะมีจำนวนอิเล็กตรอนได้แค่จำนวนหนึ่งเท่านั้น เช่น ชั้นที่ 1 มีอิเล็กตรอนได้ 2 ตัว ชั้นที่ 2 มีอิเล็กตรอนได้ 8 ตัว (2+6) ชั้นที่ 3 มีอิเล็กตรอนได้ 18 ตัว (2+6+10) และเรื่อยไป สูตรทั่วไปก็คือชั้นพลังงานที่ n จะมีอิเล็กตรอนได้เป็นจำนวน 2(n2) ตัว เนื่องจากอิเล็กตรอนนั้นถูกดึงดูดไว้กับนิวเคลียสด้วยแรงทางไฟฟ้า ดังนั้นอิเล็กตรอนของอะตอมหนึ่งๆ จะอยู่ในวงโคจรชั้นนอกก็ต่อเมื่อวงชั้นในมีอิเล็กตรอนเต็มแล้ว อย่างไรก็ดีมิได้เป็นกฎตายตัวเสมอไป อะตอมอาจมีชั้นพลังงานด้านนอก 2 หรือ 3 ชั้น โดยที่มีอิเล็กตรอนไม่เต็มตามจำนวนสูงสุดก็ได้ [1]และชั้นที่มีอิเล็กตรอนไม่เต็มจะเรียกว่าชั้นเวเลนซ์ (Valence shell)และแต่ละชั้นจะมีชั้นย่อย (subshell) หนึ่งชั้นหรือมากกว่านั้นก็ได้
ระดับชั้นย่อย
[แก้]ระดับชั้นอิเล็กตรอนจะมีชั้นย่อยอย่างน้อยหนึ่งชั้นหรือมากกว่าเช่นชั้น K (n=1) มีชั้นย่อย 1 ชั้นคือ 1s ชั้น L มี 2 ชั้นย่อย 2s กับ 2p ชั้นที่ 3 ประกอบด้วย 3s 3p และ 3d[1]ชื่อชั้นมีที่มาจากการศึกษาเส้นสเปกตรัมของอะตอม
ชื่อระดับชั้นย่อย | จำนวนอิเล็กตรอนสูงสุด | ชั้นที่สามารถมีได้ | ที่มาชื่อชั้น |
---|---|---|---|
s | 2 | ทุกระดับชั้น | sharp (คมชัด) |
p | 6 | ชั้นที่ 2 ขึ้นไป | principal (หลัก) |
d | 10 | ชั้นที่ 3 ขึ้นไป | diffuse (เลือนราง) |
f | 14 | ชั้นที่ 4 ขึ้นไป | fundamental (พื้นฐาน) |
g | 18 | ชั้นที่ 5 ขึ้นไป(ตามทฤษฎี) | ตัวอักษรที่ถัดจาก f (ตัว g)[2] |
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Electron Subshells. Corrosion Source. Retrieved on 2011-12-01.
- ↑ Jue, T. (2009). "Quantum Mechanic Basic to Biophysical Methods". Fundamental Concepts in Biophysics. Berlin: Springer. p. 33. ISBN 978-1-58829-973-4.