ข้ามไปเนื้อหา

ยุงเคิร์ส ยู 87

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยุงเคิร์ส จู 87
ข้อมูลทั่วไป
บทบาทเครื่องบินดำดิ่งทิ้งระเบิด
ชาติกำเนิด ไรช์เยอรมัน
บริษัทผู้ผลิตยุงเคิร์ส
ผู้ออกแบบ
แฮร์มัน โพลมัน
ผู้ใช้งานหลัก ลุฟท์วัฟเฟอ
จำนวนที่ผลิตราว 6,500 ลำ
ประวัติ
เริ่มใช้งานค.ศ. 1936
เที่ยวบินแรก17 กันยายน ค.ศ. 1935
ปลดประจำการค.ศ. 1945

ยุงเคิร์ส จู 87 (เยอรมัน: Junkers Ju 87) หรือชื่อเล่น ชตูคา (Stuka) ซึ่งย่อมาจาก ชตวทซ์คัมพฟ์ฟลูคท์ซ็อยค์ (Sturzkampfflugzeug) ที่แปลว่าเครื่องบินดำดิ่งทิ้งระเบิด เป็นเครื่องบินรบในการโจมตีภาคพื้นดินและเครื่องบินดำดิ่งทิ้งระเบิดของเยอรมนี ได้รับการออกแบบโดยแฮร์มัน โพลมัน มันได้ออกบินเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1935 ยู 87 ได้เปิดตัวในการรบเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1937 ด้วยกองพันนกแร้งแห่งกองทัพอากาศลุฟท์วัฟเฟอในช่วงสงครามกลางเมืองสเปนและได้ทำหน้าที่เป็นกองกำลังฝ่ายอักษะในสงครามโลกครั้งที่สอง

เครื่องบินนี้เป็นที่จดจำได้ง่ายโดยปีกนกนางนวลกลับหัวและล้อเครื่องบินที่พับไม่ได้ซึ่งติดอยู่ใต้ปีกทั้งสองข้าง บนขอบชั้นนำของขาเกียร์หลักถูกติดตั้งด้วย Jericho-Trompete ("แตรแห่งเยริโค") ไซเรนที่ส่งเสียงดังกึกก้อง กลายเป็นสัญลักษณ์โฆษณาชวนเชื่อของอำนาจน่านฟ้าของเยอรมนีและชัยชนะด้วยบลิทซ์ครีก ปี ค.ศ. 1939–1942 การออกแบบของชตูคาได้รวมถึงจุดเด่นใหม่ ๆ หลายอย่าง รวมทั้งระบบเบรกดำดิ่งแบบดึง-ขึ้นอัตโนมัติภายใต้ปีกทั้งสองข้างเพื่อให้แน่ใจว่า เครื่องบินได้ฟื้นตัวจากการโจมตีแบบดิ่งของมัน แม้ว่านักบินจะหมดสติลงจากแรงจีสูง

การออกปฏิบัติการของชตูคาด้วยความประสบความสำเร็จอย่างล้มหลามในการสนับสนุนทางอากาศระยะใกล้ (close air support) และต่อต้านเรือ (anti-shipping) ในสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นกำลังสำคัญในการโจมตีทางอากาศในการบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1939 ชตูคาได้มีบทบาทสำคัญในการโจมตีแบบสายฟ้าแลบซึ่งทำให้เยอรมนีพิชิตนอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม และฝรั่งเศสในปี ค.ศ.1940 ด้วยความแข็งแกร่ง แม่นยำ และมีประสิทธิภาพมากต่อเป้าหมายทางภาคพื้นดิน สตูคานั้นเหมือนกับเครื่องบินทิ้งระเบิดดำดิ่งอื่น ๆ จำนวนมากในสมัยนั้น มีความอ่อนแอต่อเครื่องบินขับไล่ ระหว่างยุทธการที่บริเตน มันได้ขาดความคล่องแคล่ว ความเร็ว และอาวุธสำหรับการป้องกันตัวซึ่งหมายความว่าจะต้องใช้เครื่องบินขับไล่คอยคุ้มกันอย่างหนักเพื่อให้สามารถปฏิบัติภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายหลังยุทธการที่บริเตน ชตูคาได้ถูกใช้งานในการทัพบอลข่าน, เขตสงครามแอฟริกาและเมดิเตอร์เรเนียน และช่วงแรกของแนวรบด้านตะวันออกซึ่งได้ถูกใช้สำหรับการสนับสนุนทางภาคพื้นดินทั่วไป เช่นเดียวกับที่พิเศษสำหรับเครื่องบินต่อต้านรถถังที่มีประสิทธิภาพและบทบาทสำหรับการต่อต้านการเดินเรือ เมื่อลุฟท์วัฟเฟอได้สูญเสียอำนาจเหนือน่านฟ้า ชตูคาได้กลายเป็นเป้าหมายที่ง่ายสำหรับเครื่องบินรบฝ่ายข้าศึกในทุกแนวรบ มันได้ถูกผลิตจนกระทั่งปี ค.ศ. 1944 จากการขาดแคลนในการทดแทนที่ดีกว่า เมื่อเครื่องบินรุ่นโจมตีภาคพื้นดิน Focke-Wulf Fw 190 ได้ถูกมาแทนที่ชตูคาเป็นส่วนใหญ่ แต่ชตูคายังคงใช้งานจนกระทั่งสิ้นสุดสงคราม

เครื่องบินยู 48 ประมาณ 6,500 ลำในทุกรุ่นได้ถูกสร้างขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1936 และเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1944

พันเอก ฮันส์-อุลริช รูเดิล เป็นเสืออากาศที่ได้ขับชตูคาที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดและเป็นนักบินชาวเยอรมันที่ได้รับเหรียญเกียรติยศที่ดีที่สุดในสงครามโลกครั้งที่สอง

คุณลักษณะ (ยู 87บี-1)

[แก้]
ยู 87 ชตูคา
  • ผู้สร้าง: ยุงเคิร์ส (ประเทศเยอรมนี)
  • ประเภท: เครื่องบินดำทิ้งระเบิด
  • เครื่องยนต์: 1 × Junkers Jumo 211Da
  • กางปีก: 13.805 เมตร
  • ยาว: 11.10 เมตร
  • สูง: 4.01 เมตร
  • พื้นที่ปีก: 31.900 ตารางเมตร
  • น้ำหนักเปล่า: 2,712 กิโลกรัม
  • น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด: 4,336 กิโลกรัม
  • อัตราเร็วสูงสุด: 339.6 กิโลเมตร/ชั่วโมง
  • อัตราไต่: 2.3 เมตร/ วินาที
  • รัศมีทำการรบ: 595.5 กิโลเมตร
  • พิสัยบินไกลสุด: 789 กิโลเมตร
  • อาวุธ: ปืนกลหน้า MG 17 ขนาด 7.92 มม. 2 กระบอก / ปืนกลหลัง MG 15 ขนาด 7.92 มม. 1 กระบอก
    • ลูกระเบิดขนาด 250 กก. 1 ลูก