ปอร์ฟิริโอ ดิอัซ
ปอร์ฟิริโอ ดิอัซ | |
---|---|
ประธานาธิบดีเม็กซิโกคนที่ 29 | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ธันวาคม 1884 – 25 พฤษภาคม 1911 | |
รองประธานาธิบดี | รามอน กอร์รัล |
ก่อนหน้า | มานูเอล กอนซาเลซ โฟลเรส |
ถัดไป | ฟรันซิสโก เลออน เด ลา บาร์รา |
ดำรงตำแหน่ง 17 กุมภาพันธ์ 1877 – 1 ธันวาคม 1880 | |
ก่อนหน้า | ฆวน เอเน. เมนเดซ |
ถัดไป | มานูเอล กอนซาเลซ โฟลเรส |
ดำรงตำแหน่ง 28 พฤศจิกายน 1876 – 6 ธันวาคม 1876 | |
ก่อนหน้า | โฆเซ มาริอา อิเกลเซียส |
ถัดไป | ฆวน เอเน. เมนเดซ |
ผู้ว่าการรัฐวาฮากา | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ธันวาคม 1882 – 3 มกราคม 1883 | |
ก่อนหน้า | โฆเซ มาเรียโน ฆิเมเนซ |
ถัดไป | โฆเซ มาเรียโน ฆิเมเนซ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนา การอาณานิคม และอุตสาหกรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ธันวาคม 1880 – 27 มิถุนายน 1881 | |
ประธานาธิบดี | มานูเอล กอนซาเลซ โฟลเรส |
ก่อนหน้า | บิเซนเต ริบา ปาลาซิโอ |
ถัดไป | การ์โลส ปาเชโก บิยาโลโบส |
ผู้ว่าการเฟเดอรัลดิสตริกต์ | |
ดำรงตำแหน่ง 15 มิถุนายน 1867 – 14 สิงหาคม 1867 | |
ก่อนหน้า | โตมัส โอโฆรัน |
ถัดไป | ฆวน โฆเซ บัซ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | โฆเซ เด ลา กรุซ ปอร์ฟิริโอ ดิอัซ โมริ 15 กันยายน ค.ศ. 1830 วาฮากา รัฐวาฮากา เม็กซิโก |
เสียชีวิต | 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1915 ปารีส ฝรั่งเศส | (84 ปี)
ที่ไว้ศพ | สุสานมงปาร์นัส ปารีส |
พรรคการเมือง | พรรคเสรีนิยม |
คู่สมรส | เดลฟินา ออร์เตกา ดิอัซ (สมรส 1867; เสียชีวิต 1880) การ์เมน โรเมโร รูบิโอ (สมรส 1881) |
บุตร | เดโอดาโต ลูกัส ปอร์ฟิริโอ (1875–1946) ลุซ เอาโรรา บิกโตเรีย (1875–1965) |
บุพการี | โฆเซ เฟาส์ติโน ดิอัซ มาริอา เปโตรนา โมริ |
วิชาชีพ | นายทหาร, นักการเมือง |
ลายมือชื่อ | |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | เม็กซิโก |
สังกัด | กองทัพบกเม็กซิโก |
ประจำการ | 1848–1876 |
ยศ | พลเอก |
โฆเซ เด ลา กรุซ ปอร์ฟิริโอ ดิอัซ โมริ (สเปน: José De La Cruz Porfirio Díaz Mori; 15 กันยายน ค.ศ. 1830 – 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1915) เป็นนายพลและนักการเมืองชาวเม็กซิโกซึ่งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเม็กซิโก 7 สมัย รวม 31 ปี ตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1877 ถึงวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1880 และตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1884 ถึง 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1911 มักเรียกช่วงเวลาที่เขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีว่า ปอร์ฟิเรียโต[1]
ในฐานะทหารผ่านศึกจากสงครามการปฏิรูป (ค.ศ. 1858–1860) และการแทรกแซงของฝรั่งเศสในเม็กซิโก (ค.ศ. 1862–1867) ดิอัซได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายพล นำกองทัพสาธารณรัฐเข้าต่อต้านการปกครองของจักรพรรดิมัคซีมีลีอานที่ฝรั่งเศสสนับสนุน ต่อมาเขาได้ก่อการกำเริบต่อต้านประธานาธิบดีเบนิโต ฆัวเรซ และเซบัสเตียน เลร์โด เด เตฆาดา ด้วยหลักการที่ไม่ให้มีการเลือกตั้งกลับเข้ามาเป็นประธานาธิบดีอีกสมัย ดิอัซประสบความสำเร็จในการยึดอำนาจและขับไล่เลร์โดในรัฐประหาร ค.ศ. 1876 ด้วยความช่วยเหลือจากผู้สนับสนุนทางการเมืองของเขา และดิอัซได้รับการเลือกตั้งใน ค.ศ. 1877 จากนั้นใน ค.ศ. 1880 เขาก้าวลงจากตำแหน่งและมานูเอล กอนซาเลซ โฟลเรส ซึ่งเป็นพันธมิตรทางการเมืองของเขาได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีโดยดำรงตำแหน่งระหว่าง ค.ศ. 1880–1884 ใน ค.ศ. 1884 ดิอัซละทิ้งแนวคิดที่จะไม่ให้มีการเลือกตั้งกลับเข้ามาเป็นประธานาธิบดี และอยู่ในตำแหน่งต่อเนื่องกันจนถึง ค.ศ. 1911[2]
ดิอัซเป็นหนึ่งในบุคคลที่เป็นประเด็นโต้แย้งในประวัติศาสตร์เม็กซิโก ระบอบการปกครองของเขาทำให้เกิด "ระเบียบและความก้าวหน้า" โดยยุติความปั่นป่วนทางการเมืองและส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ ดิอัซและพันธมิตรของเขารวมกันเป็นกลุ่มนักวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่รู้จักกันในชื่อ ซิเอนติฟิโก ("นักวิทยาศาสตร์")[3] นโยบายเศรษฐกิจของเขาส่วนใหญ่เอื้อประโยชน์ต่อพันธมิตรเช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติ และช่วยให้เจ้าของที่ดินการเกษตรขนาดใหญ่เพียงไม่กี่รายซึ่งร่ำรวยอยู่แล้วได้รับที่ดินมหาศาล ทำให้ชาวชนบทไม่สามารถหาเลี้ยงชีพได้ ในปีหลัง ๆ นโยบายเหล่านี้ไม่ได้รับความนิยมเนื่องมาจากการกดขี่พลเมืองและความขัดแย้งทางการเมือง ตลอดจนการทักท้วงจากแรงงานและชาวไร่ชาวนาซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่ได้รับส่วนแบ่งจากความเจริญรุ่งเรืองของเม็กซิโก
แม้ว่าดิอัซจะประกาศสนับสนุนการกลับคืนสู่ประชาธิปไตยและประกาศจะไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีอีกสมัยในแถลงการณ์สาธารณะเมื่อ ค.ศ. 1908 แต่เขาก็กลับคำและลงสมัครอีกครั้งใน ค.ศ. 1910 ความล้มเหลวของดิอัซในการหาผู้สืบทอดตำแหน่งประธานาธิบดี (ขณะนั้นเขามีอายุ 80 ปีแล้ว) ส่งผลให้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองระหว่างกลุ่ม ซิเอนติฟิโก กับกลุ่มผู้สนับสนุนนายพลเบร์นาร์โด เรเยส ซึ่งเป็นพันธมิตรกับทหารและภูมิภาครอบนอกของเม็กซิโก[4] หลังจากที่ดิอัซประกาศตนเองเป็นผู้ชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสมัยที่แปดใน ค.ศ. 1910 ฟรันซิสโก อี. มาเดโร ผู้สมัครรับเลือกตั้งฝ่ายตรงข้ามซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินผู้มั่งคั่งได้ออกแผนซานลุยส์โปโตซีซึ่งเรียกร้องให้มีการก่อความไม่สงบโดยใช้อาวุธต่อดิอัซ นำไปสู่การปะทุของการปฏิวัติเม็กซิโก หลังจากกองทัพบกสหพันธรัฐประสบความพ่ายแพ้ทางทหารหลายครั้งต่อกองกำลังที่สนับสนุนมาเดโร ดิอัซก็ถูกบังคับให้ลาออกในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1911 และลี้ภัยไปอยู่ปารีสที่ซึ่งเขาเสียชีวิตในอีกสี่ปีต่อมา
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Stevens, D.F. "Porfirio Díaz" in Encyclopedia of Latin American History and Culture, vol. 2, p. 378. New York: Charles Scribner's Sons 1996.
- ↑ Schell,William Jr. "Politics and Government: 1876–1910" in Encyclopedia of Mexico. Chicago: Fitzroy Dearborn 1997, pp. 1111–1117.
- ↑ Vaughan, Mary Kay, "Científicos" in Encyclopedia of Latin American History and Culture, vol. 2, p. 155. New York: Charles Scribner's Sons 1996.
- ↑ Vaughan, "Cientificos", p. 155.
หนังสืออ่านเพิ่มเติม
[แก้]- Alec-Tweedie, Ethel. The Maker of Modern Mexico: Porfirio Diaz, John Lane Co., 1906.
- Bancroft, Hubert Howe. Life of Porfirio Díaz, The History Company Publisher, San Francisco, 1887.
- Beals, Carleton. Porfirio Díaz, Dictator of Mexico, J.B. Lippincott & Company, Philadelphia, 1932.
- Cosío Villegas, Daniel. The United States Versus Porfirio Díaz.trans. by Nettie Lee Benson. Lincoln: University of Nebraska Press 1963.
- Creelman, James. Diaz: Master of Mexico (New York 1911) full text online
- Garner, Paul (2001). Porfirio Díaz. Pearson.
{{cite book}}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help) - Godoy, José Francisco. Porfirio Díaz, President of Mexico, the Master Builder of a Great Commonwealth, G. P. Putnam's Sons, New York, 1910.
- Katz, Friedrich. "The Liberal Republic and the Porfiriato, 1867-1910" in Mexico Since Independence, Leslie Bethell, ed. Cambridge: Cambridge University Press 1991, pp. 49–124. ISBN 0-521-42372-4
- Krauze, Enrique (1987). Porfirio Díaz: Místico de la Autoridad. Mexico.
{{cite book}}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help) - Krauze, Enrique, Mexico: Biography of Power. New York: HarperCollins 1997. ISBN 0-06-016325-9
- Knight, Alan. The Mexican Revolution, Cambridge University Press, Cambridge, 1986. vol. 1
- López Obrador, Andrés Manuel (2014). Neoporfirismo: Hoy como ayer. Grijalbo. ISBN 9786073123266.
{{cite book}}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help) - Perry, Laurens Ballard. Juárez and Díaz: Machine Politics in Mexico, Northern Illinois University Press, DeKalb, IL, 1978.
- Roeder, Ralph. Hacia El México Moderno: Porfirio Díaz. México: Fondo de Cultura Económica, 1973.
- Turner, John Kenneth. Barbarous Mexico.(1910) Austin: University of Texas Press, reprint 1969.
- Vanderwood, Paul (1970). "Genesis of the Rurales: Mexico's Early Struggle for Public Security". Hispanic American Historical Review. 50 (2): 323–344. doi:10.2307/2513029. JSTOR 2513029.
{{cite journal}}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help)
ปอร์ฟิเรียโต
[แก้]- Cumberland, Charles C. Mexican Revolution: Genesis Under Madero, University of Texas Press, Austin, 1952.
- De María y Campos, Alfonso. "Porfirianos prominentes: origenes y años de juventud de ocho integrantes del group de los Científicos 1846–1876", Historia Mexicana 30 (1985), pp. 610–81.
- González Navarro, Moisés. "Las ideas raciales de los Científicos'. Historia Meixana 37 (1988) pp. 575–83.
- Hale, Charles A. Justo Sierra. Un liberal del Porfiriato. Mexico: Fondo de Cultura Económica 1997.
- Hale, Charles A. The Transformation of Liberalism in Late Nineteenth-Century Mexico. Princeton: Princeton University Press 1989.
- Harris, Charles H. III; Sadler, Louis R. (2009). The Secret War in El Paso: Mexican Revolutionary Intrigue, 1906–1920. Albuquerque, NM: University of New Mexico Press. ISBN 978-0-8263-4652-0.
{{cite book}}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help) - Hart, John Mason. Revolutionary Mexico: The Coming and Process of the Mexican Revolution, University of California Press, Berkeley, 1989.
- Priego, Natalia. Positivism, Science, and 'The Scientists' in Porfirian Mexico. Liverpool: Liverpool University Press 2016.
- Raat, William. "The Antiposivitist Movement in Pre-Revolutionary Mexico, 1892–1911", Journal of Inter-American Studies and World Affairs, 19 (1977) pp. 83–98.
- Raat, William. "Los intelectuales, el Positivismo y la cuestión indígena". Historia Mexicana 20 (1971), pp. 412–27.
- Villegas, Abelardo. Positivismo y Porfirismo. Mexico: Secreatria de Educación Pública, Col Sepsetentas 1972.
- Zea, Leopoldo, El Positivismo en México. Nacimiento apogeo y decadenica. Mexico: Fondo de Cultura Económica 1968.
ประวัติศาสตร์นิพนธ์
[แก้]- Benjamin, Thomas; Ocasio-Meléndez, Marcial (1984). "Organizing the Memory of Modern Mexico: Porfirian Historiography in Perspective, 1880s–1980s". Hispanic American Historical Review. 64 (2): 323–364. doi:10.1215/00182168-64.2.323. JSTOR 2514524.
- Gil, Carlos, บ.ก. (1977). The Age of Porfirio Díaz: Selected Readings. Albuquerque: University of New Mexico Press. ISBN 0-8263-0443-5.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Historial Text Archive: Díaz, Porfirio (1830–1915)
- ผลงานของ Porfirio Díaz ที่โครงการกูเทินแบร์ค
- ผลงานเกี่ยวกับ/โดย ปอร์ฟิริโอ ดิอัซ ที่อินเทอร์เน็ตอาร์ไคฟ์
- The New Student's Reference Work/Diaz, Porfirio
- Creelman's interview in Spanish เก็บถาวร 2021-01-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Creelman's interview in English เก็บถาวร 2021-05-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน