ประเทศมอลตา
สาธารณรัฐมอลตา Repubblika ta' Malta (มอลตา) | |
---|---|
ที่ตั้งของ ประเทศมอลตา (วงกลมเขียว) – ในยุโรป (เขียวอ่อน & เทาเข้ม) | |
เมืองหลวง | วัลเลตตา 35°54′N 14°31′E / 35.900°N 14.517°E |
เมืองใหญ่สุด | St. Paul's Bay |
ภาษาราชการ | มอลตา,[d] อังกฤษ |
กลุ่มชาติพันธุ์ (2019[1]) | |
ศาสนา (2019)[2] | 90% คริสต์ —83% โรมันคาทอลิก —7% นิกายอื่น ๆ 5% ไม่มีศาสนา 2% อิสลาม 3% อื่น ๆ |
การปกครอง | รัฐเดี่ยว ระบบรัฐสภา สาธารณรัฐตามรัฐธรรมนูญ |
Myriam Spiteri Debono | |
รอเบิร์ต อเบลา | |
สภานิติบัญญัติ | รัฐสภา |
เป็นเอกราช | |
• รัฐมอลตา | 21 กันยายน .ศ. 1964 |
• สาธารณรัฐ | 13 ธันวาคม ค.ศ. 1974 |
พื้นที่ | |
• รวม | 316[3] ตารางกิโลเมตร (122 ตารางไมล์) (อันดับที่ 185) |
0.001 | |
ประชากร | |
• 2019 ประมาณ | 514,564[4] (อันดับที่ 173) |
• สำมะโนประชากร 2011 | 417,432[5] |
1,633 ต่อตารางกิโลเมตร (4,229.5 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 4) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | 2019 (ประมาณ) |
• รวม | 22.802 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[6] |
• ต่อหัว | 48,246 ดอลลาร์สหรัฐ[6] |
จีดีพี (ราคาตลาด) | 2019 (ประมาณ) |
• รวม | 15.134 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[6] |
• ต่อหัว | 32,021 ดอลลาร์สหรัฐ[6] |
จีนี (2019) | 28.0[7] ต่ำ · อันดับที่ 15 |
เอชดีไอ (2019) | 0.895[8] สูงมาก · อันดับที่ 28 |
สกุลเงิน | ยูโร (€) (EUR) |
เขตเวลา | UTC+1 (เวลายุโรปกลาง) |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC+2 (เวลาออมแสงยุโรปกลาง) |
รูปแบบวันที่ | วว/ดด/ปปปป (ค.ศ.) |
ขับรถด้าน | ซ้าย |
รหัสโทรศัพท์ | +356 |
โดเมนบนสุด | .mt[c] |
เว็บไซต์ gov | |
มอลตา (มอลตา: Malta) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐมอลตา (มอลตา: Repubblika ta' Malta) เป็นประเทศที่เป็นเกาะขนาดเล็กสองเกาะในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แต่มีประชากรหนาแน่น (1,262 คน ต่อตารางกิโลเมตร) มีประชากรทั้งหมดประมาณ 475,000 (พฤษภาคม พ.ศ. 2561) คน เมืองหลวงชื่อเมืองวัลเลตตา (Valletta)
ที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของยุโรป ถัดลงมาจากตอนใต้ของประเทศอิตาลี นับเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานแห่งหนึ่งในยุโรป มีผู้มาครอบครองและถูกแย่งชิงนับครั้งไม่ถ้วนในอดีต
ประวัติศาสตร์
[แก้]มอลตาเป็นอาณานิคมของอังกฤษมาตั้งแต่ปี 2344 และได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2507 โดยได้รับความช่วยเหลือด้านการป้องกันประเทศและการเงินตามข้อตกลงที่มีกับอังกฤษเป็นระยะเวลา 10 ปี มอลตาเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2507 และยังอยู่ในเครือจักรภพอังกฤษ อย่างไรก็ดี ในช่วงสงครามเย็น มอลตามีรัฐบาลที่มาจากพรรคแรงงาน นำโดยนาย Dom Mintroff ซึ่งมีแนวทางสังคมนิยม-ชาตินิยม จึงดำเนินนโยบายด้านต่างประเทศที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (non-alignment) อย่างจริงจัง และได้ขอยกเลิกความตกลงที่ทำไว้กับอังกฤษฉบับปี 2507 และปี 2515 โดยขอทำความตกลงฉบับใหม่ซึ่งมีเนื้อหาที่จะรักษาอธิปไตยของประเทศและเพื่อเป็นหลักประกันว่า มอลตาจะได้รับประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างเต็มที่จากการที่มีฐานทัพนาโตประจำอยู่ในมอลตา ความตกลงฉบับใหม่มีระยะเวลา 7 ปี (ปี 2515-2522) สาระสำคัญโดยสรุปคืออังกฤษต้องจ่ายค่าเช่าในการคงฐานทัพในมอลตา 14 ล้านปอนด์ต่อปี ต่อมา ในเดือนมีนาคม 2522 รัฐบาลมอลตาได้ขอยกเลิกการต่อสัญญาให้เช่าพื้นที่สำหรับเป็นฐานทัพ ทำให้กองกำลังอังกฤษต้องถอนกำลังออกจากมอลตาตั้งแต่นั้นมา
นอกจากนี้ รัฐบาลมอลตายังมีความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางด้านวัฒนธรรม เศรษฐกิจและการค้ากับหลายประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา อิตาลี สหภาพโซเวียต จีน กลุ่มประเทศในยุโรปตะวันออก ลิเบีย ตูนิเซีย และตกลงรับความช่วยเหลือด้านวิชาการจากประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะลิเบีย อีกทั้งได้ลงนามในความตกลงรับรองความเป็นกลางและการร่วมมือทางการค้ากับประเทศต่าง ๆ ผลของการดำเนินนโยบายด้านต่างประเทศที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดอย่างจริงจังทำให้ในปี 2524 สหภาพโซเวียตและอิตาลีได้ตกลงรับรองความเป็นกลางของมอลตา โดยเฉพาะอิตาลี ได้ให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการและการเงินแก่มอลตาเป็นระยะเวลา 5 ปี นอกจากนั้น มอลตายังมีความตกลงร่วมกับประชาคมเศรษฐกิจยุโรป ในปี 2513 ซึ่งได้ต่ออายุความตกลงมาจนถึงปัจจุบันในเวทีระหว่างประเทศ ปัจจุบัน มอลตาเป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศที่สำคัญหลายองค์การ อาทิ สหประชาชาติ กลุ่ม 77 IAEA OSCE UNCTAD UNESCO เป็นต้น
มอลตาได้ถอนตัวจากการเป็นสมาชิกกลุ่มไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (NAM) ตั้งแต่เข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2547 มอลต้าได้เพิ่มบทบาทของตนเองในนโยบาย EU-Mediterranean ซึ่งเกี่ยวกับความสัมพันธ์ด้าน การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ระหว่างประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปและกลุ่มประเทศอื่น ๆ มีประเทศโมรอโค อัลจีเรีย ตูนิเซีย อียิป อิสราเอล ปาเลสไตน์ จอร์แดน เลบานอน ซีเรีย และตุรกี
ในเดือน กุมภาพันธ์ 2549 กระทรวงการต่างประเทศมอลต้าเสนอนโยบายด้านการต่างประเทศซึ่งเน้นการเพิ่มพูนความสัมพันธ์ในด้านต่าง ๆ ระหว่างมอลต้ากับประเทศอื่นที่ชาวมอลต้าได้ย้ายถิ่นฐานไป
การเมือง
[แก้]มอลตา เข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
ภูมิศาสตร์
[แก้]พื้นที่เป็นเกาะที่เกิดจากหินภูเขาไฟ บริเวณชายฝั่งเป็นโขดหินเกือบทั้งหมด
เศรษฐกิจ
[แก้]- ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 7.93 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)
- อัตราการเติบโตของ GDP ร้อยละ 1.0 (2549)
- รายได้เฉลี่ยต่อหัว 7,926 ดอลลาร์สหรัฐ (2549)
- อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 3.0 (2549)
- ปริมาณการส่งออก 2.744 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)
- ปริมาณการนำเข้า 3.859 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)
- สินค้าส่งออกสำคัญ เครื่องจักรและอุปกรณ์เกี่ยวกับการขนส่ง
- สินค้านำเข้าสำคัญ เครื่องจักร อาหารและสัตว์ ผลิตภัณฑ์เคมี แร่ธาตุ เครื่องดื่มและยาสูบ
- ประเทศคู่ค้าสำคัญ ฝรั่งเศส สหรัฐฯ เยอรมนี อังกฤษ อิตาลี
- ทรัพยากรธรรมชาติสำคัญ หินปูน เกลือ พื้นดินที่เหมาะกับการเพาะปลูก
- อุตสาหกรรมหลัก อุตสาหกรรมด้านการท่องเที่ยว อิเล็กทรอนิกส์ การต่อและซ่อมเรือ การก่อสร้าง อาหารและเครื่องดื่ม สิ่งทอ รองเท้าและอุปกรณ์ ยาสูบ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Diacono, Tim (April 18, 2019). "Over 100,000 Foreigners now living in Malta as Island's Population Just Keeps Ballooning". lovinmalta.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 June 2019. สืบค้นเมื่อ October 10, 2019.
- ↑ "Special Eurobarometer 493, European Union: European Commission, September 2019, pages 229–230". ec.europa.eu (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-10-03.
- ↑ Zammit, Andre (1986). "Valletta and the system of human settlements in the Maltese Islands". Ekistics. 53 (316/317): 89–95. JSTOR 43620704.
- ↑ "News release" (PDF). National Statistics Office. 10 July 2020. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 10 July 2020. สืบค้นเมื่อ 10 July 2020.
- ↑ 5.0 5.1 "Census of Population and Housing 2011: Report" (PDF). National Statistics Office. 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 21 June 2020. สืบค้นเมื่อ 10 July 2020.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 "Malta". International Monetary Fund.
- ↑ "Gini coefficient of equivalised disposable income – EU-SILC survey". ec.europa.eu. Eurostat. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 March 2019. สืบค้นเมื่อ 19 June 2020.
- ↑ Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
- ↑ "Europeans and their Languages" (PDF). European Commission. Special Eurobarometer. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 June 2017. สืบค้นเมื่อ 25 October 2018.
- ↑ "Maltese sign language to be recognised as an official language of Malta". The Malta Independent. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 June 2018. สืบค้นเมื่อ 11 June 2018.
- ↑ Lesley, Anne Rose (15 April 2009). Frommer's Malta and Gozo Day by Day. John Wiley & Sons. p. 139. ISBN 978-0470746103. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 September 2015. สืบค้นเมื่อ 1 July 2015.
อ่านเพิ่ม
[แก้]Hastings, M. 2021. Operation Pedestral The Fleet that Battled to Malta 1942, William Collins ISBN 978-0-00-836494-6
ข้อมูล
[แก้]- Cramer, John Anthony (1828). Geographical and Historical Description of Ancient Greece. Clarendon Press. pp. 45–46.
- "Map of Malta and Gozo". Street Map of Malta and Gozo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-16. สืบค้นเมื่อ 10 April 2009.
- "Photos of Gozo sister island of Malta". Photos of Gozo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 October 2008. สืบค้นเมื่อ 17 November 2006.
- "Photos of Malta". สืบค้นเมื่อ 26 May 2008.
- "Malta". The World Factbook. 22 September 2021.
- "Gov.mt". Government of Malta. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 May 2001. สืบค้นเมื่อ 1 November 2005.
- Omertaa, Journal for Applied Anthropology – Volume 2007/1, Thematic Issue on Malta
- Antonio Lafreri map of Malta, 1565.. Eran Laor Cartographic Collection. The National Library of Israel
แหล่งที่มา
[แก้]- "Malta". MSN Encarta. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 October 2009. สืบค้นเมื่อ 1 November 2005.
บรรณานุกรม
[แก้]- "1942: Malta gets George Cross for bravery". BBC "On this day". 15 April 1942. สืบค้นเมื่อ 22 June 2006.
- Bowen-Jones, Howard; และคณะ (1962). Malta Background for Development. University of Durham. OCLC 204863.
- Cassar, Carmel (2000). A Concise History of Malta. Msida: Mireva Publications. ISBN 978-1870579520.
- Chisholm, Hugh, บ.ก. (1911). . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 17 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. pp. 507–514.
- Francesco Balbi di Correggio 1568 translated Ernle Bradford (1965). "chapter II". The Siege of Malta 1565. Penguin 2003. ISBN 978-0-14-101202-5.
- Carolyn Bain (2004). Malta. Lonely Planet Publication. ISBN 978-1-74059-178-2.
- Charles Mifsud, The Climatological History of The Maltese Islands, Minerva 1984
- Paul Williams (2009). Malta – Island Under Siege. Pen and Sword Books. ISBN 978-1-84884-012-6.
- Rudolf, Uwe Jens; Berg, W. G. (2010). Historical Dictionary of Malta. USA: Scarecrow Press. p. 43. ISBN 9780810853171.
- United Nations Development Programme (2006). Human Development Report 2005 – International cooperation at a crossroads: Aid, trade and security in an unequal world. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-522146-6.
- Atauz, Ayse Devrim (2008). Eight Thousand Years of Maltese Maritime History: Trade, Piracy, and Naval Warfare in the Central Mediterranean. Gainesville : University Press of Florida. ISBN 0813031796
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- รัฐบาล
- Gov.mt – Maltese Government official site
- Malta Environment and Planning Authority's เก็บถาวร 29 เมษายน 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน GIS
- Visit Malta – Maltese tourism official site
- ข้อมูลทั่วไป
- Malta. The World Factbook. Central Intelligence Agency.
- Malta เก็บถาวร 4 มีนาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน from UCB Libraries GovPubs
- ประเทศมอลตา ที่เว็บไซต์ Curlie
- Wikimedia Atlas of Malta
- ดูข้อมูลทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ ประเทศมอลตา ที่โอเพินสตรีตแมป