ข้ามไปเนื้อหา

ชั้นโอโซน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัฏจักรโอโซน-ออกซิเจน (Ozone-oxygen cycle) ในชั้นโอโซน

ชั้นโอโซน (อังกฤษ: ozone layer, ozone shield) เป็นส่วนหนึ่งของชั้นบรรยากาศโลกที่ดูดซับรังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์มากที่สุด โดยประกอบด้วยโอโซน (O3) ในปริมาณมากกว่าชั้นบรรยากาศอื่น แม้จะยังถือว่าน้อยเมื่อเทียบกับแก๊สชนิดอื่นในชั้นสตราโทสเฟียร์ ชั้นโอโซนมีโอโซน 10 ส่วนในล้านส่วน ขณะที่ปริมาณเฉลี่ยของโอโซนในชั้นบรรยากาศโลกโดยรวมอยู่ที่ประมาณ 0.3 ส่วนในล้านส่วน ชั้นโอโซนพบได้ ชั้นโอโซนดูดซับ 97 ถึง 99 เปอร์เซ็นต์ของรังสียูวีความถี่กลางของดวงอาทิตย์ (ความยาวคลื่นตั้งแต่ประมาณ 200 นาโนเมตร จนถึง 315 นาโนเมตร) ที่อาจสร้างความเสียหายแก่สิ่งมีชีวิตบนผิวโลก[1]

ชั้นโอโซนในช่วงล่างของชั้นสตราโทสเฟียร์ โดยอยู่อยู่ห่างจากผิวโลก ประมาณ 20 ถึง 30 กิโลเมตร และความหนาของชั้นบรรยากาศเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูและภูมิศาสตร์[2]

ชั้นโอโซนจะช่วยป้องกันไม่ให้รังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ส่องมาถึงโลกของเรา ดวงอาทิตย์ทำให้ชีวิตบนโลกดำรงอยู่ได้ ความอบอุ่นและพลังงานของดวงอาทิตย์ ส่งผลต่อดิน น้ำ อากาศ และสิ่งมีชีวิตทุกอย่าง แต่ดวงอาทิตย์ทำให้เกิดรังสีที่เป็นอันตรายต่อชีวิตด้วย ชั้นโอโซนมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะทำหน้าที่เป็นเกราะคุ้มกัน ปกป้องพืชและสัตว์จากรังสีที่เป็นอันตรายของดวงอาทิตย์ ดังนั้นเมื่อใดที่โอโซนบางลงเราก็ได้รับการปกป้องน้อยลงด้วย เราเรียกรังสีที่เป็นอันตรายจากดวงอาทิตย์ว่า อัลตราไวโอเลต อัลตราไวโอเลตเป็นรังสีที่ไม่สามารถมองเห็นได้ หากมีปริมาณน้อยรังสีอัลตราไวโอเลตจะปลอดภัยและมีประโยชน์ โดยช่วยให้ร่างกายของเราได้รับวิตามินอี แต่รังสีอัลตราไวโอเลตที่มากเกินไป เป็นสาเหตุที่ทำให้ผิวหนังของเราอักเสบเนื่องจากแพ้แดด

ปริมาณของรังสีอัลตราไวโอเลตจำนวนมาก อาจทำให้ผิวหนังเกิดอาการอักเสบรุนแรง เกิดโรคผิวหนังและปัญหาเกี่ยวกับดวงตา รังสีอัลตราไวโอเลตยัง ลดความสามารถของร่างกายมนุษย์ ในการต่อสู้กับโรคต่าง ๆ นอกจากนี้รังสีอัลตราไวโอเลตปริมาณมาก ยังทำลายพืชในไร่และต้นพืชเล็ก ๆ ในทะเลซึ่งเป็นอาหารของปลา หากต้องไปอยู่ท่ามกลางแสงแดด ควรทาครีมป้องกันผิว ครีมทาผิวเหล่านี้จะมีตัวเลขบอกปริมาณการปกป้องผิวจากรังสีอัลตราไวโอเลตได้

ความสำคัญของชั้นโอโซน

[แก้]

บรรยากาศ คือ ชั้นของอากาศที่หุ้มห่อโลกอยู่ อากาศประกอบด้วยก๊าซหลายชนิดที่มองไม่เห็นรวมกันอยู่ ก๊าซไนโตรเจน 78% ออกซิเจน 21% อีก 1% ประกอบด้วยก๊าซอาร์กอน คาร์บอนไดออกไซด์ และอื่นๆ อีกเล็กน้อย บรรยากาศมีความสำคัญต่อชีวิตหากปราศจากออกซิเจนแล้ว สิ่งมีชีวิตจะไม่สามารถหายใจได้ ถ้าไม่มีคาร์บอนไดออกไซด์ ต้นไม้ก็ไม่สามารถเจริญเติบโต บรรยากาศให้สิ่งที่จำเป็นต่อชีวิตและปกป้องเราได้ เป็นทั้งเกราะและผ้าห่มช่วยไม่ให้โลกร้อนจัดในตอนกลางวันและไม่ให้สูญเสียความอบอุ่นในตอนกลางคืน บรรยากาศสูงขึ้นไปเหนือแผ่นดิน 310 ไมล์ 500 กิโลเมตร ประกอบด้วย ชั้นบรรยากาศ 5 ชั้น ชั้นล่างสุด คือ โทรโพสเฟียร์ เหนือขึ้นไป คือ ชั้นสตราโทสเฟียร์ ตอนบนของชั้นนี้มีโอโซนหนาแน่น อุณหภูมิสูงเพราะโอโซนดูดเอาคลื่นรังสีอัลตราไวโอเลตไว้มาก และหุ้มชั้นบรรยากาศนี้ไว้เหมือนผิวหนังบางๆ รอบๆ ชั้นต่อไป คือ มีโซสเฟียร์ mesosphere ชั้นต่อไป คือ เทอร์โมสเฟียร์ ชั้นต่อไป คือ ชั้นเอกโซสเฟียร์ exosphere[3]

ดวงอาทิตย์ไม่เพียงส่งรังสีความร้อน ที่มองไม่เห็นมายังโลก ให้ความอบอุ่นแก่มนษย์ แต่ยังส่งรังสีอัลตราไวโอเลต ซึ่งมีอันตรายมาด้วย รังสีชนิดนี้ทำให้ผิวหนังสีคล้ำและไหม้ ก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้ แต่เคราะห์ดีที่โลกหุ้มด้วยก๊าซโอโซนในบรรยากาศชั้นสเตรโตรเฟียร์ กันรังสียูวี นี้ไว้ได้มากกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ ก๊าซโอโซน O3 เป็นแก๊สออกซิเจนที่มี 3 อะตอม แทนที่จะเป็นออกซิเจนที่มี 2 อะตอม เหมือนออกซิเจนปกติ ซึ่งชั้นโอโซนเป็นเสหมือนเกราะกรองแสงที่คอยปกป้องโลกไม่ให้ร้อนจนเกินไปกันรังสีอัลตราไวโอเลต ซึ่งก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนังและแสบ ในวันที่ 16 กันยายน ของทุกปีนับตั้งแต่ปี 2530 เป็นต้นมา ได้ถูกกำหนดให้เป็น วันโอโซนโลก (World Ozone Day) เพื่อให้ตระหนักถึงประโยชน์ของชั้นโอโซนและชั้นบรรยากาศต่างๆ ของโลก และช่วยอนุรักษ์ของชั้นโอโซน[4]

การลดลงของโอโซนในชั้นบรรยากาศ

[แก้]

แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซอื่นๆเกิดขึ้นตามธรรมขาติในบรรยากาศรอบตัวเรา ช่วยในโลกอบอุ่นพอดีๆ ให้สิ่งมีชีวิตรอด ก๊าซปล่อยผ่านแสงอาทิตย์ลงมาให้ความอบอุ่นต่อโลก ป้องกันไม่ให้ความร้อนหลุดรอดกลับไปในอวกาศแก๊สนี้เรียกว่า แก๊สเรือนกระจก[5]

สารเคมีชื่อ คลอโรฟลูออโรคาร์บอน หรือ CFCs ที่ใช้ในเครื่องทำความเย็นเช่นตู้เย็นและสเปรย์ต่างๆ จะทำปฏิกิริยากับโมเลกุลโอโซน ทำให้โมเลกุลลดลงกลายเป็นโมเลกุลของออกซิเจน ซึ่งมีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต เพราะถ้าปราศจากโอโซนแล้ว รังสีอัลตราไวโอเลตจะสาดส่องพื้นโลกมากเกินไป ชั้นโอโซนซึ่งเป็นเหมือนเกราะกรองแสงที่คอยปกป้องโลกไม่ให้ร้อนจนเกินไปกันรังสีอัลตราไวโอเลต ซึ่งก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนังและแสบตา การ CFCs ที่ใช้กันทั่วโลกทำให้ชั้นโอโซนมีรูโหว่เหนือขั้วโลกทั้งสองข้าง [6]

วิธีที่ช่วยลดการทำลายชั้นโอโซน

[แก้]
  • ลดการปล่อยมลพิษทางอากาศ เช่น การจำกัดจำนวนยานพาหนะ ซึ่งยานพาหนะที่เป็นอีกหนึ่งสาเหตุในการปล่อย
  • จำกัดการขับขี่ยานพาหนะส่วนตัวหรือใช้ระบบขนส่งสาธารณะเดินหรือขี่จักรยาน
  • ใช้ผลิตภัณฑ์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สารทำความสะอาดที่มีสารเคมีที่ไม่มีสารทำลายชั้นโอโซน
  • เลือกใช้สินค้าในครัวเรือนที่มีอ่านฉลาก ตรวจสอบว่าไม่ได้มีสารทำลายโอโซน เช่น CFCs หรือ ฮาลอนและ hydrofluorocarbons
  • ทิ้งตู้เย็นเก่าและเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ และขยะอิเล็กทรอนิกส์รีไซเคิลที่อยู่ใกล้กับพื้นที่ของคุณ ได้อย่างถูกต้อง[7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Ozone layer". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-02. สืบค้นเมื่อ 2007-09-23.
  2. http://www.ozonelayer.noaa.gov/science/basics.htm. {{cite web}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  3. http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/ecology/chapter2/chapter2_airpolution8.htm
  4. http://www.seub.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=1272:libraly&catid=115:event&Itemid=145
  5. Planeta vivo - el tiempo miquel angel gilbert แปล ลมฟ้าอากาศ our living planet - weather ปิยตา วนนันทน์
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-19. สืบค้นเมื่อ 2016-11-28.
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-19. สืบค้นเมื่อ 2016-11-28.