คืนกระจกแตก
คริสทัลล์นัคท์ | |
---|---|
เป็นส่วนหนึ่งของ ฮอโลคอสต์ | |
สภาพห้างร้านชาวยิวในกรุงเบอร์ลินเสียหายหลังคืนกระจกแตก | |
สถานที่ | ประเทศเยอรมนี, 9–10 พฤศจิกายน เสรีนครดันซิก, 12–13 พฤศจิกายน |
วันที่ | 9–10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1938 |
เป้าหมาย | ชาวยิว |
ประเภท | โพกรม, การฉกชิงทรัพย์, การลอบวางเพลิง, การสังหารหมู่, วินาศกรรมโดยรัฐ |
ตาย | 91+ |
ส่วนหนึ่งของชุดบทความเรื่อง |
ระบอบนาซี |
---|
คืนกระจกแตก (อังกฤษ: Night of Broken Glass) หรือ คริสทัลล์นัคท์ (เยอรมัน: Kristallnacht) หรือเรียก โพกรมพฤศจิกายน (อังกฤษ: November Pogrom(s); เยอรมัน: Novemberpogrome) เป็นโพกรมต่อยิวที่ดำเนินการโดยชตวร์มอัพไทลุง (SA) กำลังกึ่งทหารและพลเรือนทั่วนาซีเยอรมนีระหว่างวันที่ 9–10 พฤศจิกายน 1938 ทางการเยอรมันไม่ได้เข้าแทรกแซงใด ๆ ชื่อ "คริสทัลล์นัคท์" (คืนคริสตัล) มาจากเศษกระจกแตกที่เกลื่อนพื้นถนนหลังหน้าต่างของห้างร้าน อาคารและธรรมศาลายิวถูกทุบทำลาย บริบทของเหตุดังกล่าวมาจากการลอบสังหารนักการทูตชาวเยอรมัน แอ็นสท์ ฟ็อม ราท โดย แฮร์มัน กรืนชปาน ยิวเชื้อสายเยอรมันและโปแลนด์ที่อาศัยอยู่ในกรุงปารีส
บ้าน โรงพยาบาลและโรงเรียนยิวถูกปล้นสะดมเมื่อผู้ก่อเหตุทุบทำลายอาคารด้วยค้อน มีธรรมศาลาถูกทำลาย 267 แห่งทั่วประเทศเยอรมนี ออสเตรียและซูเดเทินลันท์ ธุรกิจยิวกว่า 7,000 แห่งได้รับความเสียหายหรือถูกทำลาย และชายยิว 30,000 คนถูกจับกุมและกักกันในค่ายกักกัน
ประมาณการผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บนั้นมีหลากหลาย รายงานเบื้องต้นประมาณว่ามียิว 91 คนถูกฆ่า ส่วนการวิเคราะห์แหล่งข้อมูลวิชาการของเยอรมันสมัยใหม่ระบุตัวเลขไว้สูงกว่ามาก เมื่อคิดรวมการถูกทารุณหลังถูกจับกุม และการฆ่าตัวตายหลังจากนั้น ริชาร์ด อีแวนส์ประมาณว่ามีผู้ฆ่าตัวตาย 638 คน นักประวัติศาสตร์มองว่าคืนกระจกแตกเป็นมูลเหตุของการแก้ปัญหายิวครั้งสุดท้าย และฮอโลคอสต์ในเวลาต่อมา
อ้างอิง
[แก้]- Browning, Christopher R. (2003). Collected Memories: Holocaust History and Postwar Testimony. George L. Mosse Series in Modern European Cultural and Intellectual History. Madison: University of Wisconsin Press. ISBN 0-299-18984-8.
- Mayer, Kurt (2009). My Personal Brush with History. Tacoma: Kurt Mayer, Confluence Books. ISBN 978-0-578-03911-4.
- Friedlander, Saul (1998). Nazi Germany and the Jews: Volume 1: The Years of Persecution 1933–1939. New York, NY: Perennial. ISBN 0-06-092878-6.
- Gilbert, Martin (1986). The Holocaust: The Jewish Tragedy. London: Collins. ISBN 0-00-216305-5.
- Gordon, Sarah Ann (1984). Hitler, Germans, and the Jewish Question. Princeton University Press. ISBN 0-691-10162-0.
- Johnson, Eric J. (1999). Nazi Terror: The Gestapo, Jews, and Ordinary Germans. New York: Basic Books. ISBN 0-465-04906-0.
- Mosse, George L. (1978). Toward the Final Solution: A History of European Racism. New York: Howard Fertig. ISBN 0-86527-941-1.
- Mosse, George L. (2000). Confronting History: A Memoir. Madison: University of Wisconsin Press. ISBN 0-299-16580-9.
- Mosse, George L. (2003). Nazi Culture: Intellectual, Cultural and Social Life in the Third Reich. Madison: University of Wisconsin Press. ISBN 0-299-19304-7.
- Mosse, George L. (1999). The Crisis of German Ideology: Intellectual Origins of the Third Reich. New York: Howard Fertig. ISBN 0-86527-426-6.