การพิชิตอียิปต์ของจักรวรรดิซาเซเนียน
การพิชิตอียิปต์ของจักรวรรดิซาเซเนียน | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามไบแซนไทน์-ซาเซเนียน | |||||||||
การขยายอาณาเขตที่กว้างใหญ่ที่สุดของจักรวรรดิซาเซเนียน | |||||||||
| |||||||||
คู่สงคราม | |||||||||
จักรวรรดิไบแซนไทน์ | จักรวรรดิซาเซเนียน | ||||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||||
นิเกตัส | ซาห์รบาราช[2] |
การพิชิตอียิปต์ของจักรวรรดิซาเซเนียน เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 618 จนถึง ค.ศ. 621 เมื่อกองทัพเปอร์เซียของจักรวรรดิซาเซเนียนได้เอาชนะกองกำลังจากจักรวรรดิไบแซนไทน์ในอียิปต์และยึดครองมณฑลได้ การล่มสลายของเมืองอะเล็กซานเดรีย ซึ่งเมืองหลวงของมณฑลอียิปต์แห่งโรมัน ถือเป็นจุดแรกและสำคัญที่สุดในการดำเนินการทางทหารของจักรวรรดิซาเซเนียนเพื่อพิชิตมณฑลอันร่ำรวยแห่งนี้ ซึ่งในที่สุดก็ตกอยู่ภายใต้การปกครองของเปอร์เซียอย่างสมบูรณ์ภายในเวลาเพียงไม่กี่ปี ข้อมูลของเหตุการณ์ดังกล่าวได้มาจาก เอ. เจ. บัตเลอร์[3]
เบื้องหลังการพิชิต
[แก้]กษัตริย์ชาห์แห่งเปอร์เซีย กษัตริย์โคสโรว์ที่ 2 ทรงได้ฉวยโอกาสจากความวุ่นวายภายในของจักรวรรดิไบแซนไทน์หลังจากการโค่นล้มจักรพรรดิเมาริกิอุสโดยจักรพรรดิโพกัส เพื่อโจมตีมณฑลแห่งโรมันทางตะวันออก เมื่อถึงปี ค.ศ. 615 เปอร์เซียได้ขับไล่ชาวโรมันออกจากดินแดนเมโสโปเตเมียตอนเหนือ ซีเรีย และปาเลสไตน์ ด้วยความมุ่งมั่นที่จะกำจัดการปกครองของโรมันในบริเวณเอเชีย กษัตริย์โคสโรว์จึงทรงหันไปสนพระราชหฤทัยมณฑลอียิปต์ ซึ่งเป็นยุ้งฉางของจักรวรรดิโรมันตะวันออก[4]
การล่มสลายของอียิปต์
[แก้]การรุกรานอียิปต์ของเปอร์เซียเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 617 หรือ ค.ศ. 618 แต่ไม่ค่อยทราบเกี่ยวกับรายละเอียดของการดำเนินการทางทหารครั้งดังกล่าว เนื่องจากมณฑลแห่งนี้แทบจะถูกตัดขาดจากดินแดนจักรวรรดิโรมันที่เหลืออยู่[5] กองทัพเปอร์เซียมุ่งหน้าไปยังเมืองอะเล็กซานเดรีย ซึ่งนิเกตัส ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องของจักรพรรดิเฮราคลิอุส และเป็นผู้ว่าการมณฑลไม่สามารถต้านทานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นิเกตัสและพระสังฆราชของศาสนาคริสต์คาลเซโดเนียนพระนามว่า จอห์นที่ 5 ได้หนีออกจากเมืองไปยังไซปรัส[4] ตามบันทึกของคูซีสตาน เมืองอะเล็กซานเดรียได้ถูกยึดโดยชาวเปอร์เซียในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 619[6][7] ชาวเปอร์เซียยังได้ยึดศูนย์กลางพระสงฆ์ที่เอนาตอน ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองอะเล็กซานเดรียไปทางตะวันตก 9 ไมล์ตามถนนเลียบชายฝั่ง[8]
หลังจากการล่มสลายของเมืองอะเล็กซานเดรีย ชาวเปอร์เซียค่อยๆ ขยายการปกครองไปทางใต้ตามแม่น้ำไนล์[5] ซึ่งปราฏการต่อต้านประปรายจำเป็นต้องมีการกวาดล้าง แต่เมื่อถึงปี ค.ศ. 621 มณฑลอียิปต์ก็ตกอยู่ในการปกครองของเปอร์เซียอย่างสงบ[9]
ผลที่ตามมาจากการพิชิต
[แก้]อียิปต์จะยังคงอยู่ในการปกครองของเปอร์เซียเป็นเวลา 10 ปี ซึ่งปกครองโดยนายพลชาห์ร์บาราซจากเมืองอะเล็กซานเดรีย[2] ขณะที่จักรพรรดิแห่งโรมันพระนามว่า เฮราคลิอุส ทรงเป็นผู้พลิกกระแสและทรงเอาชนะกษัตริย์โคสโรว์ได้ นายพลชาห์รบาราซได้รับคำสั่งให้อพยพออกจากมณฑล แต่ถูกปฏิเสธ ในท้ายที่สุด จักรพรรดิเฮราคลิอุสทรงพยายามทั้งกอบกู้อียิปต์และหว่านความแตกแยกในหมู่ชาวเปอร์เซีย ซึ่งเสนอที่จะช่วยนายพลชาห์รบาราซยึดบัลลังก์จักรวรรดิเปอร์เซียด้วยตัวพระองค์เอง ซึ่งมีการบรรลุข้อตกลง และในฤดูร้อนปี ค.ศ. 629 กองทหารเปอร์เซียเริ่มออกจากอียิปต์[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "EGYPT iv. Relations in the Sasanian period – Encyclopaedia Iranica". www.iranicaonline.org. สืบค้นเมื่อ 2019-08-09.
The occupation of Egypt, beginning in 619 or 618 (Altheim-Stiehl, 1991), was one of the triumphs in the last Sasanian war against Byzantium.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Howard-Johnston (2006), p. 124
- ↑ A. J. Butler, The Arab Conquest of Egypt, (1902). Reprinted (1978) by Oxford University Press, ISBN 0-19-821678-5
- ↑ 4.0 4.1 Frye (1993), p. 169
- ↑ 5.0 5.1 Dodgeon et al. (2002), p. 196
- ↑ Dodgeon et al. (2002), pp. 196, 235
- ↑ Howard-Johnston (2006), pp. 10, 90
- ↑ Juckel 2011.
- ↑ Howard-Johnston (2006), p. 99
บรรณานุกรม
[แก้]- Dodgeon, Michael H.; Greatrex, Geoffrey; Lieu, Samuel N. C. (2002). The Roman Eastern Frontier and the Persian Wars (Part I, 226–363 AD). Routledge. pp. 196–97. ISBN 0-415-00342-3.
- Frye, R. N. (1993). "The Political History of Iran under the Sassanids". ใน Yarshater, Ehsan; Bailey, Harold (บ.ก.). The Cambridge History of Iran. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-20092-9.
- Howard-Johnston, James (2006). East Rome, Sasanian Persia And the End of Antiquity: Historiographical And Historical Studies. Ashgate Publishing. ISBN 0-86078-992-6.
- Juckel, Andreas (2011). "The Enaton". ใน Sebastian P. Brock; Aaron M. Butts; George A. Kiraz; Lucas Van Rompay (บ.ก.). Gorgias Encyclopedic Dictionary of the Syriac Heritage: Electronic Edition. Gorgias Press. สืบค้นเมื่อ 23 October 2019.