การทิ้งระเบิดยูโกสลาเวียโดยเนโท
การทิ้งระเบิดยูโกสลาเวียโดยเนโท | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามคอซอวอ | |||||||||
นครนอวีซาดของยูโกสลาเวียขณะถูกทิ้งระเบิดและเกิดเพลิงไหม้ในปี 1999 | |||||||||
| |||||||||
คู่สงคราม | |||||||||
สหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย | |||||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||||
จอห์น วี. เฮนดริกซ์ | |||||||||
กำลัง | |||||||||
เนโท:
|
| ||||||||
ความสูญเสีย | |||||||||
|
การประมาณการของกระทรวงกลาโหมเซอร์เบียปี 2013:
ทหารและตำรวจ 304 คน [3] ความสูญเสีย: การประมาณการโดยเนโท:[4]
| ||||||||
การประมารการโดยฮิวแมนไรตส์วอตช์: 489–528 คนเสียชีวิต (60% ของอยู่ในคอซอวอ) |
การปฏิบัติการทิ้งระเบิดทางอากาศโดยองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (เนโท) เกิดขึ้นในช่วงสงครามคอซอวอ ซึ่งดำเนินการทิ้งระเบิดจากวันที่ 24 มีนาคม 1999 ถึง 10 มิถุนายน 1999 โดยการทิ้งระเบิดได้ดำเนินต่อไปจนกว่าจะบรรลุข้อตกลงที่นำไปสู่การถอนทัพของกองกำลังยูโกสลาเวียจากคอซอวอ และการจัดตั้งคณะผู้แทนสหประชาชาติในคอซอวอ (UNMIK) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ปฏิบัติภารกิจรักษาสันติภาพของสหประชาชาติในคอซอวอ ชื่อรหัสทางการของปฏิบัติการของเนโทคือ ปฏิบัติการกำลังพันธมิตร (เซอร์เบีย: Савезничка сила / Saveznička sila) ขณะที่สหรัฐอเมริกามีชื่อเรียกปฏิบัติการนี้ว่า ปฏิบัติการกริ่งเหล็กศักดิ์สิทธิ์ (เซอร์เบีย: Племенити наковањ / Plemeniti nakovanj) ;ในยูโกสลาเวีย ปฏิบัติการนี้ถูกเรียกผิดว่า ปฏิบัติการนางฟ้าผู้มีเมตตา (เซอร์เบีย: Милосрдни анђео / Milosrdni anđeo), อาจเป็นผลมาจากการเข้าใจผิดหรือการแปลผิด[6]
การแทรกแซงของเนโทเกิดขึ้นจากการสังหารหมู่และการล้างชาติพันธุ์ชาวแอลเบเนียในสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย ซึ่งทำให้ชาวแอลเบเนียหลบหนีไปยังประเทศเพื่อนบ้านและทำให้ภูมิภาคนี้ไม่มั่นคง การกระทำของยูโกสลาเวียได้ก่อให้เกิดการประณามจากองค์กรและหน่วยงานระหว่างประเทศต่างๆ เช่น สหประชาชาติ, เนโท และองค์กรพัฒนาเอกชนระหว่างประเทศ [7][8] การปฏิเสธของยูโกสลาเวียที่จะลงนามในข้อตกลงแรมบุยเลต์ ถูกนำเสนอเป็นเหตุผลในการใช้กำลังของเนโทเริ่มแรก ประเทศสมาชิกเนโทพยายามขออนุมัติจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเพื่อดำเนินการทางทหาร แต่ถูกคัดค้านโดยจีนและรัสเซีย ซึ่งแสดงท่าทีว่าจะใช้สิทธิ์ยับยั้งการดำเนินการดังกล่าว [ต้องการอ้างอิง] ผลจากนั้นเนดทได้เริ่มปฏิบัติการของตนโดยไม่ได้รับการอนุมัติจากสหประชาชาติ โดยระบุว่าเป็นการแทรกแซงทางมนุษยธรรมเป็นส่วนหนึ่งของเหตุผล ข้อตกลงในกฎหมายของสหประชาชาติห้ามการใช้กำลังยกเว้นในกรณีที่มีการตัดสินใจจากคณะมนตรีความมั่นคงภายใต้บทความ 42 หรือภายใต้บทความ 51 หรือบทความ 53 ของกฎบัตรสหประชาชาติ[9] สามวันหลังจากการเริ่มต้นการทิ้งระเบิดเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 1999 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้ปฏิเสธคำเรียกร้องของรัสเซีย เบลารุส และอินเดียให้ยุติการใช้กำลังต่อยูโกสลาเวีย[10]
จนถึงสิ้นสุดสงคราม ชาวยูโกสลาเวียได้ถูกสังหารไป 1,500 ถึง 2,131 คน[11][12] มีผู้เสียชีวิตหรือสูญหายไป 10,317 คน ซึ่ง 85% ของผู้เสียชีวิตหรือสูญหายเป็นชาวแอลเบเนียคอซอวอ และมีผู้ถูกขับไล่ออกจากคอซอวอประมาณ 848,000 คน[13] การทิ้งระเบิดของเนโทคร่าชีวิตสมาชิกของกองกำลังของยูโกสลาเวียประมาณ 1,000 คน นอกเหนือจากพลเรือนที่เสียชีวิตระหว่าง 489 ถึง 528 คน การทิ้งระเบิดในครั้งนี้สร้างความเสียหายแก่สะพาน โรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล โรงเรียน อนุสาวรีย์ทางวัฒนธรรม สถานประกอบธุรกิจ รวมถึงค่ายทหารและสถานที่ทหาร รวมทั้งหมดแล้ว มีการทิ้งยูเรเนียมประมาณ 9 ถึง 11 ตันทั่วทั้งยูโกสลาเวีย[14] ในช่วงหลายวันหลังจากการถอนตัวของกองกำลังยูโกสลาเวีย มีชาวเซิร์บมากกว่า 164,000 คนและชาวโรมานี 24,000 คนที่ออกจากคอซอวอ ส่วนคนที่เหลืออยู่ซึ่งเป็นพลเรือนที่ไม่ใช่ชาวแอลเบเนียเป็นเหยื่อของการทารุณกรรม ซึ่งรวมถึงการตี การลักพาตัว และการฆาตกรรม[15][16][17][18][19] หลังจากสงครามคอซอวอและสงครามยูโกสลาเวีย เซอร์เบียกลายเป็นที่พักพิงของผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ (รวมถึงชาวเซิร์บ) จำนวนมากที่สุดในยุโรป[20][21][22]
การทิ้งระเบิดครั้งนี้เป็นปฏิบัติการครั้งที่สองที่สำคัญของเนโทหลังจากการทิ้งระเบิดบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาในปี 1995 นอกจากนี้ยังเป็นครั้งแรกที่เนดทใช้กำลังทหารโดยไม่มีการรับรองอย่างเป็นทางการจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และดังนั้นจึงไม่มีการอนุมัติทางกฎหมายระหว่างประเทศ[23] ซึ่งทำให้เกิดการถกเถียงเกี่ยวกับความชอบธรรมของการแทรกแซง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Officially confirmed / documented NATO UAV losses". 8 March 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 March 2001.
- ↑ "Stradalo 1.008 vojnika i policajaca". RTS. 11 February 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 June 2021. สืบค้นเมื่อ 2 June 2021.
- ↑ "Human losses in NATO bombing (Serbia Kosovo, Montenegro)". FHP. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 March 2022. สืบค้นเมื่อ 24 March 2022.
- ↑ Grant, Rebecca (1 August 2000). "True Blue: Behind the Kosovo Numbers Game". Air & Space Forces Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 September 2024. สืบค้นเมื่อ 23 September 2024.
- ↑ „Шеснаеста годишњица НАТО бомбардовања“ เก็บถาวร 29 ตุลาคม 2020 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, РТС, 24. март 2015.
- ↑ RTS: "Порекло имена 'Милосрдни анђео'" ("On the origin of the name 'Merciful Angel'") เก็บถาวร 2 พฤศจิกายน 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 26 March 2009 (ในภาษาเซอร์เบีย)
- ↑ Jordan, Robert S. (2001). International organizations: A comparative approach to the management of cooperation. Greenwood Publishing Group. p. 129. ISBN 9780275965495.
- ↑ Yoshihara, Susan Fink (2006). "Kosovo". ใน Reveron, Derek S.; Murer, Jeffrey Stevenson (บ.ก.). Flashpoints in the War on Terrorism. Routledge. pp. 67–68. ISBN 9781135449315.
- ↑ O'Connell, Mary Ellen (2000). "The UN, NATO, and International Law after Kosovo". Human Rights Quarterly. 22 (1): 57–89. doi:10.1353/hrq.2000.0012. ISSN 0275-0392. JSTOR 4489267. S2CID 146137597.
- ↑ "SECURITY COUNCIL REJECTS DEMAND FOR CESSATION OF USE OF FORCE AGAINST FEDERAL REPUBLIC OF YUGOSLAVIA". SC/6659. United Nations. Security Council. 26 March 1999.
- ↑ Daalder, Ivo H.; O'Hanlon, Michel E. (2000). Winning Ugly: NATO's War to Save Kosovo (2004 ed.). Washington, D.C.: Brookings Institution Press. p. 151. ISBN 978-0815798422. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 January 2023. สืบค้นเมื่อ 2 January 2021 – โดยทาง Google Books.
- ↑ "Kosovo Memory Book Database Presentation and Expert Evaluation" (PDF). Humanitarian Law Center. 4 February 2015. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 12 November 2020. สืบค้นเมื่อ 2 January 2021.
- ↑ Judah, Tim (1997). The Serbs: History, Myth and the Destruction of Yugoslavia (2009, 3rd ed.). New Haven, Connecticut: Yale University Press. p. 150. ISBN 978-0-300-15826-7. สืบค้นเมื่อ 3 January 2021 – โดยทาง Google Books.
the Serbian police began clearing ... people [who] were marched down to the station and deported... the UNCHR registered 848,000 people who had either been forcibly expelled or had fled
- ↑ Miljević, Nada; Marković, Mirjana; Todorović, Dragana; Cvijović, Mirjana; Dušan, Golobočanin; Orlić, Milan; Veselinović, Dragan; Biočanin, Rade (2001). "Uranium content in the soil of the Federal Republic of Yugoslavia after NATO intervention" (PDF). Archive of Oncology. 9 (4): 245-249. สืบค้นเมื่อ 31 March 2024.
- ↑ "Abuses against Serbs and Roma in the new Kosovo". Human Rights Watch. August 1999. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 October 2017. สืบค้นเมื่อ 4 December 2016.
- ↑ Hudson, Robert; Bowman, Glenn (2012). After Yugoslavia: Identities and Politics Within the Successor States. Palgrave Macmillan. p. 30. ISBN 9780230201316.
- ↑ "Kosovo Crisis Update". United Nations High Commission for Refugees. 4 August 1999. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 October 2015. สืบค้นเมื่อ 24 March 2019.
- ↑ "Forced Expulsion of Kosovo Roma, Ashkali and Egyptians from OSCE Participated state to Kosovo". OSCE. 6 October 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 November 2015. สืบค้นเมื่อ 24 March 2019.
- ↑ Siobhán Wills (26 February 2009). Protecting Civilians: The Obligations of Peacekeepers. Oxford University Press. p. 219. ISBN 978-0-19-953387-9. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 January 2023. สืบค้นเมื่อ 24 February 2013.
- ↑ "Serbia home to highest number of refugees and IDPs in Europe". B92. 20 June 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 March 2017. สืบค้นเมื่อ 26 March 2019.
- ↑ "Serbia: Europe's largest proctracted refugee situation". OSCE. 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 March 2017. สืบค้นเมื่อ 26 March 2019.
- ↑ S. Cross, S. Kentera, R. Vukadinovic, R. Nation (7 May 2013). Shaping South East Europe's Security Community for the Twenty-First Century: Trust, Partnership, Integration. Springer. p. 169. ISBN 9781137010209. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 January 2023. สืบค้นเมื่อ 31 January 2017.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Zyla, Benjamin (2020). The End of European Security Institutions?: The EU's Common Foreign and Security Policy and NATO After Brexit. Springer. p. 40. ISBN 9783030421601. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 July 2022. สืบค้นเมื่อ 22 July 2022.