ข้ามไปเนื้อหา

การค้าประเวณีในประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ถนนคนเดินพัทยา ย่านค้าประเวณีในพัทยา
สถานะทางกฎหมายการค้าประเวณีในเอเชีย
  ถูกต้องตามกฎหมาย และมีการควบคุม
  ถูกกฎหมายแต่ไม่ได้มีการควบคุม มีการทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ซ่องโสเภณี และการค้าของเถื่อน
  การซื้อบริการทางเพศและการมีส่วนร่วมของบุคคลที่สาม การขายบริการทางเพศถูกกฎหมาย
  ผิดกฎหมาย
  แตกต่างกันไปตามกฎหมายท้องถิ่น

การค้าประเวณีเป็นสิ่งผิดกฎหมายในประเทศไทย[1] แต่ในทางปฏิบัติพบว่ามีการค้าประเวณีอยู่และถูกควบคุมในบางส่วน[2] การค้าประเวณีพบได้ทั่วประเทศ[3][4] เจ้าพนักงานในท้องถิ่นที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องมักจะปกป้องการค้าประเวณี จำนวนของผู้ค้าบริการทางเพศประมาณให้แน่นอนได้ยาก แต่ละสำนักมีตัวเลขและนิยามที่ต่างกันไป และเป็นที่ถกเถียงกันทั้งในระดับชาติและนานาชาติ[5] ตั้งแต่สงครามเวียดนามเป็นต้นมา ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในประเทศจุดหมายปลายทางสำหรับเซ็กซ์ทัวร์ [6] คนที่มาทำงานนี้ส่วนใหญ่มีเหตุผลมาจากความยากจน, การศึกษาระดับต่ำ, ขาดการจ้างงานในท้องถิ่น, มีภูมิหลังจากชนบท และส่วนใหญ่มาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, จากชนกลุ่มน้อย หรือจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะประเทศพม่าและประเทศลาว[7][8][9][10][11][12][13][14][15][16] โครงการร่วมเอดส์แห่งสหประชาชาติใน ค.ศ. 2019 รายงานว่ามีจำนวนผู้ค้าบริการทางเพศในประเทศไทยประมาณ 43,000 คน[17]

ขนาดของการค้าประเวณี

[แก้]

เรื่องจำนวนของผู้ค้าบริการทางเพศในไทยยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ การศึกษาของนักวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อ พ.ศ. 2547 ระบุว่ามีผู้ทำงานเกี่ยวกับบริการทางเพศ 2.8 ล้านคน เป็นผู้หญิง 2 ล้านคน เป็นผู้ชาย 2 หมื่นคน และเป็นผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปี 8 แสนคน อย่างไรก็ดีมีผู้ท้วงติงว่าตัวเลขนี้น่าจะสูงเกินกว่าความเป็นจริงมาก[18] การศึกษาใน พ.ศ. 2546 ประมาณมูลค่าทางเศรษฐกิจไว้ที่ 4.3 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี หรือราว 3% ของระบบเศรษฐกิจไทยโดยรวม[19] และประมาณการณ์ว่าอาจมีผู้ค้าบริการทางเพศมากถึง 10,000 คนบนเกาะสมุย และไม่น้อยกว่า 10% ของมูลค่าเงินที่นักท่องเที่ยวนำเข้ามาถูกใช้ในกิจกรรมทางเพศ[20] ส่วนรายงานขององค์การอนามัยโลกใน พ.ศ. 2544 ระบุว่าการประมาณการณ์ที่น่าเชื่อถือที่สุดระบุว่ามีผู้ค้าบริการทางเพศระหว่าง 150,000 ถึง 200,000 คน[21] การสำรวจโดยภาครัฐบาลพบว่ามีการค้าบริการทางเพศที่เป็นผู้ใหญ่อยู่ระหว่าง 76,000 ถึง 77,000 คน ในสถานบันเทิงที่จดทะเบียน ในขณะที่กลุ่ม NGO เชื่อว่ามีผู้ค้าบริการทางเพศระหว่าง 200,000 ถึง 300,000 คน[5] ประเทศไทยมีจำนวนโสเภณีกว่า 1 แสนถึง 2 แสนคนธุรกิจอาบอบนวดที่ขายบริการทางเพศร่วมด้วยทำรายได้ให้กับประเทศไทย

ในปี พ.ศ. 2550 ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ระบุในภาคนิพนธ์ว่า ประเทศไทยมีรายได้จากธุรกิจอาบอบนวดและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับบริการทางเพศราว 2.05 ของ จีดีพีในปีนั้น[22]

ในปี พ.ศ. 2561 พลตำรวจเอก สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ระบุว่ามีผู้ประกอบการ 81 แห่งทั่วประเทศ[23] แม้การค้าขายบริการทางเพศผิดกฎหมายในประเทศไทย[24] แต่การเป็นเจ้าของธุรกิจเหล่านี้ไม่ผิดกฎหมาย นอกจากนั้นธุรกิจการพนันในประเทศกัมพูชาที่มีเจ้าของเป็นคนไทยยังทำรายได้เข้าประเทศ[25]

รูปแบบการค้าประเวณีในประเทศไทย

[แก้]

รูปแบบของการค้าประเวณีในประเทศไทยในปัจจุบัน มีหลายรูปแบบ ที่อาจพบได้ง่ายเช่น

  • อาบอบนวด เป็นสถานบริการทางเพศโดยตรง[26] โดยผู้ขายบริการจะนั่งรอภายในสถานบริการและรอลูกค้าเข้ามาเลือก โดยในสถานบริการจะมีบริการจัดห้องไว้รับรอง สถานบริการอาบอบนวดมีกระจายในกรุงเทพมหานครและจังหวัดอื่นบางจังหวัด ในกรุงเทพมีมากบริเวณถนนพระราม 9 ถนนเพชรบุรี ถนนรัชดาภิเษก เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถพบโฆษณาของอาบอบนวดบางแห่งได้ในอินเทอร์เน็ต หรือในหนังสือพิมพ์กีฬาบางฉบับอีกด้วย
  • ซ่อง คล้ายคลึงกับอาบอบนวด แต่มักไม่เปิดตัวโจ่งแจ้ง และเป็นธุรกิจผิดกฎหมาย ซ่องบางแห่งอาจลักลอบเปิดโดยใช้ธุรกิจนวดแผนโบราณหรือสปาขึ้นบังหน้าเท่านั้นและมีการบริการนวดกระปู๋
  • สถานบันเทิง คาเฟ่ ร้านคาราโอเกะ สปา หรือร้านตัดผม บางแห่ง มีบริการทางเพศแอบแฝงเพิ่มเติมสำหรับลูกค้า
  • รอลูกค้าที่โรงแรมม่านรูด หรือบริเวณริมถนนบางแห่ง ที่เป็นแหล่งค้าประเวณี
  • การโทรเรียก โดยลูกค้าติดต่อทางนายหน้า (หรือแมงดา หรือมาม่าซัง) เพื่อเรียกมาใช้บริการทางที่พักของลูกค้า หรือทางโรงแรมที่เตรียมไว้ ราคาการให้บริการจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสถานที่และชนิด โดยปกติ ผู้ชายที่ให้บริการ จะได้รายได้น้อยกว่าผู้หญิงที่ให้บริการ บางครั้งนายหน้าอาจใช้คำเรียกอาชีพอื่นเพื่อปิดบังการค้าประเวณี เช่น จัดหาพริตตี้ จัดหานางแบบ เป็นต้น
  • การซื้อขายบริการทางเพศผ่านอินเทอร์เน็ต โดยอาจซื้อขายผ่านทางการแชต (เมสเซนเจอร์) แคมฟรอก หรือเฟซบุ๊ก เป็นต้น หรือเว็บไซต์ใต้ดินบางแห่งอาจมีโฆษณาการขายบริการทางเพศ
  • การซื้อขายบริการทางเพศแบบซื้อเหมาในระยะยาว เช่นหนึ่งสัปดาห์ หรือหนึ่งเดือนขึ้นไป โดยในช่วงระยะเวลาที่ตกลงกันนั้น ผู้ซื้อจะผูกขาดการเป็นลูกค้าแต่เพียงผู้เดียว ไม่ยินยอมให้ผู้ขายไปขายบริการหรือไปมีกิจกรรมทางเพศกับบุคคลอื่นอีก ซึ่งอาจถือว่าเป็นการเหมาซื้อทั้งบริการทางเพศและความสัมพันธ์ชั่วคราวในรูปแบบอื่น เช่นแฟนหรือคนรักด้วย บางครั้งเรียกการซื้อแบบนี้ว่า "ผูกปิ่นโต"
  • การล่อลวงเหยื่อให้มาค้าประเวณี ผู้ล่อลวงอาจแอบอ้างตัวว่าเป็นธุรกิจอื่น เช่น โมเดลลิ่ง แมวมองดารา เป็นต้น

บางครั้งผู้ค้าประเวณีหญิงที่มีรูปร่างหน้าตาดีอาจแอบอ้างตัวว่าประกอบอาชีพอื่นบางอาชีพ เพื่อเพิ่มค่าตัว เช่น เป็นนิสิตนักศึกษา หรือพริตตี้ หรือนางแบบ เป็นต้น

ในการซื้อขายบริการทางเพศ ผู้ขายหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอาจใช้คำอื่น หรือชื่ออาชีพอื่นแทน เพื่อเลี่ยงการกล่าวถึงโดยตรง เช่น "ไซด์ไลน์" "ขายน้ำ" "เด็กออฟ" "หมอนวด" "นวดโดยนางแบบ" "นวดโดยพริตตี้" เป็นต้น

ในบางกรณีอาจพบว่ามีชาวต่างชาติ หรือคนต่างด้าว ทั้งที่มาจากประเทศเพื่อนบ้าน[27][28] เช่น พม่า[29] ลาว[30][31] กัมพูชา[32] [33][34] เป็นต้น และจากประเทศอื่น เช่น รัสเซีย[35] อุซเบกิสถาน[36][37] เป็นต้น เข้ามาค้าประเวณีในประเทศไทย โดยมีทั้งที่เต็มใจกระทำ และที่ถูกแก๊งค้ามนุษย์ข้ามชาติล่อลวงหรือบังคับมา

สถานะทางกฎหมายและประวัติศาสตร์

[แก้]

การค้าประเวณีไม่ใช่สิ่งใหม่ในสังคมไทย มีเอกสารทางประวัติศาสตร์ย้อนไปได้กว่าหกร้อยปี เช่น เอกสารของชาวจีน Ma Huan (1433) และชาวยุโรป (Van Neck, 1604; Gisbert Heeck, 1655 และอื่นๆ) อย่างไรก็ดีในประวัติศาสตร์ยุคใหม่ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองและสงครามเย็น ที่มีชาวญี่ปุ่นและชาวอเมริกันจำนวนมากเข้ามาอาศัยในประเทศไทยอาจทำให้สถานการณ์รุนแรงขึ้น

ในสมัยโบราณกฎศาสนาห้ามการค้าประเวณี ในขณะที่ต่อมาได้มีกฎหมายสมัยใหม่ในการห้ามและป้องปรามการค้าประเวณีมาเป็นลำดับ

ผลกระทบต่อสังคม

[แก้]
ค่ำคืนในซอยคาวบอย กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นที่ทราบทั่วไปว่ามีการลักลอบค้าประเวณี เช่นเดียวกับในย่านนานาพลาซ่าและพัฒน์พงษ์

โดยเหตุที่การค้าประเวณีนำมาซึ่งความเสื่อมเสียทางศีลธรรมและปัญหาสังคมต่าง ๆ นานาดังกล่าว รัฐบาลไทยทุกยุคทุกสมัยได้พยายามแก้ปัญหานี้อยู่เสมอ แต่สภาพการณ์ก็ยังทรง ๆ ทรุด ๆ เรื่อยมา

นโยบายและกฎหมายเกี่ยวกับการค้าประเวณีของไทยเพิ่งจะเริ่มขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระองค์ทรงตราพระราชบัญญัติฉบับหนึ่ง ชื่อ "พระราชบัญญัติป้องกันสัญจรโรค รัตนโกสินทรศก 127" เหตุผลในการประกาศใช้มีว่า

"...ด้วยทรงพระราชดำริเห็นว่า ทุกวันนี้หญิงบางจำพวกประพฤติตนอย่างที่เรียกว่าหญิงนครโสเภณี มีหัวหน้ารวบรวมกันตั้งโรงหาเงินขึ้นหลายตำบล แต่ก่อนมาการตั้งโรงหญิงนครโสเภณี นายโรงช่วยไถ่หญิงมาเป็นทาสรับตั๋วจากเจ้าภาษีแล้วตั้งเป็นโรงขึ้น ครั้นต่อมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลิกทาสเสียแล้ว หญิงบางจำพวกที่สมัครเข้าเป็นหญิงนครโสเภณีก็รับตั๋วจากเจ้าภาษีแล้วมีหัวหน้ารวบรวมกันตั้งขึ้นในท้องที่โรงอันควรบ้างมิควรบ้าง กระทำให้มีเหตุเกิดการวิวาทขึ้นเนือง ๆ อีกประการหนึ่ง หญิงบางคนป่วยเป็นโรคซึ่งอาจจะติดต่อเนื่องไปถึงผู้ชายที่คบหาสมาคมได้ ก็มิได้มีแพทย์ตรวจตรารักษาโรคร้ายนั้น อาจจะติดเนื่องกันไปจนถึงเป็นอันตรายแก่ร่างกายและชีวิตมนุษย์เป็นอันมาก และยังหาได้มีกฎหมายและข้อบังคับอย่างใดสำหรับจะป้องกันทุกข์โทษภัยแห่งประชาราษฎรทั้งหลายเหล่านี้ไม่ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัตืขึ้นไว้สืบไปดังนี้..."

สาระสำคัญของพระราชบัญญัติป้องกันสัญจรโรค รัตนโกสินทรศก 127 มีว่า 1) หญิงนครโสเภณีให้เป็นได้แต่โดยใจสมัคร ใครจะบังคับผู้อื่นหรือล่อลวงมาให้เป็นหญิงนครโสเภณีมิได้เลย มีโทษตามพระราชกำหนดลักษณะข่มขืนล่วงประเวณี รัตนโกสินทรศก 118 ซึ่งโทษนี้ปัจจุบันมีบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญา[ลิงก์เสีย]แทนแล้ว 2) หญิงนครโสเภณีทุกคนต้องได้รับอนุญาตจากทางราชการก่อนจึงจะเป็นได้ และต้องเสียค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาตราคาสิบสองบาท มีอายุสามเดือนต่อใบ ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวนับว่าสูงมากในสมัยนั้น แสดงเจตนารมณ์ในการป้องปรามการเป็นโสเภณีอยู่ในตัว 3) ผู้ตั้งโรงหญิงนครโสเภณีต้องได้รับอนุญาตจากทางราชการก่อน และนายโรงก็เป็นได้แต่ผู้หญิง เพื่อความสะดวกและปลอดภัยในการดูแลกันเอง 4) หญิงนครโสเภณีต้องไม่สร้างความรำคาญวุ่นวายแก่บุคคลภายนอก เช่น ฉุดลาก ยื้อแย้ง ล้อเลียน เป็นต้น 5) เจ้าพนักงานมีอำนาจเข้าไปในโรงหญิงนครโสเภณีทุกเมื่อ เพื่อนำตัวสมาชิกคนใดของโรงมาตรวจ ถ้าพบโรคก็ให้ส่งไปรักษาจนกว่าจะหาย แลอาจเพิกถอนหรือสักพักใช้ใบอนุญาตในคราวนั้นด้วยก็ได้

ต่อมาภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เกิดมีแนวคิดที่จะปรับสภาพหญิงนครโสเภณีให้กลับเป็นคนดีของสังคม องค์การสหประชาชาติได้เรียกร้องให้มีการเลิกค้าประเวณีทั่วโลก โดยใน พ.ศ. 2492 ได้มีการประชุมร่างอนุสัญญาเพื่อการนี้ขึ้น ชื่อ "อนุสัญญาฉบับรวม" (อังกฤษ: Consolidated Convention) มีเนื้อหาสาระเป็นการขจัดการค้าสตรีและการแสวงหาประโยชน์จากหญิงนครโสเภณี เพื่อเลิกการทำให้การค้าประเวณีเป็นสิ่งถูกกฎหมาย[38] ตลอดจนส่งเสริมให้มีการจัดตั้งศูนย์ฝึกอาชีพให้แก่หญิงนครโสเภณีเพื่อกลับเป็นคนดีของสังคมต่อไปด้วย ซึ่งเมื่อประกาศใช้แล้ว ไทยเองก็ได้เข้าร่วมเป็นรัฐภาคีแห่งอนุสัญญานี้

ตั้งแต่ พ.ศ. 2492 เป็นต้นมา รัฐบาลไทยได้ประกาศห้ามจัดตั้งสำนักโสเภณีเพิ่มขึ้นอีก และใน พ.ศ. 2498 ก็ได้มีการห้ามจดทะเบียนโสเภณีเป็นเด็ดขาด ซึ่งรัฐเองก็มีนโยบายจัดการสงเคราะห์หญิงนครโสเภณีขึ้นด้วย ดำเนินการโดยกระทรวงมหาดไทย ครั้งนั้น รัฐบาลดำริจะจัดตั้งนิคมโสเภณีขึ้นเพื่อการดังกล่าว แต่ขัดข้องด้านงบประมาณ โครงการจึงระงับไว้จน พ.ศ. 2499 รัฐบาลได้ร่าง "พระราชบัญญัติห้ามการค้าประเวณี" ขึ้น แต่ไม่สามารถนำเข้าสู่รัฐสภาได้ ใน พ.ศ. 2503 รัฐบาลจึงเสนอร่างกฎหมายฉบับใหม่แทน คือ ร่างพระราชบัญญัติปรามการค้าประเวณี ได้รับการอนุมัติจากรัฐสภาและประกาศใช้ตามลำดับ ปัจจุบันมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539[ลิงก์เสีย] แทนที่แล้ว

นอกจากกฎหมายหลักข้างต้น ประมวลกฎหมายอาญายังให้ความคุ้มครองแก่หญิงและเอาโทษชายแมงดาซึ่งเป็นกาฝากเกาะกินอยู่กับหญิงนครโสเภณี เช่น กำหนดโทษการเป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือชักพาไปซึ่งเด็กหญิง เพื่อการอนาจารหรือเพื่อสำเร็จความใคร่ของผู้อื่น และกำหนดโทษเอาผิดแก่ชายแมงดาที่ดำรงชีพอยู่จากรายได้ของหญิงนครโสเภณีด้วย เป็นต้น

โทษที่กฎหมายวางไว้สำหรับความผิดเกี่ยวกับการค้าประเวณีนี้อยู่ในระดับสูงมาก เพื่อผดุงคุณธรรมของชาติ และให้ความคุ้มครองแก่กุลบุตรกุลธิดามิให้ตกไปในอบายมุข อย่างไรก็ดี การที่หญิงต้องกลายเป็นโสเภณีนั้นมิได้เกิดจากการล่อลวงหรือชักพาแต่อย่างเดียว แต่มีสาเหตุหลายประการดังกล่าวไว้แล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องศึกษาและแก้ไขกันไปตราบชั่วชีวิตของสังคม

ความพยายามในการทำให้ถูกกฎหมาย

[แก้]

ใน พ.ศ. 2546 กระทรวงยุติธรรมเคยพิจารณาข้อเสนอในการทำให้การค้าประเวณีเป็นอาชีพถูกกฎหมายเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพและภาษี โดยมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะขึ้น ข้อการทำให้ถูกกฎหมายคาดว่าจะเพิ่มรายได้ภาษี ลดการทุจริต และปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ค้าบริการทางเพศ[19] มีการกล่าวถึงอยู่เรื่อยๆ ในสังคมไทย แต่ก็ไม่มีความคืบหน้าอีกนับแต่นั้นมา

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ 2539
  2. พระราชบัญญัติสถานบริการ พระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2540
  3. "2008 Human Rights Report: Thailand". State.gov. 2009-02-25. สืบค้นเมื่อ 2013-06-24.
  4. "section 8B: Prostitution - Commercial Sex". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-29. สืบค้นเมื่อ 2013-11-02.
  5. 5.0 5.1 2008 Human Rights Report: Thailand, Bureau of Democracy, Human Rights, and Labor; February 25, 2009, U.S. State Department
  6. http://www.dab.uts.edu.au/conferences/queer_space/proceedings/cities_suwatcharapinun.pdf
  7. The Experiences of Burmese Women in Thailand (PDF), The President and Fellows of Harvard College, 2013, สืบค้นเมื่อ February 27, 2021
  8. "How The Pandemic Has Upended The Lives Of Thailand's Sex Workers". NPR. February 3, 2021. สืบค้นเมื่อ February 27, 2021.
  9. "Groups 'rescue' Thai sex workers, whether they want it or not". PRI's The World. October 17, 2013. สืบค้นเมื่อ February 27, 2021.
  10. "Lao women in Isaan's karaoke bars: 'Men certainly don't pretend we're waitresses'". The Isaan Record. 2019-04-04. สืบค้นเมื่อ 1 May 2019.
  11. Jasmina Yap (March 2, 2020). "Seven Women from Laos arrested in Phetchabun for Prostitution". The Laotian Times. สืบค้นเมื่อ February 27, 2021.
  12. "What About Sex & Girls In Koh Samui?". สืบค้นเมื่อ February 27, 2021.
  13. Chris Lyttleton (February 2009), The Good People of Isan: Commercial Sex in Northeast Thailand, สืบค้นเมื่อ February 27, 2021
  14. "Prostitutes in Thailand: Their Lives, Motivations, Scams and Customers". Facts and Details. สืบค้นเมื่อ February 27, 2021.
  15. Nanchanok Wongsamuth (June 30, 2020). "Thailand's migrant sex workers fear for the future". Reuters. สืบค้นเมื่อ February 27, 2021.
  16. "Thai police raid a sex for sale hotel in Loei province staffed by Laotian women working as prostitutes". Thai Examiner. March 23, 2019. สืบค้นเมื่อ February 27, 2021.
  17. "Sex Workers: Size Estimate". UNAIDS. สืบค้นเมื่อ March 14, 2021.
  18. "Prostitution: More Thais selling sex, study finds", The Nation, 3 January 2004
  19. Paradise revealed, Taipei Times
  20. SEX WORK IN ASIA() World Health Organisation.
  21. “ชูวิทย์” แฉผ่านภาคนิพนธ์ กองทุนหมู่บ้าน “แม้ว” เน่า ผลักผู้หญิงขายตัว!
  22. คำต่อคำ 'สมยศ' แจงปมยืมเงินเสี่ยกำพล300ล. เรื่องหุ้นผมนิยมมาก อาชีพตำรวจแค่ไซด์ไลน์
  23. ผู้ค้าบริการทางเพศไทย ไปทำอะไรใน 'งานเอดส์โลก' ที่เนเธอร์แลนด์?
  24. 10กาสิโนหรูเขมรบิ๊กฝั่งไทยร่วมหุ้น
  25. Polyclinic (นามแฝง) (2547). เอายังไงดีคะ?. ดอกหญ้ากรุ๊ป.
  26. พัชรินทร์ สิรสุนทร อ้างถึง กฤตยา อาชวนิชกุล. "ผู้หญิงกับภาวะการเป็นทาส". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-14. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  27. "สระแก้วเตือนมั่วโสเภณีต่างด้าวย่านตลาดโรงเกลือระวังเอดส์". เอเอสทีวีผู้จัดการ. 27 พฤศจิกายน 2549. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  28. "ตม.ตากบุกโอเกะพม่ากลางแม่สอด พบบังคับหญิงขายตัวแลกเงินครั้งละ 200". เอเอสทีวีผู้จัดการ. 13 กุมภาพันธ์ 2556. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  29. "ตม.ชลบุรีบุกจับโอเกะค้ากาม รวบเจ้าของบังคับค้าประเวณี 10 สาวลาว". ข่าวสด. 27 ธันวาคม 2555. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  30. "บุกจับสาวลาวคาร้านโอเกะดังเมืองปัว-ชาวบ้านร้องแฝงค้าประเวณี". เอเอสทีวีผู้จัดการ. 14 มิถุนายน 2556. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  31. "แฉขบวนการค้ากามข้ามแดน'ไทย-กัมพูชา'". คมชัดลึก. 20 ธันวาคม 2554. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  32. "รวบแก๊งคุณโสข้ามแดนค้ากามโรงเกลือ". เดลินิวส์. 29 พฤษภาคม 2555. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  33. "รวบ 71 เขมรลอบเข้าเมืองค้าประเวณี-ขายสินค้าปลอม". ไทยรัฐ. 29 กรกฎาคม 2555. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  34. Bertil Lintner (3 กุมภาพันธ์ 2539). "The Russian Mafia in Asia - Asia Pacific Media Service". Asiapacificms.com. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help) (อังกฤษ)
  35. "ตร.รวบอิหร่านค้ามนุษย์ ลวงสาวอุซเบฯค้ากามที่พัทยา". ไทยรัฐ. 20 ธันวาคม 2554. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  36. "ปคม.จับแม่เล้าอุซเบกิสถานบังคับสาวชาติเดียวกันค้ากาม". เอเอสทีวีผู้จัดการ. 31 สิงหาคม 2555. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  37. Convention for the Suppression of the Traffic in Persons and of the Exploitation of the Prostitution of Others 1949 สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ  สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2560

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Bishop, Ryan; Robinson, Lillian S (1998). Night Market; Sexual Cultures and the Thai Economic Miracle (Paper ed.). New York: Routledge. ISBN 978-0-415-91429-1. สืบค้นเมื่อ 17 July 2016.
  • Travels in the Skin Trade: Tourism and the Sex Industry (1996, ISBN 0-7453-1115-6) by Jeremy Seabrook describes the Thai sex industry and includes interviews with prostitutes and customers.
  • Cleo Odzer received her PhD in anthropology with a thesis about prostitution in Thailand; her experiences during her three years of field research resulted in the 1994 book Patpong Sisters: An American Woman's View of the Bangkok Sex World (ISBN 1-55970-281-8). In the book she describes the Thai prostitutes she got to know as quick-witted entrepreneurs rather than exploited victims.
  • Hello My Big Big Honey!: Love Letters to Bangkok Bar Girls and Their Revealing Interviews by Dave Walker and Richard S. Ehrlich (2000, ISBN 0-86719-473-1) is a compilation of love letters from Westerners to Thai prostitutes, and interviews with the latter.
  • For an informative caricature of the contemporary sexual norms and mores of Thailand (and its Sex Industry) versus the West see the novels of John Burdett including Bangkok 8 for the comparative anthropology of his half Thai-Western (son of a 'bargirl') protagonist detective, Sonchai Jitpleecheep.
  • Dennis Jon's 2005 documentary travelogue The Butterfly Trap provides a realistic and non-judgmental first person viewpoint of sex tourism in Thailand.
  • Jordan Clark's 2005 documentary Falang: Behind Bangkok's Smile takes a rather critical view of sex tourism in Thailand.
  • David A. Feingold's 2003 documentary Trading Women explores the phenomenon of women from the surrounding countries being trafficked into Thailand.
  • Lines, Lisa (July 2015). "Prostitution in Thailand: Representations in Fiction and Narrative Non-Fiction" (PDF). Journal of International Women's Studies. 16 (3): 86–100. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-03-23. สืบค้นเมื่อ 2018-12-01.
  • For a discussion reflecting on the history of prostitution, see Scott Bamber, Kevin Hewison and Peter Underwood (1997) "Dangerous Liaisons: A History of Sexually Transmitted Diseases in Thailand", in M. Lewis, S. Bamber & M. Waugh (eds), Sex, Disease and Society: A Comparative History of Sexually Transmitted Diseases and HIV/AIDS in Asia and the Pacific (ISBN 978-0313294426), Westport: Greenwood Press, Contributions in Medical Studies No. 43, pp. 37–65.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]