กวินทร์ ธรรมสัจจานันท์
ข้อมูลส่วนตัว | |||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ชื่อเต็ม | กวินทร์ ธรรมสัจจานันท์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
วันเกิด | 26 มกราคม พ.ศ. 2533 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
สถานที่เกิด | กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
ส่วนสูง | 1.84 เมตร (6 ฟุต 0 นิ้ว) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
ตำแหน่ง | ผู้รักษาประตู | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
สโมสรเยาวชน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||
2005–2006 | โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
สโมสรอาชีพ* | |||||||||||||||||||||||||||||||||||
ปี | ทีม | ลงเล่น | (ประตู) | ||||||||||||||||||||||||||||||||
2006–2007 | ราชประชา | 16 | (0) | ||||||||||||||||||||||||||||||||
2008–2018 | เมืองทอง ยูไนเต็ด | 247 | (0) | ||||||||||||||||||||||||||||||||
2018–2022 | โอฮา เลอเฟิน | 27 | (0) | ||||||||||||||||||||||||||||||||
2020 | → ฮกไกโด คอนซาโดเล ซัปโปโระ (ยืมตัว) | 0 | (0) | ||||||||||||||||||||||||||||||||
2022 | → การท่าเรือ (ยืมตัว) | 6 | (0) | ||||||||||||||||||||||||||||||||
2022–2024 | เมืองทอง ยูไนเต็ด | 13 | (0) | ||||||||||||||||||||||||||||||||
ทีมชาติ‡ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||
2008–2009 | ไทย อายุไม่เกิน 19 ปี | 11 | (0) | ||||||||||||||||||||||||||||||||
2009–2014 | ไทย อายุไม่เกิน 23 ปี | 17 | (0) | ||||||||||||||||||||||||||||||||
2010–2022 | ไทย | 69 | (0) | ||||||||||||||||||||||||||||||||
2022 | ไทย ซีเกมส์ | 6 | (0) | ||||||||||||||||||||||||||||||||
จัดการทีม | |||||||||||||||||||||||||||||||||||
2567 - |
ทีมชาติไทย อายุไม่เกิน 23 ปี (ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
เกียรติประวัติ
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2567 ‡ ข้อมูลการลงเล่นและประตูให้แก่ทีมชาติล่าสุด ณ วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 |
กวินทร์ ธรรมสัจจานันท์ (ชื่อเล่น: ตอง เกิดวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2533) เป็นอดีตนักฟุตบอลชาวไทย[1] โดยเล่นในตำแหน่งผู้รักษาประตู
กวินทร์ ได้มาร่วมทีมกับเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด เมื่อปี พ.ศ. 2551 ซึ่งปีนั้น เมืองทอง ยูไนเต็ดได้เลื่อนชั้นมาเล่นในไทยพรีเมียร์ลีก กวินทร์สามารถแสดงทักษะจนได้เป็นแชมป์ฟุตบอลไทยลีกครั้งแรกของสโมสร กวินทร์สามารถเล่นตำแหน่งผู้รักษาประตูได้ดีกับสโมสร ทำให้ได้เล่นเป็นผู้รักษาประตูอย่างเต็มตัว
พ.ศ. 2556 ได้เปลี่ยนชื่อจาก "กวิน" มาเป็น "กวินทร์" จากคำแนะนำของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี ภายหลังจากประสบเคราะห์ได้รับบาดเจ็บอยู่บ่อยครั้ง[2]
ในปี พ.ศ. 2557 ได้รับแต่งตั้งจากเกียรติศักดิ์ เสนาเมือง หัวหน้าผู้ฝึกสอนทีมชาติไทย ให้เป็นกัปตันทีมชุดเอเชียนเกมส์ 2014 ที่เมืองอินช็อน ประเทศเกาหลีใต้ [3] รวมถึงเป็นผู้ถือธงชาติไทยนำหน้าคณะนักกีฬาไทยในพิธีเปิดเอเชียนเกมส์ครั้งนั้น[4] และในปลายปีเดียวกัน เขาได้เป็นกัปตันทีมชุดใหญ่ที่คว้าแชมป์เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2014 แทนที่อดุล หละโสะ ซึ่งบาดเจ็บที่หัวเข่า
กวินทร์ เป็นผู้เล่นชาวไทยคนแรกที่ได้เล่นในเบลเจียนเฟิสต์ดิวิชัน เอ เป็นการลงเล่นให้กับโอฮา เลอร์เวิน พบกับ เซอร์เคิ่ล บรูช เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2564[5]
กวินทร์ ประกาศแขวนถุงมือ ในวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ.2567 ด้วยวัย 34 ปี[6] โดยนัดสุดท้ายของกวินทร์ คือ นัดชิงชนะเลิศไทยลีกคัพ ระหว่าง บีจี ปทุม ยูไนเต็ด พบกับเมืองทองยูไนเต็ด โดยเกมจบลงด้วยชัยชนะของบีจีปทุมที่ 1–0[7]
เกียรติยศ
[แก้]สโมสร
[แก้]- ราชประชา
- เมืองทอง ยูไนเต็ด
- ไทยพรีเมียร์ลีก (4) : 2552, 2553, 2555, 2559
- ถ้วย ก. (1) : 2552
- ไทยลีกคัพ (1) : 2559
- ไทยลีกดิวิชั่น 1 (1) : 2551
ทีมชาติ
[แก้]- เอเชียนเกมส์ 2014 : อันดับ 4
- ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2014 : ชนะเลิศ
- ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 43 : รองชนะเลิศ
- ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 44 : ชนะเลิศ
- ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2016 : ชนะเลิศ
- ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 45 : ชนะเลิศ
- ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 46 : รองชนะเลิศ
- ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2020 : ชนะเลิศ
- ซีเกมส์ 2021 : รองชนะเลิศ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2557 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 7 เหรียญเงินดิเรกคุณาภรณ์ (ร.ง.ภ.)[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ปิดฉาก 17 ปี! "ตอง" กวินทร์ ธรรมสัจจานันท์ ประกาศแขวนถุงมือ
- ↑ สยามกีฬารายวัน. ปีที่ 29 ฉบับที่ 10436. วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556. หน้า 1
- ↑ ""ตอง" ปลื้ม "ซิโก้" วางใจมอบกัปตันลุย อชก". ผู้จัดการออนไลน์. 27 August 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 27 August 2014.
- ↑ ""กวินทร์"ถือธงนำทัพนักกีฬาไทย". เดลินิวส์. 3 September 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-05. สืบค้นเมื่อ 7 September 2014.
- ↑ ไทยรัฐ: ประวัติศาสตร์แข้งไทย “กวินทร์” คนแรกลงเล่นลีกสูงสุดเบลเยียม
- ↑ "ปิดฉาก 17 ปี! "ตอง" กวินทร์ ธรรมสัจจานันท์ ประกาศแขวนถุงมือ". www.siamsport.co.th (ภาษาอังกฤษ). 2024-06-17.
- ↑ ballthai.night (2024-06-16). ""บีจี" เฮทดเจ็บ "มุ้ย" ยิงนาทีบาป เฉือน "กิเลนผยอง" 1-0 ซิวถ้วยลีกคัพสมัยแรก".
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๗ เก็บถาวร 2022-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๑ ข หน้า ๓๐, ๙ มกราคม ๒๕๕๘
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- กวินทร์ ธรรมสัจจานันท์ ข้อมูลจาก National-Football-Teams.com
- เปิดสถิติ "ตอง กวินทร์" ผู้รักษาประตูทีมชาติไทย ตั้งแต่เล่นฟุตบอล หลังจ่อซบยักษ์ใหญ่ไทยลีก
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2533
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ผู้เล่นสโมสรฟุตบอลเมืองทอง ยูไนเต็ด
- บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี
- ผู้รักษาประตูฟุตบอลชาวไทย
- นักฟุตบอลจากกรุงเทพมหานคร
- นักฟุตบอลทีมชาติไทย
- ผู้เล่นในไทยลีก
- ผู้เล่นในเบลเจียนเฟิสต์ดิวิชัน เอ
- ผู้เล่นเอาด์-เฮเฟอร์เลเลอเฟิน
- ผู้เล่นฮกไกโด คอนซาโดเล ซัปโปโระ
- ผู้เล่นสโมสรกีฬาราชประชา
- ผู้เล่นสโมสรฟุตบอลการท่าเรือ
- นักกีฬาเหรียญทองซีเกมส์ชาวไทย
- นักกีฬาเหรียญเงินซีเกมส์ชาวไทย
- พุทธศาสนิกชนชาวไทย
- นักฟุตบอลชายชาวไทยที่ค้าแข้งในต่างประเทศ
- บทความเกี่ยวกับ นักฟุตบอล ที่ยังไม่สมบูรณ์