กลุ่มพายุทอร์นาโด 21–26 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
เหตุการณ์การเกิดกลุ่มพายุทอร์นาโดในวันที่ 21–26 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เป็นหนึ่งในการเหตุการณ์การเกิดกลุ่มพายุทอร์นาโดที่ใหญ่ที่สุดที่เคยบันทึกมา ซึ่งส่งผลกระทบต่อภูมิภาคมิดเวสต์และทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกา พายุทอร์นาโดส่วนใหญ่พัฒนาขึ้นในบริเวณ ทะเลสาบสุพีเรีย ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ถึง รัฐเท็กซัสตอนกลาง อีกส่วนได้พัฒนาแยกตามพื้นที่ต่างๆ พายุจอปลิน (พ.ศ. 2554) ทำลายพื้นที่หนึ่งในสามของเมืองจอปลิน รัฐมิสซูรี ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 158 รายและบาดเจ็บกว่า 1,000 ราย[1] พายุทอร์นาโดจอปลินเป็นพายุที่อันตรายที่สุดในสหรัฐอเมริกานับตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2490 เมื่อ พายุทอร์นาโดกลาเซียร์-ฮิกกินส์-วู้ดเวิร์ด สังหารผู้คน 181 รายในเขตเมืองวู้ดเวิร์ด รัฐโอคลาโฮมา พายุทอร์นาโดที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตได้เกิดใน รัฐอาร์คันซอ, รัฐแคนซัส, รัฐมินนิโซตา และ รัฐโอคลาโฮมา เช่นกัน โดยรวมแล้ว เหตุการณ์การเกิดกลุ่มพายุทอร์นาโดส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 184 ราย ในจำนวนนั้น 6 รายเป็นผู้เสียชีวิตที่ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์พายุทอร์นาโด ทำให้เหตุการณ์ในครั้งนั้นร้ายแรงเป็นที่สองรองจาก เหตุการณ์การเกิดกลุ่มพายุทอร์นาโด พ.ศ. 2554 ซึ่งเป็นที่ร้ายแรงที่สุดนับตั้งแต่พ.ศ. 2516 และเป็นเหตุการณ์การเกิดกลุ่มพายุทอร์นาโดที่สร้างความเสียหายเป็นอันดับสองในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา โดยอยู่อันดับหลังเหตุการณ์การเกิดกลุ่มพายุทอร์นาโดในเดือนเมษายนในปีเดียวกัน โดยมีความเสียหายอยู่ที่ประมาณ 4-7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[2]
สรุปทางอุตุนิยมวิทยา
[แก้]เสียชีวิต | |||
รัฐ / จังหวัด | รวม | เขต | เขต
รวม |
---|---|---|---|
อาร์คันซอ | 5 | แฟรงคลิน | 3 |
จอห์นสัน | 2 | ||
แคนซัส | 3 | ลียง | 1 |
ฟอร์ด | 2 | ||
มินนิโซตา | 1 | เฮนน์พิน | 1 |
มิสซูรี่ | 161 | แจสเปอร์ | 161 |
โอกลาโฮมา | 11 | ชาวแคนาดา | 7 |
เกรดี้ | 1 | ||
โลแกน | 2 | ||
เมเจอร์ | 1 | ||
รวม | 181 | ||
รวมจากจำนวนผู้เสียชีวิตจากพายุทอร์นาโดเท่านั้น |
เดือนเมษายน พ.ศ. 2554 เป็นเดือนที่เกิดพายุทอร์นาโดมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ โดยมีการเกิดกลุ่มพายุทอร์นาโดที่ใหญ่ที่สุด (มากที่สุดเป็นประวัติการณ์) ในสัปดาห์สุดท้ายของเหตุการณ์คร่าชีวิตผู้คนไปถึง 324 ราย ในทางตรงกันข้าม 3 สัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคมนั้นสงบอย่างน่าประหลาด พายุทอร์นาโดที่แยกในพื้นที่ต่างๆ ได้รับการยืนยันเพียงไม่กี่ลูกเท่านั้น อย่างไรก็ตามรูปแบบนี้เปลี่ยนไปทันทีจากการที่ หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงเข้าร่วมกับเส้นไดรไลน์ (Dry Line) และแนวปะทะอากาศเย็น และเคลื่อนที่ไปทางตะวันออก
ในวันที่ 21 พฤษภาคม พายุฝนฟ้าคะนองขนาดเล็กเริ่มพัฒนาขึ้นที่ บราวน์เคาน์ตี้ รัฐแคนซัส ในขณะที่พายุอีกลูกก่อตัวขึ้นทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองเอมโพเรีย รัฐแคนซัส ที่บราวน์เคาน์ตี้เกิดพายุทอร์นาโดในช่วงเวลาสั้นๆ เหนือนครโทพีกา รัฐแคนซัส โดยเกิดความเสียหายเล็กน้อย พายุลูกนี้ยังสร้างความเสียหายอย่างมากในเมืองออสคาลูซา รัฐแคนซัส และชุมชนอื่นๆ ใกล้เคียง ในขณะเดียวกันที่นครเอ็มโพเรียเกิดพายุขนาด EF3 (ตามมาตราเอนแฮนซ์ฟูจิตะ) ที่เมืองรีดดิง รัฐแคนซัส มีผู้เสียชีวิต 1 ราย อีกหลายรายได้รับบาดเจ็บและอย่างน้อยบ้านเรือน 20 หลังถูกทำลาย[3] พายุทั้งสองพัฒนามาจากพายุทอร์นาโดลูกอื่นๆ ในตลอดช่วงเย็น[4]
สภาพอากาศรุนแรงปานกลางได้ส่งผลกระทบที่มิดเวสต์และยาวออกไปสู่ทางใต้ของรัฐโอคลาโฮมา ในวันที่ 22 พฤษภาคม ทอร์นาโดที่เกิดจากซูเปอร์เซลล์ลูกแรกพัฒนาขึ้นในช่วงบ่าย ที่เมืองทวิน ทางตะวันตกของรัฐมินนิโซตา ก่อให้เกิดความเสียหายปานกลาง ในพื้นที่เมืองมินนีแอโพลิส[5] หลังจากนั้นไม่นานพายุทอร์นาโดที่รุนแรงได้มุ่งเข้าหาเมืองฮาโมนี รัฐมินนิโซตา ทำให้องค์กรบริการสภาพอากาศแห่งชาติ (National Weather Service) ออกประกาศเตือนการเกิดพายุทอร์นาโดครั้งแรกของการเกิดกลุ่มพายุทอร์นาโด ช่วงบ่ายของวันนั้นเกิดพายุทอร์นาโดขนาดใหญ่และรุนแรงชนิดหลายตาพายุในระดับ EF5 (ตามมาตราเอนแฮนซ์ฟูจิตะ) ทำให้พายุทอร์นาโดในเมืองจอปลิน รัฐมิสซูรี่มีความรุนแรง ก่อให้เกิดการเสียชีวิต 158 ราย มันเป็นพายุทอร์นาโดลูกเดี่ยวที่อันตรายที่สุดในสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2490
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Storm Event Survey". National Weather Service, สปริงฟิลด์, รัฐมิสซูรี.
- ↑ Noah Buhayar (6 มิถุนายน 2554). "Joplin Tornado Leads Storms That May Cost Insurers $7 Billion in One Week"
- ↑ แอสโซซิเอทเต็ด เพรส (21 พฤษภาคม 2554). "One Killed In Reading, KS Tornado". KAKE. Archived from the original on May 23, 2011
- ↑ "Storm Reports for May 21, 2011" ศูนย์พยากรณ์พายุ องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ. 21 พฤษภาคม 2554
- ↑ "Storm Reports for May 22, 2011". ศูนย์พยากรณ์พายุ องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ. 22 พฤษภาคม 2554