กระบวนการสันติภาพในประเทศอัฟกานิสถาน
เนื้อหาในบทความนี้ล้าสมัย โปรดปรับปรุงข้อมูลให้เป็นไปตามเหตุการณ์ปัจจุบันหรือล่าสุด ดูหน้าอภิปรายประกอบ |
กระบวนการเพื่อสันติภาพในประเทศอัฟกานิสถาน (อังกฤษ: Afghan peace process) ประกอบด้วยโครงการข้อเสนอและการเจรจาเพื่อสิ้นสุดสงครามที่ยังดำเนินอยู่ในประเทศอัฟกานิสถาน ถึงแม้จะมีความพยายามเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวนับตั้งแต่สงครามเริ่มต้นในปี 2001 การเจรจาและขบวนการเรียกร้องสันติภาพได้เริ่มมีมากขึ้นในปี 2018 ท่ามกลางการพูดคุยระหว่างสหรัฐอเมริกาซึ่งมีทหารประจำอยู่ 20,000 นายในประเทศเพื่อสนับสนุนรัฐบาลอัฟกัน กับตาลีบัน กลุ่มก่อความไม่สงบหลัก ซึ่งต่อสู้กับรัฐบาลอัฟกันและกองทัพอเมริกัน นอกจากนี้ตาลีบันยังเคยโจมตีเป้าที่เป็นพลเรือน การพูดคุยส่วนใหญ่มีขึ้นที่โดฮา เมืองหลวงของประเทศกาตาร์ ที่ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงานตาลีบัน เป็นที่คาดการณ์ว่าการตกลงร่วมกันระกว่างตาลีบันกับสหรัฐจะนำไปสู่การถอนกำลังทหารอเมริกันออกจากอัฟกานิสถาน และเป็นการเริ่มต้นการเจรจาเพื่อสันติภาพในประเทศอัฟกานิสถานเอง[1] นอกจากสหรัฐแล้วยังมีประเทศอำนาจใหญ่ในภูมิภาค เช่นปากีสถาน, จีน และรัสเซีย เช่นเดียวกับเนโต ที่มีส่วนช่วยผลักดันขบวนการสันติภาพนี้[2][3]
เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2020 สหรัฐอเมริกาได้ลงนามในข้อตกลงสันติภาพอย่างมีเงื่อนไขกับตาลีบัน[4] ซึ่งระบุให้มีการถอนกองกำลังต่างชาติออกจากอัฟกานิสถานภายใน 14 เดือน[5][6] อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2020 รัฐบาลอัฟกันซึ่งไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการเจรจานี้ ได้ปฏิเสธข้อเรียกร้องของทั้งตาลีบันและสหรัฐที่ให้มีการสลับตัวนักโทษภายในวันที่ 10 มีนาคม 2020 โดยประธานาธิบดี Ashraf Ghani ระบุว่าข้อตกลงเช่นนี้จะต้องการการต่อรองเพิ่มเติมอีก และจะไม่ถูกปฏิบัติตามเป็นเงื่อนไข (precondition) เพื่อการเจรจาสันติภาพในอนาคต[7][8][9][10][11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "HPC welcomes Khalilzad's efforts for intra-Afghan talks". pajhwok.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-12. สืบค้นเมื่อ 2020-07-23.
- ↑ "US, Russia, China, Pakistan urge Taliban to agree for ceasefire, begin talks with Afghan govt". @businessline.
- ↑ "not excluded from peace process in Afghanistan: China". India Today.
- ↑ Rai, Manish. "U.S.-Taliban Deal: India should Chalk-out a New Strategy". OpedColumn.News.Blog.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ George, Susannah (February 29, 2020). "U.S. signs peace deal with Taliban agreeing to full withdrawal of American troops from Afghanistan". WashingtonPost.com.
- ↑ Mashal, Mujib (February 29, 2020). "U.S. Strikes Deal With Taliban to Withdraw Troops From Afghanistan". MSN.com. The New York Times.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Schuknecht, Cat (March 1, 2020). "Afghan President Rejects Timeline For Prisoner Swap Proposed In US-Taliban Peace Deal". NPR. สืบค้นเมื่อ March 1, 2020.
- ↑ https://www.politico.com/news/2020/03/01/afghan-peace-deal-prisoner-release-118473%7Ctitle=Afghan[ลิงก์เสีย] peace deal hits first snag over prisoner releases|author=Associated Press|publisher=Politico|accessdate=March 1, 2020}}
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อbbcreject
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อreject
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อreject2