ข้ามไปเนื้อหา

กลุ่มอาการตูแร็ต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(ต่าง) ←รุ่นเก่ากว่านี้ | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นที่ใหม่กว่า → (ต่าง)
กลุ่มอาการตูแร็ต
ชื่ออื่นTourette's syndrome, Tourette's disorder, Gilles de la Tourette syndrome (GTS)
สาขาวิชากุมารเวชศาสตร์, ประสาทวิทยา
อาการการกระตุก[1]
การตั้งต้นวัยเด็ก[1]
ระยะดำเนินโรคระยะยาว[2]
สาเหตุพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม[2]
วิธีวินิจฉัยประวัติผู้ป่วยและอาการ[1]
การรักษาการให้ความรู้, การบำบัดพฤติกรรม[1][3]
ยาโดยปกติไม่มีการรักษา, บางครั้งอาจใช้ยาระงับอาการทางจิตและตัวรับอดรีเนอร์จิก แอลฟา-2เอ[1]
พยากรณ์โรคการกระตุกจะลดลงหรือหายไปในช่วงวัยรุ่นตอนปลาย[2]
ความชุกประมาณ 1%[1]

กลุ่มอาการตูแร็ต (อังกฤษ: Tourette syndrome) เป็นความผิดปกติด้านพัฒนาการระบบประสาทที่พบในวัยเด็ก[4] มีลักษณะอาการกระตุกของกล้ามเนื้อหลายครั้งและการส่งเสียงโดยไม่ได้ตั้งใจอย่างน้อยหนึ่งครั้ง โดยก่อนเกิดการกระตุก ผู้ป่วยจะมีอาการไม่พึงประสงค์ที่เรียกว่า premonitory urge ซึ่งหยุดได้ยาก[5] อาการทั่วไปอื่น ๆ ที่พบได้แก่กะพริบตา ไอ กระแอมและการแสดงสีหน้า[6]

กลุ่มอาการตูแร็ตเป็นหนึ่งในความผิดปกติทางการกระตุก สาเหตุของกลุ่มอาการยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ยังไม่พบวิธีวินิจฉัยที่เฉพาะเจาะจง ดังนั้นบางครั้งจึงมีการวินิจฉัยผิดเป็นความผิดปกติทางการกระตุกอื่น ๆ โดยทั่วไปผู้ป่วยกลุ่มอาการตูแร็ตจะมีอาการกระตุกลดลงเมื่อเป็นวัยรุ่น[7] ในรายที่ผู้ป่วยเป็นผู้ใหญ่มักพบได้น้อย แพทย์มักไม่ให้การรักษาอาการกระตุกเนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการกระตุกเล็กน้อย แต่จะใช้วิธีให้ความรู้และบำบัดพฤติกรรม[1][8] ผู้ป่วยกลุ่มอาการตูแร็ตอาจมีอาการของโรคซนสมาธิสั้นและโรคย้ำคิดย้ำทำร่วมด้วย[9]

ความชุกของกลุ่มอาการตูแร็ตอยู่ที่ประมาณ 1%[1] กลุ่มอาการตูแร็ตเป็นความผิดปกติที่ไม่ส่งผลต่อสติปัญญาและการคาดหมายคงชีพ กลุ่มอาการนี้ตั้งชื่อโดยฌ็อง-มาร์แต็ง ชาร์โก ตามชื่อฌอร์ฌ ฌีล เดอ ลา ตูแร็ต แพทย์ชาวฝรั่งเศส ผู้อธิบายโรคนี้เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1885[10]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 Stern JS. "Tourette's syndrome and its borderland" (PDF). เก็บถาวร ธันวาคม 1, 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Pract Neurol. 2018 Aug;18(4):262–70. doi:10.1136/practneurol-2017-001755 PMID 29636375.
  2. 2.0 2.1 2.2 Tourette syndrome fact sheet. เก็บถาวร ธันวาคม 1, 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน National Institute of Neurological Disorders and Stroke. July 6, 2018. Retrieved on November 30, 2018.
  3. Singer HS. "Tourette syndrome and other tic disorders". Handb Clin Neurol. 2011;100:641–57. doi:10.1016/B978-0-444-52014-2.00046-X PMID 21496613. Also see Singer HS. "Tourette's syndrome: from behaviour to biology". Lancet Neurol. 2005 Mar;4(3):149–59. doi:10.1016/S1474-4422(05)01012-4 PMID 15721825.
  4. Jankovic J. Movement Disorders, An Issue of Neurologic Clinics. The Clinics: Radiology: Elsevier, 2014, p. viii
  5. Reese, Hannah E.; Scahill, Lawrence; Peterson, Alan L.; Crowe, Katherine; Woods, Douglas W.; Piacentini, John; Walkup, John T.; Wilhelm, Sabine (2014). "The Premonitory Urge to Tic: Measurement, Characteristics, and Correlates in Older Adolescents and Adults". Behavior Therapy. 45 (2): 177–186. doi:10.1016/j.beth.2013.09.002. สืบค้นเมื่อ June 6, 2019.
  6. "Tourette syndrome". MedlinePlus. สืบค้นเมื่อ June 6, 2019.
  7. "Tourette syndrome". Mayo Clinic. สืบค้นเมื่อ June 6, 2019.
  8. Peterson BS, Cohen DJ. "The treatment of Tourette's Syndrome: multimodal, developmental intervention". J Clin Psychiatry. 1998;59 Suppl 1:62–72; discussion 73–74. PMID 9448671. Quote: "Because of the understanding and hope that it provides, education is also the single most important treatment modality that we have in TS." Also see Zinner 2000.
  9. O’Rourke, Julia A.; Scharf, Jeremiah; Platko, Jill; Stewart, S. Evelyn; Illmann, Cornelia; Geller, Daniel A.; King, Robert A.; Leckman, James F.; Pauls, David L. (2011). "The Familial Association of Tourette's Disorder and ADHD: the impact of OCD Symptoms". Neuropsychiatric Genetics, Part B. 156 (5): 553–560. doi:10.1002/ajmg.b.31195. สืบค้นเมื่อ June 6, 2019.
  10. "Tourette syndrome". Britannica.com. สืบค้นเมื่อ June 6, 2019.