นิโค เอริค รอสเบิร์ก (เยอรมัน: Nico Erik Rosberg) เกิดเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน ค.ศ. 1985 ที่เมืองวีสบาเดน (Wiesbaden) ประเทศเยอรมนี เป็นอดีตนักแข่งรถสูตรหนึ่ง (Formula1) ชาวเยอรมัน สังกัดทีมเมอร์เซเดส กรังด์ปรีซ์ (Mercedes) นิโคเป็นลูกชายของเคเค รอสเบิร์ก (KeKe Rosberg) อดีตแชมป์โลกรถสูตรหนึ่งปี ค.ศ. 1982 ชาวฟินแลนด์ นิโคถือสองสัญชาติ แต่เลือกลงขับภายใต้ธงชาติเยอรมัน ซึ่งเป็นสัญชาติของแม่ของเขา เนื่องจากที่บ้านเขาใช้ภาษาเยอรมัน และเขาพูดภาษาฟินนิชไม่ได้

นิโค รอสเบิร์ก
ฟอร์มูลาวันชิงแชมป์โลก
สัญชาติ เยอรมัน
Teamsวิลเลียมส์ (Williams F1) ค.ศ. 2006-2009, เมอร์เซเดส กรังด์ปรีซ์ (Mercedes) ค.ศ. 2010-2016
แข่ง188 ครั้ง
ชนะ17 ครั้ง
โพเดียม44 ครั้ง
ตำแหน่งโพล23 ครั้ง
ทำรอบได้เร็วที่สุด15 ครั้ง
แข่งครั้งแรกบาห์เรนกรังด์ปรีซ์ ค.ศ. 2006
ชนะครั้งแรกไชนีสกรังด์ปรีซ์ ค.ศ. 2012

ชีวิตการแข่งรถ

แก้

ก่อนเข้าสู่วงการรถสูตรหนึ่ง

แก้
 
นาฬิกาโอริส รุ่นนิโค รอสเบิร์ก และลายเซ็นแจกแฟนๆ

นิโคชอบนั่งตักพ่อหัดขับรถคาร์ทมาตั้งแต่เด็ก ๆ เคเค รอสเบิร์กเองก็ตามใจ และคอยสนับสนุนลูกชายเสมอในการแข่งรถ นิโคเริ่มต้นแข่งรถคาร์ทตั้งแต่อายุได้เพียง 11 ขวบ และได้รางวัลจากการแข่งในหลายประเทศ รวมทั้งในระดับทวีปยุโรปและอเมริกา ในปีค.ศ. 2002 เขาเข้าแข่งรายการฟอร์มูล่าบีเอ็มดับบลิว (Formula BMW) ให้กับทีมของพ่อเขาเอง และคว้าแชมป์ปีนั้นมาได้อย่างง่ายดายด้วยการชนะถึง 9 สนาม เขาจึงได้รับโอกาสให้ขับทดสอบกับทีมบีเอ็มดับบลิว-วิลเลียมส์ (BMW-Williams) เมื่ออายุเพียง 17 ปี 5 เดือน เป็นเด็กหนุ่มอายุน้อยที่สุดเท่าที่เคยมีมาที่ได้ขับรถสูตรหนึ่ง นิโคฉายแววให้เห็นตั้งแต่ตอนนั้น เขาทำแบบทดสอบของทีมวิลเลียมส์ได้คะแนนสูงกว่าที่นักขับทุกคนเคยทำมา [1] หลังการขับทดสอบที่คาตาลุนญ่าเซอร์กิต (Circuit de Catalunya) เสร็จลง นิโคก็ตั้งใจว่าจะเป็นนักแข่งรถสูตรหนึ่งให้ได้

นิโคย้ายมาแข่งในรายการฟอร์มูล่าทรี ยูโรซีรีส์ (Formula3 Euroseries) อีกสองปี และทำผลงานได้ดี ในปี ค.ศ. 2005 ทีมบีเอ็มดับบลิว-วิลเลียมส์จึงเซ็นสัญญาให้เขาเป็นนักขับทดสอบของทีม ปีเดียวกันนั้นเอง นิโคลงแข่งรายการจีพีทู (GP2) ซึ่งเพิ่งมีขึ้น และเขาก็คว้าแชมป์ เอาชนะเฮย์กิ โควาไลเนน (Heikki Kovalainen) และสกอตต์ สปีด (Scott Speed) มาได้ นับเป็นแชมป์คนแรกของรายการนี้

แข่งรถสูตรหนึ่ง

แก้
 
นิโค รอสเบิร์กในรถวิลเลียมส์ FW28 ที่มาเลเซียนกรังด์ปรีซ์ ค.ศ. 2006

หลังจากได้แชมป์จีพีทูมาหมาด ๆ เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2005 แฟรงค์ วิลเลียมส์ (Frank Williams) ก็คว้าตัวนิโคเซ็นสัญญาฉบับใหม่ให้เป็นนักแข่งรถสูตรหนึ่งของทีมสำหรับปี 2006 ทีมเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้นิโคตัดสินใจขับให้วิลเลียมส์ทันที เขารู้จักทีมงานหลาย ๆ คนแล้วจากตอนที่เป็นนักขับทดสอบ และความสำเร็จของพ่อเขากับทีมวิลเลียมส์ ในปี ค.ศ. 1982 ยังเป็นที่จดจำจนถึงทุกวันนี้

ในการลงแข่งรถสูตรหนึ่งสนามแรกที่บาห์เรนกรังด์ปรีซ์ นิโคไม่เพียงแต่สามารถเก็บคะแนนได้โดยเข้าเส้นชัยเป็นที่ 7 ทั้งที่ต้องเข้าพิทเพื่อเปลี่ยนจมูกรถตั้งแต่รอบแรก หากเขายังสร้างสถิติเป็นนักขับอายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ ที่ทำเวลาต่อรอบดีที่สุดของการแข่งขัน ด้วยอายุเพียง 20 ปี 8 เดือน 13 วัน

นิโคควอลิฟายได้อันดับ 3 ในสนามต่อมาที่มาเลเซียนกรังด์ปรีซ์ แต่ก็ต้องผิดหวัง ออกจากการแข่งขันไปในรอบที่ 7 เพราะเครื่องยนต์พัง ที่ยูโรเปียนกรังด์ปรีซ์ นิโคต้องออกสตาร์ทหลังสุดเนื่องจากเปลี่ยนเครื่องยนต์ แต่เขาก็สามารถเข้าเส้นชัยเป็นที่ 7 เก็บแต้มได้อีก 2 คะแนน ในสนามที่เหลือของฤดูกาล เขาทำผลงานได้ไม่ดีนัก และมีปัญหากับเครื่องยนต์ทำให้ไม่จบการแข่งขันบ่อยๆ จึงจบฤดูกาลโดยได้เพียงที่ 17 มี 4 คะแนน

ค.ศ. 2007 นิโคยังลงแข่งในนามของทีมวิลเลียมส์ ซึ่งเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่มาใช้ของโตโยต้าแทนเครื่องคอสเวิร์ธเดิม และได้เพื่อนร่วมทีมคนใหม่เช่นกันคืออเล็กซานเดอร์ ววร์ซ (Alexander Wurz) ซึ่งมาแทนที่มาร์ค เว็บเบอร์ (Mark Webber) ที่ย้ายไปขับให้กับทีมเรดบูลเรซซิง (Red Bull Racing)

สถิติการแข่ง

แก้

(Template:ตัวหนาหมายถึงได้ตำแหน่งโพล ตัวเอียงหมายถึงทำเวลาต่อรอบดีที่สุด)

ค.ศ. ทีม 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 อันดับ คะแนน
2006 วิลเลียมส์ BAH
7
MAS
Ret
AUS
Ret
SMR
11
EUR
7
SPA
11
MON
Ret
GBR
9
CAN
Ret
USA
9
FRA
14
DEU
Ret
HUN
Ret
TUR
Ret
ITA
Ret
CHN
11
JPN
10
BRA
Ret
17 4
2007 วิลเลียมส์ AUS
7
MAS
Ret
BAH
10
SPA
6
MON
12
CAN
10
USA
16
FRA
9
GBR
12
EUR
Ret
HUN
7
TUR
7
ITA
6
BEL
6
JPN
Ret
CHN
16
BRA
4
9 20
2008 วิลเลียมส์ AUS
3
MAS
14
BAH
8
SPA
Ret
TUR
8
MON
Ret
CAN
10
FRA
16
GBR
9
DEU
10
HUN
14
EUR
8
BEL
12
ITA
14
SIN
2
JPN
11
CHN
15
BRA
12
13 17
2009 วิลเลียมส์ AUS
6
MAS
8
CHN
15
BAH
9
SPA
8
MON
6
TUR
5
GBR
5
DEU
4
HUN
4
EUR
5
BEL
8
ITA
16
SIN
11
JPN
5
BRA
Ret
ABU
9
7 34.5
2010 เมอร์เซเดส กรังด์ปรีซ์ BAH
5
AUS
5
MAS
3
CHN
3
SPA
13
MON
7
TUR
5
CAN
6
EUR
10
GBR
3
DEU
8
HUN
Ret
BEL
6
ITA
5
SIN
5
JPN
17
KOR
Ret
BRA
6
ABU
4
7 142
2011 เมอร์เซเดส กรังด์ปรีซ์ AUS
Ret
MAL
12
CHN
5
TUR
5
SPA
7
MON
11
CAN
11
EUR
7
GBR
6
DEU
7
HUN
9
BEL
6
ITA
Ret
SIN
7
JPN
10
KOR
8
IND
6
ABU
6
BRA
7
7 89
2012 เมอร์เซเดส กรังด์ปรีซ์ AUS
12
MAS
13
CHN
1
BAH
5
SPA
7
MON
2
CAN
6
EUR
6
GBR
15
DEU
10
HUN
10
BEL
11
ITA
7
SIN
5
JPN
Ret
KOR
Ret
IND
11
ABU
Ret
USA
13
BRA
15
9 93
2013 เมอร์เซเดส กรังด์ปรีซ์ AUS
Ret
MAS
4
CHN
Ret
BAH
9
SPA
6
MON
1
CAN
5
GBR
1
DEU
9
HUN
19
BEL
4
ITA
6
SIN
4
KOR
7
JPN
8
IND
2
ABU
3
USA
9
BRA
5
6 171

นักแข่งไม่จบการแข่งขันในสนาม แต่ถือว่าจบการแข่งขันในสนาม เนื่องจากแข่งขันในสนามมากกว่า 90% ของรอบทั้งหมดในการแข่งขันสนามนั้น
ได้คะแนนครึ่งคะแนน เนื่องจากการแข่งขันในสนามน้อยกว่า 75% ของรอบทั้งหมดในการแข่งขันสนามนั้น


อ้างอิง

แก้
  1. "The Talented Mr. Rosberg" Autosport.com, 26 กันยายน ค.ศ. 2006
  • นิตยสารคิกเกอร์ สเปเชี่ยล Formel 1 2006, Olympia-Verlag GmbH, 2549 (ภาษาเยอรมัน)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้