ข้ามไปเนื้อหา

วอร์เนอร์บราเธอส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Warner Bros. Pictures)
บริษัทวอร์เนอร์บราเธอส์เอนเทอร์เทนเมนต์
ชื่อทางการค้า
Warner Bros.
ชื่อเดิม
  • บริษัทวอร์เนอร์บราเธอส์พิกเชอส์ (1923–1967)
  • บริษัทวอร์เนอร์บราเธอส์ (1971–1992)
ประเภทแผนก
อุตสาหกรรมบันเทิง
ก่อนหน้าบริษัทวอร์เนอร์ฟีเชอส์
ก่อตั้ง4 เมษายน 1923; 101 ปีก่อน (1923-04-04)
ผู้ก่อตั้ง
สำนักงานใหญ่4000 ถนนวอร์เนอร์, ,
สหรัฐ
พื้นที่ให้บริการทั่วโลก
บุคลากรหลักแอนน์ ซาร์นอฟฟ์
(ประธานและซีอีโอ)
ผลิตภัณฑ์
รายได้เพิ่มขึ้น 13.866 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2017)
รายได้จากการดำเนินงาน
เพิ่มขึ้น 1.761 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2017)
พนักงาน
ประมาณ 8,000 คน (2014)
บริษัทแม่วอร์เนอร์มีเดีย
แผนก
บริษัทในเครือ
เว็บไซต์www.warnerbros.com
เชิงอรรถ / อ้างอิง
[1][2][3][4]

บริษัทวอร์เนอร์บราเธอส์เอ็นเทอร์เทนเมนต์ (อังกฤษ: Warner Bros. Entertainment Inc.) (หรือรู้จักกันในชื่อ วอร์เนอร์บราเธอส์ หรืออักษรย่อ WB) เป็นกลุ่มบริษัทผลิตสื่อมวลชนและความบันเทิงขนาดใหญ่สัญชาติอเมริกัน สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ วอร์เนอร์บราเธอส์สตูดิโอส์คอมเพล็กซ์ ใน เบอร์แบงก์, แคลิฟอร์เนีย เป็นแผนกของวอร์เนอร์มีเดียของเอทีแอนด์ที ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1923 โดยพี่น้องวอร์เนอร์ได้แก่ แฮร์รี, อัลเบิร์ต, แซมและแจ็ก วอร์เนอร์ หลังบริษัทก่อตั้งก็ได้กลายเป็นผู้นำอุตสาหกรรมภาพยนตร์อเมริกัน ก่อนจะมีการกระจายไปยังสื่อแอนิเมชัน, โทรทัศน์และวิดีโอเกม เป็นหนึ่งใน "บิกไฟว์" ของสตูดิโอภาพยนตร์อเมริกันรายใหญ่และเป็นสมาชิกของสมาคมภาพยนตร์ (เอ็มพีเอ)

บริษัทเป็นที่รู้จักกันดีในส่วนของแผนกผลิตภาพยนตร์ วอร์เนอร์บราเธอส์พิกเชอส์กรุป ประกอบด้วย วอร์เนอร์บราเธอส์พิกเชอส์, นิวไลน์ซินีมา, เดอะวอร์เนอร์แอนิเมชันกรุป, แคสเซิลร็อคเอ็นเทอร์เทนเมนต์และดีซีฟิล์มส์ นอกจากนี้ ยังมีบริษัทที่ผลิตและเผยแพร่รายการโทรทัศน์และสื่ออื่น ๆ ได้แก่ วอร์เนอร์บราเธอส์เทเลวิชัน, สตูดิโอสร้างแอนิเมชัน วอร์เนอร์บราเธอส์แอนิเมชันและการ์ตูนเน็ตเวิร์กสตูดิโอส์, สำนักพิมพ์หนังสือการ์ตูน ดีซีคอมิกส์, บริษัทพัฒนาและจัดจำหน่ายวิดีโอเกม วอร์เนอร์บราเธอส์อินเทอแรกทีฟเอ็นเทอร์เทนเมนต์, ช่องโทรทัศน์เคเบิล การ์ตูนเน็ตเวิร์ก, อดัลต์สวิม, บูมเมอแรงและเทิร์นเนอร์คลาสสิกมูฟวี และเครือข่ายโทรทัศน์ เดอะซีดับเบิลยู ซึ่งถือหุ้นส่วน 50% ร่วมกับไวอาคอมซีบีเอส วอร์เนอร์บราเธอส์ยังมีแผนกอื่น ๆ ที่เชี่ยวชาญในเรื่องการตีพิมพ์, การขายสินค้า, เพลง, ละครเวทีและสวนสนุก[5] บักส์ บันนี ตัวละครการ์ตูนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งการ์ตูนชุด ลูนีตูนส์ เป็นตัวนำโชคอย่างเป็นทางการของบริษัท

ประวัติศาสตร์

[แก้]

การก่อตั้ง

[แก้]

ชื่อของบริษัทมาจากพี่น้องผู้ก่อตั้งวอร์เนอร์ (เกิดนามสกุล วอนสกอลาเซอร์ หรือ วอนซาล ก่อนการแผลงเป็นอังกฤษ) :[6][7] ประกอบด้วย แฮร์รี, อัลเบิร์ต, แซมและแจ็ก วอร์เนอร์ แฮร์รี, อัลเบิร์ตและแซมอพยพมากับพ่อแม่ชาวยิวโปแลนด์ของพวกเขาตั้งแต่ยังเด็ก[8][9][10][11] ไปยังแคนานาจาก คราสไนซิเอลซ์, คองเกรสโปแลนด์, ส่วนหนึ่งของจักรวรรดิรัสเซีย เช่นเดียวกับในครอบครัวผู้อพยพอื่น ๆ เด็กบางคนค่อย ๆ ได้รับชื่อที่มาจากการแผลงเป็นอังกฤษของภาษายิดดิชของพวกเขา ชมูเอล วอนซาล กลายเป็น ซามูเอล วอร์เนอร์ ชื่อเล่น แซม[12]

แจ็ก น้องชายคนเล็กเกิดที่ ลอนดอน, ออนทาริโอ พี่ชายคนโตสามคนเริ่มทำธุรกิจโรงภาพยนตร์ หลังได้เครื่องฉายภาพยนตร์ ซึ่งพวกเขาฉายภาพยนตร์ในเมืองเหมืองแร่ของรัฐเพนซิลเวเนียและรัฐโอไฮโอ ในช่วงแรก[13] แซมและอัลเบิร์ต วอร์เนอร์ ลงทุน 150 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อนำเสนอ ไลฟ์ออฟแอนอเมริกันไฟเออร์แมน และ เดอะเกรตเทรนรอบเบอรี พวกเขาเปิดโรงภาพยนตร์แห่งแรกชื่อว่า เดอะแคสเคด ใน นิวแคสเซิล, เพนซิลเวเนีย เมื่อปี ค.ศ. 1903

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Company history". Warnerbros.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 16, 2015. สืบค้นเมื่อ April 9, 2014.
  2. "2017 Annual Report" (PDF). Time Warner. 2018. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ July 8, 2018. สืบค้นเมื่อ April 26, 2019.
  3. Patten, Dominic; Yamato, Jen. "Warner Bros Layoffs Long Planned But "Accelerated" By Failed Fox Bid". Deadline Hollywood. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 6, 2014. สืบค้นเมื่อ September 6, 2014.
  4. "Warner Archive Collection podcast". Warnerbros.com. April 8, 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 4, 2016. สืบค้นเมื่อ December 17, 2016.
  5. "Experiences | Warner Bros. Resorts". warnerbros.com (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 26, 2020. สืบค้นเมื่อ June 15, 2017.
  6. Warner Sperling, Cass (Director) (2008). The Brothers Warner (DVD film documentary). Warner Sisters, Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กุมภาพันธ์ 17, 2016.
  7. McMorris, Bill (January 29, 2009). "Journey of discovery: Warner documentary the result of a twenty-year effort". Santa Barbara News-Press. สืบค้นเมื่อ May 27, 2008.[ลิงก์เสีย]
  8. Jacobson, Lara (2018-06-28). "The Warner Brothers Prove Their Patriotism". Voces Novae. 10 (1). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 30, 2019. สืบค้นเมื่อ October 30, 2019.
  9. Hixson, Walter L. (2003). The American Experience in World War II: The United States and the road to war in Europe. Taylor & Francis. p. 28. ISBN 978-0-415-94029-0.
  10. Cocks, Geoffrey (2004). The Wolf at the Door: Stanley Kubrick, History, & the Holocaust. Peter Lang. p. 41. ISBN 978-0-8204-7115-0.
  11. Meyer, Carla (2013-03-17). "California Hall of Fame to induct the four Warner brothers". California Museum. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 28, 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-10-30.
  12. "Wielcy Polacy – Warner Bros czyli bracia Warner: Aaron (Albert), Szmul (Sam) i Hirsz (Harry) Wonsal oraz Jack (Itzhak) Wonsal – Białczyński". 22 April 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 21, 2019. สืบค้นเมื่อ 16 November 2017.
  13. Green, Fitzhugh (1929). The Film Finds Its Toungue. New York: G.P. Putnam's Sons. p. 41.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]