เอฟ-16 ไฟทิงฟอลคอน
เอฟ-16 ไฟทิงฟอลคอน | |
---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |
บทบาท | เครื่องบินขับไล่หลากบทบาท |
ชาติกำเนิด | สหรัฐ |
บริษัทผู้ผลิต | เจเนรัล ไดนามิกส์ ล็อกฮีด มาร์ติน |
สถานะ | ประจำการ |
ผู้ใช้งานหลัก | กองทัพอากาศไทย
กองทัพอากาศสหรัฐ ประเทศอื่นอีก 25 ประเทศ (ดูที่ประเทศผู้ใช้งาน) |
จำนวนที่ผลิต | มากกว่า 4,400 ลำ |
ประวัติ | |
เริ่มใช้งาน | 17 สิงหาคม พ.ศ. 2521 |
เที่ยวบินแรก | 20 มกราคม พ.ศ. 2517 |
สายการผลิต | เจเนรัล ไดนามิกส์ เอฟ-16เอ็กซ์แอล เอฟ-16 วิสต้า มิตซูบิชิ เอฟ-2 |
เอฟ-16 ไฟท์ติ้งฟอลคอน (อังกฤษ: F-16 Fighting Falcon) เป็นเครื่องบินขับไล่หลากบทบาทที่เดิมทีพัฒนาขึ้นโดยบริษัทGeneral Dynamicsเพื่อกองทัพอากาศสหรัฐ มันถูกออกแบบให้เป็นเครื่องบินขับไล่ตอนกลางวันน้ำหนักเบา มันได้กลายมาเป็นเครื่องบินขับไล่ที่ประสบความสำเร็จ ความสามารถรอบตัวของมันเป็นเหตุผลหนักที่มันทำการตลาดได้เยี่ยมโดยมันถูกเลือกโดยกองทัพอากาศของ 25 ประเทศ[1] เอฟ-16 เป็นโครงการเครื่องบินขับไล่พลังไอพ่นที่ใหญ่ที่สุดของฝั่งตะวันตกพร้อมด้วยการผลิตกว่า 4,400 ลำตั้งแต่ปีพ.ศ. 2519[1] ถึงแม้ว่ามันจะไม่ถูกซื้อโดยกองทัพอากาศสหรัฐอีกต่อไป รุ่นที่ก้าวหน้าก็ยังคงทำตลาดในหมู่ต่างประเทศได้ ในปีพ.ศ. 2536 เจเนรัล ไดนามิกส์ขายธุรกิจการผลิตเครื่องบินให้กับบริษัทล็อกฮีด[2] ซึ่งได้กลายมาเป็นล็อกฮีด มาร์ตินหลังจากทำการรวมเข้ากับมาร์ติน มาเรียทต้าในปีพ.ศ. 2538[3]
เอฟ-16 เป็นนักสู้กลางอากาศที่มีวัตกรรมมากมายรวมทั้งฝาครอบห้องนักบินที่โค้งมน คันบังคับแบบแท่งที่ทำให้งานต่อการควบคุมภายใต้แรงจี และที่นั่งที่เอนไปด้านหลังเพื่อลดแรงจีที่กระทำต่อนักบิน อาวุธมีทั้งปืนใหญ่เอ็ม61 วัลแคนและขีปนาวุธมากมาย 11 ตำบล มันยังเป็นเครื่องบินขับไล่แบบแรกที่ถูกสร้างมาเพื่อทำการเลี้ยวแบบ 9 จีได้ มันมีอัตราการผลักต่อน้ำหนักที่ดีมาก ส่งผลให้มันมีพลังในการไต่ระดับและการเร่งที่ยอดเยี่ยมหากจำเป็น[4] แม้ว่าชื่อทางการของมันคือ"ไฟทิงฟอลคอน" แต่นักบินก็เรียกมันว่าไวเปอร์ (Viper) เนื่องมาจากมันคล้ายกับงูเห่าและตั้งชื่อตามยานขับไล่ในซีรีส์สแบทเทิลสตาร์ กาแลคติก้า[5][6]
เอฟ-16 มีกำหนดการที่จะปลดออกจากประจำการในกองทัพอากาศสหรัฐในปีพ.ศ. 2568[7] มีการวางแผนที่จะแทนที่เอฟ-16 ด้วยเอฟ-35 ไลท์นิ่ง 2 ซึ่งจะเข้าประจำการในปีพ.ศ. 2554 และจะเริ่มเข้าแทนที่เครื่องบินหลากบทบาทจำนวนมากในกองทัพของชาติที่เข้าร่วมโครงการ
การพัฒนา
[แก้]ต้นกำเนิด
[แก้]ด้วยประสบการณ์จากสงครามเวียดนามที่บ่งบอกถึงความสามารถของเครื่องบินขับไล่ที่อเมริกาจะต้องการในเร็วๆ นี้ และความต้องการที่จะต้องให้นักบินได้รับการฝึกการต่อสู้ในอากาศให้มากขึ้น[8] ความต้องการเครื่องบินขับไล่ครองความได้เปรียบทางอากาศแบบใหม่นั้นทำให้กองทัพอากาศสหรัฐเริ่มศึกษาการพัฒนาจากสองความคิดในปีพ.ศ. 2508 คือ โครงการทดลองเครื่องบินขับไล่หรือเอฟเอกซ์ (Fighter Experimental, FX) ที่เป็นเครื่องบินปีกพับได้ขนาด 27,200 กิโลกรัมพร้อมเครื่องยนต์สองเครื่อง และ โครงการเครื่องบินขับไล่กลางวันแบบพัฒนาหรือเอดีเอฟ (Advanced Day Fighter, ADF) ที่เป็นเครื่องบินน้ำหนักเบาขนาด 11,300 กิโลกรัมซึ่งมากกว่ามิก-21 25% อย่างไรก็ดีการปรากฏตัวของมิก-25 ที่ทำความเร็วได้ถึงมัก 3 ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2510 นั้น ทำให้โครงการเอดีเอฟตกเป็นรองจากโครงการเอฟเอกซ์ ซึ่งได้ผลิตเอฟ-15 ขนาด 18,100 กิโลกรัมออกมา[9]
ด้วยการใช้ประสบการจากการเป็นนักบินในสงครามเกาหลีและครูสอนยุทธวิธีในต้นทศวรรษที่ 1960 ผู้พันจอห์น บอยด์และนักคณิตศาสตร์โธมัส คริสตี้ได้พัฒนาทฤษฎีพลังงาน-ความคล่องตัวหรืออี-เอ็ม (Energy-Maneuverability theory, E-M) ขึ้นมาเพื่อเป็นแบบในการต่อสู้กับเครื่องบินขับไล่ การเคลื่อนที่หรือกระบวนท่าเป็นกุญแจสู่สิ่งที่บอยด์เรียกว่า"การตีลังการแบบโอโอดีเอ (OODA Loop, Observation-Orientation-Decision-Action) งานของบอยด์ต้องการเครื่องบินที่มีขนาดเล็กและน้ำหนักที่เบาพร้อมกับอัตราแรงผลักต่อน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น[10][11] การศึกษาของกองทัพอากาศในปีพ.ศ. 2508 แนะว่าให้เพิ่มเครื่องบินขับไล่ที่มีราคาสูงและต่ำผสมกันในฝูงบินเพื่อเป็นการประหยัด[12]
โครงการเครื่องบินขับไล่น้ำหนักเบา
[แก้]ในปลายทศวรรษที่ 1960 บอยด์ได้รวบรวมกลุ่มผู้คิดค้นที่กลายมาเป็นกลุ่มที่รู้จักกันในชื่อ"มาเฟียเครื่องบินขับไล่น้ำหนักเบา" ในปีพ.ศ. 2512 กลุ่มสามารถหาทุนในการศึกษาและประเมินผลทฤษฎีอี-เอ็มของพวกเขา เจเนรัล ไดนามิกส์ได้รับเงินจำนวน 149,000 ดอลลาร์สหรัฐ และนอร์ทธรอปได้รับ 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อทำการพัฒนาแบบความคิดที่จะใช้เป็นตัวทฤษฎีอี-เอ็มของบอยด์ งานของพวกเขานำไปสู่วายเอฟ-16 และวายเอฟ-17 ตามลำดับ[13][14]
แม้ว่าเหล่าผู้สนับสนุนโครงการเอฟเอ็กซ์ของกองทัพอากาศยังคงไม่ชอบความคิดนี้เพราะพวกเขาเข้าใจว่ามันเป็นภัยต่อโครงการเอฟ-15 ความคิดโครงการเอดีเอฟได้รับการสนับสนุนจากพลเมืองภายใต้ผู้รักษาการรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมเดวิด แพ็คคาร์ด ผู้ท่ชอบความคิดในการแข่งขันหาต้นแบบ ผลที่ได้คือในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2514 กลุ่มศึกษาต้นแบบของกองทัพอากาศถูกตั้งขึ้นมาโดยมีบอยด์เป็นคนสำคัญ และแบบเสนอสองแบบจากหกก็ได้รับทุน แบบหนึ่งคือเครื่องบินขับไล่น้ำหนักเบาหรือแอลดับบลิวเอฟ (Lightweight Fighter, LWF) การร้องข้อเสนอเกิดขึ้นในวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2515 ต้องการเครื่องบินขับไล่กลางวันขนาด 9,100 กิโลกรัมพร้อมกับอัตราการเลี้ยวที่ดี การเร่งและพิสัย และสามารถทำการต่อสู้ที่ความเร็ว 0.6-1.6 มักได้และทำการได้ในระดับความสูง 30,000-40,000 ฟุต นี้คือขอบเขตซึ่งกองทัพอากาศสหรัฐคาดว่าการต่อสู้กลางอากาศในอนาคตส่วนมากจะเกิดขึ้น โดยมีพื้นฐานมาจากสงครามเวียดนาม สงครามหกวัน และสงครามอินโด-ปากีสถาน ราคาที่คาดกันในการผลิตเครื่องบินคือ 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แผนการผลิตนี้เป็นเพียงการคาดเดาตามที่กองทัพอากาศนั้นไม่มีข้อผูกมัด และอันที่จริง ไม่มีแผนที่จะหาผู้ชนะ ซึ่งจะต้องประกาศในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2518[15][16]
บริษัทห้าบริษัทตอบสนองและในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2515 มีการประกาศผู้ชนะในการพัฒนาต้นแบบและทำการทดสอบคือโมเดล 908-909 ของโบอิง และ โมเดล 401 ของเจเนรัล ไดนามิกส์ อย่างไรก็ตามหลังจากนั้นหน่วยเอสเอสเอ (Source Selection Authority, SSA) ได้ลดโบอิงไปอยู่ที่สามตามหลังพี-600 ของนอร์ทธรอป เจเนรัล ไดนามิกส์และนอร์ทธรอฟได้รางวัลในการทำสัญญามูลค่า 37.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 39.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสร้างวายเอฟ-16 และวายเอฟ-17 ตามลำดับ โดยทำการบินครั้งแรกของทั้งสองแบบนั้นวางแผนเอาไว้ในต้นปีพ.ศ. 2517 เพื่อเอาชนะคนใหญ่คนโตในกองทัพอากาศ กลุ่มมาเฟียเครื่องบินขับไล่และผู้สนับสนุนแอลดับบลิวเอฟได้สนับสนุนความคิดการใช้เครื่องบินราคาสูงและต่ำผสมกัน ความคิดนี้จะระบุความสัมพันธ์ของเอฟ-15 และเอฟ-16 และต่อมาก็คือเอฟ-22 แร็พเตอร์และเอฟ-35 ไลท์นิ่ง 2[17][18]
เริ่มบิน
[แก้]วายเอฟ-16 ปรากฏตัวครั้งแรกในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2516 และการบินครั้งแรกของมันใช้เวลา 90 นาทีที่ศูนย์ทดสอบการบินกองทัพอากาศที่ฐานทัพอากาศเอ็ดเวิร์ด แคลิฟอร์เนียเมื่อวันที่ 20 มกราคม ในขณะที่เร่งความเร็ว การควบคุมที่ไม่นิ่งทำให้ปลายปีกและหางครูดกับพื้น และเครื่องบินเริ่มหันออกนอกทางวิ่งไป นักบินทดสอบของเจเนรัล ไดนามิกส์ ฟิล โอเอสทริชเชอร์ตัดสินใจที่จะยกเครื่องขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงการทำให้เครื่องเสียหาย และลงจอดอย่างปลอดภัยในอีกหกนาทีต่อมา ความเสียหายเล็กน้อยได้รับการซ่อมแซมอย่างรวดเร็วและมันก็ถูกบันทึกเป็นการบินครั้งแรกอย่างเป็นทางการ การบินเหนือเสียงครั้งแรกของวายเอฟ-16 เกิดขึ้นในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517 และต้นแบบที่สองของวายเอฟ-16 ได้บินในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 สิ่งนี้ตามมาด้วยการการบินครั้งแรกของวายเอฟ-17 ซึ่งเกิดขึ้นในวันที่ 9 มิถุนายนและ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2517 ตามลำดับ ทั้งหมดแล้ววายเอฟ-16 ทำการบิน 330 ครั้งเป็นชั่วโมงทั้งสิ้น 417 ชั่วโมง วายเอฟ-17 ทำการบินไป 268 ครั้ง[19]
การแข่งขันในการต่อสู้ทางอากาศ
[แก้]ปัจจัยทั้งสามค่อยๆ รวมกันเพื่อเปลี่ยนแอลดับบลิวเอฟให้กลายเป็นโครงการพัฒนาที่จริงจัง ขั้นแรกนาโต้ที่เป็นพันธมิตรทั้งสี่กับสหรัฐฯอย่าง เบลเยียม เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ และนอร์เวย์ กำลังมองหาสิ่งที่จะมาแทนที่เอฟ-104จีที่เป็นแบบหนึ่งของเอฟ-104 สตาร์ไฟเตอร์ นอกจากนั้น พวกเขายังมองหาเครื่องบินที่อุตสหกรรมของพวกเขาสามารถผลิตได้ภายใต้ใบอนุญาต ในต้นปีพ.ศ. 2517 พวกเขาได้รับข้อตกลงกับสหรัฐฯ ว่าหากกองทัพอากาศสหรัฐสั่งซื้อแอลดับบลิวเอฟที่ชนะ พวกเขาก็ต้องสั่งซื้อมันเช่นกัน ขั้นที่สองในขณะที่กองทัพอากาศสหรัฐไม่ได้สนใจเฉพาะเครื่องบินขับไล่ครองความได้เปรียบทางอากาศเท่านั้น พวกเขาเริ่มต้องการแทนที่เอฟ-105 ธันเดอร์ชิฟ ขั้นที่สามสภาคองเกรสของสหรัฐฯ อยากที่จะได้เครื่องบินขับไล่ที่ใช้ได้ทั้งกองทัพอากาศและกองทัพเรือ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2517 สภาคองเกรสเปลี่ยนการให้ทุนสำหรับโครงการวีเอฟเอเอ็กซ์ของกองทัพเรือไปให้กับโครงการเอ็นเอซีเอฟแทน ซึ่งเน้นการดัดแปลงเครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิดทางน้ำแบบแอลดับบลิวเอฟ ความต้องการเหล่านี้สัมพันธ์กัน แต่การตั้งเวลาในการจัดซื้อนั้นจำกัดโดยพันธมิตรทั้งสี่ประเทศ ผู้ที่ก่อตั้ง"กลุ่มโครงการเครื่องบินขับไล่นานาชาติ"หรือ"เอ็มเอฟพีจี" (Multinational Fighter Program Group, MFPG) และรีบเร่งสำหรับการตัดสินใจของสหรัฐฯ ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2517 กองทัพอากาศสหรัฐได้ประกาศแอลดับบลิวเอฟที่ชนะในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2518 แต่การตัดสินใจยืดออกไปจนถึงปีใหม่ และการทดสอบก็ถูกเร่ง เพื่อสะท้อนสิ่งใหม่นี้ความตั้งใจในการจัดซื้อเครื่องบินใหม่จึงจริงจังมากขึ้น พร้อมกับการกำหนดเป้าหมายใหม่ให้เป็นเครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิด โครงการแอลดับบลิวเอฟกลายเป็นการแข่งขันในการต่อสู้ทางอากาศหรือเอซีเอฟ (Air Combat Fighter, ACF) ที่ประกาศโดยรัญมนตรีกระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ เจมส์ อาร์. เชลซิงเกอร์ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2517 เชลซิงเกอร์ยังเปิดเผยว่าเอซีเอฟลำใดๆ ก็ตามจะทำเพื่อเครื่องบินที่นอกเหนือจากเอฟ-15 ซึ่งเป็นการยุติฝ่ายค้านของแอลดับบลิวเอฟ[20][21][22]
เอซีเอฟยักได้เพิ่มเสาหลักให้กับเจเนรัล ไดนามิกส์และนอทร์ทธรอฟเพราะว่ามันเป็นผู้เข้าแข่งขันที่มีความตั้งใจในการทำกำไรงาม สิ่งเหล่านี้คือมิราจ เอฟ1เอ็ม-53ของดัซโซลท์ เอวิเอชั่น เซเปแคท จากัวร์ และซ้าบ วิกเก้นที่พัฒนาเป็นซ้าบ 37อี ยูโรไฟเตอร์ (ซึ่งไม่ใช่แบบเดียวกับยูโรไฟต์เตอร์ ไทฟูน) นอร์ทธรอฟยังได้เสนออีกแบบหนึ่งคือพี-530 คอบรา ซึ่งคล้ายคลึงกับวายเอฟ-17 อย่างมาก จากัวร์และคอบราถูกยกเลิกโดยเอ็มเอฟพีจี ทำให้แบบของยุโรปสองแบบและแอลดับบลิวเอฟของสหรัฐฯ อีกสองแบบเป็นผู้เข้าแข่งขันที่เหลือ ในวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2517 กองทัพอากาศสหรัฐได้ยืนยันแผนที่จะสั่งซื้อเอซีเอฟที่ชนะเพื่อเพิ่มมันเข้าไปในฝูงบินยุทธวิธีห้าฝูงบิน เมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2518 รัฐมนตรีกองทัพอากาศจอห์น แอล. แมคลูคัสได้ประกาศว่าวายเอฟ-16 ได้รับเลือกให้เป็นผู้ชนะในการแข่งขันเอซีเอฟ[23]
เหตุผลหลักที่รัฐมนตรีให้ต่อการตัดสินใจนี้คือราคาใช้งานที่ถูกกว่า พิสัยที่มากกว่า และการทำงานที่ดีกว่าของวายเอฟ-16 เหนือวายเอฟ-17 โดยเฉพาะความเร็วเหนือเสียง โครงการทดสอบการบินได้เผยว่าวายเอฟ-16 มีการเร่ง อัตราไต่ระดับ ความทนทาน และอัตราเลี้ยวที่เหนือกว่า อีกข้อได้เปรียบหนึ่งคือวายเอฟ-16 ใช้เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนแพรทท์ แอนด์ วิทนีย์ เอฟ100 ซึ่งเป็นแบบเดียวกับที่ใช้กับเอฟ-15 ทำให้มันลดค่าใช้จ่ายสำหรับโครงการเครื่องยนต์[22][24]
ไม่นานหลังจากการเลือกวายเอฟ-16 รัฐมนตรีแมคลูคัสได้เผยว่ากองทัพอากาศสหรัฐได้วางแผนที่จะสั่งซื้ออย่างน้อย 650 ถึง 1,400 ลำ กองทัพอากาศเริ่มสั่งซื้อเครื่องบินที่มี"การพัฒนาแบบเต็มที่"หรือ"เอฟเอสดี" (Full-Scale Development, FSD) 15 ลำ (11 ลำเป็นแบบหนึ่งที่นั่งและอีก 4 ลำเป็นแบบสองที่นั่ง) สำหรับโครงการทดสอบการบิน แต่ต่อมาได้ลดเหลือ 8 ลำ (เอฟ-16เอ 6 ลำและเอฟ-16 บี 2 ลำ) อย่างไรก็ตามกองทัพเรือได้ประกาศเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 ว่าได้มีการตัดสินใจที่จะไม่ซื้อเอฟ-16 แบบสำหรับกองทัพเรือ พวกเขาเลือกที่จะใช้เครื่องบินที่พัฒนามาจากวายเอฟ-17 ซึ่งนั่นก็คือเอฟ/เอ-18 ฮอร์เน็ทของแมคดอนเนลล์ ดักลาสนั่นเอง[25]
เข้าสู่การผลิต
[แก้]บริษัทผู้ผลิตเอฟ-16 คือเจเนรัล ไดนามิกส์ในฟอร์ทเวอร์ธรัฐเท็กซัสในปลายปีพ.ศ. 2518 พร้อมตัวอย่างแรกคือเอฟ-16เอ ที่วางแผนจะผลิตในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ตามมาด้วยการบินครั้งแรกของมันในวันที่ 8 ธันวาคม แบบสองที่นั่งเริ่มทำการบินครั้งแรกในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2520 การผลิตเริ่มแรกของเอฟ-16เอเริ่มในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2521 และส่งให้กับกองทัพอากาศสหรัฐในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 เอฟ-16 ได้ชื่อเล่นในตอนแรกว่า"ไฟทิงฟอลคอน"ในวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2523 และมันได้เข้าประจำการในฝูงบินขับไล่ยุทธวิธีที่ 388 ที่ฐานทัพอากาศฮิลในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2523[26]
ในวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2518 หุ้นส่วนยุโรปสี่ประเทศได้ทำสัญญาสำหรับเครื่องบินจำนวน 348 ลำที่งานแสดงในปารีส สำหรับเบลเยียม 116 ลำ เดนมาร์ก 58 ลำ เนเธอร์แลนด์ 102 ลำ และ นอร์เวย์ 72 ลำ พวกมันจะถูกผลิตบนสายการผลิตสองสายของยุโรป หนึ่งคือในเนเธอร์แลนด์ที่โรงงานของฟอกเกอร์และอีกที่หนึ่งในโรงงารแซบก้า (Société Anonyme Belge de Constructions Aéronautiques, SABCA) ของเบลเยียม การผลิตจะถูกแบ่งเป็น 184 ลำและ 164 ลำตามลำดับ บริษัทคองสเบิร์กของนอร์เวย์และเทอร์ม่า เอ/เอสของเดนมาร์กผลิตชิ้นส่วนสำหรับเครื่องบิน การผลิตร่วมของยุโรปเริ่มอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2520 ที่โรงงานฟอกเกอร์ ในกลางเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2520 ชิ้นส่วนที่ผลิตโดยฟอกเกอร์ถูกส่งไปที่ฟอร์ทเวิร์ธเพื่อทำการประกอบลำตัว ซึ่งจะถูกส่งกลับไปที่ยุโรป การประกอบขั้นสุดท้ายจะเริ่มที่โรงงานของเบลเยียมในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2521 พร้อมส่งให้กับกองทัพอากาศเบลเยียมในเดือนมกราคม พ.ศ. 2522 สายผลิตของเดนมาร์กเริ่มขึ้นในเดือนเมษายน พ.ศ. 2521 และได้ทำการส่งครั้งแรกให้กับกองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2522 ในปีพ.ศ. 2523 เครื่องบินลำแรกถูกส่งให้กับกองทัพอากาศนอร์เวย์โดยแซบก้าและกองทัพอากาศเดนมาร์กโดยฟอกเกอร์[22][27][28]
ตั้งแต่นั้นสายการผลิตเพิ่มเติมถูกสร้างขึ้นในแอนคาร่าในตุรกี ที่ซึ่งอุตสาหกรรมอากาศยานของตุรกีหรือทีเอไอ (Turkish Aerospace Industries, TAI) ได้ผลิตเอฟ-16 บล็อก 30/40/50 จำนวน 232 ลำภายใต้ใบอนญาตให้กับกองทัพอากาศตุรกีในปลายทศวรรษที่ 1980 และ 1990 และได้จะไดรับบล็อก 50 แอดวานซ์เซดจำนวน 30 ลำในปีพ.ศ. 2553 ทีเอไอยังได้สร้างบล็อก 40 จำนวน 46 ลำให้กับอียิปต์ในปลายทศวรรษที่ 1990 อุตสาหกรรมอากาศยานของเกาหลีได้เปิดสายการผลิตสำหรับโครงการเคเอฟ-16 โดยผลิตบล็อก 52 จำนวน 140 ลำตั้งแต่ทศวรรษที่ 1990-2000 สำหรับอินเดียพวกเขาเลือกเอฟ-16ไอเอ็นโดยจะมีสายการผลิตเอฟ-16 สายที่หกที่จะผลิตเครื่องบิน 108 ลำ[29]
การพัฒนา
[แก้]หลังจากที่ถูกเลือก วายเอฟ-16 ก็ถูกเปลี่ยนเป็นเอฟ-16 โครงสร้างลำตัวถูกทำให้ยาวขึ้น 10.6 นิ้ว ส่วนจมูกที่ใหญ่ขึ้นถูกติดตั้งด้วยเรดาร์เอเอ็น/เอพีจี-66 พื้นที่ปีถูกเพิ่มจาก 26 ตารางเมตรเป็น 28 ตารางเมตร ปีกหางถูกลดความสูงเล็กน้อย ปีกบริเวณท้องถูกทำให้ใหญ่ขึ้น มีการเพิ่มที่เก็บของ และฝาเปิดล้อหน้าถูกเปลี่ยนจากแบบสองฝามาเป็นฝาเดียว การดัดแปลงเหล่านี้เพิ่มน้ำหนักของเอฟ-16 ประมาณ 25% จากต้นแบบ[30][31][32]
ความต้องการหนึ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงซึ่งไม่นับคือการเพิ่มการควบคุมสูงเพื่อหลีกเลี่ยงการหยุดทำงานของเครื่องยนต์ในตอนที่ทำมุมปะทะสูง แบบทดสอบของวายเอฟ-16 ถูกทดสอบที่ศูนย์วิจัยในแลงลีย์ มีการพบปัญหาสำคัญแต่ไม่มีแล็บที่ใดพบเหมือนกัน การบินทดสอบของวายเอฟ-16 ไม่มีประสิทธิภาพพอที่จะแก้ไขปัญหา แต่การบินครั้งสำคัญนั้นคือสิ่งที่ต้องสนใจจริงๆ ผลที่ได้ของพื้นที่หางแนวนอนที่เพิ่มขึ้นอีก 25% ถูกใช้กับบล็อก 15 ในปีพ.ศ. 2524 และต่อมาก็ใช้กับเครื่องบินสำแรกๆ อีกอย่างคือการลดความเสี่ยงอย่างมากของการที่เครื่องยนต์หยุดทำงาน หางแนวนอนที่ใหญ่ขึ้นยังเพิ่มความเสถียรและให้การวิ่งขึ้นที่รวดเร็วขึ้น[33][34][35]
ในทศวรรษที่ 1980 โครงการการพัฒนานานาชาติหรือเอ็มเอสไอพี (Multinational Staged Improvement Program, MSIP) ถูกจัดขึ้นเพื่อเพิ่มความสามารถใหม่ให้กับเอฟ-16 การลดความเสี่ยงในขณะทำการพัฒนาเทคโนโลยี และเพื่อมั่นใจว่ามันจะคงทนต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง โครงการทำการพัฒนาเอฟ-16 สามขั้นตอน ด้วยประการทั้งปวงเอ็มเอสไอพีทำการเสนอความสามารถใหม่ของเอฟ-16 ในราคาต่ำ และลดความเสี่ยงเมื่อเทียบกับระบบแบบเดิม [36] เอฟ-16 ทำการพัฒนาอื่นๆ อีกที่รวมทั้งการยืดอายุการใช้งานในปีพ.ศ. 2543[37]
การออกแบบ
[แก้]โดยรวม
[แก้]เอฟ-16 เป็นเครื่องบินหลาบทบาทหนึ่งเครื่องยนต์ที่มีความเร็วเหนือเสียง เอฟ-16 ถูกออกแบบมาเพื่อเป็นนักสู้ที่คุ้มค่าซึ่งสามารถทำภารกิจได้หลากหลายและยังมีความพร้อมอยู่ตลอดเวลา มันมีขนาดเล็กและเบากว่าเครื่องบินก่อนหน้า แต่ใช้อากาศพลศาสตร์และระบบอิเลคทรอกนิกอากาศที่ล้ำหน้ากว่า รวมทั้งใช้ระบบฟลาย-บาย-ไวร์ (Fly-by-wire) กับอาร์เอสเอส (Relaxed static stability) เป็นครั้งแรก เพื่อให้ทำกระบวนท่าได้สูงสุด ด้วยความคล่องแคล่วสูงเอฟ-16 สามารถทำแรงได้ในระดับ 9 จีและสามารถทำความเร็วสูงสุดได้มากกว่า 2 มัค
เอฟ-16 มีปืนใหญ่เอ็ม61 วัลแคนขนาด 20 ม.ม.ที่โคนปีกด้านซ้ายและในรุ่นแรกๆ สามารถติดตั้งเอไอเอ็ม-9 ไซด์ไวน์เดอร์ได้ถึงหกลูก รวมทั้งขีปนาวุธอีกอย่างละลูกที่ปลายปีก บางแบบสามารถใช้เอไอเอ็ม-7 สแปร์โรว์และในรุ่นล่าสุดก็สามารถใช้เอไอเอ็ม-120 แอมแรมได้อีกด้วย มันยังสามารถใช้ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศแบบอื่น ขีปนาวุธอากาศสู่พื้น จรวดหรือระเบิด อุปกรณ์ต่อต้านอิเลคทรอนิก (อีเอ็มซี) การนำร่อง กระเปาะหาเป้าหรือปืน และถังเชื้อเพลิงในทั้ง 11 ตำบล โดยมีหกตำบลที่ใต้ปีก สองที่ปลายปีก และสามที่ใต้ลำตัว
โครงร่างโดยปกติ
[แก้]การออกแบบเอฟ-16 ใช้แพลนฟอร์มแบบครอป-เดลต้าร่วมกับการรวมปีกเข้ากับลำตัวและปีกขนาบข้าง เรขาคณิตที่ตายตัว ช่งอรับลมที่ด้านใต้เข้ากับเครื่องยนต์ไอพ่นแบบเทอร์โบแฟน ส่วนหางที่มีหางแนวนอนที่เคลื่อนที่ไดทั้งหาง ครีบคู่ที่ใต้ลำตัวท้ายขอบปีก ฝาครอบห้องนักบินแบบชิ้นเดียว และล้อลงจอดทั้งสาม มันมีระบบเติมเชื้อเพลิงทางอากาศที่จะมีช่องเติมอยู่ที่หลังห้องนักบิน เบรกอากาศอยู่ที่ช่วงท้ายของตัวปีก และตะขอเกี่ยวอยู่ที่ใต้ลำตัวส่วนท้าย ที่โคนปีกจะมีส่วนเก็บอุปกรณ์มากมายอย่างอีซีเอ็มหรือร่มฉุด เอฟ-16 แบบต่อมามากมายอย่างเอฟ-16ไอจากบล็อก 50 มีส่วนที่เชื่อมโยงไปตามแกนของลำตัวตั้งแต่ห้องนักบินไปจนถึงส่วนหาง มันสามารถถูกใช้เพื่อเก็บอุปกรณ์เพิ่มเติมหรือเชื้อเพลิงได้[29][38]
เอฟ-16 ถูกออกแบบมาให้มีราคาถูกในการสร้างและใช้งานได้ง่ายมากกว่าเครื่องบินขับไล่แบบก่อนๆ โครงสร้างทำจากอัลลูมิเนียมอัลลอย 80% เหล็ก 8% วัสดุผสม 3% และไทเทเนียม 1.5% การควบคุมพื้นผิวอย่างขอบที่แบนราบ ส่วนหาง และครีบท้องนั้นใช้โครงสร้างแบบใยที่ทำจากอะลูมิเนียมและผิวที่ทำจากกราไฟต์แผ่นบางๆ เอฟ-16เอมี 228 แผงตลอดทั่วทั้งลำตัว สายเชื้อเพลิงและโมดูลที่สามารถนำออกได้ยังถูกลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับแบบก่อนหน้า[29][32]
แม้ว่าโครงการแอลดับบลิวเอฟของกองทัพอากาศสหรัฐจะเรียกร้องหาเครื่องบินที่สามารถมีชั่วโมงบินได้เพียง 4,000 ชั่วโมง และสามารถทำแรงได้ 7.33 จีพร้อมเชื้อเพลิงภายใน 80% วิศวกรของเจเนรัล ไดนามิกส์ตัดสินใจตั้งแต่แรกที่จะออกแบบโครงสร้างของเอฟ-16 ให้คงทนได้ 8,000 ชั่วโมงและได้แรงได้ 9 จีพร้อมเชื้อเพลิงเติมถัง มันได้พิสูจน์ถึงความได้เปรียบกว่าเมื่อภารกิจของมันถูกเปลี่ยนจากอากาศสู่อากาศเป็นแบบหลากบทบาทแทน อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลากับแผนการใช้งานปฏิบัติการและน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเนื่องมาจากระบบเพิ่มเติมทำให้มันต้องการโครงสร้างมากมายที่ต้องแข็งแกร่งขึ้น[39]
ปีกหลักและปีกขนาบข้าง
[แก้]การศึกษาด้านอากาศพลศาสตร์เมื่อต้นทศวรรษที่ 1960 ได้แสดงให้เห็นปรากฏการณ์ที่เรียกว่า"การยกตัวของกระแสลม" (อังกฤษ: vortex lift) ที่สามารถเป็นประโยชน์โดยการใช้ปีกที่ลู่อย่างมากเพื่อทำมุมปะทะได้มากขึ้นผ่านการใช้กระแสลมแรงที่ไหลเวียนผ่านด้านข้างยกมันขึ้น เพราะว่าเอฟ-16 ถูกมองว่าเป็นเครื่องบินที่รวดเร็วในการต่อสู้ นักออกแบบของเจเนรัล ไดนามิกส์จึงได้เลือกปีกแบบครอป-เดลต้าที่เพรียวพร้อมกับปีกเสริมขนาบข้างทำมุม 40 องศาและท้ายปีกที่เป็นแนวตรง เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำกระบวนท่าได้มากของมัน ปีกโค้งนูนพร้อมกับแอร์ฟอล์ยแบบเอ็นเอซีเอ 64เอ-204 จึงถูกเลือกมาใช้งาน ส่วนโค้งเรียกว่า"แคมเบอร์" (camber) นั้นถูกปรับผ่านทางการใช้ขอบด้านหน้าและชอบด้านหลังที่เชื่อมเข้ากับระบบควบคุมการบินหรือเอฟซีเอส (flight control system, FCS) ซึ่งจะปรับโดยอัตโนมัติผ่านทางช่องการบิน[29][39]
ผลของการยกตัวด้วยกระแสลมนี้สามารถเพิ่มขึ้นได้ด้วยการเพิ่มพื้นที่ขอบด้านหน้าปีกที่ส่วนโคน จุดเชื่อมต่อกับลำตัว เรียกว่าส่วนขนาบข้างหรือ"สเตรค" (strake) สเตรคทำหน้าที่เหมือนสิ่งที่เพรียวลม มีขนาดยาว ไม่กว้าง ปีกทรงสามเหลี่ยมที่เริ่มตั้งแต่โคนปีกไปจนถึงส่วนหน้าของลำตัว ด้วยการผสมลำตัวที่ไม่มีจุดเชื่อมต่อที่เป็นมุม รวมทั้งโคนปีก สเตรคจะสร้างกระแสลมที่เร็วซึ่งยังคงติดอยู่กับส่วนบนของปีกเมื่อมุมปะทะสูงขึ้น ด้วยวิธีนี้เองแรงยกก็จะเพิ่มมากขึ้น สิ่งนี้ทำให้เครื่องบินสามารถทำมุมปะทะได้ในแบบที่ปกติแล้วเครื่องบินจะไม่สามารถควบคุมได้ การใช้สเตรคหรือปีกเสริมนั้นยังใช้อัตราปีกที่ต่ำ ซึ่งเพิ่มอัตราการหมุนและความเสถียรในขณะที่ลดน้ำหนักเครื่องบิน โคนปีกที่ลึกขึ้นยังเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับโครงสร้าง และเพิ่มปริมาณเชื้อเพลิงภายใน[39] ผลที่ได้คือเศษส่วนเชื้อเพลิงของเอฟ-16 ประมาณ 0.31 ที่ทำให้มันมีพืสัยมากกว่าเครื่องบินที่คล้ายคลึงกัน[32]
ระบบควบคุมการบิน
[แก้]เสถียรภาพในการทรงตัวที่เป็นลบ
[แก้]วายเอฟ-16 เป็นเครื่องบินลำแรกของโลกที่ถูกออกแบบให้มีอากาศพลศาสตร์ที่ไม่เสถียรเล็กน้อย เทคนิคนี้เรียกว่า"อาร์เอสเอส" (relaxed static stability, RSS) ทำงานร่วมเพื่อเพิ่มการทำงานของเครื่องบิน เครื่องบินส่วนใหญ่ถูกออกแบบมาให้มีเสถียรภาพในการทรงตัวที่เป็นบวก ซึ่งมีแนวโน้มทำให้เครื่องบินกลับไปสู่ความสูงเดิมของมันได้หลังจากที่เสียการทรงตัว อย่างไรก็ตามเสถียรภาพในการทรงตัวที่เป็นบวกนั้นหยุดความคล่องตัว เพราะว่ามีจะคอยทำให้เครื่องบินอยู่ในตำแหน่งปกติแทนที่จะเป็นแบบที่นักบินต้องการ ในอีกทางหนึ่ง เครื่องบินที่มีเสถียรภาพในการทรงตัวที่เป็นลบจะไม่อยู่ในระดับและการควบคุมในทันที ถึงกระนั้นเครื่องบินที่มีเสถียรภาพในการทรงตัวที่เป็นลบจะคล่องแคล่วกว่าพวกที่เป็นบวก เมื่อทำความเร็วเหนือเสียงเครื่องบินที่มีเสถียรภาพในการทรงตัวที่เป็นลบจะมีแนวทางที่เป็นบวกมากกว่าเดิม เพราะว่าแรงอากาศพลศาสตร์เปลี่ยนส่วนท้ายระหว่างการบินแบบต่ำกว่าเสียงและเร็วเหนือเสียง อย่างไรก็ตามในความเร็วเหนือเสียงเครื่องบินขับไล่มักมีแนวโน้มที่จะหลุดจากการควบคุมได้ตลอดเวลา[40][41]
ฟลาย-บาย-ไวร์
[แก้]เพื่อเผชิญหน้ากับการหลุดจากการควบคุมและหลีกเลี่ยงความต้องการที่จะต้องใช้เวลาในการเข้าควบคุมโดยนักบิน เอฟ-16 จึงมีช่องฟลาย-บาย-ไวร์สี่ช่อง คอมพิวเตอร์ควบคุมการบินหรือเอฟแอลซีซี (flight control computer, FLCC) ซึ่งเป็นตัวสำคัญของระบบควบคุมการบินหรือเอฟเอลซีเอส (Flight Control System, FLCS) ยอมรับการเชื่อมต่อจากนักบินจากคันบังคับและหางเสือ และจัดการการควบคุมพื้นผิวโดยไม่ทำให้เสียการควบคุม เอฟแอลซีซียังใช้การวัดเป็นพันๆ ครั้งต่อวินาทีของความสูงที่เครื่องบินอยู่ และจะทำให้มันถูกต้องโดยอัตโนมัติเพื่อจัดการกับการเปลี่ยนแปลงของเส้นทางการบินที่ไม่ได้มาจากนักบิน นั่นทำให้มันบินได้อย่างเสถียร สิ่งนี้นำไปสู่คำพังเพยของนักบินเอฟ-16 ที่ว่า "คุณไม่ได้ขับเอฟ-16 หรอก มันนั่นแหละที่ขับคุณ"[42]
เอฟแอลซีซียังทำงานร่วมกับตัวจำกัดการควบคุมการเคลื่อนไหวที่มีพื้นฐานมาจากระดับความสูงปัจจุบันของเครื่องบินไอพ่น ความเร็วลมและมุมปะทะ และป้องกันการเคลื่อนของการควบคุมพื้นผิวซึ่งจะทำให้เกิดความไม่เสถียรอย่างการสลิปหรือสคิด หรือมุมปะทะระดับสูงที่ทำให้ไม่สามารถควบคุมเครื่องบินได้ ตัวจำกัดยังทำหน้ที่ป้องกันกระบวนท่าที่จะสร้างแรงมากกว่า 9 จีต่อนักบินหรือโครงสร้าง[32][43]
ไม่เหมือนกับวายเอฟ-17 ที่จุดเด่นอยู่ที่ระบบเอฟบีดับบลิวพร้อมกับการควบคุมด้วยน้ำที่เป็นตัวสำรอง นักออกแบบเอฟ-16 นั้นใช้วัตกรรมใหม่ในการกำจัดส่วนเชื่อมระหว่างคันบังคับและหางเสือและพื้นผิวควบคุมอากาศพลศาสตร์ ความไว้ใจได้ของเอฟ-16 ต่อระบบอิเลคทรอนิกและสายไฟเพื่อคงการควบคุมการบิน แทนที่จะเป็นการใช้สายเคเบิลและระบบกลไกในการควบคุม สิ่งนี้ทำให้เอฟ-16 ได้รับชื่อเล่นว่า"อิเลคทริกเจ็ท"หรือ"เจ็ทไฟฟ้า" ช่องบินทั้งสี่หากสูญเสียไปหนึ่งช่องระบบก็จะเปลี่ยนมาเป็นแบบสามช่อง[44] เอฟแอลซีซีเริ่มต้นในฐานะระบบอนาล็อกในแบบเอ/บี แต่ต่อมาได้เป็นระบบดิจิตอลในแบบซี/ดีของบล็อก 40[32][45][46]
ห้องนักบินและการจัดอุปกรณ์
[แก้]อีกจุดเด่นหนึ่งของมันจากมุมมองของนักบินคือความยอดเยี่ยมโดยรวมของเอฟ-16 ในห้องนักบิน จุดเด่นนี้เป็นสิ่งสำคัญขณะทำการต่อสู้กลางอากาศ ฝาครอบชิ้นเดียวที่ทำมาจากโพลีคาร์บอเนทให้มุมมอง 360 องศาพร้อมมุมมองขึ้นลง 40 องศาตลอดด้านข้างของเครื่องบิน และ 15 องศาเหนือส่วนจมูก ที่นั่งนักบินติดตั้งบนที่ปรบขึ้นลงได้ นอกจากนี้ห้องนักบินเอฟ-16 ไม่มีส่วนโค้งที่ด้านหน้าซึ่งมีในเครื่องบินส่วนใหญ่ ซึ่งมันทำให้นักบินมองเห็นได้ชัดขึ้นในบริเวณด้านหน้า (ในแบบสองที่นั่งจำเป็นต้องมีกรอบมากั้นระหว่างนักบินทั้งสอง)[29][32][47]
เก้าอี้ดีดตัวเอซเซส2 พลังจรวดอยู่ที่ด้านหลังโดยทำมุม 30 องศา ที่นั่งในแบบที่เก่ากว่าและร่วมสมัยนั้นมักทำมุมเพียง 13-15 องศาทำนั้น ที่นั่งเอนที่ไปด้านหลังของเอฟ-16 ถูกเลือกเพื่อเพิ่มความทนทานของนักบินต่อแรงจีได้ และเพื่อลดความอ่อนไหวของนักบินต่อแรงโน้มถ่วงที่จะทำให้หมดสติ อย่างไรก็ตามมุมที่เพิ่มขึ้นก็ทำให้เพิ่มความเสี่ยงที่คอจะได้รับบาดเจ็บหากไม่ใช้ที่พักศีรษะ[48] การออกแบบเครื่องบินขับไล่ของสหรัฐฯ ในเวลาต่อมาที่นั่งจะเล็กกว่าและทำมุมเพียง 20 องศา[29][32][49] เพราะมุมที่มากของที่นั่งและความหนาของฝาครอบที่ทำมาจากโพลีคาร์บอเนท เก้าอี้ดีดตัวของเอฟ-16 จึงขาดส่วนที่เป็นเหล็กเพื่อกระแทกให้ฝาครอบแตกอย่างที่เครื่องบินลำอื่นๆ มี ซึ่งตัวกระแทกนั้นจะทำให้ฝาครอบแตกหากมันไม่สามารถเปิดได้ ในเครื่องเอฟ-16 การดีดตัวของนักบินทำโดยการปลดฝาครอบทิ้งไปก่อน เมื่อแรงลมดึงฝาครอบออกไปแล้ว ไกก็จะลั่นส่งให้เก้าอี้พุ่งออกไปด้วยพลังจรวด[50]
นักบินที่บินเครื่องบินจะใช้คันบังคับที่ด้านขวาเป็นหลักและคันเร่งจะอยู่ที่ด้านซ้าย หรือจะเป็นคันเหยีบก็ได้ เพื่อเพิ่มองศาในการควบคุมของนักบินในตอนที่มีแรงจีเยอะ สวิตช์มากมายจึงถูกย้ายไปที่คันบังคับแทน การกดเพียเบาๆ ที่คันบังคับจะส่งสัญญาณอิเลคทรอนิกผ่านทางระบบฟลาย-บาย-ไวร์เพื่อปรบการควบคุมการบินมากมาย ดั้งเดิมแล้วคันบังคับไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ แต่การจัดใช้แบบนี้ได้พิสูจน์ว่าไม่สะดวกและยากสำหรับนักบินที่จะควบคุม บางครั้งมันส่งผลให้มีแนวโน้มที่จะหมุนเกินไปในตอนที่วิ่งขึ้น ตั้งแต่ที่มันปรากฏตัวในเครื่องเอฟ-16 คันบังคับแบบโฮทัส (HOTAS) ได้กลายมาเป็นแบบพื้นฐานของเครื่องบินขับไล่ยุคใหม่ (แม้ว่าคันบังคับด้านข้างนั้นจะไม่แพร่หลายนัก)[32][51]
ห้องนักบินของเอฟ-16 ยังมีเฮด-อัพดิสเพลย์หรือฮัด (Head-Up Display, HUD) ซึ่งฉายภาพการบินและข้อมูลการรบในรูปแบบสัญลักษณ์ต่อหน้านักบินโดยปราศจากสิ่งกีดขวาง ด้วยการที่สามารถมองหาเป้าได้ทั่วห้องนักบินนักบินจึงมีการระวังตัวอย่างมากต่อสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัว[52] หมวกเจเอชเอ็มซีเอส (Joint Helmet Mounted Cueing System, JHMCS) ของโบอิงถูกใช้ในบล็อก 52 สำหรับขีปนาวุธพิสัยไกลอย่างเอไอเอ็ม-9 เอ็กซ์ หมวกพิเศษนี้สามารถบองตำแหน่งของระบบอาวุธได้ตามที่นักบินมอง แม้กระทั่งนอกจอแสดงผลก็ตาม ในขณะที่ยังคงมีการระวังภัย[53] หมวกนี้ทำการครั้งแรกในปฏิบัติการปลดปล่อยอิรัก[54]
นักบินจะได้รับการบินเพิ่มและข้อมูลสถานะของระบบจากมัลติ-ฟังชั่น ดิสเพลย์หรือเอ็มเอฟดี (multi-function display, MFD) เอ็มเอฟดีที่ด้านซ้ายคือหน้าจอแสดงการบินหลัก ซึ่งโดยปกติจะแสดงเรดาร์และแผนที่เคลื่อนที่ เอ็มเอฟดีทางด้านขวาจะแสดงระบบ ซึ่งแสดงข้อมูลสำคัญของเครื่องยนต์ อุปกรณ์ลงจอด ฝาครอบและแพนปีก เชื้อเพลิง และสถานะอาวุธ เริ่มแรกเอฟ-18เอ/บีมีจอหลอดรังสีคาโทด (ซีอาร์ที) เพียงจอเดียวเท่านั้นที่ทำหน้าที่พีเอฟดี พร้อมกับข้อมูลระบบที่แสดงตามมาตรวัดต่างๆ เอ็มแอลยูได้นำจอเอ็มเอฟดีเข้าสู่ห้องนักบินและยังใช้ได้ในแบบกลางคืนอีกด้วย[34] จอซีอาร์ทีเหล่านี้ถูกแทนที่ด้วยจอแอลซีดีในบล็อก 50/52[29] ในบล็อก 60 จอเอ็มเอฟดีแบบสีที่สามารถใส่โปรแกรมและสลับเปลี่ยนได้ พร้อมความสามารถภาพต่อภาพซึ่งให้สถานการณ์ได้ตรงตามเวลาบนแผนที่เคลื่อนที่[55]
เรดาร์
[แก้]เอฟ-16เอ/บีเดิมที่ติดตั้งเรดาร์ควบคุมการยิงแบบพัลส์-ดอพเพลอร์เอเอ็น/เอพีจี-66 ของเวสติ้งเฮาส์ (ตอนนี้คือนอร์ทธรอป กรัมแมน) เสาอากาศของมันถูกออกแบบมาเพื่อมีประสิทธิภาพกับสมูกขนาดเล็กของเอฟ-16 ในรูปแบบอัพลุค เอพีจี-66 ใช้คลื่นสั่นสะเทือนซ้ำหรือพีอาร์เอฟ (Pulse repetition frequency, PRF) ระดับต่ำสำหรับเป้าหมายที่อยู่ระดับกลางและสูงในสภาพแวดล้อมที่รก และในรูปแบบดาวน์ลุคจะเป็นการใช้พีอาร์เอฟระดับกลางสำหรับสภาพแวดล้อมที่รกอย่างมาก มันมีคลื่นความถี่สี่คลื่นภายในเอ็กว์แบนด์ (X band) และมีรูปแบบสี่รูปแบบสำหรับการต่อสู้อากาศสู่อากาศและเจ็ดสำหรับการต่อสู้อากาศสู่พื้น แม้แต่ในตอนกลางคืนหรือสภาพอากาศที่เลวร้าย เอพีจี-66(วี)2 ของบล็อก 15 ได้เพิ่มตัวประมวลสัญญาณที่ทรงพลัง ความเชื่อใจได้ และเพื่มระยะในสภาพแวดล้อมที่รกหรือมีการรบกวนได้ไกลขึ้น โครงการเพิ่มอายุใช้งานได้พัฒนาสิ่งนี้เป็นเอพีจี-66(วี)2เอ ซึ่งมีจุดเด่นเป็นความเร็วและความจำ[32][56]
เรดาร์เอเอ็น/เอพีจี-68 เป็นการพัฒนาของเอพีจี-66 ถูกนำมาใช้กับเอฟ-16ซี/ดี บล็อก 25 เอพีจี-68 มีระยะและการประมวลผลที่มากกว่า เช่นเดียวกับรูปแบบปฏิบัติการที่มากขึ้นเป็น 25 รูปแบบ และการติดตามขณะตรวจหาหรือทีดับบลิวเอส (track-while-scan, TWS) สำหรับเป้าหมายมากถึงสิเป้าหมาย เอพีจี-68(วี)1 ของบล็อก 40/42 ได้เพิ่มการทำงานร่วมเต็มที่กับระบบแลนเทิร์นของล็อกฮีด มาร์ติน และรูปแบบติดตามแบบพัลส์-ดอพเพลอร์ด้วยพีอาร์เอฟระดับสูงเพื่อให้ส่งคลื่นต่อเนื่องเข้าสู่เป้าหมายเพื่อชี้เป้าให้กับขีปนาวุธแบบกึ่งเรดาร์อย่างเอไอเอ็ม-7 สแปร์โรว์ เอฟ-16 บล็อก 50/52 เริ่มได้รับเอพีจี-59(วี)5 ที่เชื่อถือได้มากกว่าซึ่งมีตัวประมวลผลที่ใช้เทคโนโลยีวงจรร่วมความเร็วสูง บล็อก 50/52 ที่ห้าวหน้าถูกติดตั้งด้วยเอพีจี-68(วี)9 ซึ่งมีระยะตรวจจับได้มากกว่า 30% และรูปแบบเอสเออาร์ (synthetic aperture radar, SAR) สำหรับการประมวลผลระดับสูงของแผนที่และการตรวจจับเป้าหมาย ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2547 นอร์ทธรอฟ กรัมแทนได้รับสัญญาในการเริ่มการพัฒนาเรดาร์เอพีจี-68 ของบล็อก 40/42/50/52 ให้เป็นแบบ(วี)10 ซึ่งทำให้เอฟ-16 มีการตรวจจับในทุกสภาพอากาศและการจับเป้าในแบบจีพีเอส มันยังเพิ่มรูปแบบแผนที่เอสเออาร์และรูปแบบตามพื้นภูมิประเทศ[29][32]
เอฟ-16อี/เอฟที่ใช้เรดาร์เออีเอสเอ (Active Electronically Scanned Array, AESA) เอเอ็น/เอพีจี-80 ของนอร์ทธรอป กรัมแมน ทำให้มันเป็นเครื่องบินลำที่สามที่ใช้มัน[55][57]
ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2550 เรย์ธีออนได้ประกาศว่ามันได้ทำการพัฒนาเรดาร์รุ่นใหม่ขึ้นมาโดยมีพื้นฐานมาจากเอเอ็น/เอพีจี-79 รุ่นก่อนหน้าเพื่อเป็นทางเลือกให้กับเอเอ็น/เอพีจี-68 และเอเอ็น/เอพีจี-80 ของนอร์ทธธรอป กรัมแมนสำหรับเอฟ-16 แบบใหม่[29][58] ในวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 โบอิงได้เลือกการออกแบบนี้เพื่อทำการพัฒนาเอฟ-15อีให้กับกองทัพอากาศสหรั[59]
การขับเคลื่อน
[แก้]ในตอนแรกขุมกำลังของเอฟ-16 คือเครื่องยนต์เทอร์โบแฟนพร้อมสันดาปท้ายแพรทท์ แอนด์ วิทนีย์ เอฟ100-พีดับบลิว-200 หนึ่งเครื่องยนต์ มันถูกดัดแปลงเล็กน้อยจากเอฟ100-พีดับบลิว-100 ที่ใช้โดยเอฟ-15 ด้วยอัตราแรงขับ 23,830 ปอนด์ทำให้มันยังคงใช้ไปจนถึงเอฟ-16 ในบล็อก 25 ยกเว้นบล็อก 12 พร้อมการพัฒนาความสามารถปฏิบัติการหรือโอซียู (Operational Capability Upgrade, OCU) โอซียูได้นำเครื่องเอฟ100-พีดับบลิว-220 ที่ให้แรงขับ 23,770 มาใช้ ซึ่งยังได้ติดตั้งในบล็อก 32 และ 42 ในขณะที่มันไม่ได้เพิ่มแรงขับอย่างเห็นได้ชัดนัก มันก็ได้นำระบบควบคุมเครื่องยนต์อิเลคทรอกนิกแบบดิจิตอลหรือดีอีอีซี (Digital Electronic Engine Control, DEEC) มาใช้ซึ่งได้เพิ่มความไว้ใจได้และลดความเสี่ยงของเครื่องยนต์ที่จะหยุดทำงาน (ซึ่งเป็นสิ่งที่มักเกิดขึ้นกับรุ่น "-200" ซึ่งจำเป็นต้องทำการสตาร์ทเครื่องใหม่กลางอากาศ) ด้วยการปรากฏตัวบนสายผลิตเอฟ-16 ในปีพ.ศ. 2531 "-220" ยังได้เข้าแทนที่ "-100" ของเอฟ-15 ดังนั้นทั้งสองจึงมีเครื่องยนต์ที่เหมือนกัน เครื่องยนต์รุ่น "-220" มากมายของบล็อก 25 และเครื่องบินลำต่อๆ มาถูกพัฒนาตั้งแต่กลางปีพ.ศ. 2540 ให้เป็น "-220อี" ซึ่งได้เพิ่มความไว้ใจได้และใช้งานได้ง่าย รวมทั้งลดอัตราการซ่อมแซมลงไป 35%[22][32][60][61]
การพัฒนาเอฟ-100-พีดับบลิว-220/220อีเป็นผลมาจากโครงการเปลี่ยนเครื่องยนต์ของกองทัพอากาศสหรัฐ ซึ่งมีเจเนรัล อิเลคทริกเป็นผู้สร้างเครื่องยนต์ให้กับเอฟ-16อย่างไรก็ตามเครื่องยนต์เทอร์โบแฟนเอฟ110-จีอี-100 ต้องการการดัดแปลงในส่วนของช่องรับลม แบบเดิมนั้นให้แรงขับสูงสุดเพียง 25,735 ปอนด์ ในขณะที่แบบใหม่ให้แรงขับสูงสุดถึง 28,984 ปอนด์เมื่อใช้สันดาปท้าย (เพื่อแยกแยะเครื่องบินที่ใช้เครื่องยนต์แตกต่างกัน ลำที่ใช้ของเจเนรัล อิเลคทริกใช้ลงท้ายบล็อกด้วย "0" (เช่น บล็อก 30) และลำที่ใช้ของแพรทท์ แอนด์ วิทนีย์จะลงท้ายด้วย "2" (เช่น บล็อก 32))[34][60][62][63][64]
การพัฒนาเพิ่มโดยผู้แข่งขันเหล่านี้ภายใต้เครื่องยนต์ที่เพิ่มการทำงานทำให้เกิดเครื่องยนต์เอฟ110-จีอี-129 ที่ให้แรงขับ 29,588 ปอนด์ในบล็อก 50 และเครื่องยนต์เอฟ-พีดับบลิว-229 ที่ให้แรงขับ 29,100 ในบล็อก 52 ขึ้นมา เอฟ-16 เริ่มบินด้วยเครื่องยนต์เหล่านี้ในวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2534 และ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2535 ตามลำดับ ด้วยประการทั้งปวงเอฟ-16ซี/ดี 1,446 ลำที่สั่งซื้อโดยกองทัพอากาศสหรัฐ มี 556 ลำที่ใช้เครื่องยนต์ตระกูลเอฟ100 และ890 ลำที่ใช้เอฟ110[29] บล็อก 60 ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ใช้เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนเอฟ110-จีอี-132 ของเจเนรัล อิเลคทริกซึ่งให้แรงขับสูงสุด 32,500 ปอนด์ สูงสุดในบรรดาเอฟ-16 ทั้งหมด[55][62][65]
ประวัติการใช้งาน
[แก้]เนื่องมาจากการที่มีพวกมันอยู่ทั่วทุกที่ เอฟ-16 จึงมีส่วนร่วมในการรบมากมายซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นในตะวันออกลาง
การรบครั้งแรกประสบผลที่หุบเขาเบก้าและการบุกออสอิรัก (พ.ศ. 2524)
[แก้]การต่อสู้ทางอากาศครั้งแรกของเอฟ-16 เกิดขึ้นโดยกองทัพอากาศอิสราเอลเหนือหุบเขาเบก้าเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2524 โดยจัดการกับเฮลิคอปเตอร์มิล เอ็มไอ-8 ของซีเรีย ซึ่งถูกยิงตกโดยปืนหลังจากไม่สามารถใช้ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศเอไอเอ็ม-9 ไซด์ไวน์เดอร์ยิงได้ หนึ่งปีต่อมาในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2525 ในขณะทำการรบทางอากาศกองทัพอากาศอิสราเอลได้ใช้เอฟ-16 ทำแต้มกับเครื่องบินขับไล่อีกลำเป็นครั้งแรกโดยยิงมิก-21 หนึ่งลำของซีเรียตก[66]
ในวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2524 เอฟ-16 แปดลำของอิสราเอลที่คุ้มกันโดยเอฟ-15 ทำปฏิบัติการโอเปร่าโดยเป็นการโจมตีทางอากาสู่พื้นครั้งแรกของมัน การบุกครั้งนี้ได้สร้างความเสียหายให้กับออสอิรัก เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของอิรักที่กำลังก่อสร้างในแบกแดด เพื่อป้องกันไม่ให้ซัดดัม ฮุสเซนใช้มันสร้างอาวุธนิวเคลียร์[67]
ปฏิบัติการความสงบเพื่อกัลลิลี (พ.ศ. 2525)
[แก้]ปีต่อมาในปฏิบัติการความสงบเพื่อกัลลิลีในสงครามเลบานอนปีพ.ศ. 2525 เอฟ-16 ของอิสราเอลได้เข้าปะทะกับเครื่องบินของซีเรียซึ่งเปนการต่อสู้ครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของเครื่องบินขับไล่พลังไอพ่น ซึ่งเริ่มในวันที่ 9 มิถุนายนและยังคงต่อเนื่องไปอีกสองวัน เมื่อสิ้นสุดการรบกองทัพอากาศอิสราเอลได้สังหารไป 44 ลำ ส่วนใหญ่เป็นมิก-21 และมิก-23 ในขณะที่ไม่สูญเสียเอฟ-16 เลย[66][68] เอฟ-16 ยังได้ใช้การโจมตีภาคพื้นดินเพื่อเข้าโจมตีเป้าหมายในเลบานอน
เหตุการณ์ในช่วงสงครามโซเวียต-อัฟกานิสถาน (พ.ศ. 2529-2531)
[แก้]ในสงครามโซเวียต-อัฟกานิสถานระหว่างเดอืนพฤษภาคม พ.ศ. 2529 และมกราคม พ.ศ. 2533 กองทัพอากาศปากีสถานอ้างว่า ได้ใช้เอฟ-16 ยิงข้าศึกจากฝ่ายอัฟกานิสถานตกไปอย่างน้อยสิบลำ สี่ลำเป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดซู-22 สามลำเป็นเครื่องบินขนส่ง (แอน-26 สองลำและแอน-24 หนึ่งลำ) และอีกนึ่งลำเป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดซู-25 ส่วนใหญ่ถูกสังหารโดยไซด์ไวน์เดอร์ แต่ซู-22 ถูกปืนยิงตกและแอน-24 หนึ่งลำถูกบังคับให้ลงจอดฉุกเฉินเมื่อถูกเข้าสกัดกั้น[69]
อัฟกานิสถานอ้างว่า Mig-23 ที่ขับโดยนักบินโซเวียต ได้ยิงเอฟ-16เอของปากีสถานตกหนึ่งลำในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2530 นักบินดีดตัวได้อย่างปลอดภัยและตกลงในพื้นที่ของปากีสถาน ทางปากีสถานยอมรับว่าได้สูญเสียเครื่องบินให้กับฝ่ายศัตรู แต่อ้างว่ามันอาจเป็นได้ทั้งเอฟ-16 หรือเอฟ-6 และยืนกรานว่ามันถูกโจมตีเหนือพื้นที่ของปากีสถาน[70] ต่อมาทางการปากีสถานได้ยืนยันการสูญเสียเอฟ-16 หนึ่งลำ แต่อ้างว่า เป็นอุบัติเหตุโดยถูกยิงโดยพวกเดียวกันเองขณะต่อสู้อย่างชุลมุนเหนือเขตแดนของปากีสถาน ตามคำกล่าวอ้างเอฟ-16 ของผู้หมวดซาฮิด ไซกันดาร์ คานถูกยิงโดยเอไอเอ็ม-9 ที่ยิงมาจากนักบินเอฟ-16 อีกนายหนึ่งโดยหัวหน้าฝูงบินอัมจาด จาเวด[71]
ปฏิบัติการพายุทะเลทราย (พ.ศ. 2534)
[แก้]ในปฏิบัติการพายุทะเลทราย เมื่อปีพ.ศ. 2534 เอฟ-16 จำนวน 249 ลำของกองทัพอากาศสหรัฐทำการบิน 13,340 ครั้งเพื่อเข้าโจมตีอิรัก ส่วนใหญ่เป็นของกองกำลังผสม เครื่องบินสามลำอ้างว่าถูกยิงตกขณะทำการยืนยันการเคลื่อนไหวของศัตรู สองลำถูกยิงโดยขีปนาวุธพื้นสู่อากาศนำวิถีด้วยเรดาร์เอสเอ-6 และเอสเอ-3ที่ผลิตในรัสเซีย[72][73] และอีกหนึ่งลำถูกยิงโดยขีปนาวุธขนาดเล็กแบบประทับบ่าของรัสเซียรุ่นเอสเอ-16 [74] เอฟ-16 ลำอื่นได้รับความเสียหายในอุบัติเหตุและการยิงของศัตรูแต่ก็สามารถบินกลับฐานและซ่อมแซมได้ในที่สุด[75][76] โดยรวมแล้วเอฟ-16 เจ็ดลำถูกยิงตกในพายุทะเลทรายระหว่างวันที่ 16 มกราคมและ 28 กุมภาพันธ์[77]
ปฏิบัติการทางอากาศเหนืออิรัก (พ.ศ. 2534-2546)
[แก้]หลังจากสิ้นสุดปฏิบัติการพายุทะเลทรายจนถึงการบุกอิรักในปีพ.ศ. 2546 เอฟ-16 ของกองทัพอากาศสหรัฐได้ทำการลาดตระเวนในเขตห้ามบินของอิรัก มีชัยชนะทางอากาศสองครั้งที่ทำแต้มโดยเอฟ-16 ของกองทัพอากาศสหรัฐในปฏิบัติการเซาท์เธิร์นวอชท์[78] ในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2535 เอฟ-16ดีหนึ่งลำของกองทัพอากาศสหรัฐยิงมิก-25 หนึ่งลำของอิรักตกในเขตห้ามบินของสหประชาชาติเหนือทางตอนใต้ของอิรักด้วยเอไอเอ็ม-120 แอมแรม นี่เป็นครั้งแรกที่เอฟ-16 ของกองทัพอากาศสหรัฐทำแต้มตั้งแต่ที่มันเริ่มทำหน้าที่ และยังเป็นการใช้แอมแรมสังหารครั้งแรกอีกด้วย[79] ในวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2535 เอฟ-16ซีของกองทัพอากาศสหรัฐได้ทำลายมิก-23 หนึ่งลำของอิรักด้วยขีปนาวุธแอมแรมอันเป็นชัยชนะครั้งที่สองของเอฟ-16[80]
เอฟ-16 ได้กลับเข้าอิรักในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2541 ในส่วนหนึ่งของปฏิบัติการจิ้งจอกทะเลทรายโดยทำภารกิจทิ้งระเบิดเพื่อลดความสามารถในการผลิตอาวุธของอิรัก[81]
การพยายามรัฐประหารเวเนซูเอลา (พ.ศ. 2535)
[แก้]ในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535 เอฟ-16 สองลำของเวเนซูเอลามีส่วนร่วมในการพยายามรัฐประหารเวเนซูเอลาโดยทำงานให้กับฝ่ายรัฐบาล เอฟ-16เอสองลำยิงกราดใส่เป้าหมายบนพื้นดินและยิงโอวี-10 บรองโกสองลำตกด้วยเอไอเอ็ม-9 และเอที-27 ทูคาโน่หนึ่งลำตกโดยใช้ปืนเมื่อเครื่องบินของกบฏดังกล่าวได้บินเข้าโจมตีที่มั่นของกองทัพ[82]
บัลข่าน (พ.ศ. 2537-2538 และ 2542)
[แก้]เอฟ-16 ยังถูกใช้โดยนาโต้ในปฏิบัติการรักษาความสงบของบอสเนียในปีพ.ศ. 2537-2538 ในภารกิจโจมตีภาคพื้นดินและป้องกันเขตห้ามบินเหนือบอสเนีย (ปฏิบัติการดีนายไฟลท์) ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 เครื่องเจ-21 สี่ลำและไอเจ-21 สองลำ และเจ-22 สองลำได้รุกล้ำเขตห้ามบินเพื่อทำการทิ้งระเบิด นักบินของเจ-22 ทั้งสองลำเห็นเอฟ-16 เหนือพวกเขาและหลังจากการโจมตี พวกเขาก็บินจากไปในระดับต่ำมุ่งหน้าไปโครเอเชีย ที่ซึ่งเครื่องบินของสหรัฐไม่สามารถบินตามไปได้ ในขณะนั้นกลุ่มที่เหลือถูกโจมตี ระลอกแรกโดยเอฟ-16ซี 2 ลำของกองทัพอากาศสหรัฐ ซึ่งทำได้สามแต้ม เจ-21 ที่เหลือถูกจัดการโดยเอฟ-16ซี อีกคู่หนึ่ง เครื่องบินของยูโกสลาเวียหกลำเข้าปะทะ มีสี่ลำที่ถูกยิงตก[83][84] ในวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2538 เอฟ-16ซีลำหนึ่งถูกยิงตกโดย2เค12 คับของเซอร์เบียในขณะทำการลาดตระเวนเหนือบอสเนีย นักบินสกอตต์ โอเกรดี้ดีดตัวออกและได้รับการช่วยเหลือจากเฮลิคอปเตอร์ซีเอช-53 ซีสตัลเลียนของนาวิกโยธินสหรัฐในวันที่ 8 มิถุนายน[85]
เอฟ-16 ของนาโต้ยังได้มีส่วนร่วมในการโจมตีทางอากาศต่อกองกำลังของเซอร์เบียในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาในปฏิบัติการเดลิเบอร์เรทฟอร์ซในเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2538 และอีกครั้งในปฏิบัติการแอลไลด์ฟอร์ซเหนือยูโกสลาเวียตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงมิถุนยน พ.ศ. 2542 ในปฏิบัติการนี้เอฟ-16 ได้รับชัยชนะ 1-2 ครั้ง หนึ่งครั้งโดยกองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์ที่ยิงเครื่องมิก-29 (ที่ขาดการซ่อมบำรุงเนื่องการมาตรการคว่ำบาตร) หนึ่งลำของยูโกสลาเวียตก และอีกครั้งโดยเอฟ-16 ของกองทัพอากาศสหรัฐโดยเหยื่อคือมิก-29 เช่นกัน อย่างไรก็ตามในกรณีต่อมาเซอร์เบียได้อ้างว่าได้พบซากของ9เค32เอ็มในซากของมิก-29 และบอกว่ามันถูกยิงตกโดยพวกเดียวกันเอง[86]
ในวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 เอฟ-16ซีจีหนึ่งลำถูกยิงตกเหนือเซอร์เบียโดยขีปนาวุธรัสเซียรุ่นเอส-125 นักบินสามารถดีดตัวออกมาได้และต่อมาได้รับความช่วยเหลือ[87][88] สร้างของเครื่องบินถูกนำไปแสดงในพิพิธภัณฑ์การบินของยูโกสลาเวีย
เหตุการณ์ในอีเจียน (พ.ศ. 2539 และ 2549)
[แก้]ในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2539 ในการเผชิญหน้าทางอากาศในน่านฟ้าของกรีซเหนือทะเลอีเจียน เครื่องมิราจ 2000ได้ยิงขีปนาวุธอาร์550 แมจิกใส่เครื่องเอฟ-16ดีของตุรกีตก ซึ่งรัฐบาลตุรกีอ้างว่าเป็นการฝึกในน่านฟ้าสากลทางเหนือของเกาะซามอสของกรีก นักบินตุรกีเสียชีวิตในขณะที่นักบินร่วมดีดตัวออกมาได้และได้รับการช่วยเหลือโดยกองกำลังของกรีซ[89][90] ในขณะที่รัฐบาลตุรกียอมรับความสูญเสีย รัฐบาลกรีซได้ปฏิเสธเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น[91]
ในวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 เอฟ-16 บล็อก 52+ สองลำของกรีซเข้าสกัดกั้นอาร์เอฟ-4 และเอฟ-16 สองลำของตุรกีที่นอกชายฝั่งเกราะคาร์พาธอสของกรีซ การต่อสู้ระหว่างเอฟ-16 ของทั้งสองฝ่ายจบลงด้วยการชนกันกลางอากาศระหว่างเครื่องเอฟ-16 ของทั้งสองฝ่าย นักบินตุรกีดีดตัวออกมาได้อย่างปลอดภัยก่อนที่เครื่องจะชน แต่นักบินกรีซเสียชีวิต[92]
สงครามคาร์จิล (พ.ศ. 2542)
[แก้]เอฟ-16 ของปากีสถานได้ปะทะกับมิก-29 ของอินเดียในสงครามคาร์จิลในแคชเมียเมื่อปีพ.ศ. 2542 กองทัพอากาศอินเดียใช้มิก-29 อย่างกว้างขวางเพื่อคุ้มกันมิราจ 2000 ซึ่งถูกใช้เพื่อทิ้งระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์ใส่เป้าหมาย ในสงครามคาร์จิลมิก-29 จากฝูงบินที่ 47 ของกองทัพอากาศอินเดียได้ทำการล็อกเป้าใส่เอฟ-16 ของกองทัพอากาศปากีสถานซึ่งเข้าใกล้น่านฟ้าอินเดีย โดยที่เอฟ-16 ไม่สามารถหลบหนีหรือตอบโต้ได้เลย แต่เพราะอินเดียและปากีสถานยังไม่ได้ประกาศรบกันอย่างจริงจังในตอนนั้น มิกจึงถูกสั่งให้เลิกติดตาม หลังจากเหตุการณ์ครั้งนั้นกองทัพอากาศปากีสถานได้สั่งการให้เครื่องบินอยู่ในน่านฟ้าของตนเองเท่านั้น[93]
ปฏิบัติการในอัฟกานิสถาน (พ.ศ. 2544-ปัจจุบัน)
[แก้]เอฟ-16 ถูกใช้โดยสหรัฐอเมริกาในอัฟกานิสถานตั้งแต่ปีพ.ศ. 2544 ในปีพ.ศ. 2545 กองทัพอาการ่วมยุโรป (ประกอบด้วยกองทัพอากาศเดนมาร์ก กองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์ และกองทัพอากาศนอร์เวย์) ใช้เอฟ-16 จำนวน 18 ลำทำหน้าที่โจมตีภาคพื้นดินที่ฐานบินมานาสในคีร์กีซสถานเพื่อสนับสนุนปฏิบัติการเอนดูริงฟรีดอมในอัฟกานิสถาน
ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2548 เอฟ-16 แปดลำของกองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์กับเอฟ-16 สี่ลำของกองทัพอากาศนอร์เวย์ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ได้ทำการสนับสนุนทหารราบในทางใต้ของอัฟกานิสถาน[94] ในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2549 เอฟ-16เอเอ็มของกองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์ตกในเขตกาซนิและนักบินเสียชีวิต[95] ไม่มีการให้เหตุผลใดๆ ในการตกครั้งนี้แต่การสืบสวนล่าสุดอ้างว่า ได้พบแมงมุมและสัตว์อื่นๆ ในห้องนักบินของเนเธอร์แลนด์ในอัฟกานิสถาน[96][97]
ปฏิบัติการพายุมืด
[แก้]เอฟ-16 จากกองทัพอากาศปากีสถานได้ทำการต่อต้านผู้ก่อการร้ายอย่างมากให้กับปากีสถาน กองทัพอากาศปากีสถานได้ใช้เอฟ-16 บ่อยครั้งในการสนับสนุนกองทัพบกของตนที่ปฏิบัติการในหุบเขาสวัทและในเขตฟาต้า ตามข้อมูลจากสถานทูตปากีสถานในวอชิงตัน กองทัพอากาศทำการบิน 93 ครั้งในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 เพื่อต่อสู้กับกลุ่มตาลิบัน อย่างไรก็ตามเอฟ-16 ของพวกเขาสามารถใช้ทำหน้าที่สนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิดได้เพียงตอนกลางวันและอากาศแจ่มใสเท่านั้น[98] กองทัพอากาศได้ทำการทิ้งระเบิดอย่างรุนแรงใส่ภูเขาสวัท เอฟ-16 ได้ทำลายค่ายฝึกทหารของตาลิบันและสังหารผู้นำส่วนใหญ่ ในวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2552 เอฟ-16 ได้ทำการทิ้งระเบิดใส่ภูเขาในเขตเดียซึ่งสังหารนักรบตาลิบันไปกว่า 70 คน ด้วยการสนับสนุนจากเอฟ-16 ทหารราบของปากีสถานจึงทำงานสำเร็จ ในวันที่ 28 เมษายนเอฟ-16 ของปากีสถานได้ทิ้งระเบิดใส่ภูเขาในพื้นที่บาบาไจคานเดาในบูเนอร์[99]
ในวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 กองทัพอากาศปากีสถานพร้อมกับกองทัพบกได้เริ่มปฏิบัติการต่อต้านตาลิบัน เอฟ-16 ได้ทิ้งระเบิดภูเขาของตาลิบันโดยสังหารไป 143 คนและผู้นำ[100] ด้วยการสนับสนุนจากเอฟ-16 กองทัพบกได้ยึดบูเนอร์คืนและพื้นที่อีกบางส่วน เอฟ-16 ยังได้มีส่วนในการทิ้งระเบิดเนินเขาและภูเขาในสวัท ซึ่งเป็นที่ซ่อนของผู้นำกลุ่มตาลิบัน
การบุกอิรักและปฏิบัติการหลังสงคราม (พ.ศ. 2546-ปัจจุบัน)
[แก้]เอฟ-16 ของกองทัพอากาศสหรัฐได้มีส่วนร่วมในการบุกอิรักในปีพ.ศ. 2546 และสูญเสียเพียงเอฟ-16ซีจีหนึ่งลำจากฝูงบินขับไล่ที่ 421 ซึ่งตกใกล้กับแบกแดดในวันที่ 12 มิถุนยน พ.ศ. 2546 เมื่อเชื้อเพลิงหมด[101]
เรดาร์ควบคุมการยิงขีปนาวุธพื้นสู่อากาศเอ็มไอเอ็ม-104 เพเทรียตของกองทัพบกได้รับความเสียหายในวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2546 จากขีปนาวุธเอจีเอ็ม-88 ฮาร์มที่ยิงโดยเอฟ-16ซีของกองทัพอากาศสหรัฐที่ทำการลาดตระเวนเหนือทางใต้ของอิรัก เมื่อเรดาร์ได้ทำการล็อกเป้าใส่เอฟ-16 ลำดังกล่าว[102] ในวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2549 เอฟ-16 สองลำได้ทิ้งระเบิดนำวิถีขนาด 500 ปอนด์ใส่ที่มั่นของอัลกออิดะห์โดยสังหารอาบู มาซาบ อัลซาร์กาวิผู้นำของกลุ่มในอิรัก[103]
เอฟ-16ซีจีลำหนึ่งตกใกล้กับฟอลลูจาห์เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ในขณะทำการยิงกราดในระดับต่ำ แม้ว่าจะถูกยิงตามข้อมูลของกองทัพอากาศสหรัฐ เหตุเกิดจากการบินต่ำเพื่อระบุเป้าหมายที่เป็นพาหนะของศัตรู นักบินทรอย กิลเบิร์ตเสียชีวิต[104][105] เอฟ-16 อีกสองลำตกในอิรักหนึ่งเดือนต่อมาในวันที่ 15 มิถุนายนและ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2551[106][107] โดยอุบัติเหตุ[108][109] ในวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เอฟ-16ซีหนึ่งลำถูกทำลายที่ฐานบินบาลัดในอิรักเมื่อไม่สามารถทำการบินขึ้นได้ นักบินปลอดภัย[110][111] ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 เอฟ-16 หนึ่งลำได้ยิงยูเอวีอบาบิล-3 ของอิหร่านตก ซึ่งมันได้ล่วงล้ำน่านฟ้าเข้ามาในอิรัก เหตุการณ์นี้เป็นการสังหารทางอากาศเพียงครั้งเดียวในสงคราม[112]
สงครามเลบานอนครั้งที่สอง (พ.ศ. 2549)
[แก้]เอฟ-16 ของอิสราเอลได้มีส่วนร่วมในสงครามเลบานอนเมื่อปีพ.ศ. 2549 เอฟ-16 ที่สูญเสียมีเพียงเอฟ-16ไอของกองกำลังป้องกันของอิสราเอลที่ชนในวันที่ 19 เมื่อยางเส้นหนึ่งของมันแตกในตอนที่บินขึ้นจากฐานบินในเนเกฟ นักบินดีดตัวออกมาได้อย่างปลอดภัยและไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ[113] เอฟ-16 ของอิสราเอลได้ยิงยูเอวีของกลุ่มฮิซบอลเลาะห์สามลำตกตลอดสงคราม[114]
ความขัดแย้งของอิสราเอลและกาซ่าในปีพ.ศ. 2551-2552
[แก้]เอฟ-16 ของอิสราเอลถูกใช้เพื่อทำการโจมตีฉนวนกาซ่าในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551
แบบต่างๆ
[แก้]เอฟ-16 ถูกระบุด้วยเลขตามบล็อกต่างๆ เพื่อระบุการพัฒนาเฉพาะของรุ่น บล็อกจะรวมทั้งแบบหนึ่งและสองที่นั่ง ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ ระบบ อาวุธ และโครงสร้างที่แตกต่างกันไปนั้นถูกจัดตั้งขึ้นตลอดหลายปีเพื่อพัฒนาเอฟ-16 และมีผลต่อเครื่องบินที่ส่งให้กับลูกค้าในภายหลัง
ในขณะที่เอฟ-16 มากมายถูกผลิตตามบล็อกเหล่านี้ แต่ก็มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญมากมายตามโครงการดัดแปลงเอฟ-16 การเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ส่งผลต่อบทบาทเฉพาะทาง อย่าง แบบสำหรับการสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิดและลาดตระเวน แบบมากมายยังได้รับการพัฒนาเป็นตัวทดสอบเทคโนโลยีใหม่ๆ เอฟ-16 ยังได้เป็นแรงบันดาลใจให้กับเครื่องบินแบบอื่นๆ ซึ่งถูกจัดว่าเป็นการดัดแปลงมาจากเอฟ-16
แบบตามการผลิตหลัก
[แก้]บล็อก | รุ่น | เครื่องยนต์ |
---|---|---|
1 | เอฟ-16เอ/บี | แพรทท์ แอนด์ วิทนีย์ เอฟ-100-พีดับบลิว-200 |
5 | เอฟ-16เอ/บี | แพรทท์ แอนด์ วิทนีย์ เอฟ-100-พีดับบลิว-200 |
10 | เอฟ-16เอ/บี | แพรทท์ แอนด์ วิทนีย์ เอฟ-100-พีดับบลิว-200 |
15 | เอฟ-16เอ/บี | แพรทท์ แอนด์ วิทนีย์ เอฟ-100-พีดับบลิว-200 |
20 | เอฟ-16เอ/บี | แพรทท์ แอนด์ วิทนีย์ เอฟ-100-พีดับบลิว-200 |
25 | เอฟ-16ซี/ดี | แพรทท์ แอนด์ วิทนีย์ เอฟ-100-พีดับบลิว-200อี |
30 | เอฟ-16ซี/ดี | เจเนรัล อิเลคทริก เอฟ110-จีอี-100 |
32 | เอฟ-16ซี/ดี | แพรทท์ แอนด์ วิทนีย์ เอฟ-100-พีดับบลิว-220อี |
40 | เอฟ-16ซี/ดี | เจเนรัล อิเลคทริก เอฟ110-จีอี-100 |
42 | เอฟ-16ซี/ดี | แพรทท์ แอนด์ วิทนีย์ เอฟ-100-พีดับบลิว-220อี |
50 | เอฟ-16ซี/ดี | เจเนรัล อิเลคทริก เอฟ110-จีอี-129 |
52 | เอฟ-16ซี/ดี | แพรทท์ แอนด์ วิทนีย์ เอฟ100-พีดับบลิว-229 |
60 | เอฟ-16อี/เอฟ | เจเนรัล อิเลคทริก เอฟ110-จีอี-132 |
เอฟ-16เอ/บี
[แก้]เอฟ-16เอ (หนึ่งที่นั่ง) และเอฟ-16บี (สองที่นั่ง) มีอุปกรณ์เป็นเรดาร์พัลส์-ดอพเพลอร์เอเอ็น/เอพีจี-66 ของเวสติ้งเฮาส์ เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนเอฟ100-พีดับบลิว-200 ให้แรงขับ 14,670 ปอนด์ และ 23,830 ปอนด์เมื่อใช้สันดาปท้าย แบบเอและบีนั้นรวมทั้งบล็อก 1 5 10 15 และ 20 กองทัพอากาศสหรัฐได้ซื้อเอฟ-16เอจำนวน 674 ลำและเอฟ-16บีจำนวน 121 ลำ พร้อมกำหนดส่งในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2528 เอฟ-16เอ/บีมีมูลค่าลำละ 14.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (พ.ศ. 2535)
บล็อกแรกๆ (1 5 10) มีความแตกต่างเล็กน้อย ส่วนใหญ่แล้วเป็นของบล็อก 10 ในต้นทศวรรษที่ 1980 บล็อก 15 เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ครั้งแรกของเอฟ-16 มันได้เพิ่มหางแนวนอนให้ใหญ่ขึ้น เพื่อจุดติดอาวุธเข้าไปอีกสองแห่ง เรดาร์เอเอ็น/เอพีจี-66(วี)2 และเพิ่มความจุของปีก บล็อก 15 ยังมีวิทยุยูเอชเอฟอีกด้วย หางแนวนอนถูกเพิ่มขนาดอีก 30% เพื่อรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น บล็อก 15 เป็นแบบที่มีมากที่สุดของเอฟ-16 โดยผลิตออกมา 981 ลำ
บล็อก 20 ได้เพิ่มความสามารถบางส่วนของเอฟ-16ซี/ดีเข้าไป อย่าง เรดาร์เอเอ็น/เอพีจี-66(วี)3 ขีปนาวุธเอจีเอ็ม-45 ชไรค์ เอจีเอ็ม-84 ฮาร์พูน และเอจีเอ็ม-88 ฮาร์ม เช่นเดียวกับระบบนำร่องและกระเป้าจับเป้าแบบแลนเทิร์น บล็อก 20 มีคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาอย่างมากเมื่อเทียบกับแบบก่อนหน้า สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้รับเอฟ-16เอ/บี บล็อก 20 จำนวน 150 ลำ[115]
เอฟ-16ซี/ดี
[แก้]เอฟ-16ซี (หนึ่งที่นั่ง) และเอฟ-16ดี (สองที่นั่ง) ถูกนำมาใช้ในปีพ.ศ. 2527 บล็อก 25 เป็นบล็อกแรกของรุ่นซี/ดี มันได้เพิ่มความสามารถในการปฏิบัติการในทุกสภาพอากาศเข้าไปพร้อมกับขีปนาวุธเกินระยะมองเห็นเอไอเอ็ม-7 และเอไอเอ็ม-120[116] บล็อก 25 ได้เปิดตัวระบบอิเลคทรอนิกอากาศที่ทันสมัยภายในห้องนักบินและเรดาร์เอเอ็น/เอพีจี-68 บล็อก 25 เป็นรุ่นแรกที่ใช้เครื่องยนต์เอฟ100-พีดับบลิว-200 และต่อมาได้พัฒนาเป็นเอฟ100-พีดับบลิว-220อี บล็อก 25 มีทั้งสิ้น 209 ลำที่ส่งให้กับลูกค้า[117] เอฟ-16ซี/ดีมีมูลค่าลำละ 18.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (พ.ศ. 2541) [4]
บล็อก 30/32 นั้นเป็นบล็อกแรกของเอฟ-16 ที่ได้รับผลจากโครงการเครื่องยนต์ทางเลือกซึ่งเครื่อบินจะได้รับการติดตั้งด้วยเครื่องยนต์ของแพรทท์ แอนด์ วิทนีย์ หรือ เอฟ110-จีอี-100 ของเจเนรัล อิเลคทริกเป็นครั้งแรก ตั้งแต่จุดนี้บล็อกจะลงท้ายด้วย "0" (เช่น บล็อก 30) เพื่อระบุเครื่องบินที่ใช้เครื่องยนต์ของเจเนรัล อิเลคทริก และลงท้ายด้วย "2" (เช่น บล็อก 32) สำหรับของแพรทท์ แอนด์ วิทนีย์ เอฟ-16 บล็อก 30 ลำแรกเข้าประจำการในปีพ.ศ. 2530 ความแตกต่างที่สำคัญคือเอจีเอ็ม-45 ชไรค์ เอจีเอ็ม-88 ฮาร์ม และเอไอเอ็ม-120 ตั้งแต่บล็อก 30ดีเครื่องบินจะติดตั้งช่องรับลมที่ใหญ่กว่าเพื่อเพิ่มแรงขับให้กับเครื่องยนต์ของเจเนรัล อิเลคทริก บล็อก 30/32 มีทั้งสิ้น 733 ลำที่ถูกผลิตและส่งให้กับลูกค้าในหกประเทศ[118]
บล็อก 40/42 ได้เข้าประจำการในปีพ.ศ. 2531 มันเป็นแบบสำหรับโจมตีกลางวันกลางคืนและทุกสภาพอากาศที่มีกระเปาะแลนเทิร์น มันได้รับชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่าเอฟ-16ซีจี/ดีจี ความสามารถในตอนกลางคืนของมันทำให้มันมีชื่อว่า"ไนท์ฟอลคอน" บล็อกนี้ได้เพิ่มความแข็งแกร่งและความยาวของกระเปาะแลนเทิร์น เรดาร์ที่พัฒนา และตัวรับจีพีเอส ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2545 บล็อก 40/42 ได้เพิ่มพิสัยของอาวุธที่รวมทั้งระเบิดเจแดม เอจีเอ็ม-154 เจซอว์ ดับบลิวซีเอ็มดี (Wind-Corrected Munitions Dispenser, WCMD) และจีบียู-27 เพฟเวย์ บล็อก 40/42 ทั้งหมด 615 ลำถูกส่งให้กับลูกค้าในห้าประเทศ[119]
บล็อก 50/52 ถูกส่งครั้งแรกในปลายปีพ.ศ. 2534 เครื่องบินได้การติดตั้งจีพีเอส/ไอเอ็นเอสและสามารถบรรทุกขีปนาวุธเพิ่มเติมอย่าง เอจีเอ็ม-88 ฮาร์ม เจแดม เจซอว์ และดับบลิวซีเอ็มดี บล็อก 50 ใช้เครื่องยนต์เอฟ110-จีอี-129 ในขณะที่บล็อก 52 ใช้เครื่องยนต์เอฟ100-พีดับบลิว-229 บล็อก 50/52+ ซึ่งหมายถึงแบบที่พัฒนาขึ้นไปอีกถูกส่งครั้งแรกในเดือนเมษายน พ.ศ. 2546 ให้กับกองทัพอากาศกรีก ความแตกต่างหลักคือถังเชื้อเพลิงพิเศษ เรดาร์เอเอ็น/เอพีจี-68(วี)9 ระบบออกซิเจน และหมวกเจเอชเอ็มซีเอส[120]
เอฟ-16อี/เอฟ
[แก้]เอฟ-16อี (หนึ่งที่นั่ง) เอฟ-16เอฟ (สองที่นั่ง) เดิมที่แล้วแบบหนึ่งที่นั่งของเจเนรัล ไดนามิกส์ เอฟ-16เอ็กซ์แอลจะใช้ชื่อว่าเอฟ-16อีและเอฟสำหรับสองที่นั่ง สิ่งนี้ถูกนำไปใช้กับการเลือกเอฟ-15อี สไตรค์อีเกิลของกองทัพสหรัฐเมื่อปีพ.ศ. 2527 การตั้งชื่อบล็อก 60 ยังได้ทำการหยุดเอาไว้ในปีพ.ศ. 2532 สำหรับเอ-16 แต่ก็ถูกยกเลิกไป [121] ชื่อเอฟ-16อี/เอฟในปัจจุบันเป็นของรุ่นพิเศษที่สร้างให้กับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และบางครั้งถูกเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่าดีเซิร์ทฟอลคอน (Desert Falcon)
บล็อก 60 มีพื้นฐานมาจากเอฟ-16ซี/ดี บล็อก 50/52 จุดเด่นของมันคือเรดาร์และอิเลคทรอนิกอากาศที่พัฒนาและถังเชื้อเพลิงพิเศษ มันถูกขายให้กับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เท่านั้น ครั้งหนึ่งรุ่นนี้ถูกเข้าใจผิดว่าใช้ชื่อเอฟ-16ยู ความแตกต่างหลักจากบล็อกก่อนหน้าคือเรดาร์เออีเอสเอรุ่นเอเอ็น/เอพีจี-80 ของนอร์ทธรอป กรัมแมน ซึ่งทำให้เครื่องบินมีความสามารถในการติดตามและทำลายเป้าหมายบนพื้นดินและในอากาศได้ในเวลาเดียวกัน เครื่องยนต์เอฟ110-จีอี-132 ของบล็อก 60 นั้นพัฒนามาจากรุ่น -129 และมีอัตราให้แรงขับที่ 32,500 ปอนด์ บล็อก 60 นั้นสามารถใช้อาวุธทุกอย่างของบล็อก 50/52 รวมทั้งเอไอเอ็ม-132 อัสแรมและเอจีเอ็ม-84อี สแลม ถังเชื้อเพลิงพิเศษได้เพิ่มความจุเชื้อเพลิงอีก 450 แกลลอนสหรัฐ ทำให้เพื่มพิสัยหรือเวลาประจำสถานี และพื้นที่ว่างให้กับขีปนาวุธที่ใต้ปีก ตัวเก็บข้อมูลเอ็มไอแอล-เอสทีดี-1553 ถูกแทนที่ด้วยเอ็มไอแอล-เอสทีดี-1773 ที่สามารถจัดการข้อมูลได้เพิ่มขึ้น 1000 เท่า สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้มอบทุนในการพัฒนาเป็นเงิน 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และแลกเปลี่ยนด้วยการแสดงความรับผิดชอบหากมีเครื่องบล็อก 60 ลำใดๆ ถูกขายให้กับประเทศอื่น การรายงานกล่าวว่า "นี่เป็นครั้งแรกที่สหรัฐขายเครื่องบินที่เหนือกว่าของที่ตนเองมีให้กับประเทศอื่น"[122]
ประเทศผู้ใช้งาน
[แก้]
|
อุบัติเหตุ
[แก้]อุบัติเหตุในต่างประเทศ
[แก้]- ในวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 ในขณะที่ทำการซ้อมแสดงแรงระดับ 9 จีของเครื่องวายเอฟ-16 (หมายเลข 72-1568) ที่ฟอร์ทวอน์ธก่อนที่จะส่งไปงานแสดงในปารีส เกิดการขัดข้องของล้อล้อหนึ่ง นักบินทดสอบเนลล์ แอนเดอร์สันได้ทำการลงจอดฉุกเฉินโดยไม่กางล้อและลงจอดในสนามหญ้าโดยหวังที่จะลดความเสียหายและผู้บาดเจ็บที่เป็นผู้ชม เครื่องบินได้รับความเสียหายเล็กน้อย มันถูกกำหนดให้ไปแสดงในงานที่ปารีสแต่ด้วยอุบัติเหตุทำให้ต้นแบบแรก (หมายเลข 72-1567) ถูกส่งไปแทน
- ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 เอฟ-16 จากกองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์ตกในเมืองเฮนเกโล เครื่องยนต์เสียหายไม่นานหลังจากที่บินขึ้นและนักบินได้พยายามบินกลับไปที่ฐานบิน นักบินดีดตัวและตกลงอย่างปลอดภัยบนหลังคาอาคาร เอฟ-16 นั้นตกระหว่างบ้านโดยไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ
- ในการฝึกของกองทัพอากาศกับกองทัพบกที่จัดขึ้นที่ฐานทัพอากาศโป๊ป รัฐแคโรไลน่า เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2537 เอฟ-16ดี (หมายเลข 88-0171) จากฝูงบินขับไล่ที่ 74 เป็นจุดเริ่มต้นของการชน และได้รู้จักกันในชื่อ"หายนะกรีนแรมพ์" (อังกฤษ: Green Ramp disaster) ส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 80 ราย สาหัส 24 ราย[123]
- ในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2543 เอฟ-16ดี-30เอฟของกองทัพอากาศอิสราเอลในฐานบินมัทเดวิด ได้ตกลงในทะเลมิดิเตอร์เรเนียนขณะซ้อมบิน 31 กิโลเมตรห่างจากหมู่บ้านชายฝั่งในทางเหนือของอิสราเอล นักบินโยนาธาน เบกินเป็นหลานของอดีตนายกรัฐมนตรีเมนาเฮม เบกิน ทั้งเขาและนักบินร่วม ร้อยโทไลออร์ ฮาราริ ไม่ได้โทษฝ่ายควบคุมการบินภาคพื้น[124][125]
อุบัติเหตุในประเทศไทย
[แก้]- ในวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เอฟ-16เอ บล็อก 15 โอซียู หรือบ.ข.19 หมายเลข 40315 พร้อม เรืออากาศเอก ฐานิกร เหลืองรุ่งวารี นักบินฝูงบิน 403 ของกองทัพอากาศไทยตกขณะซ้อมบินจากกองบิน 4 นครสวรรค์ไปกองบิน 41 เชียงใหม่ โดยบินเกาะหมู่ 4 ลำ แต่เมื่อไปถึงสนามบินเชียงใหม่ พบว่ามีเพียง 3 ลำที่ลงจอด ต่อมา พบว่าเครื่องบินลำดังกว่า ตกที่บ้านเด่นไม้ซุง หมู่ 9 ตำบลแม่สลิด อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก โดยสันนิษฐานว่า เกิดจากนักบินหลงสภาพอากาศ จึงทำให้เครื่องบินพุ่งชนแนวสันเขา อุบัติเหตุครั้งนี้ทำให้ เรืออากาศเอก ฐานิกร เหลืองรุ่งวารี นักบินเสียชีวิต
- ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2554 เครื่องบิน F-16 ADF จำนวน 2 เครื่องจากฝูงบิน 102 กองบิน 1 จ.นครราชสีมา ประสบอุบัติเหตุตกบนเทือกเขาภูแลนคา ในพื้นที่หมู่ 3 และหมู่ 4 ต.ท่าหินโงม อ.เมือง จังหวัดชัยภูมิ ขณะทำการฝึกคอบร้าโกลด์ (Cobra Gold) ร่วมกับกองทัพอากาศสหรัฐฯ นักบินทั้งสองนายคือ นาวาอากาศตรี กฤษดา สุขจันทร์ และ เรืออากาศเอก ชัชชานนท์ พรหมเดช สามารถดีดตัวออกจากเครื่องได้อย่างปลอดภัย
- ในวันที่ 20 กุมพาพันธ์ 2558 เมื่อเวลา 14.53 น. เกิดเหตุเครื่องบินขับไล่แบบ F-16A ของฝูงบิน 103 กองบิน 1 นครราชสีมา ตกที่ ม.4 ต.วังเพลิง อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี ตกระหว่างการฝึก ขณะปฏิบัติภารกิจฝึกบินใช้อาวุธทางอากาศ ตามวงรอบปกติของกองบิน ที่สนามชัยบาดาล โดยมีนักบินชื่อ ร.อ.นพนนท์ นิวาสานนท์ เสียชีวิต ส่วนสาเหตุที่เครื่องบินตกในครั้งนี้ ยังไม่สามารถสรุปได้
ดูเพิ่ม
[แก้]การพัฒนาที่เกี่ยวข้อง
- เอฟ-16 เอไจล์ฟอลคอน
- เอฟ-16 วิสต้า
- เจเนรัล ไดนามิกส์ เอฟ-16เอ็กซ์แอล
- ที-50 โกลเด้นอีเกิล
- มิตซูบิชิ เอฟ-2
เครื่องบินที่เทียบเท่า
- เฉิงตู เจ-10
- ดัซโซลท์ มิราจ 2000
- เอฟ-20 ไทเกอร์ชาร์ค
- ไอเอไอ ลาวิ
- ยาส 39
- เจเอฟ-17 ธันเดอร์
- มิโคยัน มิก-29
- นอร์ทธรอป วายเอฟ-17
รายละเอียด เอฟ-16ซี
[แก้]- ลูกเรือ 1 นาย
- ความยาว 15 เมตร
- ความสูง 4.8 เมตร
- ระยะระหว่างปลายปีก 9.45 เมตร
- พื้นที่ปีก 27.87 ตารางเมตร
- น้ำหนักเปล่า 8,670 กิโลกรัม
- น้ำหนักพร้อมอาวุธ 12,000 กิโลกรัม
- น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด 14,968 กิโลกรัม
- ขุมกำลัง เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนพร้อมสันดาปท้ายแบบเอฟ110-จีอี-100 ให้แรงขับ 17,155 ปอนด์และ 28,600 ปอนด์เมื่อใช้สันดาปท้าย
- ความเร็วสูงสุด
- 1.2 มัค (1,470 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ในระดับน้ำทะเล
- 2.27 มัค (2,415 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ในระดับสูง
- รัศมีทำการรบ 550 กิโลเมตรพร้อมระเบิด 450 กิโลกรัม
- ระยะในการขนส่ง 4,220 กิโลมตรพร้อมถังที่สลัดทิ้งได้
- เพดานบินทำการ > 60,000 ฟุต
- อัตราการไต่ระดับ 50,000 ฟุตต่อนาที
- น้ำหนักบรรทุกที่ปีก 194 กิโลกรัมต่อตารางเมตร
- อัตราแรงขับต่อน้ำหนัก 1.1
- อาวุธ
- ปืน ปืนแกทลิ่งเอ็ม61 วัลแคนขนาด 20 ม.ม.หนึ่งกระบอก พร้อมกระสุน 515 นัด
- จรวด
- ขีปนาวุธ
- ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศ
- เอไอเอ็ม-7 สแปร์โรว์ 2 ลูก หรือ
- เอไอเอ็ม-9 ไซด์ไวน์เดอร์ 6 ลูก หรือ
- ไอริส-ที 6 ลูก หรือ
- เอไอเอ็ม-120 แอมแรม 6 ลูก หรือ
- ไพธอน-4 6 ลูก
- ขีปนาวุธอากาศสู่พื้น
- เอจีเอ็ม-45 ไชรค์ 6 ลูก หรือ
- เอจีเอ็ม-65 มาเวอร์ริก 6 ลูก หรือ
- เอจีเอ็ม-88 ฮาร์ม 4 ลูก
- ขีปนาวุธต่อต้านเรือ
- เอจีเอ็ม-84 ฮาร์พูน 2 ลูก หรือ
- เอจีเอ็ม-119 เพนกวิน 4 ลูก
- ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศ
- ระเบิด
- ซีบียู-87 2 ลูก
- ซีบียู-89 2 ลูก
- ซีบียู-97 2 ลูก
- จีบียู-10 เพฟเวย์ 2 4 ลูก
- จีบียู-12 เพฟเวย์ 2 6 ลูก
- ระเบิดวิถีด้วยเลเซอร์ตระกูลเพฟเวย์ 6 ลูก
- เจแดม 4 ลูก
- ระเบิดมาร์ค 84 4 ลูก
- ระเบิดมาร์ค 83 8 ลูก
- ระเบิดมาร์ค 82 12 ลูก
- ระเบิดนิวเคลียร์ บี61
- อื่นๆ
- เครื่องปล่อยพลุล่อเป้าแบบเอสยูยู-42เอ/เอ หรือ
- อีเอ็มซีแบบเอเอ็น/เอแอลคิว-131 และเอเอ็น/เอแอลคิว-184 หรือ
- กระเปาะหาเป้าแบบแลนเทิร์น ล็อกฮีด มาร์ติน สไนเปอร์ เอ็กซ์อาร์ และไลท์นิ่ง หรือ
- ถังเชื้อเพลิงทิ้งได้ขนาด 300/330/370 แกลลอนสหรัฐฯ ได้มากถึง 3 ถังเพื่อทำการขนส่งหรือเพิ่มระยะ
- อิเลคทรอนิกอากาศ
- เรดาร์แบบเอเอ็น/เอพีจี-68
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Lockheed Martin press release (8 June 2008). "United States Government Awards Lockheed Martin Contract to Begin Production of Advanced F-16 Aircraft for Morocco" เก็บถาวร 2009-01-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved 11 July 2008.
- ↑ Rosenwald, Michael S. (updated 17 December 2007). “Downside of Dominance? Popularity of Lockheed Martin's F-16 Makes Its F-35 Stealth Jet a Tough Sell”. Washington Post. Retrieved 11 July 2008.
- ↑ Anon. (undated). Company Histories – Lockheed Martin Corporation. Funding Universe. Retrieved 11 July 2008.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 F-16 Fact Sheet, US Air Force, October 2007.
- ↑ F-16 Fighting Falcon, F16, or Viper?
- ↑ Peacock 1997, p. 100.
- ↑ Tirpak, John A. "Making the Best of the Fighter Force". Air Force Magazine, March 2007. Retrieved: 23 June 2008.
- ↑ Spick, Mike ed. "F-16 Fighting Falcon", Great Book of Modern Warplanes. MBI, 2000. ISBN 0-7603-0893-4.
- ↑ Richardson 1990, p. 7.
- ↑ Hillaker, Harry. "Tribute To John R. Boyd" เก็บถาวร 2009-06-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Code One, July 1997. Retrieved: 7 June 2008.
- ↑ Hehs, Eric. “Harry Hillaker – Father of the F-16.” เก็บถาวร 2008-12-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Code One, April & July 1991. Retrieved: 7 June 2008.
- ↑ Jenkins, Dennis R. McDonnell Douglas F-15 Eagle, Supreme Heavy-Weight Fighter, p. 6. Arlington, TX: Aerofax, 1998. ISBN 1-85780-081-8.
- ↑ Richardson 1990, pp. 7–8.
- ↑ Coram, Robert. Boyd: the Fighter Pilot Who Changed the Art of War. New York: Little, Brown, and Co., 2002. ISBN 0-316-88146-5.
- ↑ Peacock 1997, pp. 9–10.
- ↑ Richardson 1990, pp. 7–9.
- ↑ Peacock 1997, pp. 10–11.
- ↑ Richardson 1990, pp. 8–9.
- ↑ Richardson 1990, pp. 12–13.
- ↑ Richardson 1990, p. 14.
- ↑ Peacock 1997, pp. 12–13.
- ↑ 22.0 22.1 22.2 22.3 Anon. “YF-16 : The Birth of a Fighter.” F-16.net. Retrieved: 13 June 2008.
- ↑ Peacock 1997, pp. 13–16.
- ↑ Richardson 1990, p. 13.
- ↑ Peacock 1997, pp. 14, 17–19, 33–34.
- ↑ Peacock 1997, pp. 17–19, 33–34.
- ↑ Peacock 1997, pp. 14–16, 21.
- ↑ Richardson 1990, pp. 13–15.
- ↑ 29.00 29.01 29.02 29.03 29.04 29.05 29.06 29.07 29.08 29.09 Anon. “Lockheed Martin F-16 Fighting Falcon.” Jane’s All The World’s Aircraft, updated 21 January 2008. Retrieved: 30 May 2008.
- ↑ Peacock 1997, pp. 31–32.
- ↑ Spick 2000, p. 196.
- ↑ 32.00 32.01 32.02 32.03 32.04 32.05 32.06 32.07 32.08 32.09 32.10 Goebel, Greg. “F-16 Origins.” Vectorsite, 1 April 2007. Retrieved: 14 June 2008.
- ↑ Chambers, Joseph R. "Lockheed Martin F-16 Fighting Falcon : Curing Deep Stall" in Partners in Freedom: Contributions of the Langley Research Center to U.S. Military Aircraft of the 1990’s เก็บถาวร 2008-08-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน; Monographs in Aerospace History Number 19, The NASA History Series (NASA SP-2000-4519). Washington, DC: National Aeronautics and Space Administration, 2000. Retrieved: 22 June 2008.
- ↑ 34.0 34.1 34.2 Goebel, Greg. "F-16 Variants". Vectorsite.net, 1 April 2007. Retrieved: 26 May 2008.
- ↑ Darling 2003, p. 56.
- ↑ Camm, Frank. The F-16 Multinational Staged Improvement Program: A Case Study of Risk Assessment and Risk Management เก็บถาวร 2008-12-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (Accession No. ADA281706). RAND Corp., 1993. Retrieved: 2 June 2008.
- ↑ “F-16 Fighting Falcon – Service Life”. Global Security. Retrieved: 30 May 2008.
- ↑ Peacock 1997, pp. 99–102.
- ↑ 39.0 39.1 39.2 Richardson 1990, p. 10.
- ↑ Hoh, Roger H. and David G. Mitchell. Flying Qualities of Relaxed Static Stability Aircraft – Volume I: Flying Qualities Airworthiness Assessment and Flight Testing of Augmented Aircraft. เก็บถาวร 2008-12-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (DOT/FAA/CT-82/130-I). Federal Aviation Administration, September 1983. pp. 11ff. Retrieved: 16 June 2008.
- ↑ Aronstein, David C. & Piccirillo, Albert C. The Lightweight Fighter Program: A Successful Approach to Fighter Technology Transition. AIAA, 1996. p. 21. Retrieved: 25 October 2008.
- ↑ Greenwood, Cynthia. “Air Force Looks at the Benefits of Using CPCs on F-16 Black Boxes.” CorrDefense, Spring 2007. Retrieved: 16 June 2008.
- ↑ Hoh and Mitchell 1983, p. 5. Retrieved: 16 June 2008.
- ↑ Richardson 1990, p. 12.
- ↑ Nielsen, Mats (undated [2007]). “Total Immersion Fuel Tank Airborne Cable Assemblies” เก็บถาวร 2007-05-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Glenair. Retrieved: 16 June 2008.
- ↑ Day, Dwayne A. “Computers in Aviation.” เก็บถาวร 2007-06-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน U.S. Centennial of Flight Commission, 2003. Retrieved: 16 June 2008.
- ↑ Peacock 1997, p. 99.
- ↑ Albano, J. J. and J. B. Stanford. "Prevention of Minor Neck Injuries in F-16 Pilots". Aviation, Space and Environmental Medicine; 69, 1998: 1193-9.
- ↑ Peacock 1997, pp. 99–100.
- ↑ Sherman, Robert. “F-16 Fighting Falcon.” Federation of American Scientists (FAS), updated 30 May 2008. Retrieved: 20 June 2008.
- ↑ Pike, John. “F-16 Fighting Falcon.” Global Security, updated 27 April 2005. Retrieved: 20 June 2008.
- ↑ Task, H. L. (December 1983). Optical Effects of F-16 Canopy-HUD (Head Up Display) Integration, (Accession No. ADP003222). Air Force Aerospace Medical Research Lab.
- ↑ Anon. (undated). “Joint Helmet Mounted Cueing System (JHMCS)”. Boeing Integrated Defense Systems.
- ↑ Anon. F-16 Fighting Falcon Multi-Role Fighter Aircraft, USA. Airforce-technology.com. Retrieved: 21 June 2008.
- ↑ 55.0 55.1 55.2 Anon. “F-16E/F : Block 60.” F-16.net. Retrieved: 21 June 2008.
- ↑ Anon. “The AN/APG-66 Radar”. Avitop.com. Retrieved: 21 June 2008.
- ↑ Kopp, Carlo. “Active Electronically Steered Arrays: A Maturing Technology”. Australian Aviation, June 2002 (as reprinted by Air Power Australia). Retrieved: 21 June 2008.
- ↑ Shamim, Asif. “Raytheon and Northrop Grumman battle over F-16 radars”. F-16.net, 7 November 2007. Retrieved: 21 June 2008.
- ↑ Anon. “Boeing Selects Raytheon to Provide AESA Radar for U.S. Air Force F-15E Strike Eagles.” Boeing News Release, 1 November 2007. Retrieved: 21 June 2008.
- ↑ 60.0 60.1 Peacock 1997, pp. 102–103.
- ↑ Pike, John. “F100-PW-100/-200”. Global Security, updated 13 March 2006. Retrieved: 21 June 2008.
- ↑ 62.0 62.1 Peacock 1997, p. 103.
- ↑ Camm, Frank and Thomas K. Glennan, Jr. "The Development of the F100-PW-220 and F110-GE-100 Engines (N-3618-AF)." RAND Corp., 1993. Retrieved: 21 June 2008.
- ↑ Anon. “F-16C/D : Block 30/32”. F-16.net. Retrieved: 21 June 2008.
- ↑ Pike, John. “F110.” Global Security, updated 15 March 2006. Retrieved 21 June 2008.
- ↑ 66.0 66.1 Iskra, Alex (26 September 2003). “GD/L-M F-16A/B Netz in Israeli Service”. Air Combat Information Group (ACIG). Retrieved 16 May 2008.
- ↑ Grant, Rebecca. “Osirak and Beyond” เก็บถาวร 2008-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Air Force Magazine, August 2002. Retrieved: 16 May 2008.
- ↑ Schow, Jr., Kenneth C., Lt. Col., USAF. “Falcons Against the Jihad: Israeli Airpower and Coercive Diplomacy in Southern Lebanon” เก็บถาวร 2009-03-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Air University Press, November 1995. Retrieved: 16 May 2008.
- ↑ "Pakistan Border Battles" เก็บถาวร 2012-02-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Pakistan Military Consortium. Retrieved: 17 May 2008.
- ↑ Weisman, Steven R. “Afghans Down a Pakistani F-16, Saying Fighter Jet Crossed Border”. The New York Times, 2 May 1987. Retrieved: 10 August 2008.
- ↑ Anon. “F-16 Aircraft Database: F-16 Airframe Details for 81-0918”. F-16.net. Retrieved: 10 August 2008.
- ↑ http://www.f-16.net/aircraft-database/F-16/airframe-profile/2254/
- ↑ http://www.f-16.net/aircraft-database/F-16/airframe-profile/2283/
- ↑ http://www.f-16.net/aircraft-database/F-16/airframe-profile/1720/
- ↑ Anon. “F-16 Accident Reports for 1991”. F-16.net. Retrieved: 16 May 2008.
- ↑ Anon. “USAF Manned Aircraft Combat Losses 1990-2002” เก็บถาวร 2009-03-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Air Force Historical Research Agency. Retrieved: 16 May 2008.
- ↑ http://www.f-16.net/aircraft-database/F-16/mishaps-and-accidents/year/1991/
- ↑ Anon. “Aerial Victory Credits.” เก็บถาวร 2009-06-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Air Force Historical Research Agency. Retrieved: 16 May 2008.
- ↑ Anon. “F-16 Aircraft Database: F-16 Airframe Details for 90-0778.” F-16.net. Retrieved: 16 May 2008.
- ↑ Anon. "F-16 Aircraft Database: F-16 Airframe Details for 86-0262". F-16.net. Retrieved: 16 May 2008.
- ↑ NewsHour with Jim Lehrer "Secretary Albright" (transcript). PBS, 17 December 1998. Retrieved: 16 May 2008.
- ↑ Cooper, Tom and Juan Sosa. “Venezuelan Coup Attempt, 1992”. Air Combat Information Group (ACIG), 1 September 2003. Retrieved: 16 May 2008.
- ↑ Palmer, Eric L. “USAF F-16s shoot down 4 Serb attack aircraft”. F-16.net, 28 February 1994. Retrieved: 16 May 2008.
- ↑ Anon. “U.S. Air-to-Air Victories during the Cold War, Wars in Yugoslavia, and Anti-Terror War”. Air Combat Information Group (ACIG), 28 October 2003; updated 18 September 2004. Retrieved: 16 May 2008.
- ↑ Anon. “F-16 Aircraft Database: F-16 Airframe Details for 89-2032”. F-16.net. Retrieved: 16 May 2008.
- ↑ Anon. “Yugoslav & Serbian MiG-29s”. Air Combat Information Group (ACIG), 30 November 2003. Retrieved: 16 May 2008.
- ↑ Roberts, Chris. "Holloman commander recalls being shot down in Serbia". F-16.net, 7 February 2007. Retrieved: 16 May 2008.
- ↑ Anon. "F-16 Aircraft Database: F-16 Airframe Details for 88-0550". F-16.net. Retrieved: 16 May 2008.
- ↑ Anon. "F-16 Aircraft Database: F-16 Airframe Details for 91-0023". F-16.net. Retrieved: 18 May 2008.
- ↑ Anon. “Greek & Turkish Air-to-Air Victories”. Air Combat Information Group (ACIG), 28 October 2003; updated 18 September 2004. Retrieved: 16 May 2008.
- ↑ Dewitte, Lieven. “Deadly 1996 Aegean clash is confirmed”. F-16.net, 22 May 2003. Retrieved: 16 May 2008.
- ↑ “Greek F-16 and Turkish F-16 collide - 1 pilot OK”. F-16.net, 23 May 2006. Retrieved: 16 May 2008.
- ↑ Strategy | date = 2005-05-20
- ↑ Anon. “F-16s complete one thousand hours of flight operations over Afghanistan” เก็บถาวร 2008-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Dutch Ministry of Defense, 3 January 2006. Retrieved: 16 May 2008.
- ↑ http://news.bbc.co.uk/2/hi/south_asia/5303600.stm
- ↑ F-16 mishap horror, F-16.net, 12 July 2007.
- ↑ "F-16 Mishap Horror"[ลิงก์เสีย]
- ↑ http://www.globalsecurity.org/military/world/pakistan/f-16.htm
- ↑ http://www.myembarq.com/news/read.php?rip_id=%3CD97RF9VO0%40news.ap.org%3E&ps=1012&_LT=MNEW_LARSDCCL2_UNEWS[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-11. สืบค้นเมื่อ 2009-05-15.
- ↑ Anon. “F-16 Aircraft Database: F-16 Airframe Details for 88-0424”. F-16.net. Retrieved: 16 May 2008.
- ↑ Weisman, Jonathan. “Patriot Missiles Seemingly Falter For Second Time; Glitch in Software Suspected”. Washington Post, 26 March 2003 (via Global Security). Retrieved: 17 May 2008.
- ↑ "Iraq Terror Chief Killed in Airstrike". CBS News, 8 June 2006. Retrieved: 29 June 2008.
- ↑ Anon. "US F-16 goes down in Iraq". Al Jazeerah, 27 November 2006. Retrieved: 17 May 2008.
- ↑ Anon. “F-16 Aircraft Database: F-16 Airframe Details for 90-0776”. F-16.net. Retrieved: 16 May 2008.
- ↑ "Pilot killed in an F-16 fighter crash on takeoff in Iraq, Air Force says". International Herald Tribune, 16 June 2007. Retrieved: 17 May 2008.
- ↑ "U.S. F-16 warplane crashes in Iraq, pilot uninjured". Xinhua News Agency, 17 July 2007. Retrieved: 17 May 2008.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-03-25. สืบค้นเมื่อ 2009-05-16.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-03-25. สืบค้นเมื่อ 2009-05-16.
- ↑ [1]
- ↑ F-16 fire
- ↑ http://www.airforcetimes.com/news/2009/03/airforce_iran_uav_031609/
- ↑ Harel, Amos. “IDF fighter jet crashes during take-off in Negev; no injuries”. Haaretz, 20 July 2007. Retrieved: 16 May 2008.
- ↑ http://www.f-16.net/aircraft-database/F-16/mission-markings/airforce/IDFAF/
- ↑ "F-16A/B, Block 1/5/10/15/15OCU/20". F-16.net. Retrieved: 25 January 2009.
- ↑ Darling 2003, p. 59.
- ↑ "F-16C/D, Block 25". F-16.net. Retrieved: 25 January 2009.
- ↑ "F-16C/D, Block 30/32". F-16.net. Retrieved: 25 January 2009.
- ↑ "F-16C/D, Block 40/42". F-16.net. Retrieved: 25 January 2009.
- ↑ "F-16C/D, Block 50/52". F-16.net. Retrieved: 25 January 2009.
- ↑ Anon. "A-16, F/A-16, F-16A (30mm gun)." F-16.net. Retrieved: 21 May 2008.
- ↑ "Dubai 2007: UAE shows off its most advanced Falcons" FlightGlobal.com, 11 November 2007.
- ↑ 23 March 1994 crash, Aviation Safety Net.
- ↑ "Grandson of Begin Lost in Israeli F-16 Crash". The New York Times, 29 March 2000. Retrieved: 13 June 2008.
- ↑ F-16 Crash
- ↑ Frawley, Gerard. The International Directory of Military Aircraft, p. 114. Aerospace Publications Pty Ltd, 2002. ISBN 1-875671-55-2.
- ↑ F-16 page, Aerospaceweb.org
- ↑ F-16 Specifications, GlobalSecurity.org.
บรรณานุกรม
[แก้]- Darling, Kev. F-16 Fighting Falcon (Combat Legend). London: Airlife, 2003. ISBN 1-84037-399-7.
- Hehs, Eric. "Harry Hillaker — Father of the F-16." เก็บถาวร 2008-12-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Code One: An Airpower Projection Magazine, April/July 1991.
- Hillaker, Harry. "John Boyd, USAF Retired, Father of the F-16." เก็บถาวร 2009-06-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Code One: An Airpower Projection Magazine, April/July 1997.
- Mehuron, Tamar A., Assoc. Editor."2007 USAF Almanac - Equipment" เก็บถาวร 2011-12-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Air Force Magazine, Journal of the Air Force Association 90 (5): May 2007. ISSN: 0730-6784.
- Peacock, Lindsay. On Falcon Wings: The F-16 Story. RAF Fairford, United Kingdom: The Royal Air Force Benevolent Fund Enterprises, 1997. ISBN 1-899808-01-9.
- Richardson, Doug. General Dynamics F-16 Fighting Falcon. London: Salamander Books, 1990. ISBN 0-86101-534-7.
- Spick, Mike, ed. Great Book of Modern Warplanes. St. Paul, MN: MBI, 2000. ISBN 0-7603-0893-4.