เซนต์ปีเตอส์เบิร์ก
เซนต์ปีเตอส์เบิร์ก | |
---|---|
Санкт-Петербург | |
จากบนลงล่าง, จากซ้ายไปขวา: พระราชวังฤดูหนาว; สะพานพระราชวัง; อาสนวิหารปีเตอร์และปอล; อาสนวิหารนักบุญไอแซค; อาคารทหารเสนาธิการ; แม่น้ำมอยกาจากสะพานเพฟเชสกีถึงสะพานแดง | |
เพลง: เพลงเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก | |
พิกัด: 59°56′15″N 30°18′31″E / 59.93750°N 30.30861°E | |
ประเทศ | รัสเซีย |
เขตสหพันธ์ | ตะวันตกเฉียงเหนือ[1] |
เขตเศรษฐกิจ | ตะวันตกเฉียงเหนือ[2] |
สถาปนา | 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1703[3] |
การปกครอง | |
• องค์กร | สภานิติบัญญัติ |
• ผู้ว่าราชการ | อะเลคซันดร์ เบกลอฟ (UR)[4] |
พื้นที่[5] | |
• ทั้งหมด | 1,439 ตร.กม. (556 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | อันดับที่ 82 |
ประชากร | |
• ประมาณ (2018)[6] | 5,351,935 คน |
เขตเวลา | UTC+3 (เวลามอสโก [7]) |
รหัส ISO 3166 | RU-SPE |
ทะเบียนรถ | 78, 98, 178, 198 |
รหัส OKTMO | 40000000 |
ภาษาราชการ | รัสเซีย[8] |
เว็บไซต์ | www |
เซนต์ปีเตอส์เบิร์ก (อังกฤษ: Saint Petersburg) หรือ ซันคต์-เปเตียร์บูร์ก (รัสเซีย: Санкт-Петербург, อักษรโรมัน: Sankt-Peterburg, สัทอักษรสากล: [ˈsankt pʲɪtʲɪrˈburk] ) หรือชื่อเดิมคือ เปโตรกราด (Петроград; ค.ศ. 1914–1924) ในเวลาต่อมาจึงเป็น เลนินกราด (Ленинград; ค.ศ. 1924–1991) เป็นนครที่ตั้งอยู่บนปากแม่น้ำเนวาริมอ่าวฟินแลนด์ในทะเลบอลติก และเป็นนครที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของประเทศรัสเซียรองจากมอสโก โดยมีประชากรมากกว่า 5.3 ล้านคน[9] เซนต์ปีเตอส์เบิร์กเป็นนครที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่สี่ของทวีปยุโรป เป็นนครที่มีประชากรมากที่สุดในแถบทะเลบอลติก และเป็นมหานครที่อยู่ทางทิศเหนือสุดของทวีปยุโรปและโลก[10] ในฐานะที่เป็นเมืองท่าสำคัญริมทะเลบอลติก เซนต์ปีเตอส์เบิร์กจึงมีฐานะเป็นนครสหพันธ์
นครก่อตั้งขึ้นโดยซาร์ปีเตอร์มหาราชเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม [ตามปฎิทินเก่า: 16 พฤษภาคม] ค.ศ. 1703 บนที่ตั้งของประภาคารของสวีเดนเดิม นครทำหน้าที่เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรซาร์รัสเซียและจักรวรรดิรัสเซียระหว่าง ค.ศ. 1713–1918 (ย้ายไปมอสโกในช่วง ค.ศ. 1728–1730) หลังจากการปฏิวัติเดือนตุลาคม บอลเชวิคได้ย้ายรัฐบาลของพวกเขาไปที่มอสโก[11]
ในยุคร่วมสมัย เซนต์ปีเตอส์เบิร์กถือเป็นเมืองหลวงของภาคเหนือ และเป็นที่ตั้งของหน่วยงานสหพันธ์บางแห่ง เช่น ศาลรัฐธรรมนูญรัสเซียและสภาโฆษกประจำประธานาธิบดีรัสเซีย นอกจากนี้ ยังเป็นที่ตั้งของหอสมุดแห่งชาติรัสเซีย และมีแผนจัดตั้งศาลฎีกาแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย ศูนย์กลางประวัติศาสตร์เซนต์ปีเตอส์เบิร์กและกลุ่มโบราณสถานที่เกี่ยวเนื่องได้รับเลือกให้เป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก ในฐานะที่สื่อถึงการเป็นเมืองหลวงทางวัฒนธรรมของประเทศ[12] เซนต์ปีเตอส์เบิร์กยังเป็นที่ตั้งของแอร์มิทาช หนึ่งในพิพิธภัณฑ์ศิลปะที่ใหญ่ที่สุดในโลก[13] และศูนย์ลัคตา ตึกระฟ้าที่สูงที่สุดในทวีปยุโรป[14][15] สถานกงศุลระหว่างประเทศ บริษัทนานาชาติ ธนาคาร และสถานประกอบธุรกิจหลายแห่ง ก็มีที่ตั้งในเซนต์ปีเตอส์เบิร์กด้วยเช่นกัน
ภูมิอากาศ
[แก้]จากการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน เซนต์ปีเตอส์เบิร์กมีภูมิอากาศแบบชื้นภาคพื้นทวีปหรือ Dfb อิทธิพลของพายุหมุนจากทะเลบอลติก ส่งผลให้นครมีฤดูร้อนที่อบอุ่น ชื้น และสั้น และมีฤดูหนาวที่ยาวนาน ภูมิอากาศของเซนต์ปีเตอส์เบิร์กคล้ายคลึงกับของเฮลซิงกิ แม้ว่าฤดูหนาวจะหนาวกว่าและฤดูร้อนจะอุ่นกว่าอันเนื่องจากที่ตั้งของนครที่อยู่ทางตะวันออกกว่า
อุณหภูมิสูงสุดโดยเฉลี่ยในเดือนกรกฎาคมอยู่ที่ 23 องศาเซลเซียส (73 องศาฟาเรนไฮต์) และอุณหภูมิต่ำสุดโดยเฉลี่ยในเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ -8.5 °C (16.7 °F) อุณหภูมิสูงสุดคือ 37.1 องศาเซลเซียส (98.8 องศาฟาเรนไฮต์) เกิดขึ้นในช่วงที่มีคลื่นความร้อนในซีกโลกเหนือปี 2010 ส่วนอุณหภูมิต่ำสุดคือ -35.9 °C (−32.6 °F) บันทึกได้ใน ค.ศ. 1883 อุณหภูมิโดยเฉลี่ยต่อปีคือ 5.8 องศาเซลเซียส (42.4 องศาฟาเรนไฮต์) แม่น้ำเนวาที่ไหลผ่านนครเริ่มแข็งตัวในเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม และละลายในเดือนเมษายน ระหว่างเดือนธันวาคมถึงมีนาคม มีวันที่มีหิมะตก 118 วัน โดยในเดือนกุมภาพันธ์ หิมะอาจสูงถึง 19 เซนติเมตรโดยเฉลี่ย[16] ช่วงที่ปราศจากน้ำค้างแข็งโดยเฉลี่ยมีเพียง 135 วัน แม้ว่าที่ตั้งของนครจะอยู่ทางภาคเหนือ แต่ในฤดูหนาว นครกลับหนาวน้อยกว่ามอสโก เนื่องจากที่ตั้งริมอ่าวฟินแลนด์และอิทธิพลกัลฟ์สตรีมจากลมสแกนดิเนเวียที่ทำให้อุณหภูมิสูงกว่าจุดเยือกแข็งเล็กน้อย นครยังมีสภาพอากาศที่อบอุ่นกว่าชานเมือง สภาพอากาศในแต่ละช่วงของปีค่อนข้างแตกต่างกัน[17][18]
ปริมาณหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 660 มิลลิเมตร และจะขึ้นสูงสุดในปลายฤดูร้อน ความชื้นในดินมากจะสูงเนื่องจากการระเหยของน้ำในระดับความสูงต่ำที่เกิดจากอากาศเย็น ความชื้นสัมพัทธ์อยู่ที่ร้อยละ 78 โดยเฉลี่ย และวันที่ไม่พบแสงแดดมีอยู่ 165 วันโดยเฉลี่ยต่อปี
ข้อมูลภูมิอากาศของเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก (ค.ศ. 1881–ปัจจุบัน; อุณหภูมิสูงสุดนับตั้งแต่ ค.ศ. 1743) | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 8.7 (47.7) |
10.2 (50.4) |
14.9 (58.8) |
25.3 (77.5) |
32.0 (89.6) |
34.6 (94.3) |
35.3 (95.5) |
37.1 (98.8) |
30.4 (86.7) |
21.0 (69.8) |
12.3 (54.1) |
10.9 (51.6) |
37.1 (98.8) |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | -3.0 (26.6) |
-3.0 (26.6) |
2.0 (35.6) |
9.3 (48.7) |
16.0 (60.8) |
20.0 (68) |
23.0 (73.4) |
20.8 (69.4) |
15.0 (59) |
8.6 (47.5) |
2.0 (35.6) |
-1.5 (29.3) |
9.1 (48.4) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | -5.5 (22.1) |
-5.8 (21.6) |
-1.3 (29.7) |
5.1 (41.2) |
11.3 (52.3) |
15.7 (60.3) |
18.8 (65.8) |
16.9 (62.4) |
11.6 (52.9) |
6.2 (43.2) |
0.1 (32.2) |
-3.7 (25.3) |
5.8 (42.4) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | -8.0 (17.6) |
-8.5 (16.7) |
-4.2 (24.4) |
1.5 (34.7) |
7.0 (44.6) |
11.7 (53.1) |
15.0 (59) |
13.4 (56.1) |
8.8 (47.8) |
4.0 (39.2) |
-1.8 (28.8) |
-6.1 (21) |
2.7 (36.9) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | -35.9 (-32.6) |
-35.2 (-31.4) |
-29.9 (-21.8) |
-21.8 (-7.2) |
-6.6 (20.1) |
0.1 (32.2) |
4.9 (40.8) |
1.3 (34.3) |
-3.1 (26.4) |
-12.9 (8.8) |
-22.2 (-8) |
-34.4 (-29.9) |
−35.9 (−32.6) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 44 (1.73) |
33 (1.3) |
37 (1.46) |
31 (1.22) |
46 (1.81) |
71 (2.8) |
79 (3.11) |
83 (3.27) |
64 (2.52) |
68 (2.68) |
55 (2.17) |
51 (2.01) |
661 (26.02) |
ความชื้นร้อยละ | 86 | 84 | 79 | 69 | 65 | 69 | 71 | 76 | 80 | 83 | 86 | 87 | 78 |
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย | 9 | 7 | 10 | 13 | 16 | 18 | 17 | 17 | 20 | 20 | 16 | 10 | 173 |
วันที่มีหิมะตกโดยเฉลี่ย | 17 | 17 | 10 | 3 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 2 | 9 | 17 | 75 |
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด | 22 | 54 | 125 | 180 | 260 | 276 | 267 | 213 | 129 | 70 | 27 | 13 | 1,636 |
แหล่งที่มา 1: Pogoda.ru.net[16] | |||||||||||||
แหล่งที่มา 2: NOAA (sun 1961–1990)[19] |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Президент Российской Федерации. Указ №849 от 13 мая 2000 г. «О полномочном представителе Президента Российской Федерации в федеральном округе». Вступил в силу 13 мая 2000 г. Опубликован: "Собрание законодательства РФ", No. 20, ст. 2112, 15 мая 2000 г. (President of the Russian Federation. Decree #849 of May 13, 2000 On the Plenipotentiary Representative of the President of the Russian Federation in a Federal District. Effective as of May 13, 2000.).
- ↑ Госстандарт Российской Федерации. №ОК 024-95 27 декабря 1995 г. «Общероссийский классификатор экономических регионов. 2. Экономические районы», в ред. Изменения №5/2001 ОКЭР. (Gosstandart of the Russian Federation. #OK 024-95 December 27, 1995 Russian Classification of Economic Regions. 2. Economic Regions, as amended by the Amendment #5/2001 OKER. ).
- ↑ Official website of St. Petersburg. St. Petersburg in Figures เก็บถาวร 19 กุมภาพันธ์ 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อbeglov
- ↑ Федеральная служба государственной статистики (Federal State Statistics Service) (2004-05-21). "Территория, число районов, населённых пунктов и сельских администраций по субъектам Российской Федерации (Territory, Number of Districts, Inhabited Localities, and Rural Administration by Federal Subjects of the Russian Federation)". Всероссийская перепись населения 2002 года (All-Russia Population Census of 2002) (ภาษารัสเซีย). Federal State Statistics Service. สืบค้นเมื่อ 2011-11-01.
- ↑ ผิดพลาด: ไม่สามารถแสดงข้อมูลอ้างอิงได้อย่างถูกต้อง ดูคู่มือการใช้งานสำหรับรายละเอียด
- ↑ "Об исчислении времени". Официальный интернет-портал правовой информации (ภาษารัสเซีย). 3 June 2011. สืบค้นเมื่อ 19 January 2019.
- ↑ ภาษาอย่างเป็นทางการของสหพันธ์ตามมาตรา 68.1 ของรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย
- ↑ "Оценка численности постоянного населения по субъектам Российской Федерации". Главная::Федеральная служба государственной статистики. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-24. สืบค้นเมื่อ July 30, 2020.
- ↑ "Saint Petersburg, Russia - Image of the Week - Earth Watching". earth.esa.int. สืบค้นเมื่อ 28 April 2020.
- ↑ McColl, R.W., บ.ก. (2005). Encyclopedia of world geography. Vol. 1. New York: Infobase Publishing. pp. 633–634. ISBN 978-0-8160-5786-3. สืบค้นเมื่อ 9 February 2011.
- ↑ V. Morozov. The Discourses of Saint Petersburg and the Shaping of a Wider Europe, Copenhagen Peace Research Institute, 2002. ISSN 1397-0895
- ↑ "Exploring St. Petersburg / The Hermitage". Geographia.com. 6 January 1990. สืบค้นเมื่อ 25 January 2010.
- ↑ Jacopo Prisco (3 August 2018). "Europe's tallest skyscraper nears completion". CNN. สืบค้นเมื่อ 11 June 2020.
- ↑ Aria Bendix (14 December 2019). "5 new skyscrapers broke records as the tallest buildings in their countries this year — take a look". Business Insider. สืบค้นเมื่อ 11 June 2020.
- ↑ 16.0 16.1 "Pogoda.ru.net" (ภาษารัสเซีย). Weather and Climate (Погода и климат). สืบค้นเมื่อ 29 March 2013.
- ↑ "Climate St. Peterburg – Historical weather records". Tutiempo.net. สืบค้นเมื่อ 16 November 2012.
- ↑ "Архив погоды в Санкт-Петербурге, Санкт-Петербург". Rp5.ru. สืบค้นเมื่อ 16 November 2012.
- ↑ "Leningrad/Pulkovo Climate Normals 1961–1990". National Oceanic and Atmospheric Administration. สืบค้นเมื่อ 10 December 2019.
บรรณานุกรม
[แก้]- Amery, Colin, Brian Curran & Yuri Molodkovets. St. Petersburg. London: Frances Lincoln, 2006. ISBN 0-7112-2492-7.
- Bater, James H. St. Petersburg: Industrialization and Change. Montreal: McGuill-Queen's University Press, 1976. ISBN 0-7735-0266-1.
- Berelowitch, Wladimir & Olga Medvedkova. Histoire de Saint-Pétersbourg. Paris: Fayard, 1996. ISBN 2-213-59601-8.
- Brumfield, William Craft. The Origins of Modernism in Russian Architecture. Berkeley: University of California Press, 1991. ISBN 0-520-06929-3.
- Buckler, Julie. Mapping St. Petersburg: Imperial Text and Cityshape. Princeton: Princeton University Press, 2005 ISBN 0-691-11349-1.
- Clark, Katerina, Petersburg, Crucible of Revolution. Cambridge: Harvard University Press, 1995.
- Cross, Anthony (ed.). St. Petersburg, 1703–1825. Basingstoke: Palgrave Macmillan, 2003. ISBN 1-4039-1570-9.
- "San Pietroburgo, la capitale del nord" by Giuseppe D'Amato in Viaggio nell'Hansa baltica. L'Unione europea e l'allargamento ad Est. Greco&Greco editori, Milano, 2004. pp. 27–46. ISBN 88-7980-355-7. (Travel to the Baltic Hansa เก็บถาวร 2011-05-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The European Union and its enlargement to the East) Book in Italian.
- George, Arthur L. & Elena George. St. Petersburg: Russia's Window to the Future, The First Three Centuries. Lanham: Taylor Trade Publishing, 2003. ISBN 1-58979-017-0.
- Glantz, David M. The Battle for Leningrad, 1941–1944. Lawrence: University Press of Kansas, 2002. ISBN 0-7006-1208-4.
- Hellberg-Hirn, Elena. Imperial Imprints: Post-Soviet St. Petersburg. Helsinki: SKS Finnish literature Society, 2003. ISBN 951-746-491-6.
- Hughes, Lindsey (2004). Peter the Great: a Biography. Yale University Press. ISBN 978-0-300-10300-7.
- Duncan Fallowell, One Hot Summer in St Petersburg (London, Jonathan Cape,1995)
- Knopf Guide: Sat. Petersburg. New York: Knopf, 1995. ISBN 0-679-76202-7.
- Eyewitness Guide: St. Petersburg.[ไอเอสบีเอ็น ไม่มี]
- Lincoln, W. Bruce. Sunlight at Midnight: St. Petersburg and the Rise of Modern Russia. New York: Basic Books, 2000. ISBN 0-465-08323-4.
- Orttung, Robert W. From Leningrad to St. Petersburg: Democratization in a Russian City. New York: St. Martin's, 1995. ISBN 0-312-17561-2.
- Richardson, Daniel; Humphreys, Robert (2004) [1998]. St. Petersburg: The Rough Guide (5th ed.). New York, London & Delhi: Rough Guides. ISBN 978-1-85828-298-5. สืบค้นเมื่อ 10 March 2010.
- Ruble, Blair A. Leningrad: Shaping a Soviet City. Berkeley: University of California Press, 1990. ISBN 0-87772-347-8.
- Shvidkovsky, Dmitry O. & Alexander Orloff. St. Petersburg: Architecture of the Tsars. New York: Abbeville Press, 1996. ISBN 0-7892-0217-4.
- Volkov, Solomon. St. Petersburg: A Cultural History. New York: Free Press, 1995. ISBN 0-02-874052-1.
- St. Petersburg:Architecture of the Tsars. 360 pages. Abbeville Press, 1996. ISBN 0-7892-0217-4
- Saint Petersburg: Museums, Palaces, and Historic Collections: A Guide to the Lesser Known Treasures of St. Petersburg. 2003. ISBN 1-59373-000-4.
- Ivanov, S.V. (2007). Unknown Socialist Realism: The Leningrad School. Saint Petersburg: NP-Print Edition. ISBN 978-5-901724-21-7..
- Nezhikhovsky, R.A. (1981). Река Нева и Невская губа [The Neva River and Neva Bay]. Leningrad: Gidrometeoizdat.
- Vorhees, Mara (2008). St. Petersburg (5th ed.). Footscray, Victoria, Australia: Lonely Planet. ISBN 978-1-74059-827-9. สืบค้นเมื่อ 11 March 2010.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- City Tourist Portal เก็บถาวร 2014-09-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ST. PETERSBURG – 2018 FIFA World Cup™ Host City ที่ยูทูบ by FIFA
- St Petersburg on In Our Time at the BBC. (listen now)
- St-Petersburg, Virtual Tour • 360° Aerial Panorama
- Bob Atchinson (2010). "Saint Petersburg, 1900: a photographic travelogue of the capital of Imperial Russia". สืบค้นเมื่อ 9 February 2011 [50 photographs of St. Petersburg from "Travelogues" of Burton Holmes (Vol. 8, 1914) and other sources
{{cite web}}
: CS1 maint: postscript (ลิงก์) - Официальный портал администрации Санкт-Петербурга [The Official Portal of the Saint Petersburg City Authority] (ภาษารัสเซีย). The Saint Petersburg City Authority: 191060, St. Petersburg, Smolny [Администрация Санкт-Петербурга 191060, СПб., Смольный]. 2001–2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 December 2006. สืบค้นเมื่อ 9 February 2011.
{{cite web}}
: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์) - "Encyclopaedia of Saint Petersburg". St. Petersburg: The Likhachov Foundation. 2004. สืบค้นเมื่อ 9 February 2011 [3500 entries, 9200 personalities, 3500 addresses, 2000 pictures and 40 geographical maps, 3800 bibliographical references from the original "Encyclopaedia of Saint Petersburg" (SPb., Rosspen, 2004) ]
{{cite web}}
: CS1 maint: postscript (ลิงก์) - Байков В.Д. Ленинградские хроники: от послевоенных 50-х до "лихих 90-х". М. Карамзин, 2017. – 486 с., илл. – in English: Leningrad Chronicles: from the postwar fifties to the "wild nineties" ISBN 978-5-00071-516-1