ข้ามไปเนื้อหา

อกุสตาเวสต์แลนด์ อาพาชี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาพาชี เอเอช มาร์ก 1
ข้อมูลทั่วไป
บทบาทเฮลิคอปเตอร์โจมตี
บริษัทผู้ผลิตเวสต์แลนด์
สถานะประจำการ
ผู้ใช้งานหลักเหล่าอากาศทหารบก สหราชอาณาจักร
จำนวนที่ผลิต67 ลำ
ประวัติ
สร้างเมื่อพ.ศ. 2541-2547
เริ่มใช้งานมกราคม พ.ศ. 2544
เที่ยวบินแรกกันยายน พ.ศ. 2541
พัฒนาจากเอเอช-64 ดี อาพาชีลองโบว์

อกุสตาเวสต์แลนด์ อาพาชี (อังกฤษ: AgustaWestland Apache) เป็นเฮลิคอปเตอร์โจมตีเอเอช-64 ดี อาพาชีลองโบว์ของโบอิง ที่ผลิตขึ้นมาภายใต้ใบอนุญาตของรัฐบาลให้กับเหล่าอากาศของกองทัพบกสหราชอาณาจักร เฮลิคอปเตอร์แปดลำแรก ถูกสร้างขึ้นโดยโบอิง อีก 59 ลำที่เหลือประกอบโดยเวสต์แลนด์ เฮลิคอปเตอร์ (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทลีโอนาโด ของอิตาลี) โดยใช้ส่วนประกอบจากโบอิง สิ่งที่มีความแตกต่างจากเอเอช-64 ดี คือเครื่องยนต์โรลส์รอยซ์ ระบบอิเล็กทรอนิกส์ป้องกันแบบใหม่ และกลไกใบพัดที่ทำให้รุ่นนี้สามารถทำหน้าที่ได้จากบนเรือ เฮลิคอปเตอร์รุ่นนี้ได้รับชื่อว่า"ดับบลิวเอเอช-64" ที่ตั้งโดยเวสต์แลนด์ เฮลิคอปเตอร์ และใช้อีกชื่อหนึ่งว่า "อาพาชี่ เอเอช มาร์ก 1" (Apache AH Mk 1) หรือ "อาพาชี่ เอเอช 1" โดยกระทรวงกลาโหมของสหราชอาณาจักร

การพัฒนา

[แก้]

ความต้องการเฮลิคอปเตอร์แบบโจมตี เกิดขึ้นในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 โดยเริ่มแรกมีการสั่งซื้อประมาณ 125 ลำ แต่อย่างไรก็ดีก็ยังไม่มีการประกาศชี้ชวนอย่างแท้จริงจนกระทั่งเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 โดยมีข้อเสนอดังนี้

อาพาชีถูกเลือกในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2538 และสัญญาสั่งซื้อเฮลิคอปเตอร์ 67 ลำก็ทำขึ้นในปี พ.ศ. 2539 เฮลิคอปเตอร์ลำแรกถูกสร้างขึ้นโดยโบอิง (ซึ่งถูกรวมเข้ากับแมคดอนเนลล์ ดักลาสในปี พ.ศ. 2540) ซึ่งถูกส่งมอบในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2542 เวสต์แลนด์ส่งมอบเครื่องของตนในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2543 อาพาชีลำสุดท้ายถูกส่งมอบในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2547[1] ราคาของเฮลิคอปเตอร์ทั้งหมดคือประมาณ 3,100 ล้านปอนด์ มากขึ้นกว่า 1 พันล้านปอนด์จากที่ระบุไว้ในสัญญาเดิมเพราะค่าขนส่ง

การออกแบบ

[แก้]
โรลส์-รอยซ์ Turbomeca RTM322
(ปารีสแอร์โชว์ พ.ศ. 2552)

การสำรวจการป้องกันทางยุทธศาสตร์ของสหราชอาณาจักรต้องการอาพาชีเพื่อรองรับภารกิจโจมตีที่ซับซ้อน โดยปฏิบัติการได้จากเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ คือเรือหลวงโอเชียน, เรือบรรทุกอากาศยานชั้นอินวินซิเบิล, เรือบรรทุกอากาศยานชั้นควีนเอลิซาเบธ และเรืออู่ลำเลียงพลยกพลขึ้นบก คือเรือหลวงบุลวาร์ก และเรือหลวงอัลเบียน ดังนั้นความแตกต่างหลักระหว่างดับบลิวเอเอช-64 กับเอเอช-64 อาพาชี คือระบบกลไกใบพัดที่พับเก็บได้ ซึ่งต้องทำให้เฮลิคอปเตอร์เล็กพอที่จะบรรทุกไปบนเรือ

อาพาชีทำหน้าที่บนเรือของราชนาวีโดยประจำการบนเรือหลวงโอเชียนในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2548 จากนั้นในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 เรือหลวงอาร์กรอยัลเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกที่ใช้อาพาชี เอเอช มาร์ก 1 ที่ฐานทัพเรือพอร์ตสมัท

นอกจากนั้นยังมีข้อแตกต่างดังนี้

  • เครื่องยนต์โรลส์-รอยซ์ เทอร์โบเมกา RTM322 01/12[2] ซึ่งมาแทนที่เจเนรัล อิเลคทริก T700-GE-701C เครื่องยนต์โรลส์-รอยส์นั้นให้กำลังขับ 2,100 แรงม้า ในขณะที่เครื่องจีอี ที 700 ซี ให้แรงขับ 1,890 แรงม้า กำลังที่มากกว่า 11% จะเกิดขึ้นเมื่อทำการบินขึ้นเพราะว่าระบบส่งสัญญาณ ของอาพาชี[3] ระบบส่งสัญญาณใหม่นี้มีเพื่อใช้พลังงานทั้งหมดที่มี ก็เป็นการพัฒนาใหม่เช่นกัน[4]
  • ใบพัดที่มีระบบกำจัดน้ำแข็ง ทำให้มันสามารถปฏิบัติการในพื้นที่แถบอาร์กติกได้
  • ระบบช่วยเหลือป้องกันการโจมตีจากขีปนาวุธและปืนต่อสู้อากาศยาน (HIDAS) จากบริษัทซีเล็กซ์ (Selex ES)
  • การเชื่อมต่อกับระบบการสื่อสารปลอดภัยทางยุทธศาสตร์โบว์แมน (BOWMAN secure communications system) ของกองทัพสหราชอาณาจักร
  • ความสามารถในการบรรทุกและยิงจรวดซีอาร์วี 7 จำนวน 76 ลูก
  • การฝึกใช้เลเซอร์ที่ปลอดภัยต่อสายตาถูกพัฒนาขึ้นมาและใส่เข้าไปเพื่อทำให้การฝึกโดยใช้อาพาชีในการระบุเป้า เพราะเลเซอร์ยุทธวิธีนั้นไม่สามารถใช้ได้ในสหราชอาณาจักรเพราะขีดจำกัดในเรื่องระยะทาง ข้อห้ามได้ถูกตั้งใหม่และสามารถใช้เลเซอร์ดังกล่าวได้โดยมีผู้ดูแล

ประวัติการใช้งาน

[แก้]
เรดาร์ลองโบว์

ในกองทัพบกอังกฤษอาพาชี เอเอช มาร์ก 1 เข้ามาแทนที่เฮลิคอปเตอร์ต่อต้านรถถังเวสต์แลนด์ ลิงซ์ เอเอช 7 อาพาชียังทำหน้าที่ในการโจมตีของกองทัพบกสหรัฐ อาพาชีทำสงครามครั้งแรกในสงครามอ่าวเมื่อปี พ.ศ. 2534 โดยทำลายการป้องกันทางอากาศส่วนใหญ่ลงไป อีกภารกิจหนึ่งคือการลาดตระเวนพร้อมอาวุธ เช่นเดียวกันกับเอเอช-64 ดี อาพาชีลองโบว์ของสหรัฐ อาพาชี เอเอช มาร์ก 1 จะมีเรดาร์ควบคุมการยิงและระบบอาร์เอฟไอที่ให้การตรวจตราแบบผสมและระบบการโจมตี เรดาร์ของลองโบว์จะมีรูปร่างเหมือนกระเปาะวงกลมที่อยู่เหนือแกนใบพัด ตำแหน่งของมันทำให้อาพาชีสามารถร่อนอยู่หลังที่ซ่อนในขณะที่ทำการตรวจหาเป้าหมายโดยเผยแค่ส่วนเรดาร์เท่านั้น[5]

ปฏิบัติการแรกของอาพาชีเกิดขึ้นในอัฟกานิสถาน เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 อาพาชีของสหราชอาณาจักรได้ปฏิบัติการในจังหวัดเฮลมานด์ ทางใต้ของอัฟกานิสถาน โดยได้ยิงขีปนาวุธเฮลไฟร์เพื่อทำลายยานเกราะของฝรั่งเศสที่เสียหายจนใช้งานไม่ได้ สาเหตุที่ทำลายก็เพราะว่าความเสียหายนั้นมากเกินกว่าที่จะซ่อมแซมได้ เมื่อถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 อาพาชี เอเอช มาร์ก 1 ก็มีทั้งสิ้น 8 ลำในอัฟกานิสถาน[6]

หน้าจอเรดาร์ลองโบว์

ในวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2550 กองกำลัง 200 นายของอังกฤษที่นำโดยนาวิกโยธินได้เริ่มการโจมตีป้อมจูกรูม (Jugroom Fort) อันเป็นที่ตั้งขนาดใหญ่ของตอลิบานในเขตเฮลมานด์[7] หลังจากการยิงอันดุเดือดนานหลายชั่วโมง นาวิกโยธินก็รวมตัวกันใหม่และพบว่านายทหารแมทธิว ฟอร์ดได้หายตัวไป ภารกิจช่วยเหลือจึงเริ่มขึ้นเพื่อหาตัวฟอร์ด โดยมีอาสาสมัครเป็นนาวิกโยธินสามนายและทหารช่างอีกหนึ่งนายซึ่งผูกตัวเองไว้กับปีกของอาพาชีสองลำ เฮลิคอปเตอร์ไม่สามารถบินได้เร็วกว่า 50 ไมล์ต่อชั่วโมงเพื่อความปลอดภัยของทหารทั้งสี่นาย[8][9] อาพาชีลงจอดเมื่อถูกยิง จากนั้นทีมช่วยเหลือก็ปลดตัวเองและสามารถกู้ร่างของฟอร์ดมาได้ ร่างของฟอร์ดถูกนำออกไปด้วยวิธีเดียวกับที่ทีมช่วยเหลือทำ อาพาชีอีกสองลำจะคอยช่วยยิงคุ้มกันให้ทีมช่วยเหลือ ไม่มีผู้ช่วยเหลือคนใดได้รับบาดเจ็บในภารกิจกู้ชีพและต่อมาก็ได้รับการยกย่องในความกล้าหาญ[10][11]

ไม่เหมือนกับฝ่ายอเมริกันในอัฟกานิสถาน อาพาชี เอเอช มาร์ก 1 นั้นใช้เรดาร์ควบคุมการยิงของลองโบว์ ซึ่งทำให้นักบินสามารถจัดการกับจราจรทางอากาศได้ดีกว่า[12]

ประเทศผู้ใช้งาน

[แก้]

รายละเอียด

[แก้]

ข้อมูลจาก อกุสตาเวสต์แลนด์[13], Jane's Air Forces[14] และ กองทัพบกสหราชอาณาจักร[15]

คุณลักษณะ

[แก้]
  • ลูกเรือ 2 นาย
  • ความยาว 17.7 เมตร
  • เส้นผ่าศูนย์กลางใบพัด 14.6 เมตร
  • ความสูง 3.87 เมตร
  • พื้นที่การหมุนของใบพัด 168.11 ตารางเมตร
  • น้ำหนักเปล่า 5,165 กิโลกรัม
  • น้ำหนักพร้อมอาวุธ 8,006 กิโลกรัม
  • น้ำหนักบินขึ้นสูงสุด 9,525 กิโลกรัม
  • ขุมกำลัง เครื่องยนต์เทอร์โบชาฟต์โรลส์-รอยซ์ อาร์ทีเอ็ม 322 ให้กำลังเครื่องละ 2,100 แรงม้า

ประสิทธิภาพ

[แก้]
ปืนกลเอ็ม 230 ขนาด 30 มม.
  • ความเร็วสูงสุด 293 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • พิสัย 1,700 กิโลเมตร
  • เพดานบินทำการ 2,100 ฟุต
  • อัตราการไต่ระดับ 2,500 ฟุตต่อนาที

อาวุธ

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]
การพัฒนาที่เกี่ยวข้อง
อากาศยานที่เทียบเท่า

อ้างอิง

[แก้]
  1. "British Army Receives 67th Apache In Ceremony Held At The Farnborough Air Show 2004" เก็บถาวร 2011-07-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. AgustaWestland, 21 July 2004.
  2. RTM 322 page เก็บถาวร 2009-08-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Turbomeca
  3. APACHE IN FOREIGN SERVICE, Vectorsite.net, 1 July 2007.
  4. "Apache Moves On". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-05-08. สืบค้นเมื่อ 2009-09-20.
  5. "Give us an enemy to fight, says chief of Britain's Apache helicopter fleet". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-26. สืบค้นเมื่อ 2021-08-31.
  6. "Parliamentary questions to The Secretary of State for Defence (Des Browne)", Hansard, February 26, 2007, 122586
  7. "MoD news release". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-05. สืบค้นเมื่อ 2009-09-20.
  8. "Marines attempt daring Apache rescue during Afghanistan Operation". Ministry of Defense. 17 January 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 February 2007.
  9. Lewis, Damien (2009). Apache Dawn. Sphere. pp. 1-3. ISBN 978-0-7515-4191-5.
  10. Helicopter rescue marines hailed
  11. Troops made rescue bid for marine
  12. Afghan Field Report: British WAH-64Ds. Defense Industry Daily
  13. Apache AH Mk 1 เก็บถาวร 19 มิถุนายน 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, AgustaWestland.
  14. "Boeing AH-64 Apache". Jane's: All the World's Aircraft. Jane's Information Group. 13 October 2000. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 June 2006. สืบค้นเมื่อ 17 June 2006.
  15. "Apache". British Army. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 March 2010. สืบค้นเมื่อ 3 May 2010.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]